แท็ก
GDP
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product; GDP) ไตรมาสที่ 2/2544 ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว สูงกว่าอัตราเพิ่มร้อยละ 1.8 ของไตรมาสที่ 1/2544 เล็กน้อย โดยมีผลมาจากการใช้จ่ายของครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ประกอบกับปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการที่หดตัวลงมากร้อยละ 6.9 ส่งผลให้การผลิตในประเทศบางส่วนขยายตัวเพื่อตอบสนองความต้องการอุปโภคและลงทุน ในขณะที่ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 1.4 และการใช้จ่ายอุปโภคของภาครัฐในมูลค่าที่แท้จริง ลดลงร้อยละ 0.3 ทั้งนี้เพราะการลดลงของจำนวนข้าราชการและเป็นช่วงระยะสุดท้ายของการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้โครงการตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2542
การปรับตัวในอุปสงค์ดังกล่าวส่งผลให้การผลิตเพิ่มขึ้นโดยภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และภาคนอกเกษตรเพิ่มร้อยละ 1.9 ที่สำคัญคือการคมนาคมและขนส่งและบริการอื่น ๆ เช่น สาธารณสุข บริการส่วนบุคคล ส่วนสาขาอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 1.5 เท่ากับไตรมาสมาสที่แล้ว ขณะที่สาขาการก่อสร้างยังคงเป็นสาขาการผลิตเดียวที่หดตัวต่อเนื่องโดยไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 10.9 GDP ที่ปรับค่าดัชนีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เทียบกับไตรมาสที่แล้วที่ลดลงร้อยละ 0.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในไตรมาสนี้มีมูลค่า 1,249.8 พันล้านบาท เมื่อหักด้วยผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิตสุทธิจ่ายออกไปต่างประเทศ 13.2 พันล้านบาทแล้ว คงเหลือเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product; GNP) เท่ากับ 1,236.6 พันล้านบาท มูลค่าที่แท้จริงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6
ดุลการค้าและบริการเกินดุล 52.6 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับรายได้จากต่างประเทศสุทธิและเงินโอนสุทธิที่ขาดดุลเท่ากับ 6.3 พันล้านบาทแล้ว ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเท่ากับ 46.3 พันล้านบาทหรือร้อยละ 3.7 ต่อ GDP เทียบกับร้อยละ 4.7 ในไตรมาสที่แล้วดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 2.7 ในไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มร้อยละ 4.2
ด้านการผลิต
ในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 1.9 โดยภาคเกษตรกรรมมีการขยายตัวร้อยละ 2.0 ปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาสที่แล้วที่มีการขยายตัวร้อยละ 1.7 โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นในหมวดพืชผลและปศุสัตว์ ส่วนการผลิตของนอกภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยโดยขยายตัวร้อยละ 1.9 สูงกว่าร้อยละ 1.8 ในไตรมาสที่แล้ว
สาขาเกษตร
หมวดพืชผลและปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 2.4 โดยหมวดพืชผลขยายตัวร้อยละ 1.4 ตามการขยายตัวของผลผลิตยางพารา ถั่วเหลือง กาแฟ และ ผลไม้ สำหรับหมวดปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 6.5 ตามภาวะการส่งออกไก่สดแช่แข็งและไก่เสียบไม้ไปยังตลาดยุโรปที่ยังคงขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่อง
หมวดประมง ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่แล้วเป็นผลมาจากปริมาณปลาที่จับได้ลดลง อย่างไรก็ตามการส่งออกกุ้งสดแช่แข็งและกุ้งแปรรูปยังขยายตัวได้ดี
สาขาอุตสาหกรรม ภาวะการผลิตทรงตัวที่อัตราร้อยละ 1.5 เท่ากับไตรมาสแรก โดยกลุ่มอุตสาหกรรมวัตถุดิบขยายตัวร้อยละ 7.6 กลุ่มอุตสาหกรรมเบาเพิ่มร้อยละ 3.2 ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีหดตัวร้อยละ 5.6 สำหรับอุตสาหกรรมสำคัญที่มีการขยายตัวสูงในไตรมาสนี้ประกอบด้วยเครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ เคมีและผลิตภัณฑ์เคมี ปิโตรเลียม อโลหะ และยานยนต์ ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 52.0 ต่ำกว่าร้อยละ 55.5 ในไตรมาสแรก
กลุ่มอุตสาหกรรมเบา
- อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย ขยายตัวร้อยละ 4.3 เป็นผลจากการส่งออกยังมีการขยายตัว
