นายสรรเสริฐ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รับความเห็บชอบจากรัฐสภาแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาและอยู่ระหว่างเตรียมจัดการสัมมนาเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจร่วมกันในพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยเฉพาะกระบวนการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ซึ่งกำหนดจัดสัมมนาในวันที่ 21 ธันวาคม ศกนี้ ณ ห้องปรินซ์บอลรูม โรงแรมปรินซ์พาเลส
เลขาธิการฯ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประกอบด้วย 3 หมวด ได้แก่ หมวด 1 สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หมวด 2 อำนาจหน้าที่ หมวด 3 การดำเนินงาน และบทเฉพาะกาล ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุปคือ กำหนดให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 99 คน ซึ่งได้รับเลือกจากบุคคลที่เป็นตัวแทนของกลุ่มในภาคเศรษฐกิจ กลุ่มในภาคสังคม กลุ่มในภาคฐานทรัพยากรและผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นกลุ่มตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐธรรมนูญ โดยให้เป็นองค์กรสะท้อนปัญหาเศรษฐกิจและสังคม มิใช่เป็นองค์กรเพื่อต่อรองผลประโยชน์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด และมีอำนาจหน้าที่โดยสรุปคือ ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม และให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งแผนอื่นใดที่กฎหมายให้สภาที่ปรึกษาฯ
ทั้งนี้ โดยมีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ จำนวน 21 คน มีประธานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นประธาน และผู้แทนจากองค์กรต่างๆ ที่เลือกกันเองเป็นกรรมการ เป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ดังกล่าว โดยได้กำหนดให้มีการชี้แจงและทำความเข้าใจร่วมกันในกระบวนการสรรหาดังกล่าวแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในวันที่ 21 ธันวาคม ศกนี้
ในส่วนของการดำเนินงาน ให้มีสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีหน้าที่ตำรวจ ศึกษา และวิเคราะห์เรื่องที่จะต้องเสนอให้สภาที่ปรึกษาฯ พิจารณา รวมทั้งรับผิดชอบในงานธุรการ และจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาฯ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา ตลอดจนดำเนินการต่างๆ ในการเลือกสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ และปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่สภาที่ปรึกษาฯ มอบหมาย โดยให้มีเลขาธิการสภาที่ปรึกษาฯ เป็นผู้ควบคุมดูแลทั่วไป ภายใต้การกำกับดูแลของประธานสภาที่ปรึกษาฯ โดยในระยะแรกให้ สศช.ทำหน้าที่สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ เมื่อครบ 2 ปี นับแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาจัดตั้งสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อเป็นหน่วยงานของสภาที่ปรึกษาฯ ในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
สำหรับในประเด็นที่บางคนสงสัยว่าบทบาทของสภาที่ปรึกษาฯ จะซ้ำซ้อนกับ สศช.หรือองค์กรเดิมใดๆ หรือไม่ ในเรื่องนี้ เลขาธิการฯ ชี้แจงว่า สศช.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติทำหน้าที่องค์กรในฝ่ายบริหารเพื่อปฏิบัติงานด้านวิชาการและการวางแผนของรัฐบาล ส่วนสภาที่ปรึกษาฯ เป็นองค์กรภาคประชาชนเพื่อให้ความเห็นกับรัฐบาลในการดำเนินงานตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐของรัฐบาล
ดังนั้น สภาที่ปรึกษาฯ จึงทำหน้าที่เป็นองค์กรประสานการพัฒนาระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนให้มีความเข้าใจและเอื้ออาทรต่อกัน เพื่อให้สังคมดำเนินไปในเชิงสร้างสรรค์และเสริมสร้างสมรรถนะซึ่งกันและกันโดยทุกส่วนในสังคมในทุกระดับได้แก่ ระดับบุคคล สังคม ธุรกิจเอกชน ชุมชน ภาคราชการและการเมือง ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี เป็นหุ้นส่วนในการบริหารปกครอง มีการใช้และปกป้องสิทธิร่วมกัน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2543--
-สส-
เลขาธิการฯ กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประกอบด้วย 3 หมวด ได้แก่ หมวด 1 สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หมวด 2 อำนาจหน้าที่ หมวด 3 การดำเนินงาน และบทเฉพาะกาล ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุปคือ กำหนดให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 99 คน ซึ่งได้รับเลือกจากบุคคลที่เป็นตัวแทนของกลุ่มในภาคเศรษฐกิจ กลุ่มในภาคสังคม กลุ่มในภาคฐานทรัพยากรและผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นกลุ่มตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐธรรมนูญ โดยให้เป็นองค์กรสะท้อนปัญหาเศรษฐกิจและสังคม มิใช่เป็นองค์กรเพื่อต่อรองผลประโยชน์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด และมีอำนาจหน้าที่โดยสรุปคือ ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม และให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งแผนอื่นใดที่กฎหมายให้สภาที่ปรึกษาฯ
ทั้งนี้ โดยมีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ จำนวน 21 คน มีประธานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นประธาน และผู้แทนจากองค์กรต่างๆ ที่เลือกกันเองเป็นกรรมการ เป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ดังกล่าว โดยได้กำหนดให้มีการชี้แจงและทำความเข้าใจร่วมกันในกระบวนการสรรหาดังกล่าวแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในวันที่ 21 ธันวาคม ศกนี้
ในส่วนของการดำเนินงาน ให้มีสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีหน้าที่ตำรวจ ศึกษา และวิเคราะห์เรื่องที่จะต้องเสนอให้สภาที่ปรึกษาฯ พิจารณา รวมทั้งรับผิดชอบในงานธุรการ และจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาฯ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา ตลอดจนดำเนินการต่างๆ ในการเลือกสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ และปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่สภาที่ปรึกษาฯ มอบหมาย โดยให้มีเลขาธิการสภาที่ปรึกษาฯ เป็นผู้ควบคุมดูแลทั่วไป ภายใต้การกำกับดูแลของประธานสภาที่ปรึกษาฯ โดยในระยะแรกให้ สศช.ทำหน้าที่สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ เมื่อครบ 2 ปี นับแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาจัดตั้งสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อเป็นหน่วยงานของสภาที่ปรึกษาฯ ในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
สำหรับในประเด็นที่บางคนสงสัยว่าบทบาทของสภาที่ปรึกษาฯ จะซ้ำซ้อนกับ สศช.หรือองค์กรเดิมใดๆ หรือไม่ ในเรื่องนี้ เลขาธิการฯ ชี้แจงว่า สศช.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติทำหน้าที่องค์กรในฝ่ายบริหารเพื่อปฏิบัติงานด้านวิชาการและการวางแผนของรัฐบาล ส่วนสภาที่ปรึกษาฯ เป็นองค์กรภาคประชาชนเพื่อให้ความเห็นกับรัฐบาลในการดำเนินงานตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐของรัฐบาล
ดังนั้น สภาที่ปรึกษาฯ จึงทำหน้าที่เป็นองค์กรประสานการพัฒนาระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนให้มีความเข้าใจและเอื้ออาทรต่อกัน เพื่อให้สังคมดำเนินไปในเชิงสร้างสรรค์และเสริมสร้างสมรรถนะซึ่งกันและกันโดยทุกส่วนในสังคมในทุกระดับได้แก่ ระดับบุคคล สังคม ธุรกิจเอกชน ชุมชน ภาคราชการและการเมือง ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี เป็นหุ้นส่วนในการบริหารปกครอง มีการใช้และปกป้องสิทธิร่วมกัน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2543--
-สส-