ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สศช. ให้การต้อนรับ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริษัท ซีพี และคณะ เนื่องในโอกาสเยือนสภาพัฒน์ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ศกนี้ ณ ห้องประชุมเดช สนิทวงศ์ สศช.
ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ประธานกรรมการบริหาร สศช. ได้กล่าวต้อนรับและขอบคุณ นายธนินท์ เจียรวนนท์ และคณะซึ่งประกอบด้วย ดร.อาชว์ เตาลานนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และนายอภัยชนม์ วัชรสินธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ ด้านประสานกิจการสัมพันธ์ ที่ได้ให้เกียรติมาเยี่ยมเยียนสำนักงานฯ
ในโอกาสนี้ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ได้เล่าถึงประสบการณ์ในชีวิตการทำงานในการบรรยายพิเศษ เรื่อง "ประสบการณ์ของบริษัทในการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านและแนวทางการประสานความร่วมมือทางธุรกิจ" ซึ่งได้กล่าวถึงข้อคิดเห็นและประสบการณ์การทำธุรกิจว่า การที่ธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งนั้น เป็นเพราะมีโอกาสนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำธุรกิจและต่อประเทศที่ด้อยพัฒนา
นายธนินท์ กล่าวว่า ในเรื่องการทำการเกษตร สิ่งเริ่มต้นที่สำคัญในการทำเกษตรประการแรก ได้แก่พันธุ์ เพราะถ้าพันธุ์ไม่ดีแล้วต่อให้มีอาหารหรือมีปุ๋ยชั้นเลิศ หรือแม้แต่การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ ก็คงไม่สามารถที่จะเลี้ยงหรือเพาะปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ให้มีผลผลิตได้จำนวนมากอันคุ้มค่ากับการลงทุนได้ สำหรับเรื่องการตลาดก็เป็นสิ่งสำคัญ คือเราต้องศึกษาก่อนว่าเราจะผลิตอะไรคนส่วนใหญ่ต้องการอะไร และถ้าผลิตออกมาแล้วต้นทุนเหมาะสมกับผู้บริโภคหรือไม่ จะต้องขายในราคาเท่าไหร่ผู้ซื้อจึงซื้อไหวและผู้ผลิตมีกำไร ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ต้องไปคู่กันถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอยู่ไม่ได้ ธุรกิจนั้นก็อยู่ไม่ได้
สำหรับในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันที่ค่าเงินบาทลดลงนั้น ประธานกรรมการบริษัท ซีพี กล่าวว่า ภาคธุรกิจที่ดินเป็นภาคที่ได้รับผลกระทบมาก และสาเหตุสำคัญของภาวะเศรษฐกิจวิกฤติปัจจุบันคือเราใช้เงินเกินตัวเรานึกว่าเราเป็นเศรษฐี แต่ความจริงเปล่า เราไปกู้เขามาแล้วมาเที่ยวลงทุน และลงทุนแบบไม่มีประสิทธิภาพ เลยทำให้มีปัญหา
นอกจากนี้ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ได้ให้ข้อคิดเห็นในเรื่องการส่งเสริมการส่งออกว่ารัฐจะต้องศึกษาให้ดีว่าสินค้าอะไรที่เราได้เปรียบที่สุด ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาคิดว่า สินค้าด้านเกษตร เป็นสินค้าที่ประเทศไทยได้เปรียบที่สุด เพราะเรามีพร้อมทุกอย่าง รวมทั้งสิ่งแวลล้อมและถ้าเรามีมาตรการดี ๆ ประเทศไทยเราอาจจะเป็นผู้ผลิตอาหารเพิ่มมูลค่าที่ใหญ่ในระดับต้น ๆ ในส่วนของสาขาอุตสาหกรรมก็ต้องดูว่า เราจะผลิตหรือทำอะไรที่ได้เปรียบประเทศอื่น หรือจะทำอย่างไรให้ประเภทของอุตสาหกรรมนั้น ๆ ได้เปรียบประเทศอื่นด้วย โดยจะต้องร่วมกันคิด ร่วมกันทำทั้งประเทศ มีการวางแผนทุกอย่างสอดคล้องกัน เช่น สินค้าตัวไหนมีตลาดใหญ่ เราต้องมาวางแผนกันว่าจะสร้างวัตถุดิบให้ครบวงจรอย่างไร
