เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "แนวทางการบริหารจัดการฟื้นฟูทะเลไทยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน" ขึ้น ณ โรงแรมดุสิตรีสอร์ท แอนด์โปโลคลับ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวบรรยายพิเศษในการสัมมนาครั้งนี้ว่า ทะเลไทยเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีค่ามหาศาลของไทย ไม่ว่าจะเป็นแหล่งทรัพยากรประมง ทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นแหล่งผลิตอาหารประเภทสัตว์น้ำที่สำคัญของประชากรในประเทศและเพื่อการส่งออก เป็นแหล่งพลังงานสำรองของประเทศ รวมทั้งยังเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญอีกด้วย
สืบเนื่องจากที่มีการใช้ประโยชน์จากทะเลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับการที่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างฟุ่มเฟือยจนทำให้ทะเลไทยเสื่อมโทรมลง รวมทั้งพบว่าผู้ใช้ประโยชน์จากทะเลในแต่ละกลุ่มต่างมุ่งกอบโกยผลประโยชน์โดยขาดการพิจารณาถึงผลกระทบโดยรวม ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรหรือเกิดความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วมกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูทะเลไทย โดยวางแผนแม่บทและสนับสนุนงบประมาณที่เป็นรูปธรรมในการพัฒนาทรัพยากรในท้องทะเลไทยไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
นายสาวิตต์ โพธิวิหค กล่าวต่อไปว่า สำหรับแนวทางการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การปฏิบัตินั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ การจัดทำแผนรวม ซึ่งเป็นแผนที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในการวิเคราะห์ ศึกษาและวิจัยถึงการใช้ประโยชน์จากทะเลไทย การใช้พื้นที่ชายฝั่งทะเลเพื่อใช้ประกอบในการวางแผนแม่บทที่เป็นรูปธรรมต่อไป ในส่วนนี้จะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานพอสมควร แต่ในขณะเดียวกัน ส่วนที่สามารถดำเนินการได้ทันทีคือ การจัดทำแผนปฏิบัติการเร่งด่วน ซึ่งมีเรื่องที่จะต้องเร่งดำเนินการ คือ การใช้ที่ดิน ป่าชายเลน การหาแนวทางเพื่อแก้ไขความขัดแย้งของผู้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน การใช้พื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว การกำหนดการใช้พื้นที่ (ZOING) ในหลายพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งและการควบคุมการปล่อยมลพิษที่ไปสะสมในท้องทะลที่มีผลกระทบต่อสัตว์ทะเลแล้วกลับคืนสู่ผู้บริโภค ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วแผนเร่งด่วนควรประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) เป็นแผนปฏิบัติที่มีความชัดเจน 2) ต้องมีองค์กรรับผิดชอบในการดำเนินงาน และ 3) ต้องได้รับการสนับสนุนในเรื่องงบประมาณ เพื่อสามารถดำเนินการแปลงแผนให้ออกมาเป็นรูปธรรม
ส่วนแนวทางการจัดการในเรื่องกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบันอันเกิดจากการปฏิบัติที่ซ้ำซ้อนกันของหลายหน่วยงานนั้น ควรมีกฎหมายบังคับใช้ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อดูแลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ ทั้งในเรื่องการจับสัตว์น้ำ และการดูแลคุณภาพน้ำ การดูแลการใช้ทรัพยากรใต้ทะเล การดูแลการใช้พื้นที่ชายฝั่งทะเล นอกจากนี้แล้วกฎหมายดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายสากลด้วย เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านและไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมของโลกด้วย รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศไทยและสังคมโดยรวมต่อไป
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำในตอนท้ายว่า ทะเลไทยเป็นของประชาชนชาวไทยทั้ง 60 กว่าล้านคน ประกอบกับรัฐธรรมนูญก็ได้กำหนดไว้ว่าประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล วางแผนการพัฒนาทรัพยากรของชาติ ดังนั้นการดำเนินงานในเรื่องนี้มิใช่เป็นเรื่องของภาคราชการหรือของรัฐบาลเพียงอย่างเดียว แต่ประชาชนชาวไทยทั้ง 60 กว่าล้านคน จะต้องช่วยกันดูแลให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วยกันดูแลไม่ให้เกิดผลกระทบต่อกิจกรรมของชาติบ้านเมืองของเราให้เป็นทรัพยากรของลูกหลานเราสืบไป
