- สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวในระดับสูงในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ ก่อนจะตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯโดยรวมปรับตัวลดลงตามพันธบัตรรัฐบาลระยะกลางและยาวออกใหม่ที่มีอัตราผลตอบแทนลดลง
- เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรหลังจากนักลงทุนคาดการณ์ว่า FOMC อาจยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาอันใกล้ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทปรับอ่อนค่าลงตามเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินจากการสำรองเงินเพื่อการปิดสำรองรายปักษ์ในวันอังคารมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรทุกระยะ และเริ่มมีการโอนเงินของภาครัฐเพื่อเตรียมจ่ายเงินเดือน ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการลงทุนเพิ่มสูงขึ้น แต่สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์
เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูง จึงมีความต้องการกู้ยืมสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วัน อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 1 7 และ 14 วัน ปิดตลาดคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงติดต่อกันตั้งแต่ช่วงกลางเดือนตุลาคม 2548 ที่ระดับร้อยละ 3.6875 3.75 และ 3.75 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในสัปดาห์นี้มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.78125 ต่อปี ในช่วงกลางสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.4 -3.8 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 3.68 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 31,500 ล้านบาท เป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาทพันธบัตรรัฐบาลอายุ 4ปี 6 เดือน 9 ปี 6 เดือน และ 14 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 4,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน 364 วัน และ 2 ปีวงเงินรวม 17,000 ล้านบาท แต่เนื่องจากพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน มีผู้เสนออัตราผลตอบแทนค่อนข้างสูง จึงมีการจัดสรรเพียง 5,450 ล้านบาท ทำให้มีตราสารภาครัฐออกใหม่ทั้งสิ้น 28,950 ล้านบาท โดยตราสารระยะสั้น ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 91 วัน พันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน และ 364 วัน มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ส่วนตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน พันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี และพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนลดลง และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 20,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 8,950 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 66,027 ล้านบาท คิดเป็น 13,205 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 72 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) โดยรวมปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว อีก 5-36 basis points เนื่องจากผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรกที่ปรับตัวลดลงมาก ซึ่งการปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนโดยรวมส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 145 และ 44 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury ผลตอบแทนพันธบัตร ฯ ส่วนใหญ่ลดลงเนื่องมาจากกระแสการความวิตกเกี่ยวกับปัญหาการขึ้นดอกเบี้ยที่อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่าง 41.11 - 41.19 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยในช่วงต้นสัปดาห์เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากดุลการค้าในเดือนตุลาคมกลับมาขาดดุลถึง 185 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับในช่วงกลางสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรหลังจากรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ระบุว่าอาจมีความเสี่ยงจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากเกินไป ซึ่งส่งผลให้ตลาดตีความว่า FOMC อาจยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในระยะเวลาอันใกล้ อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับอ่อนค่าลงอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ ตามการอ่อนค่าของเงินเยนซึ่งปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 2 ปี เนื่องจากญี่ปุ่นยังคงมีความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืด ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำต่อไป ขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากดัชนีผู้บริโภคในเดือนตุลาคมฟื้นตัวดีขึ้น และอยู่ในระดับสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.15 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯโดยรวมปรับตัวลดลงตามพันธบัตรรัฐบาลระยะกลางและยาวออกใหม่ที่มีอัตราผลตอบแทนลดลง
- เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรหลังจากนักลงทุนคาดการณ์ว่า FOMC อาจยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาอันใกล้ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทปรับอ่อนค่าลงตามเงินเยน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินจากการสำรองเงินเพื่อการปิดสำรองรายปักษ์ในวันอังคารมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรทุกระยะ และเริ่มมีการโอนเงินของภาครัฐเพื่อเตรียมจ่ายเงินเดือน ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการลงทุนเพิ่มสูงขึ้น แต่สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์
เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการดำรงเงินสดสำรองในระดับสูง จึงมีความต้องการกู้ยืมสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วัน อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 1 7 และ 14 วัน ปิดตลาดคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงติดต่อกันตั้งแต่ช่วงกลางเดือนตุลาคม 2548 ที่ระดับร้อยละ 3.6875 3.75 และ 3.75 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในสัปดาห์นี้มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.78125 ต่อปี ในช่วงกลางสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3.4 -3.8 ขณะที่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 3.68 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 31,500 ล้านบาท เป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาทพันธบัตรรัฐบาลอายุ 4ปี 6 เดือน 9 ปี 6 เดือน และ 14 ปี 6 เดือน วงเงินรวม 4,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน 364 วัน และ 2 ปีวงเงินรวม 17,000 ล้านบาท แต่เนื่องจากพันธบัตร ธปท. อายุ 364 วัน มีผู้เสนออัตราผลตอบแทนค่อนข้างสูง จึงมีการจัดสรรเพียง 5,450 ล้านบาท ทำให้มีตราสารภาครัฐออกใหม่ทั้งสิ้น 28,950 ล้านบาท โดยตราสารระยะสั้น ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 91 วัน พันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน และ 364 วัน มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ส่วนตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน พันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี และพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนลดลง และในสัปดาห์นี้มีตราสารภาครัฐครบกำหนด 20,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 8,950 ล้านบาท มูลค่าการซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 66,027 ล้านบาท คิดเป็น 13,205 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 72 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) โดยรวมปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว อีก 5-36 basis points เนื่องจากผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรกที่ปรับตัวลดลงมาก ซึ่งการปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนโดยรวมส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 145 และ 44 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury ผลตอบแทนพันธบัตร ฯ ส่วนใหญ่ลดลงเนื่องมาจากกระแสการความวิตกเกี่ยวกับปัญหาการขึ้นดอกเบี้ยที่อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่าง 41.11 - 41.19 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยในช่วงต้นสัปดาห์เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากดุลการค้าในเดือนตุลาคมกลับมาขาดดุลถึง 185 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับในช่วงกลางสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรหลังจากรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ระบุว่าอาจมีความเสี่ยงจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากเกินไป ซึ่งส่งผลให้ตลาดตีความว่า FOMC อาจยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในระยะเวลาอันใกล้ อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับอ่อนค่าลงอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ ตามการอ่อนค่าของเงินเยนซึ่งปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 2 ปี เนื่องจากญี่ปุ่นยังคงมีความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืด ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำต่อไป ขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากดัชนีผู้บริโภคในเดือนตุลาคมฟื้นตัวดีขึ้น และอยู่ในระดับสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.15 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-