การที่ประเทศจะพัฒนาให้ก้าวไกลไปได้เพียงใดนั้นจำเป็นต้องมีกลไกในการช่วยขับเคลื่อน ซึ่งกลไกหนึ่งที่มีความสำคัญก็คือ "การออม" การออมจึงนับเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาชาติ เพราะถ้าหากเรามีการออมเช่นมีเงินออมเป็นแหล่งเงินทุนของชาติเพื่อใช้ในการพัฒนา โดยไม่ต้องอาศัยการกู้ยืมจากต่างชาติเข้ามาลงทุนจะช่วยให้ประเทศสามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง นอกจากนั้นหากการออมในประเทศไม่เพียงพอต่อการลงทุน ก็จะส่งผลทำให้เกิดช่องว่างระหว่างการออมและการลงทุนขึ้นอีกด้วย และช่องว่างดังกล่าวจะกลายเป็นปัญหาอุปสรรคที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการประสานการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ให้ความสำคัญต่อการออมเป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้ว่าในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ที่กำลังใช้เป็นแนวทางหลักในการพัฒนาประเทศอยู่ในขณะนี้ได้กำหนดแนวทางของการออมในแง่ต่าง ๆ ไว้หลายส่วน ซึ่งแทรกอยู่ในยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศหลายยุทธศาสตร์ ทั้งในด้านการออมเงิน ด้านการออมพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ
ในด้านการออมเงินที่บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ซึ่งต่อจากนี้ไปจะขอเรียกสั้น ๆ ว่า "แผนฯ 8" ได้กล่าวถึงการออมในยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนฯ 8 จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ด้วยกัน คือ
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพของคน โดยในส่วนที่เป็นการกำกับดูแลการใช้จ่ายด้านสารธารณสุขให้มีประสิทธิภาพนั้น แผนฯ 8 ได้ระบุให้มีการกำหนดนโยบายด้านการเงินการคลัง เพื่อลดการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยลง โดยเฉพาะการนำเข้ายาและเทคโนโลยีที่มีราคาแพงเกินความจำเป็น
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคน กล่าวถึง การสนับสนุนการออมในหมู่ผู้ใช้แรงงานด้วยการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนเงินสะสมในสถานประกอบการเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ผู้ใช้แรงงานระหว่างที่ยังทำงานอยู่ และเมื่อออกจากงานแล้ว
3. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบท เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง กล่าวถึงการขยายการดำเนินงานกองทุนพัฒนาชนบท เพื่อสนับสนุนการออมทรัพย์ในระดับชุมชน และส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต ได้กล่าวถึงในหลายด้าน ได้แก่
- การเร่งระดมและสร้างโอกาสการออมของครัวเรือนเพื่อให้ประชาชนสามารถออมเงินได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของผลผลิตรวมในประเทศในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คือ ปี 2544 ทั้งนี้เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทย
- ดำเนินมาตรการทางการเงินการคลัง เพื่อลดพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยของประชาชน ควบคู่ไปกับการปลูกฝังและรณรงค์ให้เกิดค่านิยมการออมในหมู่ประชาชนทั่วไป
- ใช้มาตรการภาษีส่งเสริมให้มีการออมมากขึ้นโดยเฉพาะในภาคครัวเรือน และพัฒนาเครื่องมือและกลไกการออมในลักษณะผูกพันบังคับในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งพัฒนาตลาดตราสารทางการเงินระยะยาว โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจและการขยายสาขาของสถาบันการเงินไปสู่ภูมิภาคให้มากขึ้น
- พัฒนาตลาดตราสารหนี้ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน เพื่อให้ประชาชนและธุรกิจมีทางเลือกในการออมและการระดมทุนมากขึ้น
- พัฒนาธุรกิจประกันภัยให้พร้อมรับการเปิดเสรีด้านบริการประกันภัย สามารถเป็นแหล่งระดมเงินออมของประชาชนและสนับสนุนการขยายตัวด้านการค้าและการลงทุน ทั้งนี้เพื่อทำให้ประเทศไทยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก
สำหรับด้านการออมพลังงานและทรัพยากรธรรมชาตินั้น ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ได้กล่าวไว้ 2 ยุทธศาสตร์ คือ
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต ซึ่งได้กล่าวถึงในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่
- การพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน และพลังงานทดแทน ระบบจำกัดของเสีย ระบบการหมุนเวียนใช้ประโยชน์ของเสีย เพื่ออนุรักษ์สภาวะแวดล้อม
- การส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด เพื่อลดภาระการลงทุนในการจัดหาพลังงาน โดยใช้มาตรการทางด้านราคาเป็นมาตรการสำคัญที่จะสร้างแรงจูงใจให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการใช้มาตรการบังคับ การให้สิ่งจูงใจเพิ่มเติม และการสร้างงจิตสำนึก
- การประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการ เพื่อลดปริมาณการสูญเสียของน้ำประปาทั่วประเทศให้อยู่ในระดับเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 25 ภายในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
- ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการรณรงค์จัดการด้านการใช้น้ำ โดยใช้มาตรการสิ่งจูงใจและมาตรการด้านราคา รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำ ตลอดจนสร้างนิสัยให้ประชาชนช่วยกันประหยัดการใช้น้ำ
- และการจัดให้มีองค์กรกลางเพื่อการพัฒนาทรัพยากรน้ำ ทั้งนี้เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายประสานแผนปฏิบัติและบริหารจัดการ ทั้งในกรณีการขาดแคลนน้ำ การป้องกันอุทกภัย และการรักษาคุณภาพน้ำ
2. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงการรณรงค์และเผยแพร่ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการแนะนำวิธีการใช้น้ำอย่างประหยัด ส่งเสริมให้มีการใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำในชุมชน การนำน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้วมาใช้ใหม่ในอุตสาหกรรมบางประเภท
หากจะกล่าวถึงความสำคัญของการออมแล้วก็คงจะต้องกล่าวถึงการออมของภาคครัวเรือน ซึ่งสามารถแยกออกได้เป็น 2 ระดับ คือ ความสำคัญของการออมต่อครัวเรือนหรือผู้ออมเอง และความสำคัญของการออมในระดับภาพรวมของประเทศ กล่าวคือ จุดมุ่งหมายของการออมในระดับภาพรวมของประเทศ กล่าวคือ จุดมุ่งหมายของการออมในระดับครัวเรือนนั้นมีหลายประการ เช่น เพื่อเก็บไว้ใช้ในยามเจ็บป่วยหรือยามชรา เพื่อการศึกษา เพื่อเป็นเงินทุนในการประกอบอาชีพ และต้องการดอกเบี้ยหรือผลตอบแทน ซึ่งจากวัตถุประสงค์ดังกล่าว สรุปได้ว่า การออมภาคครัวเรือนมีความสำคัญในการประภันความมั่นคงในอนาคตของผู้ออมและครอบครัว
สำหรับความสำคัญของการออมในระดับภาพรวมของประเทศนั้น ก่อนอื่นคงจะต้องกล่าวถึงองค์ประกอบของเงินออมรวมของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย เงินออมภาคครัวเรือน เงินออมภาคธุรกิจเอกชน และเงินออมภาครัฐบาล ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญสำหรับการลงทุนของประเทศ
แต่ในระยะที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาความไม่พอเพียงของเงินออมในประเทศเมื่อเทียบกับระดับเงินลงทุน ถึงแม้ว่าการออมรวมของประเทศคิดเป็นสัดส่วนของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศหรือ GDP จะสูงขึ้นก็ตาม แต่การลงทุนได้ขยายตัวในอัตราที่สูงกว่า จึงทำให้เกิดช่องว่างระหว่างการออมและการลงทุน หรือเรียกว่าการขาดแคลนเงินออมในประเทศ ดังจะเห็นได้ว่าในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจในปลายปี 2540 นั้น การลงทุนมีการขยายตัวในอัตราที่สูงอย่างต่อเนื่องมาตลอด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ส่วนที่เหลือของผลผลิตรวมประชาชาติหลังจากหักค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครวมของประเทศแล้ว ไม่เพียงพอสำหรับการลงทุนรวมของประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การผลิตสินค้าและบริการของประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการใช้สินค้าและบริการทั้งเพื่อการบริโภคและการลงทุนของประเทศ นั่นก็คือมูลค่าการนำเข้าสินค้าและบริการสูงกว่ามูลค่าการส่งสินค้าออกและบริการของประเทศ หรือที่เรียกว่าประเทศขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจเป็นต้นมา ปัญหาการขาดแคลนเงินออมเริ่มลดลง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการลงทุนที่ลดลงอย่างรวดเร็ว แม้ว่าการออมจะมิได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่กลางปี 2542 เป็นต้นมา