ในช่วง 4 เดือนแรกมูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวในอัตรารัอยละ 24.6 ตามการขยายตัวของความต้องการในตลาดโลกโดยเฉพาะตามภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคประกอบกับฐานการส่งออกในไตรมาสแรกปี 2542 ที่ค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทุกหมวดขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีใช้กำลังการผลิตสูง ความต้องการสินค้าเพื่อการส่งออกมีผลให้การใช้กำลังการผลิตและปริมาณการผลิตในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นตามลำดับ การส่งออกจำแนกเป็นรายหมวดสินค้าในช่วงไตรมาสแรกพบว่า สินค้าหมวดอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มร้อยละ 31.0 การขยายตัวในตลาดหลักทรัพย์ของไทย (สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่น) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 ตลาดอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.2 โดยเฉพาะในตลาดใหม่ที่มีการใช้มาตรการสนับสนุนพิเศษ 7 ตลาด (อินโดจีน ตะวันออกกลาง แอฟริกา ลาตินอเมริกา ยุโรปตะวันออก เอเชียใต้ และจีน) ขยายตัวในอัตราสูงถึงร้อยละ 38.2 สินค้าสำคัญที่มีแนวโน้มส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบส่งทอ อัญมณี และเครื่องประดับ สินค้าที่มีแนวโน้มส่งออกลดลงได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสัมปะหลัง ยางพารา อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ผลไม้กระป๋อง ทั้งนี้แนวโน้มการส่งออกของปี 2543 กระทรวงพาณิชย์คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 9.5 หรือมีมูลค่าประมาณ 64,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 6.0 ที่กำหนดไว้เมื่อตอนต้นปี
การใช้จ่ายรัฐบาล
รายจ่ายรัฐบาลในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2543 มีจำนวน 274.4 พันล้านบาท สำหรับรายจ่ายภายใต้โครงการมิยาซาวาได้มีการเบิกจ่ายไปแล้วจำนวน 6.6 พันล้านบาท
การจ้างงาน
ผลการสำรวจภาวะการทำงานในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 (รอบที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์) พบว่า ผู้มีงานทำมีจำนวน 30.592 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 30.025 ล้านคนในช่วงไตรมาสแรกของปีที่แล้ว และผู้ว่างงานมีจำนวน 1.54 ล้านคน ลดลงจาก 1.72 ล้านคนของช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หรือลดลงประมาณ 179,300 คน และเมื่อคิดเป็นอัตราการว่างงานจะพบว่าในช่วงไตรมาสแรกมีอัตราการว่างงานร้อยละ 4.7 ต่ำกว่าร้อยละ 5.2 ของปีที่แล้ว นอกจากนี้จำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมได้เพิ่มขึ้นจาก 5.68 ล้านคนในปี 2542 เป็น 5.80 ล้านคน ณ สิ้นเดือนเมษายน 2543 ภาวะการว่างงานที่ลดลงเป็นผลโดยตรงจากภาวะการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ ทั้งนี้คาดได้ว่าภาวะการว่างงานในปี 2543 จะผ่อนคลายมากว่าปี 2542 และอัตราการว่างงานเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ 3.2 หรือคิดเป็นจำนวน 1.06 ล้านคน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6/มิถุนายน 2543--
-สส-
การใช้จ่ายรัฐบาล
รายจ่ายรัฐบาลในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2543 มีจำนวน 274.4 พันล้านบาท สำหรับรายจ่ายภายใต้โครงการมิยาซาวาได้มีการเบิกจ่ายไปแล้วจำนวน 6.6 พันล้านบาท
การจ้างงาน
ผลการสำรวจภาวะการทำงานในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 (รอบที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์) พบว่า ผู้มีงานทำมีจำนวน 30.592 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 30.025 ล้านคนในช่วงไตรมาสแรกของปีที่แล้ว และผู้ว่างงานมีจำนวน 1.54 ล้านคน ลดลงจาก 1.72 ล้านคนของช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หรือลดลงประมาณ 179,300 คน และเมื่อคิดเป็นอัตราการว่างงานจะพบว่าในช่วงไตรมาสแรกมีอัตราการว่างงานร้อยละ 4.7 ต่ำกว่าร้อยละ 5.2 ของปีที่แล้ว นอกจากนี้จำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมได้เพิ่มขึ้นจาก 5.68 ล้านคนในปี 2542 เป็น 5.80 ล้านคน ณ สิ้นเดือนเมษายน 2543 ภาวะการว่างงานที่ลดลงเป็นผลโดยตรงจากภาวะการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ ทั้งนี้คาดได้ว่าภาวะการว่างงานในปี 2543 จะผ่อนคลายมากว่าปี 2542 และอัตราการว่างงานเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ 3.2 หรือคิดเป็นจำนวน 1.06 ล้านคน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6/มิถุนายน 2543--
-สส-