สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรก ปี 2539 และเสนอประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยสรุปได้ดังนี้
1. เศรษฐกิจโลก : อัตราแลกเปลี่ยนปรับตัวตามปัจจัยพื้นฐาน แนวโน้มดอกเบี้ยในตลาดโลกลดลง
ภาวะเศรษฐกิจโลกในปี 2539 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 สูงกว่าร้อยละ 3.5 ของปีที่แล้ว โดยเป็นผลมาจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่อยู่ในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่องในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลหลักโดยเฉพาะเงินเยนกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้ปรับตัวตามปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวสูงกว่าปีที่แล้วได้แก่ ญี่ปุ่น และเยอรมนี สำหรับกลุ่มประเทศเอเชียมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอลง เนื่องจากการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.8 ต่ำกว่าร้อยละ 8.5 ของปีที่แล้ว
ผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจโลกต่อเศรษฐกิจไทยในระยะสั้นจะมีผลต่อภาวะการส่งออก ซึ่งในไตรมาสแรกได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง นอกจากนั้นประเทศอุตสาหกรรมซึ่งประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อจะดำเนินนโยบายด้านการเงินในประเทศอย่างผ่อนคลายลงและจะส่งผลให้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกลดลงในขณะที่อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศซึ่งยังคงอยู่ในระดับสูงจากการดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดเพื่อควบคุมปัญหาเงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จะมีผลให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าสู่ประเทศเพื่อหาประโยชน์จากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น
2. เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรก : มีแนวโน้มชะลอตัวลงขณะที่เงินเฟ้อสูงขึ้น
2.1เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกมีแนวโน้มชะลอตัวลงเนื่องจากการชะลอลงของการลงทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรม และการส่งออก
(1) การลงทุนภาคเอกชน
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน เริ่มชะลอลงเล็กน้อยตามการชะลอตัวของการก่อสร้าง และการลงทุนในเครื่องมือ เครื่องจักร ดัชนีเฉลี่ยไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ต่ำกว่าร้อยละ 6.5 ของระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ภาวะการชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชน สังเกตได้จากพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างและปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และ 9.5 ต่ำกว่าร้อยละ 21.9 และ 23.6ของช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าสินค้าประเภททุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 เทียบกับร้อยละ 33.9 ของช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนปริมาณการจำหน่ายสังกะสีเพิ่มขึ้นในภูมิภาคทั้งนี้เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยภายหลังภาวะอุทกภัยในปีที่แล้ว
ในขณะที่การลงทุนโดยรวมชะลอตัวลง การลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนยังคงมีแนวโน้มขยายตัวดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีโรงงานเปิดดำเนินการใหม่และขยายกิจการเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงคิดเป็นวงเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 95.6 เทียบกับร้อยละ 11.0 ของปีที่แล้ว ทั้งนี้จะพบว่าส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในเขต3ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.8 ของทั้งประเทศ การลงทุนส่วนใหญ่จะมาจากประเทศญี่ปุ่นในแง่จำนวนรายโดยที่มีโครงการผลิตประเทภผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ คอมเพรสเซอร์สำหรับเครื่องปรับอากาศใช้ในรถยนต์เหล็ก-แป้นเกลียวและตะปูควงรถตีนตะขาบเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
