เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2542 นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ครั้งที่ 3/2543 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล สรุปสาระสำคัญของผลการประชุมได้ดังนี้
1. การปรับแนวทางดำเนินงานของคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.)
ที่ประชุมรับทราบผลการหารือระหว่างรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค) และผู้นำภาคเอกชน 3 สถาบัน คือ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ร่วมกับ นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2542 โดยได้มีมติเห็นชอบให้ปรับแนวทางการดำเนินงานของ กรอ. ดังนี้
1) กรอ.จะเป็นเวทีสำหรับการปรึกษาหารือการบริหารจัดการนโยบายเศรษฐกิจในระดับมหภาคและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะยาวของภาครัฐและเอกชน
2) กรอ. จะเป็นกลไกสำหรับการหารือทิศทางและแนวทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมของการเปิดประเทศสู่ระบบเสรีเต็มรูปแบบ รวมทั้งการร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยการผนึกกำลังเพื่อพิจารณาผลกระทบจากพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศ ตลอดจนการแสวงหาโอกาสให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน
3) สำหรับการแก้ไขปัญหาการประกอบธุรกิจของภาคเอกชนในระดับปฏิบัตินั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะเป็นผู้ประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และหากต้องการการตัดสินใจในระดับนโยบายให้ สศช. นำเสนอต่อคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ (รศก.) ต่อไป
2. ผลการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APEC)
ที่ประชุมรับทราบรายงานของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งสรุปผลการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ครั้งที่ 7 ณ เมืองโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ 12 - 13 กันยายน 2542 ซึ่งสรุปของกระทรวงกาารต่างประเทศ มีสาระสำคัญดังนี้
1) แม้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มที่ผ่อนคลายลงบ้างแล้ว แต่ผู้นำเศรษฐกิจเอเปค มีความเห็นว่า การปฏิรูปภายในและระหว่างประเทศควรดำเนินต่อไป และได้ให้ความสำคัญต่อการลดผลกระทบทางสังคมด้วย โดยการเสนอให้จัดตั้งกองทุน Australia Social Safety Nets Initiative ของออสเตรเลีย รวมทั้งญี่ปุ่นได้เสนอให้จัดตั้งกองทุน Human Resources Development for Structural Reform นอกจากนั้นเพื่อปฏิรูปโครงสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศ รัฐมนตรีคลังเอเปคจะยกร่างมาตรฐานด้านการธนาคารร่วมกับองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอผู้นำเศรษฐกิจเอเปคต่อไป
2) เอเปคให้ความสำคัญต่อการเปิดเสรีและแผนปฏิบัติการรายสมาชิกสู่เป้าหมายโบกอร์ และจะกำจัดมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ศุลกากร (non-tariff measures) ตลอดจนการอำนวยความสะดวกทั้งในกรอบเอเปคและองค์การการค้าโลก (WTO) โดยที่สมาชิกเอเปคจะให้การสนับสนุนการเจรจาการค้าพหุพาคีรอบใหม่ภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก โดยเน้นการเจรจาที่ครอบคลุมด้านการเข้าสู่ตลาดของสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม และการค้าบริการ ตลอดจนสนับสนุนการส่งออกและการห้ามส่งออกสินค้าเกษตร
3. พันธกรณีของประเทศไทยในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและข้อตกลงทางการค้า
ที่ประชุมได้รับทราบถึงพันธกรณีของประเทศไทยในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและข้อตกลงทางการค้า โดยรัฐบาลไทยได้มีพันธกรณีระหว่างประเทศ ภายใต้กรอบข้อตกลงที่สำคัญคือ พันธกรณีภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) สมาคมประชาชาติอาเซียน (ASEAN) และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ซึ่งพันธกรณีที่ประเทศไทยจะต้องดำเนินการประกอบด้วย
- การเปิดตลาดสินค้าด้วยการลดภาษีนำเข้า ยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณนำเข้าหรือโควต้า ยกเลิกมาตรการกีดกันและปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อส่งเสริมการค้าเสรี ลดและยกเลิกการอุดหนุนหรือการผลิตสินค้าภายในประเทศและการส่งออก
- การเปิดเสรีการค้าบริการด้วยการปรับปรุงและยกเลิกข้อจำกัดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ ยกเลืกหรือแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เกิดการแข่งขันในด้านบริการ
