-คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 0.5 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.25 ต่อปี เนื่องจากเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นอย่างชัดเจน ขณะที่เศรษฐกิจไทยยังมีพื้นฐานที่เข้มแข็ง
-สถาบันการเงินเน้นทำธุรกรรมระยะสั้นในตลาด R/P 1 วัน ขณะที่แทบไม่มีการทำธุรกรรมในตลาด R/P 14 วัน ก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพุธ โดยหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวลดลง US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน
-เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โดยมีปัจจัยบวกจากตัวเลข GDP ในไตรมาส 2 ที่มีการขยายตัวสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 0.5 ซึ่งเป็นปัจจัยดึงดูดเงินทุนไหลเข้าประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะปรับแข็งค่าขึ้น หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ Fed กล่าวสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในระยะต่อไป
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 7 กันยายน มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 0.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อส่งสัญญาณเร่งตัวขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน จากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีโอกาสที่เงินเฟ้อพื้นฐานจะจะเร่งตัวเกินเป้าหมายที่ร้อยละ 0 — 3.5 คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายควรอยู่ในทิศทางขาขึ้นเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด และเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมต่อการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ขณะที่เห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังมีพื้นฐานที่เข้มแข็งเพียงพอที่จะรองรับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันจันทร์ เนื่องจากมีการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปีให้ภาครัฐ สำหรับในวันอังคาร ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน เพื่อรอโอกาสลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธที่ 7 ก.ย. แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ร้อยละ 2.71875 และ 2.75 ต่อปี ตามลำดับ โดยในวันจันทร์ไม่มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ก่อนจะมีการทำธุรกรรมเพียงเบาบางในวันอังคาร ซึ่งอัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี แต่หลังจากการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 0.5 ในวันพุธ ความต้องการลงทุนในระยะ 14 วัน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.1875 3.2187 และ 3.25 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 วันและ 14 วัน ตามลำดับ ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ ความต้องการกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้น เพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าของธนาคารพาณิชย์บางแห่ง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.21875 — 3.25 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.25 และ 3.28125 ต่อปี ในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.72 — 3.2 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.75 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 3.15 - 3.18 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยใน
ตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 32,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 และ 14 ปี วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 17,000 ล้านบาท โดยตราสารเกือบทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนลดลง ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาลอายุ 14 ปี ที่อัตราผลตอบแทนเกือบไม่เปลี่ยนแปลง ในสัปดาห์นี้มีพันธบัตรภาครัฐครบกำหนด 9,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 23,000 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 21 คิดเป็นมูลค่า 60,155 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,031 ล้านบาทต่อวัน ปริมาณซื้อขายค่อนข้างเบาบางโดยเฉพาะในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีการย้ายเงินลงทุนไปที่ตลาดหลักทรัพย์ซึ่งดัชนีราคายังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 75 อัตราผลตอบแทน (yield) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวสูงขึ้นทุกช่วงอายุที่ระดับ 18-32 basis points โดยเพิ่มสูงขึ้นมากในวันพุธหลังจาก ธปท. ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นร้อยละ 0.50 ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด ทำให้ดัชนีราคา(Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 99 และ 52 basis points ตามลำดับUS Treasury Yield ในสัปดาห์นี้กลับมาปรับตัวขึ้นเช่นกัน ถึงแม้นักลงทุนจะเกรงว่าพายุเฮอริเคนจะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลง แต่ Fed ยังคงแสดงความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อ นักลงทุนจึงคาดการณ์ว่า Fed อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีก ทำให้ US Treasury Yield เกือบทุกช่วงอายุ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3-13 basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 1 เดือน ที่ปรับตัวลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ส.ค.48 41.15
เฉลี่ย 29 ส.ค.—2 ก.ย.48 41.19
5 ก.ย.48 40.90
6 ก.ย.48 40.96
7 ก.ย.48 41.06
8 ก.ย.48 40.96
9 ก.ย.48 40.97
เฉลี่ย 5-9 ก.ย.48 40.97
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.97 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.5 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในวันทำการแรกของสัปดาห์แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อนตามทิศทางค่าเงินเยน ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 2 ปี 2548 ที่มีการขยายตัวถึงร้อยละ 4.4 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากอัตราการขยายตัวในไตรมาสแรกของปีและสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดค่อนข้างมาก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนสิงหาคมที่ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ สำหรับในช่วงกลางสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค และแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดต่างประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดี และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ แม้ว่าจะมีปัจจัยลบภายในประเทศก็ตาม อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงบ่ายของวันพุธที่ 9 ก.ย. และมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องถึงช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 0.5 ซึ่งค่อนข้างอยู่เหนือการคาดการณ์ของตลาด ส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐฯ แคบลงและเป็นปัจจัยดึงดูดเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-สถาบันการเงินเน้นทำธุรกรรมระยะสั้นในตลาด R/P 1 วัน ขณะที่แทบไม่มีการทำธุรกรรมในตลาด R/P 14 วัน ก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพุธ โดยหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับตัวลดลง US Treasury Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน
-เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โดยมีปัจจัยบวกจากตัวเลข GDP ในไตรมาส 2 ที่มีการขยายตัวสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 0.5 ซึ่งเป็นปัจจัยดึงดูดเงินทุนไหลเข้าประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนจะปรับแข็งค่าขึ้น หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ Fed กล่าวสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในระยะต่อไป
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ในวันที่ 7 กันยายน มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 0.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อส่งสัญญาณเร่งตัวขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน จากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีโอกาสที่เงินเฟ้อพื้นฐานจะจะเร่งตัวเกินเป้าหมายที่ร้อยละ 0 — 3.5 คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายควรอยู่ในทิศทางขาขึ้นเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด และเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมต่อการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ขณะที่เห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังมีพื้นฐานที่เข้มแข็งเพียงพอที่จะรองรับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในวันจันทร์ เนื่องจากมีการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปีให้ภาครัฐ สำหรับในวันอังคาร ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน เพื่อรอโอกาสลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธที่ 7 ก.ย. แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ยังปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ร้อยละ 2.71875 และ 2.75 ต่อปี ตามลำดับ โดยในวันจันทร์ไม่มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ก่อนจะมีการทำธุรกรรมเพียงเบาบางในวันอังคาร ซึ่งอัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี แต่หลังจากการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 0.5 ในวันพุธ ความต้องการลงทุนในระยะ 14 วัน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.1875 3.2187 และ 3.25 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 วันและ 14 วัน ตามลำดับ ส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ ความต้องการกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้น เพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าของธนาคารพาณิชย์บางแห่ง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.21875 — 3.25 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.25 และ 3.28125 ต่อปี ในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.72 — 3.2 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.75 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 3.15 - 3.18 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยใน
ตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 32,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 และ 14 ปี วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 17,000 ล้านบาท โดยตราสารเกือบทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนลดลง ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาลอายุ 14 ปี ที่อัตราผลตอบแทนเกือบไม่เปลี่ยนแปลง ในสัปดาห์นี้มีพันธบัตรภาครัฐครบกำหนด 9,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 23,000 ล้านบาท
ปริมาณการซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 21 คิดเป็นมูลค่า 60,155 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,031 ล้านบาทต่อวัน ปริมาณซื้อขายค่อนข้างเบาบางโดยเฉพาะในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีการย้ายเงินลงทุนไปที่ตลาดหลักทรัพย์ซึ่งดัชนีราคายังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 75 อัตราผลตอบแทน (yield) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวสูงขึ้นทุกช่วงอายุที่ระดับ 18-32 basis points โดยเพิ่มสูงขึ้นมากในวันพุธหลังจาก ธปท. ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นร้อยละ 0.50 ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด ทำให้ดัชนีราคา(Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนลดลง 99 และ 52 basis points ตามลำดับUS Treasury Yield ในสัปดาห์นี้กลับมาปรับตัวขึ้นเช่นกัน ถึงแม้นักลงทุนจะเกรงว่าพายุเฮอริเคนจะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลง แต่ Fed ยังคงแสดงความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อ นักลงทุนจึงคาดการณ์ว่า Fed อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีก ทำให้ US Treasury Yield เกือบทุกช่วงอายุ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3-13 basis points ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 1 เดือน ที่ปรับตัวลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ส.ค.48 41.15
เฉลี่ย 29 ส.ค.—2 ก.ย.48 41.19
5 ก.ย.48 40.90
6 ก.ย.48 40.96
7 ก.ย.48 41.06
8 ก.ย.48 40.96
9 ก.ย.48 40.97
เฉลี่ย 5-9 ก.ย.48 40.97
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.97 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.5 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในวันทำการแรกของสัปดาห์แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อนตามทิศทางค่าเงินเยน ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 2 ปี 2548 ที่มีการขยายตัวถึงร้อยละ 4.4 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากอัตราการขยายตัวในไตรมาสแรกของปีและสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดค่อนข้างมาก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนสิงหาคมที่ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ สำหรับในช่วงกลางสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค และแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดต่างประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดี และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ แม้ว่าจะมีปัจจัยลบภายในประเทศก็ตาม อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงบ่ายของวันพุธที่ 9 ก.ย. และมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องถึงช่วงปลายสัปดาห์ หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงร้อยละ 0.5 ซึ่งค่อนข้างอยู่เหนือการคาดการณ์ของตลาด ส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐฯ แคบลงและเป็นปัจจัยดึงดูดเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-