(2) การผลิตภาคอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอตัวลง โดยมีการเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เทียบกับร้อยละ 17.6 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว ทั้งนี้เป็นผลจากการที่ภาวะน้ำท่วมในช่วงปลายปีที่แล้วเป็นอุปสรรคในด้านการขนส่งและทำให้สินค้าค้างสต๊อคในช่วงต้นปียังมีเพียงพอกับความต้องการภายในประเทศอุตสาห-กรรมที่ชะลอตัว ได้แก่ หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีการชะลอการผลิตทั้ง สุรา เบียร์ โซดา และน้ำอัดลม สำหรับการผลิตรถยนต์ ยางรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ มีการขยายตัวร้อยละ 17.9, 14.0และ 5.3 เทียบกับร้อยละ 20.3, 18.1 และ 30.4 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว ส่งผลให้การผลิตแผ่นเหล็กชุบสังกะสีชะลอตัวลงตามอุตสาหกรรมหมวดยานยนต์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีการผลิตที่ชะลอตัวลงเนื่องจากทำการผลิตเกือบเต็มกำลังการผลิตและความต้องการใช้ได้ชะลอตัวลง ยกเว้นบางพื้นที่ เช่นภาคใต้ ซึ่งยังมีความต้องการใช้สูงจนเกิดการขาดแคลน
(3) การส่งออก
การส่งออกในช่วง 3 เดือนแรกมีมูลค่าประมาณ 360,685 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงมากเมื่อเทียบกับร้อยละ 28.2 ในปีที่แล้วการส่งออกชะลอตัวในหมวดสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งในช่วง 2 เดือนแรกมีมูลค่าลดลงร้อยละ 0.04 และเพิ่มขึ้นร้อยละ13.6 เทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการส่งออกทั้งสองหมวดสินค้า เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30 รายการสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง เสื้อผ้า-สำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วนและอาหารทะเลกระป๋องสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นสูงได้แก่เครื่องคอม-พิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า น้ำตาล เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ การส่งออกไปยังตลาดอาเซียนซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ17.1 เทียบกับการขยายตัวสูงร้อยละ 60.4 ในระยะเดียวกันของปีที่แล้ว
2.2 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ราคาสินค้าในหมวดอาหารที่ยังคงเพิ่มสูงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 7.4 เทียบกับร้อยละ 4.8 ของไตรมาสแรกของปีที่แล้ว ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดยังขาดดุลสูงแต่มีแนวโน้มลดลง
(1) เงินเฟ้อ
อัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเพิ่มจากปลายปี 2538 โดยปัจจัยหลักยังเป็นราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าวและข้าวโพด ซึ่งยังเพิ่มสูงกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และต้นทุนอาหารสัตว์ที่ยังเพิ่มสูงเช่นกัน ในไตรมาสแรกของปี 2539 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 7.4 โดยมีการเพิ่มสูงขึ้นในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอร์ร้อยละ 11 เทียบกับร้อยละ 7.3 ของช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยเฉพาะสินค้าประเภทข้าว เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ สัตว์น้ำ ผักและผลไม้ และอาหารที่ซื้อบริโภค มีการเพิ่มของราคาค่อนข้างสูง สำหรับหมวดทีมิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6เทียบกับร้อยละ 3.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มสูงขึ้นของสินค้าในหมวดบันเทิงและการอ่าน ยาสูบ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ เครื่องนุ่งห่ม เคหสถานและเครื่องเรือน
(2) ดุลบัญชีเดินสะพัด
ถึงแม้การส่งออกในไตรมาสแรกปี 2539 จะชะลอตัวลง การนำเข้าก็ได้ชะลอตัวลงมากเช่นกัน โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 13.7 เทียบกับร้อยละ 33.8 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วโดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่งมีการขยายตัวร้อยละ21.5 และ9.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 33.9 และ 29.2 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ดังนั้นการขาดดุลการค้าจึงมีมูลค่า 106,973 ล้านบาท แต่ดุลบริการและบริจาคในไตรมาสแรกเกินดุล 25,861 ล้านบาทส่งผลให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีมูลค่า 81,112 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 61,620 ล้านบาทของไตรมาสแรกของปี 2538 ร้อยละ 31.6 แต่น้อยกว่าการขาดดุลในไตรมาสสุดท้ายของปี 2538 ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 100,000 ล้านบาท
3. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2539
- การขยายตัว คาดว่าจะชะลอลงเล็กน้อยตามที่ได้คาดการณ์ไว้ โดยจะมีอัตราการเจริญเติบโตไม่สูงกว่าร้อยละ 8.5
- อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งยังคงอยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 7.4 ในไตรมาสแรกของปี 2539 คาดว่าจะส่งผลให้เงินเฟ้อตลอดทั้งปี 2539 สูงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5.5 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรยังคงอยู่ในระดับสูง และการเพิ่มสูงขึ้นของระดับราคาในช่วงฤดูร้อน ซึ่งโดยปกติในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี จะมีการเพิ่มสูงขึ้นของเงินเฟ้อมากกว่าไตรมาสอื่น อันเป็นผลมาจากการที่ผลผลิตภาคเกษตรออกสู่ตลาดลดลงประกอบกับต้นทุนการผลิต ยังคงเพิ่มสูง โดยเฉพาะราคาอาหารสัตว์ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 ในไตรมาสแรกของปี 2539 นอกจากนั้นขณะนี้ยังมีรายการสินค้าซึ่งยื่นขอปรับราคาและรอการพิจารณาจากคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดอยู่อีกประมาณ 300 รายการ ดังนั้นปัจจัยที่จะสนับสนุนให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงในปีนี้จึงยังคงมีอยู่
- การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เมื่อได้ปรับฐานการขาดดุลปี 2538 ให้ตรงกับข้อมูลชุดใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว คาดว่าจะขาดดุลในสัดส่วนร้อยละ 7.8 ของผลผลิตรวม ลดลงจากร้อยละ8.1 ของผลผลิตรวมในปี 2538 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยส่วนรวมมีแนวโน้มชะลอตัวลง ราคาเงินเยนที่เริ่มอ่อนตัวจะส่งผลให้ต้นทุนสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่นลดลง และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่กำลังมีแนวโน้มอ่อนตัว
4. ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ
จากการประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรก พบว่าภาวะเงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเป็นประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลจะต้องพยายามแก้ไขต่อไปในปีนี้จึงมีมาตรการซึ่งรัฐบาลต้องพิจารณาและเร่งรัดต่อไป ได้แก่
1. การดำเนินนโยบายเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในช่วงไตรมาสแรกของปี 2539 ยังเพิ่มสูงอยู่ในอัตราร้อยละ 7.4 ต่อปี และแนวโน้มเงินเฟ้อของปี 2539 จะอยู่ในระดับร้อยละ 5.5 เป็นอย่างต่ำ จึงต้องดำเนินมาตรการเพื่อควบคุมเงินเฟ้อต่อไป ได้แก่
(1) ใช้มาตราการทางการเงิน เพื่อดูแลการใช้จ่ายและการลงทุนของประเทศ เพื่อไม่
ให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 8.5 ในปี 2539
(2) พิจารณารายการสินค้าที่ขอขึ้นราคาซึ่งรอการพิจารณาอยู่ประมาณ 300 รายการให้รอบคอบและทะยอยการอนุมัติขึ้นราคาเพื่อป้องกันไม่ให้สร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ
(3) นโยบายการปรับขึ้นเงินเดือนและค่าจ้าง ควรมีความเหมาะสมกับภาวะเงินเฟ้อ
(4) ทบทวนและพิจารณามาตรการเพิ่มเติมในการช่วยลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรเช่น ราคาอาหารสัตว์ ซึ่งยังคงเพิ่มขึ้นสูงและเป็นอุปสรรคต่อการผลิตอยู่ รวมทั้งเร่งรัดการปฏิบัติของมาตรการที่อนุมัติแล้ว เช่น การคืนภาษีอาหารสัตว์นำเข้าที่ใช้ผลิตเนื้อไก่ส่งออก
2. การแก้ไขปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แม้ว่าปัจจัยสนับสนุนการบรรเทาปัญหาการขาดดุลการค้าในระยะสั้นจะดีขึ้นในปีนี้ เช่น ค่าเงินเยนที่อ่อนตัวลง การชะลอตัวของระบบเศรษฐกิจและการนำเข้าสินค้าทุน แต่ยังมีมาตรการอีกหลายด้านที่ต้องเร่งรัดเพื่อให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระยะยาวลดลงสู่เป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้แก่
(1) กำหนดเป้าหมายของอุตสาหกรรมสนับสนุนการผลิตสินค้าขั้นกลางและสินค้าทุนใน
ประเทศให้ชัดเจน และเร่งรัดระบบการสนับสนุนทั้งมาตรการภาษีและการบริหารจัดการ
