เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2542 นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดสัมมนา แนวทางการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร
นายสันติ บางอ้อ กล่าวว่า แม้ว่าการพัฒนาการเกษตรในอดีตจะประสบความสำเร็จ จนทำให้ไทยกลายเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตรชั้นนำ แต่การพัฒนาดังกล่าวได้ส่งผลให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกร ตลอดจนความเสี่ยงอันเนื่องมาจากความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร ดังนั้นเพื่อที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้เกิดแนวคิดที่จะหันมาสนับสนุนการผลิตทางการเกษตร โดยคำนึงถึงการดูแลรักษาสภาพทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศเป็นสำคัญ ซึ่งก็คือการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน
โดยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ได้กำหนดเป้าหมายที่จะขยายพื้นที่ปรับโครงสร้างการเกษตรแบบยั่งยืนให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั่วประเทศ หรือ 25 ล้านไร่ และสร้างโอกาสให้กลุ่มคนยากจนจำนวน 8 ล้านคน ในการประกอบอาชีพการเกษตรให้มีรายได้พอเพียงและมีทางเลือกที่จะดำรงชีวิตอยู่ในชนบทได้อย่างมั่นคง
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาครั้งนี้มี 2 ประการ คือ
ประการแรก เพื่อทบทวนและประเมินผลการดำเนินงานการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน ในช่วงครึ่งแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
ประการที่สอง เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าสัมมนาเพื่อใช้ประกอบการเร่งรัดสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนในช่วงครึ่งหลังของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้และกำหนดทิศทางการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ต่อไป
สำหรับผลการสัมมนาดังกล่าวได้มีการระดมความคิดเห็นและอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งได้ผลสรุปในประเด็นสำคัญ ๆ ดังนี้
1. วิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาเกษตรยั่งยืน คือ ทางเลือกและทางรอดของมนุษยชาติ ที่ให้ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิต พร้อม ๆ กับให้เกิดผลดีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการตอบสนองของคนในท้องถิ่นที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการแข่งขันด้านการค้า ซึ่งเน้นเรื่องการค้าการส่งออก โดยมีการเกื้อกูลกันและกันตั้งแต่ระดับล่าง คือ ระดับครอบครัวจนถึงระดับประเทศ ตลอดจนเน้นการมีส่วนร่วม สิทธิและความเป็นธรรม ระหว่างผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภค
2. ข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเกษตรยั่งยืน ได้แก่
- ขาดการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ผู้ผลิตและผู้บริโภค
- การบริหารการตลาดและระบบการควบคุมคุณภาพสินค้า
- นโยบายของรัฐบาลยังไม่ชัดเจน ขาดการสนับสนุนอย่างจริงจัง
- โครงสร้างการบริหารงานภาครัฐยังขาดการทำงานแบบพหุภาคี
- เจ้าหน้าที่ขาดความเชื่อมั่นและความเข้าใจ อีกทั้งมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง
- งานวิจัยและพัฒนาเรื่องการเกษตรยั่งยืนยังมีน้อย
- ขาดการร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
- นักการเมือง ผู้มีอำนาจมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเกษตรยั่งยืนไม่ชัดเจน
- ขาดเงินทุนในการทำเกษตรยั่งยืน
- องค์ความรู้ของเกษตรกรมีมาก แต่การถ่ายทอดยังไม่มีประสิทธิภาพ
- การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นน้อย
- เกษตรกรมีโอกาสน้อยในการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์
3. มาตรการและรูปแบบการดำเนินงานที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาเกษตรแบบยั่งยืนมีดังนี้
- ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณารูปแบบของศูนย์ศึกษาการพัฒนา ตามพระราชดำริ เพื่อเป็นรูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีด้านเกษตรยั่งยืน
- รัฐควรมีแผนการดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับเกษตรยั่งยืน และส่งเสริมองค์กรพัฒนาเอกชนดำเนินการเกษตรยั่งยืนในชุมชน
- จัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาเกษตรยั่งยืน
- มาตรการด้านการเงินและกฎหมาย เพื่อส่งเสริมการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
- มีกลไกและองค์กรอิสระที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายในการประเมินผลงานการพัฒนา
- มาตรการกระจายอำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบแก่องค์กรเกษตรกร ในการริเริ่มและมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนา
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 9/กันยายน 2542--
นายสันติ บางอ้อ กล่าวว่า แม้ว่าการพัฒนาการเกษตรในอดีตจะประสบความสำเร็จ จนทำให้ไทยกลายเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตรชั้นนำ แต่การพัฒนาดังกล่าวได้ส่งผลให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกร ตลอดจนความเสี่ยงอันเนื่องมาจากความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร ดังนั้นเพื่อที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้เกิดแนวคิดที่จะหันมาสนับสนุนการผลิตทางการเกษตร โดยคำนึงถึงการดูแลรักษาสภาพทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศเป็นสำคัญ ซึ่งก็คือการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน
โดยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ได้กำหนดเป้าหมายที่จะขยายพื้นที่ปรับโครงสร้างการเกษตรแบบยั่งยืนให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั่วประเทศ หรือ 25 ล้านไร่ และสร้างโอกาสให้กลุ่มคนยากจนจำนวน 8 ล้านคน ในการประกอบอาชีพการเกษตรให้มีรายได้พอเพียงและมีทางเลือกที่จะดำรงชีวิตอยู่ในชนบทได้อย่างมั่นคง
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาครั้งนี้มี 2 ประการ คือ
ประการแรก เพื่อทบทวนและประเมินผลการดำเนินงานการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน ในช่วงครึ่งแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
ประการที่สอง เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าสัมมนาเพื่อใช้ประกอบการเร่งรัดสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนในช่วงครึ่งหลังของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้และกำหนดทิศทางการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ต่อไป
สำหรับผลการสัมมนาดังกล่าวได้มีการระดมความคิดเห็นและอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งได้ผลสรุปในประเด็นสำคัญ ๆ ดังนี้
1. วิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาเกษตรยั่งยืน คือ ทางเลือกและทางรอดของมนุษยชาติ ที่ให้ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิต พร้อม ๆ กับให้เกิดผลดีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการตอบสนองของคนในท้องถิ่นที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการแข่งขันด้านการค้า ซึ่งเน้นเรื่องการค้าการส่งออก โดยมีการเกื้อกูลกันและกันตั้งแต่ระดับล่าง คือ ระดับครอบครัวจนถึงระดับประเทศ ตลอดจนเน้นการมีส่วนร่วม สิทธิและความเป็นธรรม ระหว่างผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภค
2. ข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเกษตรยั่งยืน ได้แก่
- ขาดการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ผู้ผลิตและผู้บริโภค
- การบริหารการตลาดและระบบการควบคุมคุณภาพสินค้า
- นโยบายของรัฐบาลยังไม่ชัดเจน ขาดการสนับสนุนอย่างจริงจัง
- โครงสร้างการบริหารงานภาครัฐยังขาดการทำงานแบบพหุภาคี
- เจ้าหน้าที่ขาดความเชื่อมั่นและความเข้าใจ อีกทั้งมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง
- งานวิจัยและพัฒนาเรื่องการเกษตรยั่งยืนยังมีน้อย
- ขาดการร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
- นักการเมือง ผู้มีอำนาจมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเกษตรยั่งยืนไม่ชัดเจน
- ขาดเงินทุนในการทำเกษตรยั่งยืน
- องค์ความรู้ของเกษตรกรมีมาก แต่การถ่ายทอดยังไม่มีประสิทธิภาพ
- การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นน้อย
- เกษตรกรมีโอกาสน้อยในการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์
3. มาตรการและรูปแบบการดำเนินงานที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาเกษตรแบบยั่งยืนมีดังนี้
- ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณารูปแบบของศูนย์ศึกษาการพัฒนา ตามพระราชดำริ เพื่อเป็นรูปแบบการพัฒนาเทคโนโลยีด้านเกษตรยั่งยืน
- รัฐควรมีแผนการดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับเกษตรยั่งยืน และส่งเสริมองค์กรพัฒนาเอกชนดำเนินการเกษตรยั่งยืนในชุมชน
- จัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาเกษตรยั่งยืน
- มาตรการด้านการเงินและกฎหมาย เพื่อส่งเสริมการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
- มีกลไกและองค์กรอิสระที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายในการประเมินผลงานการพัฒนา
- มาตรการกระจายอำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบแก่องค์กรเกษตรกร ในการริเริ่มและมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนา
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 9/กันยายน 2542--