- การเปิดเสรีการลงทุน โดยยกเลิกข้อบังคับการใช้ชิ้นส่วนและวัตถุดิบในประเทศ การปรับปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครองและให้สิทธิประโยชน์กับผู้ลงทุนจากต่างประเทศ
สำหรับความก้าวหน้าของการดำเนินการตามพันธกรณีของภาครัฐคือ พันธกรณีภายใต้กรอบความร่วมมือกับอาเซียน โดยประเทศไทยเสนอที่จะโอนรายการสินค้าที่มีอยู่ในบัญชีสงวนชั่วคราวเข้าสู่บัญชีลดภาษี ซึ่งจะมีผลให้ประเทศไทยต้องลดภาษีศุลกากรเหลือร้อยละ 0-5 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2543 นอกจากนี้รัฐบาลได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยมาตรการพิเศษสำหรับสินค้าเกษตรไม่แปรรูปอ่อนไหวและอ่อนไหวสูง (Protocol on the Special Arrangement for Sensitive and Highly sensitive Products) ซึ่งหมายถึงสินค้าที่มีราคาเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างรวดเร็ว โดยสมาชิก 6 ประเทศ จะเริ่มลดภาษีสินค้าเกษตรไม่แปรรูปอ่อนไหวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 - 2546 และลดลงร้อยละ 0-5 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2553
4. นโยบายการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นกับการประกอบการของภาคธุรกิจ
กรอ. ได้พิจารณาเห็นว่านโยบายการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นโดยการให้อำนาจแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สามารถจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมบำรุงท้องถิ่นนั้น ท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้โดยอิสระตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน การดำเนินการของท้องถิ่นอาจจะเกิดผลกระทบแก่ผู้บริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนในท้องถิ่น จึงสนับสนุนให้มีการสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นกับองค์กรภาคเอกชนระดับจังหวัด
ที่ประชุมจึงได้มีมติมอบหมายให้ สศช. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) รับไปดำเนินการจัดสัมมนาเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นในทุกภูมิภาค ถึงแนวทางการกระจายอำนาจและผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นและของประเทศ
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2542--
1. การปรับแนวทางดำเนินงานของคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.)
ที่ประชุมรับทราบผลการหารือระหว่างรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค) และผู้นำภาคเอกชน 3 สถาบัน คือ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ร่วมกับ นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2542 โดยได้มีมติเห็นชอบให้ปรับแนวทางการดำเนินงานของ กรอ. ดังนี้
1) กรอ.จะเป็นเวทีสำหรับการปรึกษาหารือการบริหารจัดการนโยบายเศรษฐกิจในระดับมหภาคและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะยาวของภาครัฐและเอกชน
2) กรอ. จะเป็นกลไกสำหรับการหารือทิศทางและแนวทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมของการเปิดประเทศสู่ระบบเสรีเต็มรูปแบบ รวมทั้งการร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยการผนึกกำลังเพื่อพิจารณาผลกระทบจากพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศ ตลอดจนการแสวงหาโอกาสให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน
3) สำหรับการแก้ไขปัญหาการประกอบธุรกิจของภาคเอกชนในระดับปฏิบัตินั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะเป็นผู้ประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และหากต้องการการตัดสินใจในระดับนโยบายให้ สศช. นำเสนอต่อคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ (รศก.) ต่อไป
2. ผลการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APEC)
ที่ประชุมรับทราบรายงานของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งสรุปผลการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ครั้งที่ 7 ณ เมืองโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ 12 - 13 กันยายน 2542 ซึ่งสรุปของกระทรวงกาารต่างประเทศ มีสาระสำคัญดังนี้