นอกจากนี้ รัฐบาลอาจจะต้องมีมาตรการสนับสนุนในอุตสาหกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ที่สามารถนำรายได้หรือเงินตราต่างประเทศให้กับประเทศได้มาก โดยรัฐบาลใช้เครดิตของรัฐบาลหาเงินกู้หรือนำเงินส่วนหนึ่งของรัฐบาลมาให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งถ้าหากรัฐบาลปล่อยให้นักธุรกิจว่าด้วยตัวเอง ใช้พลังความสามารถของตัวเองต่อไป เราคงจะสู้กับประเทศในโลกนี้ได้ยาก
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริษัท ซีพี ยังได้กล่าวถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ว่า รู้สึกประทับใจมากที่แผนฯ 8 เน้นการพัฒนาคน เพราะการพัฒนาอะไรก็ตาม สุดท้ายก็อยู่ที่เรื่องคน แพ้หรือชนะก็อยู่ที่คน และจุดสำคัญคือจะสร้างและพัฒนาคนอย่างไร ซึ่งในเรื่องนี้ยังเป็นห่วงวงการศึกษาของสังคมไทย เพราะคนเก่ง ๆ มักไม่อยากจะเป็นอาจารย์หรือครู แล้วท้ายที่สุด เด็กในวันข้างหน้าซึ่งเป็นเจ้าของประเทศจะเป็นอย่างไร
ในตอนท้าย นายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวขอบคุณและมอบของที่ระลึกแก่ประธานกรรมการบริษัทซีพี และคณะที่กรุณาให้ความรู้และประสบการณ์การทำงานอันมีค่ามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการลงทุนค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2540--
ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ประธานกรรมการบริหาร สศช. ได้กล่าวต้อนรับและขอบคุณ นายธนินท์ เจียรวนนท์ และคณะซึ่งประกอบด้วย ดร.อาชว์ เตาลานนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และนายอภัยชนม์ วัชรสินธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ ด้านประสานกิจการสัมพันธ์ ที่ได้ให้เกียรติมาเยี่ยมเยียนสำนักงานฯ
ในโอกาสนี้ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ได้เล่าถึงประสบการณ์ในชีวิตการทำงานในการบรรยายพิเศษ เรื่อง "ประสบการณ์ของบริษัทในการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านและแนวทางการประสานความร่วมมือทางธุรกิจ" ซึ่งได้กล่าวถึงข้อคิดเห็นและประสบการณ์การทำธุรกิจว่า การที่ธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งนั้น เป็นเพราะมีโอกาสนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำธุรกิจและต่อประเทศที่ด้อยพัฒนา