นอกจากนี้แล้ว นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกล่าวว่า นโยบายและแนวทางบริหารจัดการฟื้นฟูทะเลไทย รัฐบาลมีความมุ่งหมายที่จะให้มีการจัดการใช้ประโยชน์ทะเล ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรอันมีค่าและมีความสำคัญยิ่งทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ โดยคำนึงถึงความยั่งยืนและเกิดความสมดุลของการใช้ประโยชน์ การฟื้นฟูตามธรรมชาติที่เกิดทดแทนได้ รวมทั้งการเสริมสร้างให้ทะเลไทยเป็นฐานการผลิตทางเศรษฐกิจของประเทศที่เกื้อหนุนต่อการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอีกด้วย
การสัมมนาในครั้งนี้ ได้จัดให้มีการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมสัมมนาใน 2 ประเด็นคือ 1) แนวทางการบริหารจัดการทะเลไทย และ 2) แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลน ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เสนอแนะแนวทางและมาตรการในการบริหารจัดการ สรุปได้ดังนี้คือ
1. แนวทางการบริหารจัดการทะเลไทย ได้เสนอแนะในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1) ภาพรวมของการบริหารจัดการ
- ควรกำหนดขอบเขตของทะเลไทยให้ชัดเจน
- กำหนดนโยบายการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลแต่ละประเภท โดยคำนึงถึงมิติทางเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศโดยรวมเป็นสำคัญ พร้อมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทะเลไทยด้วย
- ควรมีนโยบายและแผนการบริหารจัดการทะเลไทยที่เป็นเอกภาพและเด่นชัด
- ควรมีการจำแนกการใช้ประโยชน์ทางทะเลเพื่อกำหนดและแบ่งเขตในการใช้ประโยชน์แต่ละประเภท รวมทั้งกิจกรรมชายฝั่งและในทะเล
- แผนบริหารจัดการทะเลไทยในระดับนโยบายของภาคและท้องถิ่นควรสอดประสานกันอยางเหมาะสม
2) ด้านกฎหมาย
- ควรมีกฎหมายทางทะเลของไทยที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการและผลประโยชน์ของชาติ
- แก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับพันธกรณีและหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อตอบสนองผลประโยชน์ของประเทศ
3) ด้านการท่องเที่ยว
- ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล
- การพัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเล โดยคำนึงถึงศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่และจัดการให้เหมาะสม สอดคล้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากร
- เปิดโอกาสให้ประชาชนและองค์กรชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว
- ให้การศึกษาและสร้างจิตสำนึกของการรักษาทรัพยากรมากกว่ามุ่งหวังผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและด้านการเงินเพียงอย่างเดียว
- สนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดแนวทางการจัดการทะเลไทยในส่วนของการท่องเที่ยว รวมทั้งจัดทำแนวทางปฏิบัติ เพื่อเป็นมาตรฐานการดำเนินงานของกิจกรรมท่องเที่ยวในทะเลของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
4) ด้านพาณิชย์นาวี
- สนับสนุนหลักการเสรีภาพในการเดินเรือ (Freedom of Navigation)
- ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์กลางท่าเรือ (Hob Port) รวมทั้งองค์กรกำกับดูแล
5) ด้านทรัพยากรไม่มีชีวิต
- ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่เกิดจากกิจกรรมบนบก
- ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่เกิดจากกิจกรรมในทะเล
6) ด้านทรัพยากรมีชีวิต
- จัดระบบการทำประมงให้สอดคล้องกับศักยภาพของทรัพยากร
- พิจารณาความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐกิจในการส่งเสริมการทำประมงนอกน่านน้ำ
- เร่งรัดแนวทางปฏิบัติเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ
- กำหนดเขตพื้นที่ในทะเลที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อลดปริมาณการจับ
- นำเทคโนโลยีมาใช้ในการฟื้นฟู ควบคุมและใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
2. แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ให้ข้อเสนอแนะ แนวทางและมาตรการ สรุปได้ดังนี้
1) ด้านนโยบายของประเทศ
- กรอบแนวทางในการจัดการป่าชายเลน จะต้องคำนึงถึงมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเด็นการใช้ประโยชน์ การอนุรักษ์และการฟื้นฟู เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
- การสัมปทานป่าชายเลนที่หมดอายุ