1) แม้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มที่ผ่อนคลายลงบ้างแล้ว แต่ผู้นำเศรษฐกิจเอเปค มีความเห็นว่า การปฏิรูปภายในและระหว่างประเทศควรดำเนินต่อไป และได้ให้ความสำคัญต่อการลดผลกระทบทางสังคมด้วย โดยการเสนอให้จัดตั้งกองทุน Australia Social Safety Nets Initiative ของออสเตรเลีย รวมทั้งญี่ปุ่นได้เสนอให้จัดตั้งกองทุน Human Resources Development for Structural Reform นอกจากนั้นเพื่อปฏิรูปโครงสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศ รัฐมนตรีคลังเอเปคจะยกร่างมาตรฐานด้านการธนาคารร่วมกับองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอผู้นำเศรษฐกิจเอเปคต่อไป
2) เอเปคให้ความสำคัญต่อการเปิดเสรีและแผนปฏิบัติการรายสมาชิกสู่เป้าหมายโบกอร์ และจะกำจัดมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ศุลกากร (non-tariff measures) ตลอดจนการอำนวยความสะดวกทั้งในกรอบเอเปคและองค์การการค้าโลก (WTO) โดยที่สมาชิกเอเปคจะให้การสนับสนุนการเจรจาการค้าพหุพาคีรอบใหม่ภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก โดยเน้นการเจรจาที่ครอบคลุมด้านการเข้าสู่ตลาดของสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม และการค้าบริการ ตลอดจนสนับสนุนการส่งออกและการห้ามส่งออกสินค้าเกษตร
3. พันธกรณีของประเทศไทยในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและข้อตกลงทางการค้า
ที่ประชุมได้รับทราบถึงพันธกรณีของประเทศไทยในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและข้อตกลงทางการค้า โดยรัฐบาลไทยได้มีพันธกรณีระหว่างประเทศ ภายใต้กรอบข้อตกลงที่สำคัญคือ พันธกรณีภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) สมาคมประชาชาติอาเซียน (ASEAN) และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ซึ่งพันธกรณีที่ประเทศไทยจะต้องดำเนินการประกอบด้วย
- การเปิดตลาดสินค้าด้วยการลดภาษีนำเข้า ยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณนำเข้าหรือโควต้า ยกเลิกมาตรการกีดกันและปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อส่งเสริมการค้าเสรี ลดและยกเลิกการอุดหนุนหรือการผลิตสินค้าภายในประเทศและการส่งออก
- การเปิดเสรีการค้าบริการด้วยการปรับปรุงและยกเลิกข้อจำกัดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ ยกเลืกหรือแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เกิดการแข่งขันในด้านบริการ
- การเปิดเสรีการลงทุน โดยยกเลิกข้อบังคับการใช้ชิ้นส่วนและวัตถุดิบในประเทศ การปรับปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครองและให้สิทธิประโยชน์กับผู้ลงทุนจากต่างประเทศ
สำหรับความก้าวหน้าของการดำเนินการตามพันธกรณีของภาครัฐคือ พันธกรณีภายใต้กรอบความร่วมมือกับอาเซียน โดยประเทศไทยเสนอที่จะโอนรายการสินค้าที่มีอยู่ในบัญชีสงวนชั่วคราวเข้าสู่บัญชีลดภาษี ซึ่งจะมีผลให้ประเทศไทยต้องลดภาษีศุลกากรเหลือร้อยละ 0-5 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2543 นอกจากนี้รัฐบาลได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยมาตรการพิเศษสำหรับสินค้าเกษตรไม่แปรรูปอ่อนไหวและอ่อนไหวสูง (Protocol on the Special Arrangement for Sensitive and Highly sensitive Products) ซึ่งหมายถึงสินค้าที่มีราคาเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างรวดเร็ว โดยสมาชิก 6 ประเทศ จะเริ่มลดภาษีสินค้าเกษตรไม่แปรรูปอ่อนไหวตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 - 2546 และลดลงร้อยละ 0-5 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2553
4. นโยบายการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นกับการประกอบการของภาคธุรกิจ
กรอ. ได้พิจารณาเห็นว่านโยบายการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นโดยการให้อำนาจแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สามารถจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมบำรุงท้องถิ่นนั้น ท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้โดยอิสระตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน การดำเนินการของท้องถิ่นอาจจะเกิดผลกระทบแก่ผู้บริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนในท้องถิ่น จึงสนับสนุนให้มีการสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นกับองค์กรภาคเอกชนระดับจังหวัด
ที่ประชุมจึงได้มีมติมอบหมายให้ สศช. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) รับไปดำเนินการจัดสัมมนาเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นในทุกภูมิภาค ถึงแนวทางการกระจายอำนาจและผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นและของประเทศ
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2542--