นายธนินท์ กล่าวว่า ในเรื่องการทำการเกษตร สิ่งเริ่มต้นที่สำคัญในการทำเกษตรประการแรก ได้แก่พันธุ์ เพราะถ้าพันธุ์ไม่ดีแล้วต่อให้มีอาหารหรือมีปุ๋ยชั้นเลิศ หรือแม้แต่การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ ก็คงไม่สามารถที่จะเลี้ยงหรือเพาะปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ให้มีผลผลิตได้จำนวนมากอันคุ้มค่ากับการลงทุนได้ สำหรับเรื่องการตลาดก็เป็นสิ่งสำคัญ คือเราต้องศึกษาก่อนว่าเราจะผลิตอะไรคนส่วนใหญ่ต้องการอะไร และถ้าผลิตออกมาแล้วต้นทุนเหมาะสมกับผู้บริโภคหรือไม่ จะต้องขายในราคาเท่าไหร่ผู้ซื้อจึงซื้อไหวและผู้ผลิตมีกำไร ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ต้องไปคู่กันถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอยู่ไม่ได้ ธุรกิจนั้นก็อยู่ไม่ได้
สำหรับในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันที่ค่าเงินบาทลดลงนั้น ประธานกรรมการบริษัท ซีพี กล่าวว่า ภาคธุรกิจที่ดินเป็นภาคที่ได้รับผลกระทบมาก และสาเหตุสำคัญของภาวะเศรษฐกิจวิกฤติปัจจุบันคือเราใช้เงินเกินตัวเรานึกว่าเราเป็นเศรษฐี แต่ความจริงเปล่า เราไปกู้เขามาแล้วมาเที่ยวลงทุน และลงทุนแบบไม่มีประสิทธิภาพ เลยทำให้มีปัญหา
นอกจากนี้ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ได้ให้ข้อคิดเห็นในเรื่องการส่งเสริมการส่งออกว่ารัฐจะต้องศึกษาให้ดีว่าสินค้าอะไรที่เราได้เปรียบที่สุด ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาคิดว่า สินค้าด้านเกษตร เป็นสินค้าที่ประเทศไทยได้เปรียบที่สุด เพราะเรามีพร้อมทุกอย่าง รวมทั้งสิ่งแวลล้อมและถ้าเรามีมาตรการดี ๆ ประเทศไทยเราอาจจะเป็นผู้ผลิตอาหารเพิ่มมูลค่าที่ใหญ่ในระดับต้น ๆ ในส่วนของสาขาอุตสาหกรรมก็ต้องดูว่า เราจะผลิตหรือทำอะไรที่ได้เปรียบประเทศอื่น หรือจะทำอย่างไรให้ประเภทของอุตสาหกรรมนั้น ๆ ได้เปรียบประเทศอื่นด้วย โดยจะต้องร่วมกันคิด ร่วมกันทำทั้งประเทศ มีการวางแผนทุกอย่างสอดคล้องกัน เช่น สินค้าตัวไหนมีตลาดใหญ่ เราต้องมาวางแผนกันว่าจะสร้างวัตถุดิบให้ครบวงจรอย่างไร
นอกจากนี้ รัฐบาลอาจจะต้องมีมาตรการสนับสนุนในอุตสาหกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ที่สามารถนำรายได้หรือเงินตราต่างประเทศให้กับประเทศได้มาก โดยรัฐบาลใช้เครดิตของรัฐบาลหาเงินกู้หรือนำเงินส่วนหนึ่งของรัฐบาลมาให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งถ้าหากรัฐบาลปล่อยให้นักธุรกิจว่าด้วยตัวเอง ใช้พลังความสามารถของตัวเองต่อไป เราคงจะสู้กับประเทศในโลกนี้ได้ยาก
นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริษัท ซีพี ยังได้กล่าวถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ว่า รู้สึกประทับใจมากที่แผนฯ 8 เน้นการพัฒนาคน เพราะการพัฒนาอะไรก็ตาม สุดท้ายก็อยู่ที่เรื่องคน แพ้หรือชนะก็อยู่ที่คน และจุดสำคัญคือจะสร้างและพัฒนาคนอย่างไร ซึ่งในเรื่องนี้ยังเป็นห่วงวงการศึกษาของสังคมไทย เพราะคนเก่ง ๆ มักไม่อยากจะเป็นอาจารย์หรือครู แล้วท้ายที่สุด เด็กในวันข้างหน้าซึ่งเป็นเจ้าของประเทศจะเป็นอย่างไร
ในตอนท้าย นายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวขอบคุณและมอบของที่ระลึกแก่ประธานกรรมการบริษัทซีพี และคณะที่กรุณาให้ความรู้และประสบการณ์การทำงานอันมีค่ามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการลงทุนค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2540--