(2) เร่งรัดมาตรการเพื่อสนับสนุนกิจการพาณิชย์นาวีโดยเฉพาะมาตรการภาษี ซึ่งคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการส่งเสริมการค้าบริการได้เห็นชอบแล้ว ให้ดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว และเร่งรัดการพัฒนาพาณิชย์นาวีอย่างครบวงจร เช่น การพัฒนาบุคลากรด้านพาณิชย์นาวี การสร้างระบบโครงสร้างบริการพื้นฐานสนับสนุนท่าเรือ เป็นต้น
(3) การลดภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย เพื่อให้คนไทยใช้จ่ายในประเทศและพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์การค้าของภูมิภาค ในระยะสั้นอาจมีผลให้การนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มมากขึ้น จึงควรมีการรณรงค์ค่านิยมการบริโภคของคนไทยให้นิยมใช้สินค้าไทยและลดการใช้สินค้าฟุ่มเฟือย
(4) ส่งเสริมให้ชาวไทยท่องเที่ยวในประเทศแทนการไปท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยการรณรงค์สร้างค่านิยมเที่ยวไทย ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว สร้างเครือข่ายธุรกิจภาคการท่องเที่ยว ให้อำนวยความสะดวกและให้สิ่งจูงใจคนไทยที่ท่องเที่ยวในประเทศ
(5) การพัฒนาเทคโนโลยีสนประเทศเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้า ควรให้รัฐวิสาหกิจได้มีบทบาทสนับสนุนเนื่องจากภาครัฐวิสาหกิจมีงบลงทุนในแต่ละปีสูงและพึ่งพาสินค้า นำเข้าในการลงทุนจำนวนมาก โดยควรให้รัฐวิสาหกิจสนับสนุนทุนการวิจัยแก่สถานศึกษา สถาบันวิจัยหรือภาคเอกชน ในด้านที่จะลดการนำเข้าของรัฐวิสาหกิจในอนาคต
3. นโยบายงบประมาณที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวม เนื่องจากงบประมาณสมดุลในปี2539 มีขาดใหญ่ ซึ่งจะมีส่วนกระตุ้นระบบเศรษฐกิจมากกว่าปีที่ผ่านมา และมีรายจ่ายในรายการปรับปรุงระบบราชการที่อาจส่งผลถึงการนำเข้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะการจัดซื้อครุภัณฑ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศดังนั้นมาตรการทางการเงินจะต้องรับภาระดูแลในการชะลอการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจมากขึ้นนอกจากนั้นการเตรียมงบประมาณปี 2540 ซึ่งจะเริ่มใช้ในเดือนตุลาคม 2539 จะต้องจัดให้มีขนาดเหมาะสมโดยคำนึงถึงแนวโน้มสถานการณ์ด้านเงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่จะเกิดขึ้นในปีต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 6 / มิถุนายน 2539--
1. เศรษฐกิจโลก : อัตราแลกเปลี่ยนปรับตัวตามปัจจัยพื้นฐาน แนวโน้มดอกเบี้ยในตลาดโลกลดลง
ภาวะเศรษฐกิจโลกในปี 2539 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 สูงกว่าร้อยละ 3.5 ของปีที่แล้ว โดยเป็นผลมาจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่อยู่ในเกณฑ์ดีอย่างต่อเนื่องในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลหลักโดยเฉพาะเงินเยนกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้ปรับตัวตามปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวสูงกว่าปีที่แล้วได้แก่ ญี่ปุ่น และเยอรมนี สำหรับกลุ่มประเทศเอเชียมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอลง เนื่องจากการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.8 ต่ำกว่าร้อยละ 8.5 ของปีที่แล้ว
ผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจโลกต่อเศรษฐกิจไทยในระยะสั้นจะมีผลต่อภาวะการส่งออก ซึ่งในไตรมาสแรกได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง นอกจากนั้นประเทศอุตสาหกรรมซึ่งประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อจะดำเนินนโยบายด้านการเงินในประเทศอย่างผ่อนคลายลงและจะส่งผลให้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกลดลงในขณะที่อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศซึ่งยังคงอยู่ในระดับสูงจากการดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดเพื่อควบคุมปัญหาเงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จะมีผลให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าสู่ประเทศเพื่อหาประโยชน์จากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น
2. เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรก : มีแนวโน้มชะลอตัวลงขณะที่เงินเฟ้อสูงขึ้น
2.1เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกมีแนวโน้มชะลอตัวลงเนื่องจากการชะลอลงของการลงทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรม และการส่งออก