- การฟื้นฟูป่าชายเลนบริเวณอ่าวไทย ซึ่งมีพื้นที่ 2 แสนไร่
- ควรมีการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับป่าชายเลนให้มีทิศทางและนโยบายที่ชัดเจนและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ควรมีศูนย์ข้อมูลด้านป่าชายเลนที่สามารถศึกษาค้นคว้าได้ทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้างที่ครอบคลุมถึงด้านกายภาพของพื้นที่ในระดับจังหวัด พร้อมทั้งมีหน่วยงานที่เข้ามาดูแลเรื่องนี้โดยตรง
2) ด้านการบริหารจัดการ
- ควรมีการแบ่งเขต (ZONING) พื้นที่ป่าชายเลน โดยเน้นให้มีรูปแบบการจัดการโดยชุมชน (COMMUNITY MANAGEMENT)
- ควรมีกลไกในการเปิดโอกาสให้องค์กรพัฒนาเอกชน ประชาชนในพื้นที่และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการป่าชายเลนร่วมกับภาครัฐ
- เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านกระบวนการศึกษาทั้งในและนอกระบบ
3) กรอบแนวทางเพื่อส่งผลในทางปฏิบัติ
- สนับสนุนการเร่งรัดฟื้นฟูที่นากุ้งร้าง เหมืองร้าง และหาดเลนงอกใหม่
- ดำเนินการประสานความร่วมมือปลูกป่าชายเลนในทุกภาคส่วน
- ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนกำหนดแนวทางและมาตรการต่าง ๆ
นายสันติ บางอ้อ ได้กล่าวตอนท้ายว่า ที่ผ่านมา ข้อจำกัดที่ทำให้การบริหารจัดการไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร มีปัจจัยอยู่ 2 ประการคือ ความไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลในการดำเนินงาน ซึ่งนับเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การดำเนินงานไม่มีความต่อเนื่องเท่าที่ควรและ ความไม่มีเอกภาพ เนื่องจากไม่มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่ชัดเจนในการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อใช้เป็นหลักในการปฏิบัติ จึงทำให้ไม่มีความเป็นเอกภาพทั้งในด้านความคิดและการปฏิบัติ
ดังนั้น การบริหารจัดการเป็นการดำเนินการที่ต้องใช้ระยะเวลา ต้องมีแผนและแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติ โดยมีหน่วยงานที่เข้ามาดูแลรับผิดชอบอย่างเป็นเอกภาพ รวมทั้ง มีทรัพยากรที่พร้อมในการดำเนินงาน เช่น ได้รับงบประมาณที่พอเพียงในการสนับสนุนการดำเนินงานให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2542--
นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวบรรยายพิเศษในการสัมมนาครั้งนี้ว่า ทะเลไทยเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีค่ามหาศาลของไทย ไม่ว่าจะเป็นแหล่งทรัพยากรประมง ทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นแหล่งผลิตอาหารประเภทสัตว์น้ำที่สำคัญของประชากรในประเทศและเพื่อการส่งออก เป็นแหล่งพลังงานสำรองของประเทศ รวมทั้งยังเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญอีกด้วย
สืบเนื่องจากที่มีการใช้ประโยชน์จากทะเลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับการที่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างฟุ่มเฟือยจนทำให้ทะเลไทยเสื่อมโทรมลง รวมทั้งพบว่าผู้ใช้ประโยชน์จากทะเลในแต่ละกลุ่มต่างมุ่งกอบโกยผลประโยชน์โดยขาดการพิจารณาถึงผลกระทบโดยรวม ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรหรือเกิดความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วมกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูทะเลไทย โดยวางแผนแม่บทและสนับสนุนงบประมาณที่เป็นรูปธรรมในการพัฒนาทรัพยากรในท้องทะเลไทยไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
นายสาวิตต์ โพธิวิหค กล่าวต่อไปว่า สำหรับแนวทางการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การปฏิบัตินั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ การจัดทำแผนรวม ซึ่งเป็นแผนที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในการวิเคราะห์ ศึกษาและวิจัยถึงการใช้ประโยชน์จากทะเลไทย การใช้พื้นที่ชายฝั่งทะเลเพื่อใช้ประกอบในการวางแผนแม่บทที่เป็นรูปธรรมต่อไป ในส่วนนี้จะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานพอสมควร แต่ในขณะเดียวกัน ส่วนที่สามารถดำเนินการได้ทันทีคือ การจัดทำแผนปฏิบัติการเร่งด่วน ซึ่งมีเรื่องที่จะต้องเร่งดำเนินการ คือ การใช้ที่ดิน ป่าชายเลน การหาแนวทางเพื่อแก้ไขความขัดแย้งของผู้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน การใช้พื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว การกำหนดการใช้พื้นที่ (ZOING) ในหลายพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งและการควบคุมการปล่อยมลพิษที่ไปสะสมในท้องทะลที่มีผลกระทบต่อสัตว์ทะเลแล้วกลับคืนสู่ผู้บริโภค ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วแผนเร่งด่วนควรประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) เป็นแผนปฏิบัติที่มีความชัดเจน 2) ต้องมีองค์กรรับผิดชอบในการดำเนินงาน และ 3) ต้องได้รับการสนับสนุนในเรื่องงบประมาณ เพื่อสามารถดำเนินการแปลงแผนให้ออกมาเป็นรูปธรรม
