เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและหอการค้าต่างประเทศในประเทศไทย ณ ห้องประชุมชั้น 10 อาคารศรีจุลทรัพย์
ในการประชุมดังกล่าว นายสาวิตต์ โพธิวิหค ได้บรรยายสรุปเรื่องแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยพร้อมทั้งชี้แจงรายละเอียดของหนังสือแสดงความจำนงขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการและการเงิน ฉบับที่ 6 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2541 และจะเสนอต่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประมาณกลางเดือนธันวาคม 2541 โดยหนังสือฉบับดังกล่าวได้ระบุถึงการคาดประมาณดัชนีต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสภาพทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (Real GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 อัตราเงินเฟ้อลดลงมาที่อัตราร้อยละ 2-3 ดุลการชำระเงินเกินดุลเพิ่มขึ้นเป็น 11,000 ล้านบาท เป็นต้น
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวถึงสถานะความก้าวหน้าในการพิจารณากฎหมายเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของรัฐสภา นอกจากนี้ ฝ่ายเลขานุการคณะทำงานฯ ได้ดำเนินการแปลและรวบรวมคำแปลกฎหมายฉบับต่าง ๆ ดังกล่าว รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรี กฎกระทรวง พระราชกฤษฎีกาประกอบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และกิจกรรมต่าง ๆ ของหอการค้าต่างประเทศที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อมอบให้หอการค้าต่างประเทศด้วย
ในส่วนทางด้านหอการค้าต่างประเทศ ได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของหอการค้าต่างประเทศ เพื่อช่วยส่งเสริมความพยายามในการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย 7 ประการ คือ
(1) การให้บริการพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ และการมีบทบาทในการพัฒนาสังคมไทย
(2) การแต่งตั้งให้ผู้แทนของหอการค้าต่างประเทศเข้าร่วมในคณะผู้แทนทางการค้าต่าง ๆ
(3) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องของประเทศไทยต่อต่างประเทศ ซึ่งหอการค้าต่างประเทศสามารถมีบทบาทในการเผยแพร่ได้ โดยรัฐบาลจะต้องให้การสนับสนุนในด้านข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
(4) การมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาเสนอแนะนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลไทย
(5) การขอความสนับสนุนจากรัฐบาลต่างประเทศในเรื่องต่าง ๆ เช่น ประเด็นเรื่องการค้าระหว่างประเทศ หรือประเด็นทางกฎหมาย ซึ่งหอการค้าต่างประเทศสามารถมีบทบาทได้มาก
(6) การสนับสนุนด้านวิชาการ เนื่องจากหอการค้าต่างประเทศมีบุคลากรและเครื่องมือต่าง ๆ ที่สามารถให้การสนับสนุนแก่ประเทศไทยได้ เช่น ประสบการณ์ด้านการปฏิรูปกฎหมาย การส่งเสริมการลงทุน ทักษะและความเชี่ยวชาญด้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การปรับปรุงโครงสร้างภาษี เป็นต้น
(7) การเพิ่มบทบาทของคณะกรรมการประสานหอการค้าต่างประเทศ (FCCCC) ซึ่งเป็นเวทีสำคัญในการสร้างความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับหอการค้าต่างประเทศ
ในตอนท้ายของการประชุม นายสาวิตต์ โพธิวิหค ได้ขอความร่วมมือจากหอการค้าต่างประเทศในการเข้าร่วมสนับสนุนการเฉลิมฉลอง ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ ในปี 2542 อีกด้วย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 12/ธันวาคม 2541--
ในการประชุมดังกล่าว นายสาวิตต์ โพธิวิหค ได้บรรยายสรุปเรื่องแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยพร้อมทั้งชี้แจงรายละเอียดของหนังสือแสดงความจำนงขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการและการเงิน ฉบับที่ 6 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2541 และจะเสนอต่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประมาณกลางเดือนธันวาคม 2541 โดยหนังสือฉบับดังกล่าวได้ระบุถึงการคาดประมาณดัชนีต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสภาพทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (Real GDP) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 อัตราเงินเฟ้อลดลงมาที่อัตราร้อยละ 2-3 ดุลการชำระเงินเกินดุลเพิ่มขึ้นเป็น 11,000 ล้านบาท เป็นต้น
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวถึงสถานะความก้าวหน้าในการพิจารณากฎหมายเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของรัฐสภา นอกจากนี้ ฝ่ายเลขานุการคณะทำงานฯ ได้ดำเนินการแปลและรวบรวมคำแปลกฎหมายฉบับต่าง ๆ ดังกล่าว รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรี กฎกระทรวง พระราชกฤษฎีกาประกอบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และกิจกรรมต่าง ๆ ของหอการค้าต่างประเทศที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อมอบให้หอการค้าต่างประเทศด้วย
ในส่วนทางด้านหอการค้าต่างประเทศ ได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของหอการค้าต่างประเทศ เพื่อช่วยส่งเสริมความพยายามในการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย 7 ประการ คือ
(1) การให้บริการพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ และการมีบทบาทในการพัฒนาสังคมไทย
(2) การแต่งตั้งให้ผู้แทนของหอการค้าต่างประเทศเข้าร่วมในคณะผู้แทนทางการค้าต่าง ๆ
(3) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องของประเทศไทยต่อต่างประเทศ ซึ่งหอการค้าต่างประเทศสามารถมีบทบาทในการเผยแพร่ได้ โดยรัฐบาลจะต้องให้การสนับสนุนในด้านข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
(4) การมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาเสนอแนะนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลไทย
(5) การขอความสนับสนุนจากรัฐบาลต่างประเทศในเรื่องต่าง ๆ เช่น ประเด็นเรื่องการค้าระหว่างประเทศ หรือประเด็นทางกฎหมาย ซึ่งหอการค้าต่างประเทศสามารถมีบทบาทได้มาก
(6) การสนับสนุนด้านวิชาการ เนื่องจากหอการค้าต่างประเทศมีบุคลากรและเครื่องมือต่าง ๆ ที่สามารถให้การสนับสนุนแก่ประเทศไทยได้ เช่น ประสบการณ์ด้านการปฏิรูปกฎหมาย การส่งเสริมการลงทุน ทักษะและความเชี่ยวชาญด้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การปรับปรุงโครงสร้างภาษี เป็นต้น
(7) การเพิ่มบทบาทของคณะกรรมการประสานหอการค้าต่างประเทศ (FCCCC) ซึ่งเป็นเวทีสำคัญในการสร้างความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับหอการค้าต่างประเทศ
ในตอนท้ายของการประชุม นายสาวิตต์ โพธิวิหค ได้ขอความร่วมมือจากหอการค้าต่างประเทศในการเข้าร่วมสนับสนุนการเฉลิมฉลอง ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ ในปี 2542 อีกด้วย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 15 ฉบับที่ 12/ธันวาคม 2541--