เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2542 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย ได้เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ครั้งที่ 1/2542 ณ ห้องประชุมตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล
ผลการประชุมดังกล่าวมีมติสำคัญ ๆ ในเรื่องต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
1. เรื่องผลการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 16 มีมติดังนี้
1.1 ในส่วนของประเด็นภาพรวม เห็นควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอของผลการสัมมนาดังกล่าวไปพิจารณาดำเนินการ โดยมอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานเพื่อรายงานคณะกรรมการ กรอ. เพื่อทราบต่อไป
1.2 ในส่วนของประเด็นเฉพาะเรื่อง เห็นควรให้ดำเนินการดังนี้
1) การกระจายอำนาจการบริหารงานของภาครัฐบาลส่วนกลางสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น และการกระจายอำนาจการเงินการคลังสู่ท้องถิ่น
เห็นควรมอบฝ่ายเลขานุการฯ ติดตามความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานในการกระจายอำนาจของภาครัฐจากส่วนกลางสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น จากคณะกรรมการทั้ง 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายท้องถิ่นและการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น คณะทำงานด้านการกระจายอำนาจ การให้บริการสาธารณะและกระจายอำนาจการเงินการคลังสู่ท้องถิ่น และคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ เพื่อรายงานผลให้คณะกรรมการ กรอ. เพื่อทราบต่อไป
2) การสร้างกติกาทางการค้าให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีดังนี้
(1) เห็นควรให้กระทรวงพาณิชย์จัดประชุมร่วมกับผู้แทน กกร. ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิอิสระเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกันในแนวทางปฏิบัติเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และลดผลกระทบทางลบให้เหลือน้อยที่สุดในการบังคับใช้พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า พ.ศ. .......
(2) เห็นควรมีการประชุมหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดในการออกอนุบัญญัติในอนาคต
(3) การออกระเบียบหรือกฎกระทรวงต่าง ๆ ในอนาคต เห็นควรหารือกับ กกร. และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถนำกฎหมายมาบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) การสนับสนุนบทบาท กรอ. จังหวัด ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
(1) เห็นควรสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กร กรอ. จังหวัด และหน่วยงานของกระทรวงมหาดไทยที่ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานนโยบายและการปฏิบัติงานของ กรอ. จังหวัด พร้อมทั้งให้การสนับสนุนด้านงบประมาณตามความจำเป็น เพื่อใช้ในการพัฒนาสมถรรถนะของบุคลากรให้มีความเข้าใจและมีขีดความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับองค์กรภาคเอกชนและเห็นควรสนับสนุนโครงการเพิ่มศักยภาพความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนต่อผู้นำภาครัฐและเอกชนของจังหวัดชายแดน
(2) เห็นควรให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่การประสานงานระหว่าง กรอ. จังหวัด และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นให้เกิดความชัดเจนและมีแนวทางการดำเนินการที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของภาคธุรกิจเอกชนในระดับจังหวัดและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ในทุกระดับ
2. เรื่องการกำหนดอาณาบริเวณของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ณ ท่าเรือแหลมฉบัง
ที่ประชุมเห็นชอบกับผลการพิจารณาของกระทรวงคมนาคม ที่เห็นควรให้กรมเจ้าท่ามีหน้าที่เป็นผู้ควบคุม ดูแล จัดระเบียบจราจรในบริเวณอ่าวศรีราชาและเกาะสีชัง และมอบให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป นอกจากนี้เห็นควรสนับสนุนงบประมาณและบุคลากรที่จำเป็นเพื่อให้กรมเจ้าท่าสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงทางด้านการจัดระเบียบการจราจรและด้านความปลอดภัยเท่านั้น แต่รวมถึงการดูแลสภาวะแวดล้อมทางทะเลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย ขณะเดียวกันเห็นควรเร่งรัดให้กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม เร่งแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 เพื่อให้กรมเจ้าท่ามีอำนาจในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับเรือที่เข้ามาจอดในเขตท่าเรือ ค่าธรรมเนียมในการขนถ่ายสินค้ากลางน้ำและค่าธรรมเนียมประภาคารในอัตราที่เหมาะสม