ส่วนแนวทางการจัดการในเรื่องกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบันอันเกิดจากการปฏิบัติที่ซ้ำซ้อนกันของหลายหน่วยงานนั้น ควรมีกฎหมายบังคับใช้ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อดูแลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ ทั้งในเรื่องการจับสัตว์น้ำ และการดูแลคุณภาพน้ำ การดูแลการใช้ทรัพยากรใต้ทะเล การดูแลการใช้พื้นที่ชายฝั่งทะเล นอกจากนี้แล้วกฎหมายดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายสากลด้วย เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านและไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมของโลกด้วย รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศไทยและสังคมโดยรวมต่อไป
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำในตอนท้ายว่า ทะเลไทยเป็นของประชาชนชาวไทยทั้ง 60 กว่าล้านคน ประกอบกับรัฐธรรมนูญก็ได้กำหนดไว้ว่าประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล วางแผนการพัฒนาทรัพยากรของชาติ ดังนั้นการดำเนินงานในเรื่องนี้มิใช่เป็นเรื่องของภาคราชการหรือของรัฐบาลเพียงอย่างเดียว แต่ประชาชนชาวไทยทั้ง 60 กว่าล้านคน จะต้องช่วยกันดูแลให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วยกันดูแลไม่ให้เกิดผลกระทบต่อกิจกรรมของชาติบ้านเมืองของเราให้เป็นทรัพยากรของลูกหลานเราสืบไป
นอกจากนี้แล้ว นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกล่าวว่า นโยบายและแนวทางบริหารจัดการฟื้นฟูทะเลไทย รัฐบาลมีความมุ่งหมายที่จะให้มีการจัดการใช้ประโยชน์ทะเล ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรอันมีค่าและมีความสำคัญยิ่งทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ โดยคำนึงถึงความยั่งยืนและเกิดความสมดุลของการใช้ประโยชน์ การฟื้นฟูตามธรรมชาติที่เกิดทดแทนได้ รวมทั้งการเสริมสร้างให้ทะเลไทยเป็นฐานการผลิตทางเศรษฐกิจของประเทศที่เกื้อหนุนต่อการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอีกด้วย
การสัมมนาในครั้งนี้ ได้จัดให้มีการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมสัมมนาใน 2 ประเด็นคือ 1) แนวทางการบริหารจัดการทะเลไทย และ 2) แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลน ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เสนอแนะแนวทางและมาตรการในการบริหารจัดการ สรุปได้ดังนี้คือ
1. แนวทางการบริหารจัดการทะเลไทย ได้เสนอแนะในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1) ภาพรวมของการบริหารจัดการ
- ควรกำหนดขอบเขตของทะเลไทยให้ชัดเจน
- กำหนดนโยบายการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลแต่ละประเภท โดยคำนึงถึงมิติทางเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศโดยรวมเป็นสำคัญ พร้อมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทะเลไทยด้วย
- ควรมีนโยบายและแผนการบริหารจัดการทะเลไทยที่เป็นเอกภาพและเด่นชัด
- ควรมีการจำแนกการใช้ประโยชน์ทางทะเลเพื่อกำหนดและแบ่งเขตในการใช้ประโยชน์แต่ละประเภท รวมทั้งกิจกรรมชายฝั่งและในทะเล
- แผนบริหารจัดการทะเลไทยในระดับนโยบายของภาคและท้องถิ่นควรสอดประสานกันอยางเหมาะสม
2) ด้านกฎหมาย
- ควรมีกฎหมายทางทะเลของไทยที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการและผลประโยชน์ของชาติ
- แก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับพันธกรณีและหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อตอบสนองผลประโยชน์ของประเทศ
3) ด้านการท่องเที่ยว
- ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล
- การพัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเล โดยคำนึงถึงศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่และจัดการให้เหมาะสม สอดคล้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากร
- เปิดโอกาสให้ประชาชนและองค์กรชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว
- ให้การศึกษาและสร้างจิตสำนึกของการรักษาทรัพยากรมากกว่ามุ่งหวังผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและด้านการเงินเพียงอย่างเดียว
- สนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดแนวทางการจัดการทะเลไทยในส่วนของการท่องเที่ยว รวมทั้งจัดทำแนวทางปฏิบัติ เพื่อเป็นมาตรฐานการดำเนินงานของกิจกรรมท่องเที่ยวในทะเลของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
4) ด้านพาณิชย์นาวี
- สนับสนุนหลักการเสรีภาพในการเดินเรือ (Freedom of Navigation)
- ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์กลางท่าเรือ (Hob Port) รวมทั้งองค์กรกำกับดูแล
5) ด้านทรัพยากรไม่มีชีวิต
- ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่เกิดจากกิจกรรมบนบก
- ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่เกิดจากกิจกรรมในทะเล
6) ด้านทรัพยากรมีชีวิต
- จัดระบบการทำประมงให้สอดคล้องกับศักยภาพของทรัพยากร
- พิจารณาความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐกิจในการส่งเสริมการทำประมงนอกน่านน้ำ
- เร่งรัดแนวทางปฏิบัติเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ
- กำหนดเขตพื้นที่ในทะเลที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อลดปริมาณการจับ
- นำเทคโนโลยีมาใช้ในการฟื้นฟู ควบคุมและใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
2. แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ให้ข้อเสนอแนะ แนวทางและมาตรการ สรุปได้ดังนี้
1) ด้านนโยบายของประเทศ
- กรอบแนวทางในการจัดการป่าชายเลน จะต้องคำนึงถึงมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเด็นการใช้ประโยชน์ การอนุรักษ์และการฟื้นฟู เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
- การสัมปทานป่าชายเลนที่หมดอายุ
- การฟื้นฟูป่าชายเลนบริเวณอ่าวไทย ซึ่งมีพื้นที่ 2 แสนไร่
- ควรมีการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับป่าชายเลนให้มีทิศทางและนโยบายที่ชัดเจนและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ควรมีศูนย์ข้อมูลด้านป่าชายเลนที่สามารถศึกษาค้นคว้าได้ทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้างที่ครอบคลุมถึงด้านกายภาพของพื้นที่ในระดับจังหวัด พร้อมทั้งมีหน่วยงานที่เข้ามาดูแลเรื่องนี้โดยตรง
2) ด้านการบริหารจัดการ
- ควรมีการแบ่งเขต (ZONING) พื้นที่ป่าชายเลน โดยเน้นให้มีรูปแบบการจัดการโดยชุมชน (COMMUNITY MANAGEMENT)
- ควรมีกลไกในการเปิดโอกาสให้องค์กรพัฒนาเอกชน ประชาชนในพื้นที่และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการป่าชายเลนร่วมกับภาครัฐ
- เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านกระบวนการศึกษาทั้งในและนอกระบบ
3) กรอบแนวทางเพื่อส่งผลในทางปฏิบัติ
- สนับสนุนการเร่งรัดฟื้นฟูที่นากุ้งร้าง เหมืองร้าง และหาดเลนงอกใหม่
- ดำเนินการประสานความร่วมมือปลูกป่าชายเลนในทุกภาคส่วน
- ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนกำหนดแนวทางและมาตรการต่าง ๆ
นายสันติ บางอ้อ ได้กล่าวตอนท้ายว่า ที่ผ่านมา ข้อจำกัดที่ทำให้การบริหารจัดการไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร มีปัจจัยอยู่ 2 ประการคือ ความไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลในการดำเนินงาน ซึ่งนับเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การดำเนินงานไม่มีความต่อเนื่องเท่าที่ควรและ ความไม่มีเอกภาพ เนื่องจากไม่มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่ชัดเจนในการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อใช้เป็นหลักในการปฏิบัติ จึงทำให้ไม่มีความเป็นเอกภาพทั้งในด้านความคิดและการปฏิบัติ
ดังนั้น การบริหารจัดการเป็นการดำเนินการที่ต้องใช้ระยะเวลา ต้องมีแผนและแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติ โดยมีหน่วยงานที่เข้ามาดูแลรับผิดชอบอย่างเป็นเอกภาพ รวมทั้ง มีทรัพยากรที่พร้อมในการดำเนินงาน เช่น ได้รับงบประมาณที่พอเพียงในการสนับสนุนการดำเนินงานให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2542--