แนวคิดเศรษฐกิจใหม่
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สภาวะเศรษฐกิจของโลกได้มุ่งสู่ระบบการค้าเสรี ประกอบกับการปฏิบัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกิดขึ้นได้ส่งผลให้การค้าของโลกมีลักษณะเป็นการค้าแบบไร้พรมแดน ปรากฏการณ์นี้ทำให้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาพการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่มีนิยามชื่อเรียกต่างๆ กันไป อาทิ เศรษฐกิจข้อมูลข่าวสาร (Information Economy) เศรษฐกิจเครือข่าย (Network Economy) และเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) เป็นต้น
จากคำนิยามต่างๆ นี้เป็นเพียงตัวอย่างของแนวความคิดของการพัฒนาเศรษฐกิจที่เกิดจากมุมมองที่ต่างกันขององค์กรและประเทศต่างๆ ที่มีต่อความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ซึ่งแต่ละประเทศได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจในการนำประเทศของตนไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป
ประเทศไทยกับแนวคิดเศรษฐกิจใหม่
สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการตื่นตัวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจนี้เช่นกัน ซึ่งเป็นผลกระทบอันเนื่องมาจากระบบการค้าโลก ตลอดจนการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ทำให้ไทยจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกเพื่อนำมาปรับใช้ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศภายใต้ปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" โดยมีแนวนโยบายพัฒนาไปสู่สภาพแห่งความสมดุล คุณภาพและความยั่งยืนในทุกภาคส่วนของสังคมไทย
อย่างไรก็ตาม พื้นฐานการศึกษาและการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยยังอ่อนแอ ยังคงต้องพึ่งพาต่างประเทศ ส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีการค้าโลกอยู่ในระดับต่ำ
ดังนั้น เพื่อนำไปสู่รากฐานการพัฒนาประเทศที่เข้มแข็ง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 จึงต้องมีการวางรากฐานแนวคิดที่สำคัญ ทั้งทางด้านการสร้างฐานความรู้เพื่ออพัฒนาคน พัฒนาฐานการวิจัย รวมทั้งการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจโลก โดยคำนึงถึงความสมดุลและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้ระบบเศรษฐกิจและสังคมไทย
ขั้นตอนการพัฒนาที่นำไปสู่เศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทย
จากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงและข้อจำกัดต่างๆ ของประเทศไทยดังกล่าว ทำให้การปรับระบบเศรษฐกิจเพื่อก้าวสู่ "เศรษฐกิจยุคใหม่" ของประเทศไทยจำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาบนพื้นฐานของสังคมที่สามารถรองรับเศรษฐกิจได้อย่างสมดุล โดยการดำเนินการพัฒนานี้จะต้องควบคู่พร้อมกันไปใน 2 ด้าน ได้แก่
1. การพัฒนาที่นำไปสู่ "สังคมข้อมูลข่าวสาร" (Information Society)
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทำให้ข้อมูลและข่าวสารมีการเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั่วโลก ส่งผลให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประกอบธุรกิจและในชีวิตประจำวันมากขึ้น ดังนั้นเพื่อรองรับความก้าวหน้านี้ ประเทศไทยจึงต้องการการพัฒนาทั้งทางด้านกายภาพให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพสูงเพียงพอที่จะรองรับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย และสร้างฐานข้อมูลความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมสอดคล้องกับประเทศ สร้างโอกาสการรับรู้และการกระจายข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยอย่างทั่วถึงทัดเทียมกันในทุกระดับ รวมทั้งการพัฬราข้อมูลข่าวสารให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ดังนี้
(1) โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพ (Physical Infrastructure)
- เร่งรัดการพัฒนาเครือข่าวการคมนาคมและข้อมูลข่าวสารให้มีประสิทธิภาพความเร็วสูง รวมทั้งต้องอยู่ในระดับต้นทุนที่เหมาะสม
- ส่งเสริมให้พื้นที่ที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างทั่วถึง โดยการจัดเก็บค่าบริการที่เป็นธรรมและให้อยู่ในระดับที่ประชาชนทั่วไปสามารถรับได้
- สนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดภาระต้นทุนของภาครัฐ
- นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปปรับใช้ในระบบการบริการสาธารณะ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือทั้งในระดับรัฐบาลส่วนกลางและท้องถิ่นผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
(2) กฎหมายและกฎระเบียบ (Legal Infrastructure) จะต้องมีการแก้ไขและปรับปรุงให้ทันต่อภาวการณ์ปัจจุบัน เพื่อ
- เสริมสร้างกฎหมายและกฎระเบียบที่มีความยืดหยุ่นและเปิดกว้างต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การคิดค้น (Innovation) และการวิจัยและพัฒนา
- ส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะการทำธุรกิจต่อธุรกิจ (Business to Business : B-B) และธุรกิจต่อผู้บริโภค (Business to Consumer : B-C)
- ป้องกันไม่ให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง อาทิ การลักลอบนำข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในทางที่ผิด หรือการลอกเลียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- ปรับปรุงระบบระเบียบราชการเพื่อให้ภาครัฐสามารถบริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(3) นโยบายเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Infrastructure) โดยกำหนด นโยบายภาษี (Tax Policy) เพื่อมุ่งสนับสนุนและส่งเสริมในด้านต่างๆ ดังนี้
- การคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และการใช้เทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึงและกว้างขวาง
- การดูดซับเทคโนโลยีและการร่วมพัฒนาเทคโนโลยีระหว่างคนไทยกับต่างประเทศ
- การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ที่มีประสิทธิภาพ
(4) นโยบายการลงทุน (Investment Policy) จะต้องส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในภาคเอกชน โดยการเร่งให้มีการประยุกต์ใช้ทั้งในภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และการบริการ เพื่อสนับสนุนให้มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในด้านการผลิต การตลาด การบริหารสินค้าคงเหลือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การบริหารการเงิน และการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น โดยควรสนับสนุนให้มีข้อมูล ดังนี้
- ข้อมูลอ้างอิง (Reference Database) โดยให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้มีการนำข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวมของภาครัฐเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการวางแผนของภาคเอกชน และนักลงทุนต่างประเทศ โดยเน้นความรวดเร็ว ถูกต้อง และเปิดเผยได้
- ข้อมูลธุรกิจ รัฐควรใช้กลไกและเครื่องมือของรัฐ เช่น การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนให้กับธุรกิจการผลิตข้อมูลข่าวสารของภาคเอกชน
- ข้อมูลเพื่อการบริหารราชการ รัฐควรให้การสนับสนุนและพัฒนาระบบข้อมูลในภาครัฐเพื่อให้หน่วยงานของรัฐได้มีการใช้งานร่วมกัน ตลอดจนนำมาใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ
2. การพัฒนาที่นำไปสู่สังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge-based Society)
เพื่อให้เกิดการก้าวไปสู่สังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้จะต้องมีการปรับระบบการศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสในการเรียนรู้ และการพัฒราคนเพื่อให้มีการปรับปรุงทักษะและฝีมืออย่างต่อเนื่อง ดังนี้
(1) ปฏิรูประบบการศึกษา
- จัดระบบบริการพื้นฐานด้านการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีมาตรฐาน รวมทั้งลดความแตกต่างด้านคุณภาพการศึกษาในระหว่างภูมิภาค
- สนับสนุนการพัฒนาทักษะและยกระดับฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
- เร่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทุกระดับ อาทิ สถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐ และสถานพยาบาล เป็นต้น
- สนับสนุนให้สถาบันการศึกษามีการให้ความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ในเรื่องธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
- ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาในวิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ อังกฤษ และวิทยาศาสตร์
- พัฒนาการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีให้เข้มแข็ง