3. เรื่องการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า
ที่ประชุมเห็นชอบกับโครงการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยต่อการค้าระหว่างประเทศภายใต้กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ซึ่งประกอบด้วยโครงการย่อย 4 โครงการ เสนอโดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้แก่ โครงการประชาสัมพันธ์เรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า โครงการสัมมนาให้ความรู้เรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า โครงการฝึกสอนและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า โครงการปรับปรุงหน่วยงานออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า รวมทั้งเห็นชอบกับโครงการเตรียมความพร้อมของกรมศุลกากรต่อการปฏิบัติตามพันธกรณีขององค์การการค้าโลกภายใต้ความตกลงกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ซึ่งเสนอโดยกรมศุลกากร ขณะเดียวกันยังเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ปรากฎในโครงการที่นำเสนอเร่งจัดทำรายละเอียดของโครงการโดยมอบให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รวบรวมโครงการเพื่อพิจารณาขอสนับสนุนงบประมาณตามความเหมาะสมจากกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นควรมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานหลักเชิญประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อตกลงร่วมกันในแนวทางปฏิบัติ เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า โดยเฉพาะในประเด็นที่จะเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการเป็นผู้ออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าในอนาคต
4. เรื่องข้อเสนอมาตรการสนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงานมีมติดังนี้
4.1 เห็นควรให้สำนักงบประมาณเร่งรัดการพิจารณาอนุมัติงบกลาง ประจำปี 2542 ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้เสนอขอในวงเงิน 1,164.06 ล้านบาท
4.2 เห็นควรให้กระทรวงการคลังเร่งพิจารณาให้ความเห็นชอบการแก้ไขระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ว่าด้วยกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน
4.3 เห็นควรให้ความเห็นชอบโครงการพัฒนาฝีมือแรงงานตามที่คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เสนอ ซึ่งประกอบด้วยโครงการย่อย 4 โครงการ ได้แก่
1) โครงการฝึกอบรมพนักงานขับรถบรรทุกเพื่อลดอุบัติเหตุ
2) โครงการพัฒนาประสิทธิภาพของผู้ประกอบการวิชาชีพบัญชี
3) โครงการฝึกอบรมบุคลากรด้านเทคโนโลยีการตรวจสอบ
4) โครงการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของเภสัชกรเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในวงเงิน 35 ล้านบาท และให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมพิจารณาให้การสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน
4.4 เห็นควรมอบคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) พิจารณาจัดทำโครงการพัฒนาฝีมือแรงงานในสาขาอาชีพและทักษะที่มีความจำเป็นอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของแรงงานไทย
5. เรื่องข้อเสนอขอยกเว้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตา
เนื่องจากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) มีความเห็นว่า การเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตา ขณะที่เชื้อเพลิงอื่นๆ ที่สามารถใช้ทดแทนน้ำมันเตากลับปรากฎว่าไม่มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ทำให้เกิดการบิดเบือนในการตัดสินใจเลือกใช้เชื้อเพลิงของโรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้า ทำให้ประเทศไทยมีน้ำมันเตาเหลือจำนวนมาก จนต้องส่งออกในราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นและยังต้องนำเข้าถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ทำให้สิ้นเปลืองเงินตราต่างประเทศ ดังนั้น จึงได้เสนอขอให้กระทรวงการคลังพิจารณายกเว้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตา และในข้อเท็จจริง คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้เคยพิจารณานโยบายลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาแลัว เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2540 และมีมติเห็นชอบในหลักการว่าไม่ควรมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตา แต่ขณะนี้เห็นควรให้ยังคงจัดเก็บภาษีตามเดิมไปก่อน จนกว่าฐานะการเงินการคลังของประเทศจะอยู่ในภาวะที่เหมาะสมแล้ว จึงพิจารณาดำเนินการให้มีการยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาต่อไป