(1) การลงทุนภาคเอกชน
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน เริ่มชะลอลงเล็กน้อยตามการชะลอตัวของการก่อสร้าง และการลงทุนในเครื่องมือ เครื่องจักร ดัชนีเฉลี่ยไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ต่ำกว่าร้อยละ 6.5 ของระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ภาวะการชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชน สังเกตได้จากพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างและปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และ 9.5 ต่ำกว่าร้อยละ 21.9 และ 23.6ของช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าสินค้าประเภททุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 เทียบกับร้อยละ 33.9 ของช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนปริมาณการจำหน่ายสังกะสีเพิ่มขึ้นในภูมิภาคทั้งนี้เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยภายหลังภาวะอุทกภัยในปีที่แล้ว
ในขณะที่การลงทุนโดยรวมชะลอตัวลง การลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนยังคงมีแนวโน้มขยายตัวดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีโรงงานเปิดดำเนินการใหม่และขยายกิจการเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงคิดเป็นวงเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 95.6 เทียบกับร้อยละ 11.0 ของปีที่แล้ว ทั้งนี้จะพบว่าส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในเขต3ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.8 ของทั้งประเทศ การลงทุนส่วนใหญ่จะมาจากประเทศญี่ปุ่นในแง่จำนวนรายโดยที่มีโครงการผลิตประเทภผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ คอมเพรสเซอร์สำหรับเครื่องปรับอากาศใช้ในรถยนต์เหล็ก-แป้นเกลียวและตะปูควงรถตีนตะขาบเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
(2) การผลิตภาคอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอตัวลง โดยมีการเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เทียบกับร้อยละ 17.6 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว ทั้งนี้เป็นผลจากการที่ภาวะน้ำท่วมในช่วงปลายปีที่แล้วเป็นอุปสรรคในด้านการขนส่งและทำให้สินค้าค้างสต๊อคในช่วงต้นปียังมีเพียงพอกับความต้องการภายในประเทศอุตสาห-กรรมที่ชะลอตัว ได้แก่ หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีการชะลอการผลิตทั้ง สุรา เบียร์ โซดา และน้ำอัดลม สำหรับการผลิตรถยนต์ ยางรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ มีการขยายตัวร้อยละ 17.9, 14.0และ 5.3 เทียบกับร้อยละ 20.3, 18.1 และ 30.4 ของระยะเดียวกันกับปีที่แล้ว ส่งผลให้การผลิตแผ่นเหล็กชุบสังกะสีชะลอตัวลงตามอุตสาหกรรมหมวดยานยนต์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มีการผลิตที่ชะลอตัวลงเนื่องจากทำการผลิตเกือบเต็มกำลังการผลิตและความต้องการใช้ได้ชะลอตัวลง ยกเว้นบางพื้นที่ เช่นภาคใต้ ซึ่งยังมีความต้องการใช้สูงจนเกิดการขาดแคลน
(3) การส่งออก
การส่งออกในช่วง 3 เดือนแรกมีมูลค่าประมาณ 360,685 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงมากเมื่อเทียบกับร้อยละ 28.2 ในปีที่แล้วการส่งออกชะลอตัวในหมวดสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งในช่วง 2 เดือนแรกมีมูลค่าลดลงร้อยละ 0.04 และเพิ่มขึ้นร้อยละ13.6 เทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการส่งออกทั้งสองหมวดสินค้า เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30 รายการสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง เสื้อผ้า-สำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วนและอาหารทะเลกระป๋องสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นสูงได้แก่เครื่องคอม-พิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า น้ำตาล เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ การส่งออกไปยังตลาดอาเซียนซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ17.1 เทียบกับการขยายตัวสูงร้อยละ 60.4 ในระยะเดียวกันของปีที่แล้ว
2.2 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ราคาสินค้าในหมวดอาหารที่ยังคงเพิ่มสูงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 7.4 เทียบกับร้อยละ 4.8 ของไตรมาสแรกของปีที่แล้ว ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดยังขาดดุลสูงแต่มีแนวโน้มลดลง