- นำหลักธรรม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์และผสมผสานกับวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่
- ส่งเสริมการผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เพียงพอทั้งคุณภาพและปริมาณ
(2) การพัฒนาคน
- เสริมสร้างศักยภาพของประชาชนให้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในทุกระดับทั้งโรงเรียน ครัวเรือน ชุมชน และการศึกษาทางไกล
- สร้างเสริมทักษะในการแก้ปัญหา การบริการจัดการโดยเฉพาะด้านการตลาด การเงิน ทักษะในการใช้และประยุกต์ใช้วิทยาการสมัยใหม่ เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และทักษะในการใช้ภาษาต่างประเทศ
- ปรับปลี่ยนวิธีจัดการในการพัฒนาคนให้รอบรู้ทันโลก
- ส่งเสริมกระบวนการการเรียนรู้ของประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
- สร้างจิตสำนึกการเรียนรู้และปรับปรุงทักษะฝีมือของตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ (คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้ตลอดชีวติ มีเหตุผล และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง)
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับเศรษฐกิจยุคใหม่
หากพิจารณาลึกซึ้งจะเห็นว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นสอดคล้องกับเศรษฐกิจใหม่เนื่องจากเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นการพึ่งตนเองเป็นอันดับแรก โดยเลือกทางสายกลางเป็นรากฐานหลักที่สำคัญและมั่นคงที่จะให้คนในชุมชนร่วมมือกันสร้างความเข้มแข็งร่วมใจกันอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและร่วมกันสร้างสังคมแห่งปรัชญาและการเรียนรู้ ทั้งโดยอาศัยภูมิปัญญาดั้งเดิมผสมผสานกับความรู้จากเทคโนโลยีใหม่ๆ
การผสมผสานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับเศรษฐกิจยุคใหม่นี้จึงเป็นหลักการสำคัญที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาที่สามารถเปลี่ยนแปลงตามสภาวการณ์ในอนาคตเพื่อนำสังคมไทยก้าวมั่นไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในยุคโลกาภิวัตน์ต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2543--
-สส-
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สภาวะเศรษฐกิจของโลกได้มุ่งสู่ระบบการค้าเสรี ประกอบกับการปฏิบัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกิดขึ้นได้ส่งผลให้การค้าของโลกมีลักษณะเป็นการค้าแบบไร้พรมแดน ปรากฏการณ์นี้ทำให้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาพการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่มีนิยามชื่อเรียกต่างๆ กันไป อาทิ เศรษฐกิจข้อมูลข่าวสาร (Information Economy) เศรษฐกิจเครือข่าย (Network Economy) และเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) เป็นต้น
จากคำนิยามต่างๆ นี้เป็นเพียงตัวอย่างของแนวความคิดของการพัฒนาเศรษฐกิจที่เกิดจากมุมมองที่ต่างกันขององค์กรและประเทศต่างๆ ที่มีต่อความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ซึ่งแต่ละประเทศได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจในการนำประเทศของตนไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป
ประเทศไทยกับแนวคิดเศรษฐกิจใหม่
สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการตื่นตัวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจนี้เช่นกัน ซึ่งเป็นผลกระทบอันเนื่องมาจากระบบการค้าโลก ตลอดจนการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ทำให้ไทยจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกเพื่อนำมาปรับใช้ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศภายใต้ปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" โดยมีแนวนโยบายพัฒนาไปสู่สภาพแห่งความสมดุล คุณภาพและความยั่งยืนในทุกภาคส่วนของสังคมไทย
อย่างไรก็ตาม พื้นฐานการศึกษาและการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยยังอ่อนแอ ยังคงต้องพึ่งพาต่างประเทศ ส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีการค้าโลกอยู่ในระดับต่ำ
ดังนั้น เพื่อนำไปสู่รากฐานการพัฒนาประเทศที่เข้มแข็ง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 จึงต้องมีการวางรากฐานแนวคิดที่สำคัญ ทั้งทางด้านการสร้างฐานความรู้เพื่ออพัฒนาคน พัฒนาฐานการวิจัย รวมทั้งการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจโลก โดยคำนึงถึงความสมดุลและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้ระบบเศรษฐกิจและสังคมไทย