ดังนั้น คณะกรรมการ กรอ. จึงมีมติเห็นควรเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตา
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 3/มีนาคม 2542--
ผลการประชุมดังกล่าวมีมติสำคัญ ๆ ในเรื่องต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
1. เรื่องผลการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 16 มีมติดังนี้
1.1 ในส่วนของประเด็นภาพรวม เห็นควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอของผลการสัมมนาดังกล่าวไปพิจารณาดำเนินการ โดยมอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานเพื่อรายงานคณะกรรมการ กรอ. เพื่อทราบต่อไป
1.2 ในส่วนของประเด็นเฉพาะเรื่อง เห็นควรให้ดำเนินการดังนี้
1) การกระจายอำนาจการบริหารงานของภาครัฐบาลส่วนกลางสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น และการกระจายอำนาจการเงินการคลังสู่ท้องถิ่น
เห็นควรมอบฝ่ายเลขานุการฯ ติดตามความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานในการกระจายอำนาจของภาครัฐจากส่วนกลางสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น จากคณะกรรมการทั้ง 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายท้องถิ่นและการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น คณะทำงานด้านการกระจายอำนาจ การให้บริการสาธารณะและกระจายอำนาจการเงินการคลังสู่ท้องถิ่น และคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ เพื่อรายงานผลให้คณะกรรมการ กรอ. เพื่อทราบต่อไป
2) การสร้างกติกาทางการค้าให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีดังนี้
(1) เห็นควรให้กระทรวงพาณิชย์จัดประชุมร่วมกับผู้แทน กกร. ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิอิสระเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกันในแนวทางปฏิบัติเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และลดผลกระทบทางลบให้เหลือน้อยที่สุดในการบังคับใช้พระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า พ.ศ. .......
(2) เห็นควรมีการประชุมหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดในการออกอนุบัญญัติในอนาคต
(3) การออกระเบียบหรือกฎกระทรวงต่าง ๆ ในอนาคต เห็นควรหารือกับ กกร. และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถนำกฎหมายมาบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) การสนับสนุนบทบาท กรอ. จังหวัด ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
(1) เห็นควรสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กร กรอ. จังหวัด และหน่วยงานของกระทรวงมหาดไทยที่ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานนโยบายและการปฏิบัติงานของ กรอ. จังหวัด พร้อมทั้งให้การสนับสนุนด้านงบประมาณตามความจำเป็น เพื่อใช้ในการพัฒนาสมถรรถนะของบุคลากรให้มีความเข้าใจและมีขีดความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับองค์กรภาคเอกชนและเห็นควรสนับสนุนโครงการเพิ่มศักยภาพความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนต่อผู้นำภาครัฐและเอกชนของจังหวัดชายแดน
(2) เห็นควรให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่การประสานงานระหว่าง กรอ. จังหวัด และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นให้เกิดความชัดเจนและมีแนวทางการดำเนินการที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของภาคธุรกิจเอกชนในระดับจังหวัดและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ในทุกระดับ
2. เรื่องการกำหนดอาณาบริเวณของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ณ ท่าเรือแหลมฉบัง
ที่ประชุมเห็นชอบกับผลการพิจารณาของกระทรวงคมนาคม ที่เห็นควรให้กรมเจ้าท่ามีหน้าที่เป็นผู้ควบคุม ดูแล จัดระเบียบจราจรในบริเวณอ่าวศรีราชาและเกาะสีชัง และมอบให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป นอกจากนี้เห็นควรสนับสนุนงบประมาณและบุคลากรที่จำเป็นเพื่อให้กรมเจ้าท่าสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงทางด้านการจัดระเบียบการจราจรและด้านความปลอดภัยเท่านั้น แต่รวมถึงการดูแลสภาวะแวดล้อมทางทะเลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย ขณะเดียวกันเห็นควรเร่งรัดให้กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม เร่งแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 เพื่อให้กรมเจ้าท่ามีอำนาจในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับเรือที่เข้ามาจอดในเขตท่าเรือ ค่าธรรมเนียมในการขนถ่ายสินค้ากลางน้ำและค่าธรรมเนียมประภาคารในอัตราที่เหมาะสม
3. เรื่องการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า
