ตลอดระยะเวลา ๔๐ ปีที่ประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นเครื่องมือในการกำหนดกรอบนโยบายและทิศทางการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศ แม้มีความพยายามผลักดันให้เกิดการดำเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่อง แต่ก็สามารถดำเนินการได้ผลสำเร็จเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของกระบวนการวางแผนพัฒนาประเทศ มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์การพัฒนาสู่ทิศทางที่สมดุลและยั่งยืน ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในลักษณะองค์รวม พร้อมทั้งวางแนวทางการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ แต่ทว่ากระบวนการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ ไปสู่การปฏิบัติยังไม่ก้าวหน้าและเกิดผลเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร
สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากแนวความคิดที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ เป็นเรื่องใหม่ และไม่มีกระบวนการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง หน่วยงานปฏิบัติในระดับต่างๆ จึงไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ทำให้ไม่สามารถนำแผนไปดำเนินการตามทิศทางที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่โครงสร้างการบริหารและกลไกต่างๆ ก็ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการแปลงแผนเท่าที่ควร ยังขาดการบูรณาการและจัดการทรัพยากรตามหลักการที่ยึดพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วม ตลอดจนการประสานแผนงาน แผนคน และแผนเงินยังไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่
ขณะเดียวกันในการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ ที่เน้นการวัดผลลัพธ์ของการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้มีการจัดทำดัชนีชี้วัดและใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามประเมินผล แต่ทิศทางการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลที่ผ่านมายังขาดความชัดเจน การดำเนินงานจึงก้าวหน้าเฉพาะการติดตามประเมินผลในระดับภาพรวม การติดตามประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานยังไม่ต่อเนื่องเป็นระบบ จึงทำให้ขาดข้อมูลในการกระตุ้นให้มีการปฏิบัติตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ผลพวงจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ ส่งผลให้ทุกฝ่ายเริ่มตระหนักในความสำคัญที่จะต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงให้มีการบริหารจัดการที่ดี ดังนั้น การพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จึงเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่ง ท่ามกลางสภาวะการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและผันผวนของโลกยุคปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีและความรู้ก้าวรุดหน้าอย่างว่องไว เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายถึงกันทั่วโลก และมีปัญหาที่สลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงเป็นความท้าทายของสังคมไทยในการเตรียมพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างรู้เท่าทัน สามารถเลือกใช้ความรู้และเทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า เหมาะสม มีระบบภูมิคุ้มกันและสามารถบริหารจัดการกับการเปลี่ยนแปลงได้ โดยยึดหลัก "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ที่มุ่งทางสายกลาง มีความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณอย่างมีเหตุมีผล และเสริมสร้างคนดี มีคุณธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต ควบคู่กับการยึดแนวคิดการพัฒนาแบบองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ ซึ่งเป็นทิศทางที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างสมดุลด้วยประสิทธิภาพและคุณภาพได้ในที่สุด
การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ไปสู่การปฏิบัติ นับเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ บังเกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงจำเป็นต้องผนึกพลังร่วมจากทุกฝ่ายในสังคมผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ทัศนคติ และค่านิยมของคนไทยให้ตระหนักเข้าใจและเรียนรู้จากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจสังคมยุคใหม่อย่างเป็นระบบ เกิดการจัดการทางสังคมในเชิงยุทธศาสตร์ มีการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม และสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ ทำให้คนไทยคิดเป็น ทำเป็น พึ่งตนเองได้มากขึ้น มีจิตสำนึกที่ดี รู้ รัก สามัคคี รู้หน้าที่และมีความรับผิดชอบ ขณะเดียวกันต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานโดยให้ความสำคัญต่อการปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐ การปรับระบบงบประมาณให้เอื้อต่อการดำเนินงานของท้องถิ่น ชุมชน ตลอดจนการปรับบทบาทหน่วยงานกลางในการประสานและสนับสนุนการจัดแผนปฏิบัติการในทุกระดับให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ซึ่งการดำเนินงานที่สำคัญที่สุดจะอยู่ที่การจัดทำแผนปฏิบัติการระดับพื้นที่ที่เริ่มจากระดับชุมชนและเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติการในระดับที่สูงกว่า โดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคม ในการร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมกันรับผิดชอบ นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องพัฒนาระบบการติดตามประเมินผลและกำหนดดัชนีชี้วัดที่ชัดเจนในทุกระดับ เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนมีความต่อเนื่อง รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประเมินผลการทำงานของภาครัฐอย่างโปร่งใสอีกด้วย