- อุตสาหกรรมเครื่องหนังและผลิตภัณฑ์จากหนัง ขยายตัวร้อยละ 11.4 ตามการส่งออกที่มีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 60
- อุตสาหกรรมอื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 7.4 เช่น อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ขยายตัวสูงเนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4
กลุ่มอุตสาหกรรมวัตถุดิบ
- อุตสาหกรรมเคมีและผลิตภัณฑ์เคมี ขยายตัวร้อยละ 14.4 โดยมีผลสำคัญจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
- อุตสาหกรรมปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 7.7 เป็นผลจากการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปสูงขึ้นร้อยละ 56.5 แม้ว่าการบริโภคภายในประเทศหดตัวลง
- อุตสาหกรรมอโลหะ ขยายตัวร้อยละ 8.4 โดยอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น ปูนซีเมนต์และเซรามิค สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น
กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยี
- อุตสาหกรรมเครื่องจักรและเครื่องใช้สำนักงาน หดตัวลงร้อยละ 20.6 เช่น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ การผลิตลดลงเป็นผลมาจากสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ
- อุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้า โดยเฉพาะการผลิตเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ลดลงร้อยละ 19.3 เป็นผลจากการส่งออกลดลง
- อุตสาหกรรมยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 31.7 เนื่องมาจากการขยายตัวสูงของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลความต้องการในประเทศที่เพิ่มขึ้น
สาขาเหมืองแร่และย่อยหิน ขยายตัวร้อยละ 2.1 เนื่องจากปริมาณการผลิตแร่ประเภทต่างๆ ขยายตัวร้อยละ 3.2 ในขณะที่การผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ ขยายตัวร้อยละ 1.6
สาขาก่อสร้าง ในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 10.9 เนื่องจากการก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 21.5 ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนยังคงปรับตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องโดยขยายตัวร้อยละ 7.6 ทั้งนี้เพราะมีการก่อสร้างอาคารประเภทที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น
สาขาไฟฟ้า ประปาและโรงแยกก๊าซ ขยายตัวร้อยละ 5.5 โดยหมวดไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 5.6 หมวดประปา ขยายตัวร้อยละ 6.7 ในขณะที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติขยายตัวร้อยละ 1.7 ตามปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น
สาขาคมนาคมขนส่ง ขยายตัวร้อยละ 4.4 เป็นผลมาจากการขยายตัวของบริการโทรคมนาคม โดยเฉพาะผลการประกอบการขององค์การโทรศัพท์ฯ ที่มีรายรับเพิ่มสูงขึ้น ส่วนการขนส่งสินค้าโดยรถบรรทุกขยายตัวร้อยละ 2.5 ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่แล้ว
สาขาค้าส่งค้าปลีก ขยายตัวร้อยละ 2.2 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากการค้าปลีกชะลอตัวลง และการค้าสินค้านำเข้าจากต่างประเทศที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 4.7 ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย เนื่องจากบริการภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 3.5 ขณะที่บริการโรงแรมขยายตัวร้อยละ 7.5 ตามการชะลอตัวลงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
สาขาการเงินและการธนาคาร ขยายตัวร้อยละ 1.0 ทั้งนี้เพราะธนาคารพาณิชย์มีรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิเพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลงมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ รวมทั้งการโอนหนี้ของธนาคารนครหลวงไทยและธนาคารศรีนครไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรีจำกัด จึงทำให้ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ดีขึ้น ส่วนธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยขยายตัวร้อยละ 3.1 และ 16.9 ตามลำดับ
ด้านการใช้จ่าย
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือน
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 3.5 หลังจากปรับค่าการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลขยายตัวจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 0.8 โดยมีปัจจัยที่สำคัญส่วนหนึ่งมาจากเกษตรกรมีรายได้ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตทางการเกษตร ประกอบกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2544 รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำอย่างไรก็ตาม ความผันผวนของราคาน้ำมันในประเทศ และความไม่แน่นอนด้านรายได้ ยังคงส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคโดยรวม
หมวดสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 0.7 ชะลอลงจากร้อยละ 2.7 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากปริมาณผลผลิตพืชผักออกสู่ตลาดน้อยกว่าปกติหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวร้อยละ 2.5 โดยการบริโภคทั้งสุราและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 สำหรับการบริโภคเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ลดลงร้อยละ 0.6 และการอุปโภคเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายลดลงร้อยละ 0.3
หมวดยานพาหนะ ขยายตัวร้อยละ 15.2 ตามปริมาณการซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการจัดงานแสดงยานยนต์ และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำหมวดไฟฟ้าและประปา ขยายตัวร้อยละ 9.7 เทียบกับร้อยละ 10.2 ในไตรมาสที่แล้วโดยปริมาณการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 และปริมาณการใช้น้ำประปาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6
หมวดบริการขนส่งและสื่อสาร ขยายตัวร้อยละ 6.0 ประกอบด้วยการใช้จ่ายเพื่อบริการด้านขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 และการสื่อสารโทรคมนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 เนื่องจากจำนวนผู้เช่าโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย โดยการลดราคาเครื่องและค่าบริการ เช่น การยกเว้นค่าติดตั้งโทรศัพท์พื้นฐาน การคิดอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จริงตามวินาที รวมทั้งใช้อัตราค่าบริการเดียวกันทั่วประเทศ
หมวดบริการโรงแรมและภัตตาคาร ชะลอลงร้อยละ 4.4 ตามภาวะการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสอดคล้องกับตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เทียบกับร้อยละ 8.0 ในไตรมาสแรก อย่างไรก็ดีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลงไม่มากนักเนื่องจากได้มีมาตรการการทำตลาดท่องเที่ยวเชิงรุก อาทิ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การโฆษณาและประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล มีมูลค่า 145,565 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 โดยเป็นผลจากนโยบายการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้างประจำปีละสองครั้ง ขณะที่มูลค่าที่แท้จริงของรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลลดลงร้อยละ 0.3 ประกอบด้วยเงินเดือนและค่าจ้างชะลอลงเหลือร้อยละ 0.2 และค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 1.3 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากนโยบายปรับลดจำนวนข้าราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดและเป็นช่วงสุดท้ายของการใช้จ่ายจากเงินกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2542
การสะสมทุนถาวรเบื้องต้นหรือการลงทุน ขยายตัวร้อยละ 5.3 ประกอบด้วยการลงทุนภาคเอกชนมีสัดส่วนร้อยละ 65.0 ขยายตัวร้อยละ 4.8 ส่วนการลงทุนภาครัฐซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 35.0 ขยายตัวร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) นำเข้าเครื่องบินและอุปกรณ์การบินจำนวน 2 ลำ หากพิจารณาโดยไม่รวมเครื่องบินและอุปกรณ์ดังกล่าวแล้วการลงทุนรวมของภาครัฐลดลงร้อยละ 10.9
การก่อสร้างภาคเอกชน
การก่อสร้างภาคเอกชนมีสัดส่วนร้อยละ 23.6 ของการลงทุนภาคเอกชน ได้ปรับตัวดีขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยขยายตัวร้อยละ 7.6 เนื่องมาจากการขยายตัวของการก่อสร้างประเภทอาคารที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ในเขตเทศบาลและเขตองค์การบริหารส่วนตำบล โดยเฉพาะในภาคใต้
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาคเอกชน
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.0 โดยมีสัดส่วนร้อยละ 76.4 ของการลงทุนภาคเอกชน ส่วนใหญ่มาจากการขยายตัวของสินค้าทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรพิเศษที่ใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องใช้สำนักงานและยานยนต์
การก่อสร้างภาครัฐ
การก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 21.5 โดยรัฐบาลส่วนกลางและรัฐบาลส่วนท้องถิ่นที่มีสัดส่วนร้อยละ 69.0 ของการก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 15.7 ประกอบด้วยก่อสร้างรัฐบาลส่วนกลางลดลงร้อยละ 14.4 และรัฐบาลส่วนท้องถิ่นลดลงร้อยละ 4.0 ส่วนรัฐวิสาหกิจมีสัดส่วนร้อยละ 31.0 ของการก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 34.8 เนื่องมาจากการลดและเลื่อนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจบางแห่ง เช่น การลงทุนของการเคหะแห่งชาติ การเลื่อนการลงทุนในการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร ของบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่จำกัด เป็นต้น
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาครัฐ
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาครัฐขยายตัวร้อยละ 105.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีทีแล้ว เป็นผลมาจากการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 157.4 ส่วนรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ลดลงร้อยละ 9.2 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลดลงในรายการเครื่องใช้สำนักงาน
ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ
ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือมีมูลค่า 3,009 ล้านบาท ต่ำกว่าไตรมาสที่แล้วซึ่งมีมูลค่า 35,694 ล้านบาท เนื่องจากอุปสงค์รวมในประเทศเพิ่มขึ้นไม่มาก จึงทำให้การผลิตขยายตัวสูงกว่าไตรมาสที่แล้วเพียงเล็กน้อยและมีการระบายสินค้าคงคลังมากขึ้น อย่างไรก็ดียังมีสินค้าบางประเภทที่ยังมีสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รวมทั้งข้าวเปลือกนาปรัง ซึ่งมีผลผลิตออกสู่ตลาดในไตรมาสนี้
ด้านต่างประเทศ
การส่งออกสินค้าและบริการ
รายรับจากการส่งออกสินค้าในไตรมาสนี้มีมูลค่า 709,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 ในขณะที่มูลค่าเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 15,635 ล้านเหรียญ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.6 สะท้อนให้เห็นว่าผู้ส่งออกได้รับประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกในราคาคงที่ (หรืออีกนัยหนึ่งก็คือปริมาณส่งออก) ลดลงร้อยละ 1.6
รายรับทางด้านบริการ มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยมีมูลค่า 128,887 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.5 เมื่อคิดเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 4,003 ล้านเหรียญ สรอ. ลดลงร้อยละ 12.0 เนื่องจากการลดลงของรายรับจากบริการขนส่งในขณะที่รายรับจากนักท่องเที่ยวชะลอลงตามจำนวนนักท่องเที่ยว
การนำเข้าสินค้าและบริการ
ค่าใช้จ่ายในการนำเข้าสินค้าในไตรมาสนี้มีมูลค่า 690,834 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 ในขณะที่มูลค่าในเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. เท่ากับ 15,233 ล้านเหรียญ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 แสดงให้เห็นว่าผู้นำเข้าต้องรับภาระจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ส่วนมูลค่าการนำเข้าสินค้าในราคาคงที่ลดลงร้อยละ 10.0
ค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการจากต่างประเทศ มีมูลค่า 94,407 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 เนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศของคนไทยและค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งมีแนวโน้มลดลง
ดุลการค้าและดุลบริการ