ที่ประชุมเห็นชอบกับโครงการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยต่อการค้าระหว่างประเทศภายใต้กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ซึ่งประกอบด้วยโครงการย่อย 4 โครงการ เสนอโดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้แก่ โครงการประชาสัมพันธ์เรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า โครงการสัมมนาให้ความรู้เรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า โครงการฝึกสอนและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า โครงการปรับปรุงหน่วยงานออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า รวมทั้งเห็นชอบกับโครงการเตรียมความพร้อมของกรมศุลกากรต่อการปฏิบัติตามพันธกรณีขององค์การการค้าโลกภายใต้ความตกลงกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ซึ่งเสนอโดยกรมศุลกากร ขณะเดียวกันยังเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ปรากฎในโครงการที่นำเสนอเร่งจัดทำรายละเอียดของโครงการโดยมอบให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รวบรวมโครงการเพื่อพิจารณาขอสนับสนุนงบประมาณตามความเหมาะสมจากกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นควรมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานหลักเชิญประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อตกลงร่วมกันในแนวทางปฏิบัติ เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า โดยเฉพาะในประเด็นที่จะเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการเป็นผู้ออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าในอนาคต
4. เรื่องข้อเสนอมาตรการสนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงานมีมติดังนี้
4.1 เห็นควรให้สำนักงบประมาณเร่งรัดการพิจารณาอนุมัติงบกลาง ประจำปี 2542 ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้เสนอขอในวงเงิน 1,164.06 ล้านบาท
4.2 เห็นควรให้กระทรวงการคลังเร่งพิจารณาให้ความเห็นชอบการแก้ไขระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ว่าด้วยกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน
4.3 เห็นควรให้ความเห็นชอบโครงการพัฒนาฝีมือแรงงานตามที่คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เสนอ ซึ่งประกอบด้วยโครงการย่อย 4 โครงการ ได้แก่
1) โครงการฝึกอบรมพนักงานขับรถบรรทุกเพื่อลดอุบัติเหตุ
2) โครงการพัฒนาประสิทธิภาพของผู้ประกอบการวิชาชีพบัญชี
3) โครงการฝึกอบรมบุคลากรด้านเทคโนโลยีการตรวจสอบ
4) โครงการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของเภสัชกรเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในวงเงิน 35 ล้านบาท และให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมพิจารณาให้การสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน
4.4 เห็นควรมอบคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) พิจารณาจัดทำโครงการพัฒนาฝีมือแรงงานในสาขาอาชีพและทักษะที่มีความจำเป็นอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของแรงงานไทย
5. เรื่องข้อเสนอขอยกเว้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตา
เนื่องจากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) มีความเห็นว่า การเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตา ขณะที่เชื้อเพลิงอื่นๆ ที่สามารถใช้ทดแทนน้ำมันเตากลับปรากฎว่าไม่มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ทำให้เกิดการบิดเบือนในการตัดสินใจเลือกใช้เชื้อเพลิงของโรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้า ทำให้ประเทศไทยมีน้ำมันเตาเหลือจำนวนมาก จนต้องส่งออกในราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นและยังต้องนำเข้าถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ทำให้สิ้นเปลืองเงินตราต่างประเทศ ดังนั้น จึงได้เสนอขอให้กระทรวงการคลังพิจารณายกเว้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตา และในข้อเท็จจริง คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้เคยพิจารณานโยบายลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาแลัว เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2540 และมีมติเห็นชอบในหลักการว่าไม่ควรมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตา แต่ขณะนี้เห็นควรให้ยังคงจัดเก็บภาษีตามเดิมไปก่อน จนกว่าฐานะการเงินการคลังของประเทศจะอยู่ในภาวะที่เหมาะสมแล้ว จึงพิจารณาดำเนินการให้มีการยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตาต่อไป
ดังนั้น คณะกรรมการ กรอ. จึงมีมติเห็นควรเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตา
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 3/มีนาคม 2542--