เศรษฐกิจของไทยได้เริ่มฟื้นตัวมากขึ้นจนเห็นได้ชัดเจน ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการนำเข้าในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงระยะ 8 เดือนแรกของปี 2542 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปี 2541 อันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของการนำเข้าสินค้าทุน วัตถุดิบ และสินค้าอุปโภคบริโภค และคาดว่าแนวโน้มการนำเข้าจะสูงขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยคาดว่าตลอดปี 2542 นี้ บัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล คิดเป็นสัดส่วนต่อผลผลิตรวมภายในประเทศ (GDP) ร้อยละ 8.8 ส่วนในปี 2543 นี้ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.9 ของผลผลิตภายในประเทศ ซึ่งผลจากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้านี้ จะทำให้ส่วนเกินของการออมสูงขึ้นมากกว่าสัดส่วนการลงทุนที่ลดลง
อย่างไรก็ตาม เมื่อเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้นและกำลังการผลิตส่วนเกินลดลง การลงทุนและความต้องการเงินลงทุนก็จะเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน และส่วนเกินของการออมก็จะลดลงและมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดช่องว่างของการออมและการลงทุนอีกครั้งหนึ่งในระยะ 3-4 ปีข้างหน้า ดังนั้น การขาดแคลนเงินออมจึงเป็นประเด็นที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดเป็นปัญหาขึ้นในอนาคต โดยจะต้องระมัดระวังในเรื่องการใช้จ่ายเพื่อซื้อและนำเข้าสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือย
การที่ประเทศไทยจะสามารถพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืนนั้น จะต้องมีการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ถูกต้องตลอดจนมีปัจจัยที่สนับสนุนการดำเนินการพัฒนา ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งได้แก่ การออม ไม่ว่าจะเป็นการออมเงินหรือการออมพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งการออมจะทำให้เกิดการพัฒนาโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ไม่ต้องพึ่งพาเงินตราจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในการลงทุน ดังนั้น การออม จึงนับเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการช่วยพัฒนาประเทศชาติได้อีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 12/ธันวาคม 2542--
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการประสานการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ให้ความสำคัญต่อการออมเป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้ว่าในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ที่กำลังใช้เป็นแนวทางหลักในการพัฒนาประเทศอยู่ในขณะนี้ได้กำหนดแนวทางของการออมในแง่ต่าง ๆ ไว้หลายส่วน ซึ่งแทรกอยู่ในยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศหลายยุทธศาสตร์ ทั้งในด้านการออมเงิน ด้านการออมพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ
ในด้านการออมเงินที่บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ซึ่งต่อจากนี้ไปจะขอเรียกสั้น ๆ ว่า "แผนฯ 8" ได้กล่าวถึงการออมในยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนฯ 8 จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ด้วยกัน คือ
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพของคน โดยในส่วนที่เป็นการกำกับดูแลการใช้จ่ายด้านสารธารณสุขให้มีประสิทธิภาพนั้น แผนฯ 8 ได้ระบุให้มีการกำหนดนโยบายด้านการเงินการคลัง เพื่อลดการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยลง โดยเฉพาะการนำเข้ายาและเทคโนโลยีที่มีราคาแพงเกินความจำเป็น
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคน กล่าวถึง การสนับสนุนการออมในหมู่ผู้ใช้แรงงานด้วยการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนเงินสะสมในสถานประกอบการเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ผู้ใช้แรงงานระหว่างที่ยังทำงานอยู่ และเมื่อออกจากงานแล้ว
3. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบท เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง กล่าวถึงการขยายการดำเนินงานกองทุนพัฒนาชนบท เพื่อสนับสนุนการออมทรัพย์ในระดับชุมชน และส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต ได้กล่าวถึงในหลายด้าน ได้แก่
- การเร่งระดมและสร้างโอกาสการออมของครัวเรือนเพื่อให้ประชาชนสามารถออมเงินได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของผลผลิตรวมในประเทศในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คือ ปี 2544 ทั้งนี้เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทย
- ดำเนินมาตรการทางการเงินการคลัง เพื่อลดพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยของประชาชน ควบคู่ไปกับการปลูกฝังและรณรงค์ให้เกิดค่านิยมการออมในหมู่ประชาชนทั่วไป
- ใช้มาตรการภาษีส่งเสริมให้มีการออมมากขึ้นโดยเฉพาะในภาคครัวเรือน และพัฒนาเครื่องมือและกลไกการออมในลักษณะผูกพันบังคับในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งพัฒนาตลาดตราสารทางการเงินระยะยาว โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจและการขยายสาขาของสถาบันการเงินไปสู่ภูมิภาคให้มากขึ้น
- พัฒนาตลาดตราสารหนี้ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน เพื่อให้ประชาชนและธุรกิจมีทางเลือกในการออมและการระดมทุนมากขึ้น
- พัฒนาธุรกิจประกันภัยให้พร้อมรับการเปิดเสรีด้านบริการประกันภัย สามารถเป็นแหล่งระดมเงินออมของประชาชนและสนับสนุนการขยายตัวด้านการค้าและการลงทุน ทั้งนี้เพื่อทำให้ประเทศไทยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก
สำหรับด้านการออมพลังงานและทรัพยากรธรรมชาตินั้น ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ได้กล่าวไว้ 2 ยุทธศาสตร์ คือ
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต ซึ่งได้กล่าวถึงในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่
- การพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน และพลังงานทดแทน ระบบจำกัดของเสีย ระบบการหมุนเวียนใช้ประโยชน์ของเสีย เพื่ออนุรักษ์สภาวะแวดล้อม
- การส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด เพื่อลดภาระการลงทุนในการจัดหาพลังงาน โดยใช้มาตรการทางด้านราคาเป็นมาตรการสำคัญที่จะสร้างแรงจูงใจให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการใช้มาตรการบังคับ การให้สิ่งจูงใจเพิ่มเติม และการสร้างงจิตสำนึก
- การประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการ เพื่อลดปริมาณการสูญเสียของน้ำประปาทั่วประเทศให้อยู่ในระดับเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 25 ภายในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
- ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการรณรงค์จัดการด้านการใช้น้ำ โดยใช้มาตรการสิ่งจูงใจและมาตรการด้านราคา รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำ ตลอดจนสร้างนิสัยให้ประชาชนช่วยกันประหยัดการใช้น้ำ
- และการจัดให้มีองค์กรกลางเพื่อการพัฒนาทรัพยากรน้ำ ทั้งนี้เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายประสานแผนปฏิบัติและบริหารจัดการ ทั้งในกรณีการขาดแคลนน้ำ การป้องกันอุทกภัย และการรักษาคุณภาพน้ำ
2. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงการรณรงค์และเผยแพร่ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการแนะนำวิธีการใช้น้ำอย่างประหยัด ส่งเสริมให้มีการใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำในชุมชน การนำน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้วมาใช้ใหม่ในอุตสาหกรรมบางประเภท
หากจะกล่าวถึงความสำคัญของการออมแล้วก็คงจะต้องกล่าวถึงการออมของภาคครัวเรือน ซึ่งสามารถแยกออกได้เป็น 2 ระดับ คือ ความสำคัญของการออมต่อครัวเรือนหรือผู้ออมเอง และความสำคัญของการออมในระดับภาพรวมของประเทศ กล่าวคือ จุดมุ่งหมายของการออมในระดับภาพรวมของประเทศ กล่าวคือ จุดมุ่งหมายของการออมในระดับครัวเรือนนั้นมีหลายประการ เช่น เพื่อเก็บไว้ใช้ในยามเจ็บป่วยหรือยามชรา เพื่อการศึกษา เพื่อเป็นเงินทุนในการประกอบอาชีพ และต้องการดอกเบี้ยหรือผลตอบแทน ซึ่งจากวัตถุประสงค์ดังกล่าว สรุปได้ว่า การออมภาคครัวเรือนมีความสำคัญในการประภันความมั่นคงในอนาคตของผู้ออมและครอบครัว