ดุลการค้าเกินดุล 18,166 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วที่เกินดุล 35,937 ล้านบาท เนื่องจากการชะลอตัวลงของความต้องการในตลาดโลก ในขณะที่ดุลบริการในไตรมาสนี้เกินดุล 34,480 ล้านบาท ลดลงจากที่เกินดุล 42,277 ล้านบาท ในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เมื่อรวมดุลการค้าและบริการแล้วไตรมาสนี้เกินดุล 52,646 ล้านบาท ลดลงจากที่เกินดุล 78,214 ล้านบาทในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสูงขึ้นร้อยละ 3.2 เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2. 7 ในไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับร้อยละ 1.4 และร้อยละ 2.8 ในไตรมาสที่แล้วตามลำดับ
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
การปรับตัวในอุปสงค์ดังกล่าวส่งผลให้การผลิตเพิ่มขึ้นโดยภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และภาคนอกเกษตรเพิ่มร้อยละ 1.9 ที่สำคัญคือการคมนาคมและขนส่งและบริการอื่น ๆ เช่น สาธารณสุข บริการส่วนบุคคล ส่วนสาขาอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 1.5 เท่ากับไตรมาสมาสที่แล้ว ขณะที่สาขาการก่อสร้างยังคงเป็นสาขาการผลิตเดียวที่หดตัวต่อเนื่องโดยไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 10.9 GDP ที่ปรับค่าดัชนีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เทียบกับไตรมาสที่แล้วที่ลดลงร้อยละ 0.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในไตรมาสนี้มีมูลค่า 1,249.8 พันล้านบาท เมื่อหักด้วยผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิตสุทธิจ่ายออกไปต่างประเทศ 13.2 พันล้านบาทแล้ว คงเหลือเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product; GNP) เท่ากับ 1,236.6 พันล้านบาท มูลค่าที่แท้จริงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6
ดุลการค้าและบริการเกินดุล 52.6 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับรายได้จากต่างประเทศสุทธิและเงินโอนสุทธิที่ขาดดุลเท่ากับ 6.3 พันล้านบาทแล้ว ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเท่ากับ 46.3 พันล้านบาทหรือร้อยละ 3.7 ต่อ GDP เทียบกับร้อยละ 4.7 ในไตรมาสที่แล้วดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 2.7 ในไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มร้อยละ 4.2
ด้านการผลิต
ในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 1.9 โดยภาคเกษตรกรรมมีการขยายตัวร้อยละ 2.0 ปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาสที่แล้วที่มีการขยายตัวร้อยละ 1.7 โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นในหมวดพืชผลและปศุสัตว์ ส่วนการผลิตของนอกภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยโดยขยายตัวร้อยละ 1.9 สูงกว่าร้อยละ 1.8 ในไตรมาสที่แล้ว
สาขาเกษตร
หมวดพืชผลและปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 2.4 โดยหมวดพืชผลขยายตัวร้อยละ 1.4 ตามการขยายตัวของผลผลิตยางพารา ถั่วเหลือง กาแฟ และ ผลไม้ สำหรับหมวดปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 6.5 ตามภาวะการส่งออกไก่สดแช่แข็งและไก่เสียบไม้ไปยังตลาดยุโรปที่ยังคงขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่อง
หมวดประมง ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่แล้วเป็นผลมาจากปริมาณปลาที่จับได้ลดลง อย่างไรก็ตามการส่งออกกุ้งสดแช่แข็งและกุ้งแปรรูปยังขยายตัวได้ดี
สาขาอุตสาหกรรม ภาวะการผลิตทรงตัวที่อัตราร้อยละ 1.5 เท่ากับไตรมาสแรก โดยกลุ่มอุตสาหกรรมวัตถุดิบขยายตัวร้อยละ 7.6 กลุ่มอุตสาหกรรมเบาเพิ่มร้อยละ 3.2 ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีหดตัวร้อยละ 5.6 สำหรับอุตสาหกรรมสำคัญที่มีการขยายตัวสูงในไตรมาสนี้ประกอบด้วยเครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ เคมีและผลิตภัณฑ์เคมี ปิโตรเลียม อโลหะ และยานยนต์ ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 52.0 ต่ำกว่าร้อยละ 55.5 ในไตรมาสแรก
กลุ่มอุตสาหกรรมเบา
- อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย ขยายตัวร้อยละ 4.3 เป็นผลจากการส่งออกยังมีการขยายตัว
- อุตสาหกรรมเครื่องหนังและผลิตภัณฑ์จากหนัง ขยายตัวร้อยละ 11.4 ตามการส่งออกที่มีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 60
- อุตสาหกรรมอื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 7.4 เช่น อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ขยายตัวสูงเนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4
กลุ่มอุตสาหกรรมวัตถุดิบ