ขั้นตอนการพัฒนาที่นำไปสู่เศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทย
จากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงและข้อจำกัดต่างๆ ของประเทศไทยดังกล่าว ทำให้การปรับระบบเศรษฐกิจเพื่อก้าวสู่ "เศรษฐกิจยุคใหม่" ของประเทศไทยจำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาบนพื้นฐานของสังคมที่สามารถรองรับเศรษฐกิจได้อย่างสมดุล โดยการดำเนินการพัฒนานี้จะต้องควบคู่พร้อมกันไปใน 2 ด้าน ได้แก่
1. การพัฒนาที่นำไปสู่ "สังคมข้อมูลข่าวสาร" (Information Society)
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทำให้ข้อมูลและข่าวสารมีการเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั่วโลก ส่งผลให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประกอบธุรกิจและในชีวิตประจำวันมากขึ้น ดังนั้นเพื่อรองรับความก้าวหน้านี้ ประเทศไทยจึงต้องการการพัฒนาทั้งทางด้านกายภาพให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพสูงเพียงพอที่จะรองรับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย และสร้างฐานข้อมูลความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมสอดคล้องกับประเทศ สร้างโอกาสการรับรู้และการกระจายข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยอย่างทั่วถึงทัดเทียมกันในทุกระดับ รวมทั้งการพัฬราข้อมูลข่าวสารให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ดังนี้
(1) โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพ (Physical Infrastructure)
- เร่งรัดการพัฒนาเครือข่าวการคมนาคมและข้อมูลข่าวสารให้มีประสิทธิภาพความเร็วสูง รวมทั้งต้องอยู่ในระดับต้นทุนที่เหมาะสม
- ส่งเสริมให้พื้นที่ที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างทั่วถึง โดยการจัดเก็บค่าบริการที่เป็นธรรมและให้อยู่ในระดับที่ประชาชนทั่วไปสามารถรับได้
- สนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดภาระต้นทุนของภาครัฐ
- นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปปรับใช้ในระบบการบริการสาธารณะ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือทั้งในระดับรัฐบาลส่วนกลางและท้องถิ่นผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
(2) กฎหมายและกฎระเบียบ (Legal Infrastructure) จะต้องมีการแก้ไขและปรับปรุงให้ทันต่อภาวการณ์ปัจจุบัน เพื่อ
- เสริมสร้างกฎหมายและกฎระเบียบที่มีความยืดหยุ่นและเปิดกว้างต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การคิดค้น (Innovation) และการวิจัยและพัฒนา
- ส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะการทำธุรกิจต่อธุรกิจ (Business to Business : B-B) และธุรกิจต่อผู้บริโภค (Business to Consumer : B-C)
- ป้องกันไม่ให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง อาทิ การลักลอบนำข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในทางที่ผิด หรือการลอกเลียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- ปรับปรุงระบบระเบียบราชการเพื่อให้ภาครัฐสามารถบริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(3) นโยบายเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Infrastructure) โดยกำหนด นโยบายภาษี (Tax Policy) เพื่อมุ่งสนับสนุนและส่งเสริมในด้านต่างๆ ดังนี้
- การคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และการใช้เทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึงและกว้างขวาง
- การดูดซับเทคโนโลยีและการร่วมพัฒนาเทคโนโลยีระหว่างคนไทยกับต่างประเทศ
- การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ที่มีประสิทธิภาพ
(4) นโยบายการลงทุน (Investment Policy) จะต้องส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในภาคเอกชน โดยการเร่งให้มีการประยุกต์ใช้ทั้งในภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และการบริการ เพื่อสนับสนุนให้มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในด้านการผลิต การตลาด การบริหารสินค้าคงเหลือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การบริหารการเงิน และการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น โดยควรสนับสนุนให้มีข้อมูล ดังนี้
