(ต่อ9)บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 11, 2005 16:24 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          ภาวะการผลิตในระดับจังหวัด   ชะลอตัวลงเกือบทุกจังหวัดยกเว้น จังหวัดชลบุรี และสระแก้ว ที่ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 12.4 และ 9.4 ตามลำดับ จังหวัดชลบุรีมีสาเหตุจากการผลิตนอกเกษตร โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรม และสาขาการขายส่งการขายปลีกฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 และ 14.9 ตามลำดับจังหวัดสระแก้วมีสาเหตุหลักจากการผลิตภาคเกษตรโดยเฉพาะสาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ และสาขาประมงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 และ 8.8 ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีการขยายตัวชะลอลงได้แก่ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และ นครนายก โดยชะลอลงร้อยละ 11.1  10.8  7.8  3.9  3.4  และ  0.7 ตามลำดับ จังหวัดฉะเชิงเทรา และ ตราด ชะลอลง เนื่องจากการผลิตนอกภาคเกษตร โดยที่ฉะเชิงเทรา ชะลอลงจากสาขาอุตสาหกรรมร้อยละ 15.3 ส่วนตราด ชะลอลงจากสาขาการขนส่งฯ ร้อยละ 8.1 ส่วนจังหวัดจันทบุรี การผลิตภาคเกษตร ทั้งสาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ และสาขาประมงชะลอตัวลงส่วนจังหวัดระยอง นครนายก และปราจีนบุรี สาเหตุการชะลอลงมาจากการผลิตทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร                                                         
อัตราขยายตัวของ GPP ภาคตะวันออก (ร้อยละ)
จังหวัด อัตราขยายตัว สัดส่วนต่อ GRP
2545 2546 2545 2546
1. ชลบุรี 8.3 12.4 36.8 37.7
2. ฉะเชิงเทรา 20.5 11.1 12.6 12.7
3. ระยอง 11.7 7.8 35.9 35.2
4. ตราด 3.7 3.4 1.6 1.5
5. จันทบุรี 4.3 3.9 2.9 2.7
6. นครนายก 6.9 0.7 1.6 1.5
7. ปราจีนบุรี 65.7 10.8 6.3 6.4
8. สระแก้ว 6.4 9.4 2.3 2.3
รวมทั้งภาค 13.2 9.9 100.0 100.0
ภาคตะวันตก
ภาพรวม GRP ในภาคนี้ขยายตัวร้อยละ 6.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.1 ในปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการขยายตัวของทั้งในสาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่ไม้ และสาขาการประมง ในขณะที่การผลิตภาคนอกเกษตรกรรมนั้นมีการชะลอตัวลงเกือบทุกสาขา โดยปัจจัยหลักที่ทำให้มีการชะลอตัวลงมาจากสาขาอุตสาหกรรม ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 24.8 ของ GRP ประกอบกับสาขาการไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา สาขาก่อสร้าง สาขาโรงแรมและภัตตาคาร มีทิศทางชะลอตัวลงเช่นเดียวกัน ยกเว้นในสาขาการขายส่งขายปลีกฯ สาขาการขนส่งฯ และสาขาการให้บริการชุมชนฯ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว
การผลิตภาคเกษตร ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับร้อยละ 1.8 ในปีที่ผ่านมา เนื่องจากการขยายตัวทั้งสองสาขา โดยในสาขาการเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ มีการขยายตัวสูงขึ้น จากร้อยละ 3.0 ในปีก่อนหน้า เป็นร้อยละ 14.2 ในปีนี้ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากหมวดพืช ได้แก่ ข้าว ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง อ้อย และพืชผักต่างๆ มีผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น และสำหรับสาขาการประมงนั้นมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน
เช่นกัน คือร้อยละ 9.6 เนื่องจากในปีนี้ปริมาณการจับสัตว์น้ำสูงขึ้นกว่าปีก่อนหน้าซึ่งปริมาณผลผลิตหดตัวลงถึง ร้อยละ 10.8
อัตราขยายตัวและโครงสร้างการผลิตภาคตะวันตก (ร้อยละ)
อัตราขยายตัว โครงสร้าง
2545 2546 2545 2546
เกษตรกรรม 1.8 13.8 17.2 18.4
นอกเกษตรกรรม 7.0 5.0 82.8 81.6
อุตสาหกรรม 14.0 5.3 25.1 24.8
สาขาอื่นๆ 4.2 4.9 82.8 56.8
GRP 6.1 6.5 100.0 100.0
(ยังมีต่อ).../การผลิตนอก..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