นายเดชา วาณิชวโรตม์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยถึงผลการศึกษาธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือใน “โครงการศึกษาพัฒนายุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” พบว่า จุดเด่นบริษัทที่ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ อยู่ที่ปัจจัยภายในองค์กรซึ่งได้แก่การมีระบบบริหารจัดการองค์กรที่ดี มีกระบวนการผลิตและการควบคุมคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ และมีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็ง ส่วนกลุ่มบริษัทส่งออกสินค้าที่เป็นคนไทย มีปัจจัยภายนอกที่เป็นต่อ เพราะใช้วัตถุดิบในพื้นที่ และใช้แรงงานท้องถิ่นเข้มข้น จึงช่วยเพิ่มการจ้างงานและลดการอพยพของคนในท้องถิ่น รวมถึงมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับคนและชุมชนซึ่งนำไปสู่การสร้างงานและรายได้ให้แก่ท้องถิ่น
ผู้อำนวยการฯ กล่าวว่า สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สพอ.) ได้ร่วมกับคณะทำงานโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาประเทศด้านการวิเคราะห์ความยากจนและติดตามประเมินผล (CDP-PAM) และธนาคารโลก ดำเนินโครงการศึกษาพัฒนายุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [Thailand : Northeast Development Project (NEED)
] โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดทั้งด้านนโยบายและวิธีการที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของภาค 2) หาแนวทางและมาตรการในการเพิ่มมูลค่าการผลิตรวมของภาคและเกิดประโยชน์กับเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย 3) เพื่อปรับปรุงยุทธศาตร์การแก้ปัญหาความยากจนของภาค
การศึกษาครั้งนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการศึกษาเรื่อง “ตลาดแรงงานและการศึกษา” ซึ่งเป็น 1 ใน 3 เรื่องที่อยู่ในโครงการนี้ โดยมุ่งเน้นศึกษาใน 2 กลุ่มธุรกิจหลัก คือ กลุ่มธุรกิจการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และกลุ่มธุรกิจการส่งออก เพื่อ เปรียบเทียบวิเคราะห์หาจุดเด่นและจุดด้อยในแต่ละธุรกิจ
เมื่อพิจารณาด้านปัจจัยภายในองค์กร พบว่า บริษัทที่ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ มีการวางระบบบริหารและการจัดการในองค์กรที่ดีกว่า มีกระบวนการการผลิตที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านเครื่องมือและเครื่องจักร การควบคุมคุณภาพตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงตัวสินค้า การมีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็ง เนื่องจากได้รับเงินสนับสนุนโดยตรงจากเจ้าของกิจการที่เป็นชาวต่างประเทศ และมีตลาดส่วนใหญ่ในต่างประเทศที่แน่นอนและมั่นคง เมื่อพิจารณาปัจจัยภายนอกองค์กร พบว่า กลุ่มบริษัทส่งออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นของคนไทยมีปัจจัยภายนอกองค์กรที่ดีกว่า เนื่องจากใช้วัตถุดิบในพื้นที่ และใช้แรงงานเข้มข้น (Labor intensive) โดยอิงกับฝีมือแรงงานของคนในท้องถิ่น ก่อให้เกิดการจ้างงานเป็นจำนวนมากและลดการอพยพของคนในท้องถิ่น รวมถึงมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าวัตถุดิบให้กับประชาชนและชุมชน นำไปสู่การสร้างงานและรายได้ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น
แต่เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มบริษัทที่ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรกรรม กลับพบว่ากลุ่มบริษัทที่ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกองค์กรดีกว่ากลุ่มบริษัทส่งออก และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มบริษัทที่ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม พบว่าปัจจัยภายในองค์กรของกลุ่มอุตสาหกรรม ดีกว่ากลุ่มเกษตรกรรม โดยเฉพาะในส่วนของการตลาด เนื่องจากบริษัทอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อ และได้รับผลกระทบจากการกีดกันค่อนข้างต่ำ
แต่ในด้านปัจจัยภายนอกองค์กร กลุ่มเกษตรจะดีกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมมาก โดยเฉพาะผลที่มีต่อเศรษฐกิจในภูมิภาค และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทั้งนี้เป็นเพราะภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นฐานเป็นภาคเกษตรกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักตัวหนึ่งที่ทำให้บริษัทเหล่านี้ก่อตั้งหรือย้ายฐานการผลิตเข้ามา และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตพืชผลที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตให้กับชุมชนในท้องถิ่น เกิดมีรายได้มากขึ้นจากการเพาะปลูก ลักษณะการผลิตที่ใช้แรงงานมาก ทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับบริษัทที่ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่มีลักษณะการผลิตที่ใช้ทุนเข้มข้น (Capital intensive)