สำหรับความสำคัญของการออมในระดับภาพรวมของประเทศนั้น ก่อนอื่นคงจะต้องกล่าวถึงองค์ประกอบของเงินออมรวมของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย เงินออมภาคครัวเรือน เงินออมภาคธุรกิจเอกชน และเงินออมภาครัฐบาล ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญสำหรับการลงทุนของประเทศ
แต่ในระยะที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาความไม่พอเพียงของเงินออมในประเทศเมื่อเทียบกับระดับเงินลงทุน ถึงแม้ว่าการออมรวมของประเทศคิดเป็นสัดส่วนของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศหรือ GDP จะสูงขึ้นก็ตาม แต่การลงทุนได้ขยายตัวในอัตราที่สูงกว่า จึงทำให้เกิดช่องว่างระหว่างการออมและการลงทุน หรือเรียกว่าการขาดแคลนเงินออมในประเทศ ดังจะเห็นได้ว่าในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจในปลายปี 2540 นั้น การลงทุนมีการขยายตัวในอัตราที่สูงอย่างต่อเนื่องมาตลอด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ส่วนที่เหลือของผลผลิตรวมประชาชาติหลังจากหักค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครวมของประเทศแล้ว ไม่เพียงพอสำหรับการลงทุนรวมของประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การผลิตสินค้าและบริการของประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการใช้สินค้าและบริการทั้งเพื่อการบริโภคและการลงทุนของประเทศ นั่นก็คือมูลค่าการนำเข้าสินค้าและบริการสูงกว่ามูลค่าการส่งสินค้าออกและบริการของประเทศ หรือที่เรียกว่าประเทศขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจเป็นต้นมา ปัญหาการขาดแคลนเงินออมเริ่มลดลง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการลงทุนที่ลดลงอย่างรวดเร็ว แม้ว่าการออมจะมิได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่กลางปี 2542 เป็นต้นมา เศรษฐกิจของไทยได้เริ่มฟื้นตัวมากขึ้นจนเห็นได้ชัดเจน ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการนำเข้าในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงระยะ 8 เดือนแรกของปี 2542 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปี 2541 อันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของการนำเข้าสินค้าทุน วัตถุดิบ และสินค้าอุปโภคบริโภค และคาดว่าแนวโน้มการนำเข้าจะสูงขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยคาดว่าตลอดปี 2542 นี้ บัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล คิดเป็นสัดส่วนต่อผลผลิตรวมภายในประเทศ (GDP) ร้อยละ 8.8 ส่วนในปี 2543 นี้ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.9 ของผลผลิตภายในประเทศ ซึ่งผลจากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้านี้ จะทำให้ส่วนเกินของการออมสูงขึ้นมากกว่าสัดส่วนการลงทุนที่ลดลง
อย่างไรก็ตาม เมื่อเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้นและกำลังการผลิตส่วนเกินลดลง การลงทุนและความต้องการเงินลงทุนก็จะเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน และส่วนเกินของการออมก็จะลดลงและมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดช่องว่างของการออมและการลงทุนอีกครั้งหนึ่งในระยะ 3-4 ปีข้างหน้า ดังนั้น การขาดแคลนเงินออมจึงเป็นประเด็นที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดเป็นปัญหาขึ้นในอนาคต โดยจะต้องระมัดระวังในเรื่องการใช้จ่ายเพื่อซื้อและนำเข้าสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือย
การที่ประเทศไทยจะสามารถพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืนนั้น จะต้องมีการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ถูกต้องตลอดจนมีปัจจัยที่สนับสนุนการดำเนินการพัฒนา ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งได้แก่ การออม ไม่ว่าจะเป็นการออมเงินหรือการออมพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งการออมจะทำให้เกิดการพัฒนาโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ไม่ต้องพึ่งพาเงินตราจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในการลงทุน ดังนั้น การออม จึงนับเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการช่วยพัฒนาประเทศชาติได้อีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 12/ธันวาคม 2542--