- อุตสาหกรรมเคมีและผลิตภัณฑ์เคมี ขยายตัวร้อยละ 14.4 โดยมีผลสำคัญจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
- อุตสาหกรรมปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 7.7 เป็นผลจากการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปสูงขึ้นร้อยละ 56.5 แม้ว่าการบริโภคภายในประเทศหดตัวลง
- อุตสาหกรรมอโลหะ ขยายตัวร้อยละ 8.4 โดยอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น ปูนซีเมนต์และเซรามิค สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น
กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยี
- อุตสาหกรรมเครื่องจักรและเครื่องใช้สำนักงาน หดตัวลงร้อยละ 20.6 เช่น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ การผลิตลดลงเป็นผลมาจากสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ
- อุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้า โดยเฉพาะการผลิตเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ลดลงร้อยละ 19.3 เป็นผลจากการส่งออกลดลง
- อุตสาหกรรมยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 31.7 เนื่องมาจากการขยายตัวสูงของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลความต้องการในประเทศที่เพิ่มขึ้น
สาขาเหมืองแร่และย่อยหิน ขยายตัวร้อยละ 2.1 เนื่องจากปริมาณการผลิตแร่ประเภทต่างๆ ขยายตัวร้อยละ 3.2 ในขณะที่การผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ ขยายตัวร้อยละ 1.6
สาขาก่อสร้าง ในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 10.9 เนื่องจากการก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 21.5 ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนยังคงปรับตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องโดยขยายตัวร้อยละ 7.6 ทั้งนี้เพราะมีการก่อสร้างอาคารประเภทที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น
สาขาไฟฟ้า ประปาและโรงแยกก๊าซ ขยายตัวร้อยละ 5.5 โดยหมวดไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 5.6 หมวดประปา ขยายตัวร้อยละ 6.7 ในขณะที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติขยายตัวร้อยละ 1.7 ตามปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น
สาขาคมนาคมขนส่ง ขยายตัวร้อยละ 4.4 เป็นผลมาจากการขยายตัวของบริการโทรคมนาคม โดยเฉพาะผลการประกอบการขององค์การโทรศัพท์ฯ ที่มีรายรับเพิ่มสูงขึ้น ส่วนการขนส่งสินค้าโดยรถบรรทุกขยายตัวร้อยละ 2.5 ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่แล้ว
สาขาค้าส่งค้าปลีก ขยายตัวร้อยละ 2.2 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากการค้าปลีกชะลอตัวลง และการค้าสินค้านำเข้าจากต่างประเทศที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 4.7 ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย เนื่องจากบริการภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 3.5 ขณะที่บริการโรงแรมขยายตัวร้อยละ 7.5 ตามการชะลอตัวลงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
สาขาการเงินและการธนาคาร ขยายตัวร้อยละ 1.0 ทั้งนี้เพราะธนาคารพาณิชย์มีรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิเพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลงมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ รวมทั้งการโอนหนี้ของธนาคารนครหลวงไทยและธนาคารศรีนครไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรีจำกัด จึงทำให้ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ดีขึ้น ส่วนธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยขยายตัวร้อยละ 3.1 และ 16.9 ตามลำดับ
ด้านการใช้จ่าย
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือน
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 3.5 หลังจากปรับค่าการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลขยายตัวจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 0.8 โดยมีปัจจัยที่สำคัญส่วนหนึ่งมาจากเกษตรกรมีรายได้ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตทางการเกษตร ประกอบกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2544 รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำอย่างไรก็ตาม ความผันผวนของราคาน้ำมันในประเทศ และความไม่แน่นอนด้านรายได้ ยังคงส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคโดยรวม
หมวดสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 0.7 ชะลอลงจากร้อยละ 2.7 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากปริมาณผลผลิตพืชผักออกสู่ตลาดน้อยกว่าปกติหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวร้อยละ 2.5 โดยการบริโภคทั้งสุราและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 สำหรับการบริโภคเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ลดลงร้อยละ 0.6 และการอุปโภคเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายลดลงร้อยละ 0.3
หมวดยานพาหนะ ขยายตัวร้อยละ 15.2 ตามปริมาณการซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการจัดงานแสดงยานยนต์ และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำหมวดไฟฟ้าและประปา ขยายตัวร้อยละ 9.7 เทียบกับร้อยละ 10.2 ในไตรมาสที่แล้วโดยปริมาณการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 และปริมาณการใช้น้ำประปาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6
หมวดบริการขนส่งและสื่อสาร ขยายตัวร้อยละ 6.0 ประกอบด้วยการใช้จ่ายเพื่อบริการด้านขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 และการสื่อสารโทรคมนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 เนื่องจากจำนวนผู้เช่าโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย โดยการลดราคาเครื่องและค่าบริการ เช่น การยกเว้นค่าติดตั้งโทรศัพท์พื้นฐาน การคิดอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จริงตามวินาที รวมทั้งใช้อัตราค่าบริการเดียวกันทั่วประเทศ
หมวดบริการโรงแรมและภัตตาคาร ชะลอลงร้อยละ 4.4 ตามภาวะการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสอดคล้องกับตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เทียบกับร้อยละ 8.0 ในไตรมาสแรก อย่างไรก็ดีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลงไม่มากนักเนื่องจากได้มีมาตรการการทำตลาดท่องเที่ยวเชิงรุก อาทิ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การโฆษณาและประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล มีมูลค่า 145,565 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 โดยเป็นผลจากนโยบายการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้างประจำปีละสองครั้ง ขณะที่มูลค่าที่แท้จริงของรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลลดลงร้อยละ 0.3 ประกอบด้วยเงินเดือนและค่าจ้างชะลอลงเหลือร้อยละ 0.2 และค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 1.3 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากนโยบายปรับลดจำนวนข้าราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดและเป็นช่วงสุดท้ายของการใช้จ่ายจากเงินกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2542
การสะสมทุนถาวรเบื้องต้นหรือการลงทุน ขยายตัวร้อยละ 5.3 ประกอบด้วยการลงทุนภาคเอกชนมีสัดส่วนร้อยละ 65.0 ขยายตัวร้อยละ 4.8 ส่วนการลงทุนภาครัฐซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 35.0 ขยายตัวร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) นำเข้าเครื่องบินและอุปกรณ์การบินจำนวน 2 ลำ หากพิจารณาโดยไม่รวมเครื่องบินและอุปกรณ์ดังกล่าวแล้วการลงทุนรวมของภาครัฐลดลงร้อยละ 10.9
การก่อสร้างภาคเอกชน
การก่อสร้างภาคเอกชนมีสัดส่วนร้อยละ 23.6 ของการลงทุนภาคเอกชน ได้ปรับตัวดีขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยขยายตัวร้อยละ 7.6 เนื่องมาจากการขยายตัวของการก่อสร้างประเภทอาคารที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ในเขตเทศบาลและเขตองค์การบริหารส่วนตำบล โดยเฉพาะในภาคใต้
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาคเอกชน
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.0 โดยมีสัดส่วนร้อยละ 76.4 ของการลงทุนภาคเอกชน ส่วนใหญ่มาจากการขยายตัวของสินค้าทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรพิเศษที่ใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องใช้สำนักงานและยานยนต์
การก่อสร้างภาครัฐ