(1) เงินเฟ้อ
อัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเพิ่มจากปลายปี 2538 โดยปัจจัยหลักยังเป็นราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าวและข้าวโพด ซึ่งยังเพิ่มสูงกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และต้นทุนอาหารสัตว์ที่ยังเพิ่มสูงเช่นกัน ในไตรมาสแรกของปี 2539 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 7.4 โดยมีการเพิ่มสูงขึ้นในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอร์ร้อยละ 11 เทียบกับร้อยละ 7.3 ของช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยเฉพาะสินค้าประเภทข้าว เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ สัตว์น้ำ ผักและผลไม้ และอาหารที่ซื้อบริโภค มีการเพิ่มของราคาค่อนข้างสูง สำหรับหมวดทีมิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6เทียบกับร้อยละ 3.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มสูงขึ้นของสินค้าในหมวดบันเทิงและการอ่าน ยาสูบ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ เครื่องนุ่งห่ม เคหสถานและเครื่องเรือน
(2) ดุลบัญชีเดินสะพัด
ถึงแม้การส่งออกในไตรมาสแรกปี 2539 จะชะลอตัวลง การนำเข้าก็ได้ชะลอตัวลงมากเช่นกัน โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 13.7 เทียบกับร้อยละ 33.8 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วโดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่งมีการขยายตัวร้อยละ21.5 และ9.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 33.9 และ 29.2 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ดังนั้นการขาดดุลการค้าจึงมีมูลค่า 106,973 ล้านบาท แต่ดุลบริการและบริจาคในไตรมาสแรกเกินดุล 25,861 ล้านบาทส่งผลให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีมูลค่า 81,112 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 61,620 ล้านบาทของไตรมาสแรกของปี 2538 ร้อยละ 31.6 แต่น้อยกว่าการขาดดุลในไตรมาสสุดท้ายของปี 2538 ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 100,000 ล้านบาท
3. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2539
- การขยายตัว คาดว่าจะชะลอลงเล็กน้อยตามที่ได้คาดการณ์ไว้ โดยจะมีอัตราการเจริญเติบโตไม่สูงกว่าร้อยละ 8.5
- อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งยังคงอยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 7.4 ในไตรมาสแรกของปี 2539 คาดว่าจะส่งผลให้เงินเฟ้อตลอดทั้งปี 2539 สูงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5.5 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรยังคงอยู่ในระดับสูง และการเพิ่มสูงขึ้นของระดับราคาในช่วงฤดูร้อน ซึ่งโดยปกติในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี จะมีการเพิ่มสูงขึ้นของเงินเฟ้อมากกว่าไตรมาสอื่น อันเป็นผลมาจากการที่ผลผลิตภาคเกษตรออกสู่ตลาดลดลงประกอบกับต้นทุนการผลิต ยังคงเพิ่มสูง โดยเฉพาะราคาอาหารสัตว์ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 ในไตรมาสแรกของปี 2539 นอกจากนั้นขณะนี้ยังมีรายการสินค้าซึ่งยื่นขอปรับราคาและรอการพิจารณาจากคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดอยู่อีกประมาณ 300 รายการ ดังนั้นปัจจัยที่จะสนับสนุนให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงในปีนี้จึงยังคงมีอยู่
- การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เมื่อได้ปรับฐานการขาดดุลปี 2538 ให้ตรงกับข้อมูลชุดใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว คาดว่าจะขาดดุลในสัดส่วนร้อยละ 7.8 ของผลผลิตรวม ลดลงจากร้อยละ8.1 ของผลผลิตรวมในปี 2538 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยส่วนรวมมีแนวโน้มชะลอตัวลง ราคาเงินเยนที่เริ่มอ่อนตัวจะส่งผลให้ต้นทุนสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่นลดลง และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่กำลังมีแนวโน้มอ่อนตัว
4. ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ
จากการประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรก พบว่าภาวะเงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเป็นประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลจะต้องพยายามแก้ไขต่อไปในปีนี้จึงมีมาตรการซึ่งรัฐบาลต้องพิจารณาและเร่งรัดต่อไป ได้แก่
1. การดำเนินนโยบายเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในช่วงไตรมาสแรกของปี 2539 ยังเพิ่มสูงอยู่ในอัตราร้อยละ 7.4 ต่อปี และแนวโน้มเงินเฟ้อของปี 2539 จะอยู่ในระดับร้อยละ 5.5 เป็นอย่างต่ำ จึงต้องดำเนินมาตรการเพื่อควบคุมเงินเฟ้อต่อไป ได้แก่
(1) ใช้มาตราการทางการเงิน เพื่อดูแลการใช้จ่ายและการลงทุนของประเทศ เพื่อไม่
ให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 8.5 ในปี 2539
(2) พิจารณารายการสินค้าที่ขอขึ้นราคาซึ่งรอการพิจารณาอยู่ประมาณ 300 รายการให้รอบคอบและทะยอยการอนุมัติขึ้นราคาเพื่อป้องกันไม่ให้สร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ
(3) นโยบายการปรับขึ้นเงินเดือนและค่าจ้าง ควรมีความเหมาะสมกับภาวะเงินเฟ้อ
(4) ทบทวนและพิจารณามาตรการเพิ่มเติมในการช่วยลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรเช่น ราคาอาหารสัตว์ ซึ่งยังคงเพิ่มขึ้นสูงและเป็นอุปสรรคต่อการผลิตอยู่ รวมทั้งเร่งรัดการปฏิบัติของมาตรการที่อนุมัติแล้ว เช่น การคืนภาษีอาหารสัตว์นำเข้าที่ใช้ผลิตเนื้อไก่ส่งออก
2. การแก้ไขปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แม้ว่าปัจจัยสนับสนุนการบรรเทาปัญหาการขาดดุลการค้าในระยะสั้นจะดีขึ้นในปีนี้ เช่น ค่าเงินเยนที่อ่อนตัวลง การชะลอตัวของระบบเศรษฐกิจและการนำเข้าสินค้าทุน แต่ยังมีมาตรการอีกหลายด้านที่ต้องเร่งรัดเพื่อให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระยะยาวลดลงสู่เป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้แก่
(1) กำหนดเป้าหมายของอุตสาหกรรมสนับสนุนการผลิตสินค้าขั้นกลางและสินค้าทุนใน
ประเทศให้ชัดเจน และเร่งรัดระบบการสนับสนุนทั้งมาตรการภาษีและการบริหารจัดการ
(2) เร่งรัดมาตรการเพื่อสนับสนุนกิจการพาณิชย์นาวีโดยเฉพาะมาตรการภาษี ซึ่งคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการส่งเสริมการค้าบริการได้เห็นชอบแล้ว ให้ดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว และเร่งรัดการพัฒนาพาณิชย์นาวีอย่างครบวงจร เช่น การพัฒนาบุคลากรด้านพาณิชย์นาวี การสร้างระบบโครงสร้างบริการพื้นฐานสนับสนุนท่าเรือ เป็นต้น
(3) การลดภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย เพื่อให้คนไทยใช้จ่ายในประเทศและพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์การค้าของภูมิภาค ในระยะสั้นอาจมีผลให้การนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มมากขึ้น จึงควรมีการรณรงค์ค่านิยมการบริโภคของคนไทยให้นิยมใช้สินค้าไทยและลดการใช้สินค้าฟุ่มเฟือย
(4) ส่งเสริมให้ชาวไทยท่องเที่ยวในประเทศแทนการไปท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยการรณรงค์สร้างค่านิยมเที่ยวไทย ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว สร้างเครือข่ายธุรกิจภาคการท่องเที่ยว ให้อำนวยความสะดวกและให้สิ่งจูงใจคนไทยที่ท่องเที่ยวในประเทศ
(5) การพัฒนาเทคโนโลยีสนประเทศเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้า ควรให้รัฐวิสาหกิจได้มีบทบาทสนับสนุนเนื่องจากภาครัฐวิสาหกิจมีงบลงทุนในแต่ละปีสูงและพึ่งพาสินค้า นำเข้าในการลงทุนจำนวนมาก โดยควรให้รัฐวิสาหกิจสนับสนุนทุนการวิจัยแก่สถานศึกษา สถาบันวิจัยหรือภาคเอกชน ในด้านที่จะลดการนำเข้าของรัฐวิสาหกิจในอนาคต
3. นโยบายงบประมาณที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวม เนื่องจากงบประมาณสมดุลในปี2539 มีขาดใหญ่ ซึ่งจะมีส่วนกระตุ้นระบบเศรษฐกิจมากกว่าปีที่ผ่านมา และมีรายจ่ายในรายการปรับปรุงระบบราชการที่อาจส่งผลถึงการนำเข้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะการจัดซื้อครุภัณฑ์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศดังนั้นมาตรการทางการเงินจะต้องรับภาระดูแลในการชะลอการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจมากขึ้นนอกจากนั้นการเตรียมงบประมาณปี 2540 ซึ่งจะเริ่มใช้ในเดือนตุลาคม 2539 จะต้องจัดให้มีขนาดเหมาะสมโดยคำนึงถึงแนวโน้มสถานการณ์ด้านเงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่จะเกิดขึ้นในปีต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 6 / มิถุนายน 2539--