สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงข่าวเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2542 ชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 3 แสดงสัญญาณการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 7.7 สูงกว่าอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาสที่ 2 ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคลดลงร้อยละ 1.0 ในช่วงระยะเดียวกัน
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อพิจารณาจากข้อมูลผลิตภันฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ไตรมาสที่ 3/2542 ได้แสดงให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 7.7 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2541 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มการผลิตของอุตสาหกรรมในหมวดหลัก ๆ อาทิ หมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ หมวดโลหะ หมวดอุปกรณ์ เครื่องจักรและเครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีสาขาการผลิตหลักที่มีการขยายตัวสูงขึ้น ได้แก่ สาขาเหมืองแร่และย่อยหิน ขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว สาขาไฟฟ้าประปา ขยายตัวร้อยละ 10.6 ตามความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น สาขาการค้าส่งค้าปลีก ขยายตัวร้อยละ 7.2 ทั้งนี้เป็นไปตามภาวะการผลิตของภาคอุตสาหกรรมและการใช้จ่ายในประเทศที่สูงขึ้น สาขาโรงแรมภัตตาคาร ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 11.1
อย่างไรก็ดี มีสาขาการผลิตที่ชะลอตัวลงบ้างได้แก่ สาขาเกษตรกรรม โดยรวมลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับปี 2541 เนื่องจากการลดลงในหมวดพืชผลและบริการทางการเกษตรเป็นหลัก ที่สำคัญได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ยางพารา และถั่วเหลือง โดยข้าวลดลงร้อยละ 11.8 ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการลดพื้นที่เพาะปลูกนาปรัง ส่วนยางพาราลดลงร้อยละ 30.4 เนื่องจากราคาทั้งในตลาดโลกและภายในประเทศไม่จูงใจ
สำหรับ สาขาก่อสร้าง ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องโดยลดลงในอัตราร้อยละ 0.6 น้อยกว่าไตรมาสที่ 2 ลดลงร้อยละ 18.4 ในขณะที่ สาขาการเงินการธนาคาร มีอัตราการหดตัวร้อยละ 9.2 ดีกว่าไตรมาสเดียวกันของปีที่หดตัวร้อยละ 29.7 ทั้งนี้เนื่องมาจากผลประกอบการของสถาบันการเงินที่เริ่มดีขึ้น
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สำหรับด้านการใช้จ่ายภายในประเทศพบว่า รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนในไตรมาสที่ 3 นี้ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.5 เนื่องจากมีการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นในหมวด อาหาร ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และหมวดอื่นๆ ในขณะที่การจ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคของรัฐบาล (ณ ราคา ปีฐาน) ของไตรมาสที่ 3 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2541 ร้อยละ 3.4 โดยแยกเป็นค่าตอบแทนแรงงานที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และค่าซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการใช้นโยบายเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ รวมทั้งมาตรการเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้เริ่มส่งผลให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่เศรษฐกิจและก่อให้เกิดกำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1/มกราคม 2543--
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อพิจารณาจากข้อมูลผลิตภันฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ไตรมาสที่ 3/2542 ได้แสดงให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 7.7 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2541 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มการผลิตของอุตสาหกรรมในหมวดหลัก ๆ อาทิ หมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ หมวดโลหะ หมวดอุปกรณ์ เครื่องจักรและเครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีสาขาการผลิตหลักที่มีการขยายตัวสูงขึ้น ได้แก่ สาขาเหมืองแร่และย่อยหิน ขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว สาขาไฟฟ้าประปา ขยายตัวร้อยละ 10.6 ตามความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น สาขาการค้าส่งค้าปลีก ขยายตัวร้อยละ 7.2 ทั้งนี้เป็นไปตามภาวะการผลิตของภาคอุตสาหกรรมและการใช้จ่ายในประเทศที่สูงขึ้น สาขาโรงแรมภัตตาคาร ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 11.1
อย่างไรก็ดี มีสาขาการผลิตที่ชะลอตัวลงบ้างได้แก่ สาขาเกษตรกรรม โดยรวมลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับปี 2541 เนื่องจากการลดลงในหมวดพืชผลและบริการทางการเกษตรเป็นหลัก ที่สำคัญได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ยางพารา และถั่วเหลือง โดยข้าวลดลงร้อยละ 11.8 ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการลดพื้นที่เพาะปลูกนาปรัง ส่วนยางพาราลดลงร้อยละ 30.4 เนื่องจากราคาทั้งในตลาดโลกและภายในประเทศไม่จูงใจ
สำหรับ สาขาก่อสร้าง ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องโดยลดลงในอัตราร้อยละ 0.6 น้อยกว่าไตรมาสที่ 2 ลดลงร้อยละ 18.4 ในขณะที่ สาขาการเงินการธนาคาร มีอัตราการหดตัวร้อยละ 9.2 ดีกว่าไตรมาสเดียวกันของปีที่หดตัวร้อยละ 29.7 ทั้งนี้เนื่องมาจากผลประกอบการของสถาบันการเงินที่เริ่มดีขึ้น
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สำหรับด้านการใช้จ่ายภายในประเทศพบว่า รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนในไตรมาสที่ 3 นี้ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.5 เนื่องจากมีการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นในหมวด อาหาร ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และหมวดอื่นๆ ในขณะที่การจ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคของรัฐบาล (ณ ราคา ปีฐาน) ของไตรมาสที่ 3 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2541 ร้อยละ 3.4 โดยแยกเป็นค่าตอบแทนแรงงานที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และค่าซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการใช้นโยบายเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ รวมทั้งมาตรการเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้เริ่มส่งผลให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่เศรษฐกิจและก่อให้เกิดกำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1/มกราคม 2543--