การก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 21.5 โดยรัฐบาลส่วนกลางและรัฐบาลส่วนท้องถิ่นที่มีสัดส่วนร้อยละ 69.0 ของการก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 15.7 ประกอบด้วยก่อสร้างรัฐบาลส่วนกลางลดลงร้อยละ 14.4 และรัฐบาลส่วนท้องถิ่นลดลงร้อยละ 4.0 ส่วนรัฐวิสาหกิจมีสัดส่วนร้อยละ 31.0 ของการก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 34.8 เนื่องมาจากการลดและเลื่อนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจบางแห่ง เช่น การลงทุนของการเคหะแห่งชาติ การเลื่อนการลงทุนในการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร ของบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่จำกัด เป็นต้น
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาครัฐ
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาครัฐขยายตัวร้อยละ 105.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีทีแล้ว เป็นผลมาจากการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 157.4 ส่วนรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ลดลงร้อยละ 9.2 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลดลงในรายการเครื่องใช้สำนักงาน
ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ
ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือมีมูลค่า 3,009 ล้านบาท ต่ำกว่าไตรมาสที่แล้วซึ่งมีมูลค่า 35,694 ล้านบาท เนื่องจากอุปสงค์รวมในประเทศเพิ่มขึ้นไม่มาก จึงทำให้การผลิตขยายตัวสูงกว่าไตรมาสที่แล้วเพียงเล็กน้อยและมีการระบายสินค้าคงคลังมากขึ้น อย่างไรก็ดียังมีสินค้าบางประเภทที่ยังมีสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รวมทั้งข้าวเปลือกนาปรัง ซึ่งมีผลผลิตออกสู่ตลาดในไตรมาสนี้
ด้านต่างประเทศ
การส่งออกสินค้าและบริการ
รายรับจากการส่งออกสินค้าในไตรมาสนี้มีมูลค่า 709,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 ในขณะที่มูลค่าเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 15,635 ล้านเหรียญ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.6 สะท้อนให้เห็นว่าผู้ส่งออกได้รับประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกในราคาคงที่ (หรืออีกนัยหนึ่งก็คือปริมาณส่งออก) ลดลงร้อยละ 1.6
รายรับทางด้านบริการ มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยมีมูลค่า 128,887 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.5 เมื่อคิดเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 4,003 ล้านเหรียญ สรอ. ลดลงร้อยละ 12.0 เนื่องจากการลดลงของรายรับจากบริการขนส่งในขณะที่รายรับจากนักท่องเที่ยวชะลอลงตามจำนวนนักท่องเที่ยว
การนำเข้าสินค้าและบริการ
ค่าใช้จ่ายในการนำเข้าสินค้าในไตรมาสนี้มีมูลค่า 690,834 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 ในขณะที่มูลค่าในเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. เท่ากับ 15,233 ล้านเหรียญ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 แสดงให้เห็นว่าผู้นำเข้าต้องรับภาระจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ส่วนมูลค่าการนำเข้าสินค้าในราคาคงที่ลดลงร้อยละ 10.0
ค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการจากต่างประเทศ มีมูลค่า 94,407 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 เนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศของคนไทยและค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งมีแนวโน้มลดลง
ดุลการค้าและดุลบริการ
ดุลการค้าเกินดุล 18,166 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วที่เกินดุล 35,937 ล้านบาท เนื่องจากการชะลอตัวลงของความต้องการในตลาดโลก ในขณะที่ดุลบริการในไตรมาสนี้เกินดุล 34,480 ล้านบาท ลดลงจากที่เกินดุล 42,277 ล้านบาท ในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เมื่อรวมดุลการค้าและบริการแล้วไตรมาสนี้เกินดุล 52,646 ล้านบาท ลดลงจากที่เกินดุล 78,214 ล้านบาทในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสูงขึ้นร้อยละ 3.2 เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2. 7 ในไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับร้อยละ 1.4 และร้อยละ 2.8 ในไตรมาสที่แล้วตามลำดับ
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-