- ข้อมูลอ้างอิง (Reference Database) โดยให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้มีการนำข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวมของภาครัฐเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการวางแผนของภาคเอกชน และนักลงทุนต่างประเทศ โดยเน้นความรวดเร็ว ถูกต้อง และเปิดเผยได้
- ข้อมูลธุรกิจ รัฐควรใช้กลไกและเครื่องมือของรัฐ เช่น การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนให้กับธุรกิจการผลิตข้อมูลข่าวสารของภาคเอกชน
- ข้อมูลเพื่อการบริหารราชการ รัฐควรให้การสนับสนุนและพัฒนาระบบข้อมูลในภาครัฐเพื่อให้หน่วยงานของรัฐได้มีการใช้งานร่วมกัน ตลอดจนนำมาใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ
2. การพัฒนาที่นำไปสู่สังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge-based Society)
เพื่อให้เกิดการก้าวไปสู่สังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้จะต้องมีการปรับระบบการศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสในการเรียนรู้ และการพัฒราคนเพื่อให้มีการปรับปรุงทักษะและฝีมืออย่างต่อเนื่อง ดังนี้
(1) ปฏิรูประบบการศึกษา
- จัดระบบบริการพื้นฐานด้านการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีมาตรฐาน รวมทั้งลดความแตกต่างด้านคุณภาพการศึกษาในระหว่างภูมิภาค
- สนับสนุนการพัฒนาทักษะและยกระดับฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
- เร่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทุกระดับ อาทิ สถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐ และสถานพยาบาล เป็นต้น
- สนับสนุนให้สถาบันการศึกษามีการให้ความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ในเรื่องธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
- ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาในวิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ อังกฤษ และวิทยาศาสตร์
- พัฒนาการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีให้เข้มแข็ง
- นำหลักธรรม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์และผสมผสานกับวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่
- ส่งเสริมการผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เพียงพอทั้งคุณภาพและปริมาณ
(2) การพัฒนาคน
- เสริมสร้างศักยภาพของประชาชนให้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในทุกระดับทั้งโรงเรียน ครัวเรือน ชุมชน และการศึกษาทางไกล
- สร้างเสริมทักษะในการแก้ปัญหา การบริการจัดการโดยเฉพาะด้านการตลาด การเงิน ทักษะในการใช้และประยุกต์ใช้วิทยาการสมัยใหม่ เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และทักษะในการใช้ภาษาต่างประเทศ
- ปรับปลี่ยนวิธีจัดการในการพัฒนาคนให้รอบรู้ทันโลก
- ส่งเสริมกระบวนการการเรียนรู้ของประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
- สร้างจิตสำนึกการเรียนรู้และปรับปรุงทักษะฝีมือของตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ (คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้ตลอดชีวติ มีเหตุผล และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง)
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับเศรษฐกิจยุคใหม่
หากพิจารณาลึกซึ้งจะเห็นว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นสอดคล้องกับเศรษฐกิจใหม่เนื่องจากเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นการพึ่งตนเองเป็นอันดับแรก โดยเลือกทางสายกลางเป็นรากฐานหลักที่สำคัญและมั่นคงที่จะให้คนในชุมชนร่วมมือกันสร้างความเข้มแข็งร่วมใจกันอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและร่วมกันสร้างสังคมแห่งปรัชญาและการเรียนรู้ ทั้งโดยอาศัยภูมิปัญญาดั้งเดิมผสมผสานกับความรู้จากเทคโนโลยีใหม่ๆ
การผสมผสานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับเศรษฐกิจยุคใหม่นี้จึงเป็นหลักการสำคัญที่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาที่สามารถเปลี่ยนแปลงตามสภาวการณ์ในอนาคตเพื่อนำสังคมไทยก้าวมั่นไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในยุคโลกาภิวัตน์ต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2543--
-สส-