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากแนวความคิดที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ เป็นเรื่องใหม่ และไม่มีกระบวนการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง หน่วยงานปฏิบัติในระดับต่างๆ จึงไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ทำให้ไม่สามารถนำแผนไปดำเนินการตามทิศทางที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่โครงสร้างการบริหารและกลไกต่างๆ ก็ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการแปลงแผนเท่าที่ควร ยังขาดการบูรณาการและจัดการทรัพยากรตามหลักการที่ยึดพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วม ตลอดจนการประสานแผนงาน แผนคน และแผนเงินยังไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่
ขณะเดียวกันในการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ ที่เน้นการวัดผลลัพธ์ของการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้มีการจัดทำดัชนีชี้วัดและใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามประเมินผล แต่ทิศทางการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลที่ผ่านมายังขาดความชัดเจน การดำเนินงานจึงก้าวหน้าเฉพาะการติดตามประเมินผลในระดับภาพรวม การติดตามประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานยังไม่ต่อเนื่องเป็นระบบ จึงทำให้ขาดข้อมูลในการกระตุ้นให้มีการปฏิบัติตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ผลพวงจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ ส่งผลให้ทุกฝ่ายเริ่มตระหนักในความสำคัญที่จะต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงให้มีการบริหารจัดการที่ดี ดังนั้น การพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จึงเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่ง ท่ามกลางสภาวะการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและผันผวนของโลกยุคปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีและความรู้ก้าวรุดหน้าอย่างว่องไว เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายถึงกันทั่วโลก และมีปัญหาที่สลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงเป็นความท้าทายของสังคมไทยในการเตรียมพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างรู้เท่าทัน สามารถเลือกใช้ความรู้และเทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า เหมาะสม มีระบบภูมิคุ้มกันและสามารถบริหารจัดการกับการเปลี่ยนแปลงได้ โดยยึดหลัก "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ที่มุ่งทางสายกลาง มีความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณอย่างมีเหตุมีผล และเสริมสร้างคนดี มีคุณธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต ควบคู่กับการยึดแนวคิดการพัฒนาแบบองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ ซึ่งเป็นทิศทางที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างสมดุลด้วยประสิทธิภาพและคุณภาพได้ในที่สุด
การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ไปสู่การปฏิบัติ นับเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ บังเกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงจำเป็นต้องผนึกพลังร่วมจากทุกฝ่ายในสังคมผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ทัศนคติ และค่านิยมของคนไทยให้ตระหนักเข้าใจและเรียนรู้จากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจสังคมยุคใหม่อย่างเป็นระบบ เกิดการจัดการทางสังคมในเชิงยุทธศาสตร์ มีการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม และสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ ทำให้คนไทยคิดเป็น ทำเป็น พึ่งตนเองได้มากขึ้น มีจิตสำนึกที่ดี รู้ รัก สามัคคี รู้หน้าที่และมีความรับผิดชอบ ขณะเดียวกันต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานโดยให้ความสำคัญต่อการปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐ การปรับระบบงบประมาณให้เอื้อต่อการดำเนินงานของท้องถิ่น ชุมชน ตลอดจนการปรับบทบาทหน่วยงานกลางในการประสานและสนับสนุนการจัดแผนปฏิบัติการในทุกระดับให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ซึ่งการดำเนินงานที่สำคัญที่สุดจะอยู่ที่การจัดทำแผนปฏิบัติการระดับพื้นที่ที่เริ่มจากระดับชุมชนและเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติการในระดับที่สูงกว่า โดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคม ในการร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมกันรับผิดชอบ นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องพัฒนาระบบการติดตามประเมินผลและกำหนดดัชนีชี้วัดที่ชัดเจนในทุกระดับ เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนมีความต่อเนื่อง รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประเมินผลการทำงานของภาครัฐอย่างโปร่งใสอีกด้วย
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-