เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดให้มีการสัมมนาเรื่องแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนภาคตะวันออก ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี
นายไพโรจน์ สุจินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวรายงานความเป็นมาของการจัดสัมมนาว่า คณะอนุกรรมการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค (กจภ.) ในคณะกรรมการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนภ.) ได้มีมติมอบหมายให้สศช. จัดทำแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดน ซึ่งเป็นแผนงานสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเตรียมความพร้อมในส่วนของประเทศไทยที่จะรองรับผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาความร่วมมือ โดยพิจารณาปรับปรุงทั้งในส่วนของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กฎระเบียบและพิธีการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนและการค้าชายแดน
ดังนั้น สศช.จึงได้จัดการสัมมนาครั้งนี้ เพื่อระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่ได้จากการสัมมนามาใช้ประกอบในการพิจารณาจัดทำเป็นแผนงานโครงการ และประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลในการดำเนินงาน ตลอดจนนำเสนอเรื่องต่าง ๆ ทางด้านนโยบายเพื่อนำไปสู่การพิจารณาให้มีผลในทางปฏิบัติต่อไป
นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานในพิธีเปิดการสัมมนาได้กล่าวปาฐกถาพิเศษว่า สืบเนื่องจากวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนจะเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจเพื่อนบ้านได้เร็วที่สุด รวมทั้งการที่ประเทศไทยมีลักษณะทางภูมิศาสตร์เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนามากกว่าประเทศรอบข้างมากที่สุด จึงมีศักยภาพและโอกาสในการเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนสูง
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ดำเนินการเชื่อมโยงสนับสนุนเศรษฐกิจเพื่อนบ้านทั้งในด้านการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและทำการค้าต่างตอบแทนไปบางส่วนแล้ว อาทิ ด้านพลังงานซึ่งประเทศไทยได้ตกลงจะซื้อไฟฟ้าจากประเทศลาว 3,000 เมกกะวัตต์ และประเทศลาวกำลังดำเนินการก่อสร้างเขื่อน โดยใช้วัสดุก่อสร้าง วัตถุดิบ แรงงาน และวิศวกรจากไทยเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งกันและกัน ดังนั้น การพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนจึงจำเป็นต้องมีการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยอย่างเป็นระบบและรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตาม แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี ตราด จำเป็นต้องร่วมมือกับประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องประสานสร้างความเชื่อมโยงให้มีประตูติดต่อสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพ ลดระยะทางและต้นทุนการขนส่ง อาศัยแรงงานและทรัพยากรซึ่งกันและกัน เพื่อให้มีการขนส่งสินค้าและการพัฒนาอุตสาหกรรมเชื่อมโยง ซึ่งจะเป็นฐานสำคัญของประเทศไทยในการส่งออกสินค้าไปยังเอเชียตะวันออก และเป็นตัวเชื่อมเสริมสร้างให้ไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจที่สำคัญของโลกในเอเชียต่อไป
สำหรับผลการสัมมนาเบื้องต้นสามารถสรุปข้อคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนาในประเด็นที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
- ด้านนโยบาย รัฐบาลควรสร้างความมั่นใจให้กับภาคเอกชนในนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน รวมทั้งความต่อเนื่องในการดำเนินงานตามนโยบายให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
- การสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ควรพิจารณาทั้งภายในประเทศที่จะเชื่อมโยงพื้นที่ชายแดนและในประเทศกัมพูชาด้วย
- การประสานงานของภาครัฐและภาคเอกชน ควรสร้างความเข้าใจในระดับนโยบายและปฏิบัติให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
ภายหลังจากการสัมมนาเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นในพื้นที่ชายแดนครบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านประเทศพม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซียแล้ว สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยศูนย์พัฒนาภาคแต่ละแห่งจะได้ร่วมกันทำการรวบรวมและจัดทำผลสรุปจากการสัมมนาให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน และจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการอีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำข้อคิดเห็นต่าง ๆ ไปใช้ประกอบในการจัดทำบทสรุปข้อเสนอแนะขั้นสุดท้ายก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 4/เมษายน 2541--
