แท็ก
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เศรษฐกิจพอเพียง
พระราชดำรัส
วิสัยทัศน์
ปรัชญา
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๙) เป็นแผนที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง O ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศโดยยึดหลักทางสายกลาง เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังนี้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันของสังคมไทยใน ๒๐ ปีข้างหน้า โดยนำความคิดของทุกฝ่ายในสังคมและทุกระดับทั้งระดับจังหวัด ระดับอนุภาค และระดับชาติ มาสังเคราะห์เชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบให้เกิดเป็น "วิสัยทัศน์ร่วม" ที่สังคมไทยยอมรับร่วมกัน โดยคำนึงถึงสถานการณ์และกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ที่จะมีผลต่อการกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศในอนาคตได้อย่างสมเหตุสมผล มีจุดมุ่งหมายและค่านิยมร่วม โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งให้คนไทยสามารถพึ่งตนเองได้ พร้อมที่จะเรียนรู้โลกาภิวัตน์และรู้จักเลือกนำมาใช้อย่างมีเหตุผล โดยยึดหลักทางสายกลางและมีภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาได้ทุกระดับ ตั้งแต่การดำรงวิถีชีวิตส่วนบุคคล ครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และยังปรับใช้ได้กับทุกสาขาการพัฒนา ซึ่งจะนำไปสู่สังคมไทยที่พึงประสงค์ ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงและสร้างคุณค่าที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จึงเป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระยะปานกลางที่มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาว และมีการดำเนินการต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ ในด้านแนวคิดที่ยึด "คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา" และให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล ทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแก้ไขปัญหาความยากจน การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้พ้นจากวิกฤต พร้อมไปกับการวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง และการสร้างระบบการบริหารจัดการภายในที่ดีให้เกิดขึ้นในทุกระดับ
ลักษณะสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ คือ เป็นแผนที่ดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านสำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศ ทำให้จำเป็นต้องปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมที่ยังไม่ได้ดำเนินการและคั่งค้างมาจากระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการที่ดีที่มีการระดมทรัพยากรที่มีอยู่จากทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งทุนทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมเพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จึงมีความแตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ ที่จุดเน้นการให้ความสำคัญกับแนวทางการพัฒนาที่มีความชัดเจนเพียงพอสามารถนำไปจัดทำแผนปฏิบัติต่อได้ และสามารถใช้เป็นแนวทางการจัดสรรทรัพยากรของประเทศที่มีอยู่จำกัดให้เหมาะสมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมตลอดทั้งยังให้ความสำคัญกับการจัดระบบกลไกบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สามารถแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันของสังคมไทยใน ๒๐ ปีข้างหน้า โดยนำความคิดของทุกฝ่ายในสังคมและทุกระดับทั้งระดับจังหวัด ระดับอนุภาค และระดับชาติ มาสังเคราะห์เชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบให้เกิดเป็น "วิสัยทัศน์ร่วม" ที่สังคมไทยยอมรับร่วมกัน โดยคำนึงถึงสถานการณ์และกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ที่จะมีผลต่อการกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศในอนาคตได้อย่างสมเหตุสมผล มีจุดมุ่งหมายและค่านิยมร่วม โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งให้คนไทยสามารถพึ่งตนเองได้ พร้อมที่จะเรียนรู้โลกาภิวัตน์และรู้จักเลือกนำมาใช้อย่างมีเหตุผล โดยยึดหลักทางสายกลางและมีภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาได้ทุกระดับ ตั้งแต่การดำรงวิถีชีวิตส่วนบุคคล ครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และยังปรับใช้ได้กับทุกสาขาการพัฒนา ซึ่งจะนำไปสู่สังคมไทยที่พึงประสงค์ ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงและสร้างคุณค่าที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จึงเป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระยะปานกลางที่มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาว และมีการดำเนินการต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ ในด้านแนวคิดที่ยึด "คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา" และให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล ทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแก้ไขปัญหาความยากจน การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้พ้นจากวิกฤต พร้อมไปกับการวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง และการสร้างระบบการบริหารจัดการภายในที่ดีให้เกิดขึ้นในทุกระดับ
ลักษณะสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ คือ เป็นแผนที่ดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านสำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของประเทศ ทำให้จำเป็นต้องปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมที่ยังไม่ได้ดำเนินการและคั่งค้างมาจากระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการที่ดีที่มีการระดมทรัพยากรที่มีอยู่จากทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งทุนทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมเพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จึงมีความแตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ ที่จุดเน้นการให้ความสำคัญกับแนวทางการพัฒนาที่มีความชัดเจนเพียงพอสามารถนำไปจัดทำแผนปฏิบัติต่อได้ และสามารถใช้เป็นแนวทางการจัดสรรทรัพยากรของประเทศที่มีอยู่จำกัดให้เหมาะสมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมตลอดทั้งยังให้ความสำคัญกับการจัดระบบกลไกบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สามารถแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-