แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี
เซ็นทรัล
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2542 นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดการสัมมนาแสดงความเห็นสาธารณะเรื่องสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม โรงแรมเซ็นทรัลแกรนด์พลาซ่า กรุงเทพมหานคร
นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สศช. ได้กล่าวรายงานว่า การจัดสัมมนาครั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ในการรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ อย่างเปิดกว้างและโปร่งใส และเพื่อให้ทุกฝ่ายช่วยกันพิจารณาองค์ประกอบ ที่มา อำนาจ หน้าที่ และการดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในหลาย ๆ มุมมอง
หลังจากนั้น นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดการสัมมนา สรุปได้ว่า สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีหน้าที่ให้คำปรึกษาต่อรัฐบาลในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม และยังต้องให้ความเห็นในแผนพัฒนาและแผนอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น การสัมมนาแสดงความเห็นสาธารณะในครั้งนี้ จึงเป็นการสะท้อนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้ประชาชนทุกภาคเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
สำหรับการสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม และระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนาเกี่ยวกับรูปแบบ บทบาท อำนาจ หน้าที่ องค์ประกอบ ที่มา และการดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนเพื่อประมวลผลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการสัมมนา เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกานำไปประกอบการพิจารณาจัดทำร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้มีความเหมาะสม โดยได้เชิญผู้เข้าร่วมสัมมนาจากทุกภาคส่วนของสังคม ได้แก่ ภาคประชาชนและสื่อมวลชนทุกแขนง ภาคธุรกิจเอกชน ภาควิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ ภาครัฐ (ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) และภาคการเมือง เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวนประมาณ 500 คน
การจัดสัมมนาในครั้งนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน โดยก่อนหน้านี้ได้มีการส่งแบบสอบถามจำนวน 1,800 ฉบับ เพื่อขอรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มต่าง ๆ ทั้งกลุ่มประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน กลุ่มการเมือง ข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจ นักวิชาการและธุรกิจภาคเอกชน
ขั้นตอนต่อไป คณะทำงานประสานการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะประมวลผลประเด็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับจากแบบสอบถามและการสัมมนาดังกล่าว ซึ่งจะได้รูปแบบสภาที่ปรึกษาฯ ที่มาจากประชาชนทุกภาคส่วนของการพัฒนาและนำเสนอคณะกรรมการนโยบายและประสานงานการดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญพิจารณาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา และจะนำเสนอรัฐสภาพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป ในการประชุมสมัยสามัญทั่วไปประจำปี 2542 ระหว่างช่วงเดือนพฤศจิกายน 2542 - เมษายน 2543
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะเป็นองค์กรของประชาชนที่มีกฎหมายรองรับให้เข้ามามีส่วนร่วมให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี ในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2542--
นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สศช. ได้กล่าวรายงานว่า การจัดสัมมนาครั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ในการรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ อย่างเปิดกว้างและโปร่งใส และเพื่อให้ทุกฝ่ายช่วยกันพิจารณาองค์ประกอบ ที่มา อำนาจ หน้าที่ และการดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในหลาย ๆ มุมมอง
หลังจากนั้น นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดการสัมมนา สรุปได้ว่า สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีหน้าที่ให้คำปรึกษาต่อรัฐบาลในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม และยังต้องให้ความเห็นในแผนพัฒนาและแผนอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น การสัมมนาแสดงความเห็นสาธารณะในครั้งนี้ จึงเป็นการสะท้อนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้ประชาชนทุกภาคเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
สำหรับการสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม และระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนาเกี่ยวกับรูปแบบ บทบาท อำนาจ หน้าที่ องค์ประกอบ ที่มา และการดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนเพื่อประมวลผลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการสัมมนา เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกานำไปประกอบการพิจารณาจัดทำร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้มีความเหมาะสม โดยได้เชิญผู้เข้าร่วมสัมมนาจากทุกภาคส่วนของสังคม ได้แก่ ภาคประชาชนและสื่อมวลชนทุกแขนง ภาคธุรกิจเอกชน ภาควิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ ภาครัฐ (ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) และภาคการเมือง เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวนประมาณ 500 คน
การจัดสัมมนาในครั้งนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน โดยก่อนหน้านี้ได้มีการส่งแบบสอบถามจำนวน 1,800 ฉบับ เพื่อขอรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มต่าง ๆ ทั้งกลุ่มประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน กลุ่มการเมือง ข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจ นักวิชาการและธุรกิจภาคเอกชน
ขั้นตอนต่อไป คณะทำงานประสานการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะประมวลผลประเด็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับจากแบบสอบถามและการสัมมนาดังกล่าว ซึ่งจะได้รูปแบบสภาที่ปรึกษาฯ ที่มาจากประชาชนทุกภาคส่วนของการพัฒนาและนำเสนอคณะกรรมการนโยบายและประสานงานการดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญพิจารณาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา และจะนำเสนอรัฐสภาพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป ในการประชุมสมัยสามัญทั่วไปประจำปี 2542 ระหว่างช่วงเดือนพฤศจิกายน 2542 - เมษายน 2543
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะเป็นองค์กรของประชาชนที่มีกฎหมายรองรับให้เข้ามามีส่วนร่วมให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี ในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2542--