นายไพโรจน์ สุจินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวรายงานความเป็นมาของการจัดสัมมนาว่า คณะอนุกรรมการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค (กจภ.) ในคณะกรรมการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนภ.) ได้มีมติมอบหมายให้สศช. จัดทำแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดน ซึ่งเป็นแผนงานสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเตรียมความพร้อมในส่วนของประเทศไทยที่จะรองรับผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาความร่วมมือ โดยพิจารณาปรับปรุงทั้งในส่วนของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กฎระเบียบและพิธีการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนและการค้าชายแดน
ดังนั้น สศช.จึงได้จัดการสัมมนาครั้งนี้ เพื่อระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่ได้จากการสัมมนามาใช้ประกอบในการพิจารณาจัดทำเป็นแผนงานโครงการ และประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลในการดำเนินงาน ตลอดจนนำเสนอเรื่องต่าง ๆ ทางด้านนโยบายเพื่อนำไปสู่การพิจารณาให้มีผลในทางปฏิบัติต่อไป
นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานในพิธีเปิดการสัมมนาได้กล่าวปาฐกถาพิเศษว่า สืบเนื่องจากวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนจะเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจเพื่อนบ้านได้เร็วที่สุด รวมทั้งการที่ประเทศไทยมีลักษณะทางภูมิศาสตร์เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนามากกว่าประเทศรอบข้างมากที่สุด จึงมีศักยภาพและโอกาสในการเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนสูง
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ดำเนินการเชื่อมโยงสนับสนุนเศรษฐกิจเพื่อนบ้านทั้งในด้านการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและทำการค้าต่างตอบแทนไปบางส่วนแล้ว อาทิ ด้านพลังงานซึ่งประเทศไทยได้ตกลงจะซื้อไฟฟ้าจากประเทศลาว 3,000 เมกกะวัตต์ และประเทศลาวกำลังดำเนินการก่อสร้างเขื่อน โดยใช้วัสดุก่อสร้าง วัตถุดิบ แรงงาน และวิศวกรจากไทยเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งกันและกัน ดังนั้น การพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนจึงจำเป็นต้องมีการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยอย่างเป็นระบบและรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตาม แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี ตราด จำเป็นต้องร่วมมือกับประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องประสานสร้างความเชื่อมโยงให้มีประตูติดต่อสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพ ลดระยะทางและต้นทุนการขนส่ง อาศัยแรงงานและทรัพยากรซึ่งกันและกัน เพื่อให้มีการขนส่งสินค้าและการพัฒนาอุตสาหกรรมเชื่อมโยง ซึ่งจะเป็นฐานสำคัญของประเทศไทยในการส่งออกสินค้าไปยังเอเชียตะวันออก และเป็นตัวเชื่อมเสริมสร้างให้ไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจที่สำคัญของโลกในเอเชียต่อไป
สำหรับผลการสัมมนาเบื้องต้นสามารถสรุปข้อคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนาในประเด็นที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
- ด้านนโยบาย รัฐบาลควรสร้างความมั่นใจให้กับภาคเอกชนในนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน รวมทั้งความต่อเนื่องในการดำเนินงานตามนโยบายให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
- การสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ควรพิจารณาทั้งภายในประเทศที่จะเชื่อมโยงพื้นที่ชายแดนและในประเทศกัมพูชาด้วย
- การประสานงานของภาครัฐและภาคเอกชน ควรสร้างความเข้าใจในระดับนโยบายและปฏิบัติให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
ภายหลังจากการสัมมนาเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นในพื้นที่ชายแดนครบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านประเทศพม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซียแล้ว สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยศูนย์พัฒนาภาคแต่ละแห่งจะได้ร่วมกันทำการรวบรวมและจัดทำผลสรุปจากการสัมมนาให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน และจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการอีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำข้อคิดเห็นต่าง ๆ ไปใช้ประกอบในการจัดทำบทสรุปข้อเสนอแนะขั้นสุดท้ายก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 4/เมษายน 2541--