ผลจากการศึกษายังพบอีกว่าการกระจายตัวของธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ และในระดับประเทศ มีสัดส่วนที่น้อยมาก และมีการกระจุกตัวอยู่เฉพาะในจังหวัดใหญ่ๆ เช่น นครราชสีมา ขอนแก่น โดยมีปัจจัยสำคัญดึงดูดการลงทุน ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุนของรัฐ แหล่งวัตถุดิบทางการเกษตรที่ใหญ่กว่าภาคอื่นๆ ของประเทศ แรงงานที่มีจำนวนมาก โครงข่ายถนนที่เชื่อมโยงกับภาคอื่นๆ ได้สะดวก แต่ก็มีปัญหาในด้านแรงงานมีคุณสมบัติไม่ตรงตามความต้องการและขาดประสิทธิภาพ รวมทั้งกระบวนการผลิตและการจัดการธุรกิจที่เป็นของคนไทยมีมาตรฐานต่ำ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีทักษะตรงตามความต้องการของธุรกิจ อีกทั้งควรมีมาตรการชัดเจนในการสลายภาพการกระจุกตัวของธุรกิจอุตสาหกรรมในระดับประเทศและระดับภาค ด้วยการส่งเสริมการสร้างปัจจัยซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการประกอบกิจการภายในที่แข็งแกร่งโดยไม่หวังพึ่งปัจจัยดึงดูดในด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากนโยบายส่งเสริมการลงทุนเพียงอย่างเดียว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ผู้อำนวยการฯ กล่าวว่า สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สพอ.) ได้ร่วมกับคณะทำงานโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาประเทศด้านการวิเคราะห์ความยากจนและติดตามประเมินผล (CDP-PAM) และธนาคารโลก ดำเนินโครงการศึกษาพัฒนายุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [Thailand : Northeast Development Project (NEED)
] โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดทั้งด้านนโยบายและวิธีการที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของภาค 2) หาแนวทางและมาตรการในการเพิ่มมูลค่าการผลิตรวมของภาคและเกิดประโยชน์กับเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย 3) เพื่อปรับปรุงยุทธศาตร์การแก้ปัญหาความยากจนของภาค
การศึกษาครั้งนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการศึกษาเรื่อง “ตลาดแรงงานและการศึกษา” ซึ่งเป็น 1 ใน 3 เรื่องที่อยู่ในโครงการนี้ โดยมุ่งเน้นศึกษาใน 2 กลุ่มธุรกิจหลัก คือ กลุ่มธุรกิจการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และกลุ่มธุรกิจการส่งออก เพื่อ เปรียบเทียบวิเคราะห์หาจุดเด่นและจุดด้อยในแต่ละธุรกิจ
เมื่อพิจารณาด้านปัจจัยภายในองค์กร พบว่า บริษัทที่ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ มีการวางระบบบริหารและการจัดการในองค์กรที่ดีกว่า มีกระบวนการการผลิตที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านเครื่องมือและเครื่องจักร การควบคุมคุณภาพตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงตัวสินค้า การมีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็ง เนื่องจากได้รับเงินสนับสนุนโดยตรงจากเจ้าของกิจการที่เป็นชาวต่างประเทศ และมีตลาดส่วนใหญ่ในต่างประเทศที่แน่นอนและมั่นคง เมื่อพิจารณาปัจจัยภายนอกองค์กร พบว่า กลุ่มบริษัทส่งออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นของคนไทยมีปัจจัยภายนอกองค์กรที่ดีกว่า เนื่องจากใช้วัตถุดิบในพื้นที่ และใช้แรงงานเข้มข้น (Labor intensive) โดยอิงกับฝีมือแรงงานของคนในท้องถิ่น ก่อให้เกิดการจ้างงานเป็นจำนวนมากและลดการอพยพของคนในท้องถิ่น รวมถึงมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าวัตถุดิบให้กับประชาชนและชุมชน นำไปสู่การสร้างงานและรายได้ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น
แต่เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มบริษัทที่ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรกรรม กลับพบว่ากลุ่มบริษัทที่ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกองค์กรดีกว่ากลุ่มบริษัทส่งออก และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มบริษัทที่ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม พบว่าปัจจัยภายในองค์กรของกลุ่มอุตสาหกรรม ดีกว่ากลุ่มเกษตรกรรม โดยเฉพาะในส่วนของการตลาด เนื่องจากบริษัทอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อ และได้รับผลกระทบจากการกีดกันค่อนข้างต่ำ
แต่ในด้านปัจจัยภายนอกองค์กร กลุ่มเกษตรจะดีกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมมาก โดยเฉพาะผลที่มีต่อเศรษฐกิจในภูมิภาค และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทั้งนี้เป็นเพราะภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นฐานเป็นภาคเกษตรกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักตัวหนึ่งที่ทำให้บริษัทเหล่านี้ก่อตั้งหรือย้ายฐานการผลิตเข้ามา และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตพืชผลที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตให้กับชุมชนในท้องถิ่น เกิดมีรายได้มากขึ้นจากการเพาะปลูก ลักษณะการผลิตที่ใช้แรงงานมาก ทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับบริษัทที่ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่มีลักษณะการผลิตที่ใช้ทุนเข้มข้น (Capital intensive)
ผลจากการศึกษายังพบอีกว่าการกระจายตัวของธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ และในระดับประเทศ มีสัดส่วนที่น้อยมาก และมีการกระจุกตัวอยู่เฉพาะในจังหวัดใหญ่ๆ เช่น นครราชสีมา ขอนแก่น โดยมีปัจจัยสำคัญดึงดูดการลงทุน ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุนของรัฐ แหล่งวัตถุดิบทางการเกษตรที่ใหญ่กว่าภาคอื่นๆ ของประเทศ แรงงานที่มีจำนวนมาก โครงข่ายถนนที่เชื่อมโยงกับภาคอื่นๆ ได้สะดวก แต่ก็มีปัญหาในด้านแรงงานมีคุณสมบัติไม่ตรงตามความต้องการและขาดประสิทธิภาพ รวมทั้งกระบวนการผลิตและการจัดการธุรกิจที่เป็นของคนไทยมีมาตรฐานต่ำ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีทักษะตรงตามความต้องการของธุรกิจ อีกทั้งควรมีมาตรการชัดเจนในการสลายภาพการกระจุกตัวของธุรกิจอุตสาหกรรมในระดับประเทศและระดับภาค ด้วยการส่งเสริมการสร้างปัจจัยซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการประกอบกิจการภายในที่แข็งแกร่งโดยไม่หวังพึ่งปัจจัยดึงดูดในด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากนโยบายส่งเสริมการลงทุนเพียงอย่างเดียว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-