ภายใต้ระบบเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงสลับซับซ้อนและเชื่อมโยงกันมากขึ้น ประเทศไทยไม่อาจหลีกเลี่ยงกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวบนพื้นฐานของความสัมพันธ์และแนวโน้มการเปิดเสรีทางการค้า การลงทุน และการเงินระหว่างประเทศได้ เนื่องจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ทำให้ความเชื่อมโยงระหว่างประเทศมีความรวดเร็ว และส่งผลต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจ วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในประเทศ ขณะเดียวกันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ผ่านมายังเป็นการขยายตัวในเชิงปริมาณที่เกิดจากการเพิ่มการใช้ปัจจัยการผลิตเป็นหลัก ประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมจึงลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังพึ่งพิงทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ขาดการบริหารเศรษฐกิจและการเตรียมพร้อมที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงของการเปิดเสรีทางการค้าและการเงิน โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศจึงยังอ่อนแอและไม่มีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ ขณะที่ภาครัฐต้องรับภาระหนี้สาธารณะ และมีข้อจำกัดด้านงบประมาณเพื่อการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป
ดังนั้น การพัฒนาประเทศในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จึงจำเป็นต้องมุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีความแข็งแกร่งมั่นคงอย่างเต็มที่และปรับฐานเศรษฐกิจให้สามารถขยายตัวต่อเนื่องไปในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน รวมทั้งนำไปสู่การเป็นเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานองค์ความรู้และการสร้างสรรค์ มีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก และสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยเน้นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้มีความสมดุล สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก รวมทั้งมีความรอบคอบในการบริหารความเสี่ยงในการเปิดเสรีให้สมดุลกับผลประโยชน์ที่ได้ และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนาและสร้างภูมิคุ้มกันแก่ภูมิภาค ตลอดจนสร้างความพร้อมและความรอบรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำมาประยุกต์ใช้และพัฒนานวัตกรรมของตนเองอย่างเหมาะสม ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน และการปรับปรุงการบริหารจัดการของภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ ทั้งนี้ โดยดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ๓ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียุทธศาสตร์การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมเป็นการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางด้านมหภาคของประเทศต่อเนื่องจากการดำเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงต้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ เพื่อส่งเสริมให้ฐานเศรษฐกิจของประเทศมีความแข็งแกร่งและขยายตัวได้อย่างมีคุณภาพ ควบคู่ไปกับการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยเร่งแก้ไขระบบการเงินให้มีบทบาทสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งรักษาทุนสำรองเงินตราต่างประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุน ในด้านการคลังให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก ซึ่งจะเป็นแรงส่งให้ภาคการผลิต การค้าและบริการฟื้นตัว ควบคู่ไปกับรักษาวินัยการคลังและการบริหารหนี้สาธารณะเพื่อสร้างความเข้มแข็งของฐานะการคลังในระยะยาว รวมทั้งปรับปรุงการบริหารจัดการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อาทิ ระบบการเจรจาทางการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศให้มีความชัดเจนและเชื่อมโยงไปในทิศทางเดียวกัน
ภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวได้ในช่วงปลายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ ยังมีความเปราะบาง อันเนื่องจากความไม่สมดุลระหว่างภาคการผลิตที่สามารถแข่งขันได้และภาคการผลิตที่ยังมีความอ่อนแอ ยุทธศาสตร์การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จะให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างภาคการผลิต การบริการ และการลงทุนจากการพึ่งปัจจัยการผลิตในเชิงปริมาณทั้งทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานราคาถูกที่มีผลิตภาพและมูลค่าเพิ่มต่ำไปสู่เศรษฐกิจที่เน้นการใช้องค์ความรู้เป็นหลัก มีความเร็วและสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เกษตรกร รวมทั้งสถาบันเกษตรกรเป็นฐานสำคัญ ซึ่งจะต้องเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระดับมหภาคและระดับสาขา โดยเฉพาะการสนับสนุนเพิ่มผลผลิตและการปรับระบบบริหารจัดการในทุกภาคส่วนของสังคม ไม่จำกัดเพียงเฉพาะภาครัฐ ภาคเอกชน แต่ครอบคลุมถึงภาคประชาชน เพื่อให้เกิดมาตรฐานและความโปร่งใสที่จะนำไปสู่ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะให้ความสำคัญกับการปรับปรุงคุณภาพของบริการและการสร้างเครือข่ายของบริการพื้นฐานให้ทั่วถึงและเท่าเทียม ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพของคนเพื่อการเพิ่มทักษะและผลิตภาพในทุกระดับ ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและการคุ้มครองทางสังคม
ในการเพิ่มสมรรถนะของภาคการผลิตและบริการให้สามารถเป็นฐานเศรษฐกิจที่มีความมั่นคง พึ่งตนเอง และสามารถแข่งขันได้ในระยะยาว จำเป็นที่จะต้องพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้พร้อมเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศและแก้ไขภาวะวิกฤต โดยเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการพัฒนานวัตกรรมในสาขาการผลิตที่ประเทศไทยมีศักยภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชนและเกษตรกร พร้อมกับการปรับเปลี่ยนระบบบริหารจัดการในเชิงรุกและเพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการในภาคการผลิต เพื่อลดการพึ่งพิงเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี สร้างกลไกกระจายความรู้สู่ชนบทเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถต่อยอดความรู้เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้บริบทของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทย
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
ดังนั้น การพัฒนาประเทศในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จึงจำเป็นต้องมุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีความแข็งแกร่งมั่นคงอย่างเต็มที่และปรับฐานเศรษฐกิจให้สามารถขยายตัวต่อเนื่องไปในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน รวมทั้งนำไปสู่การเป็นเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานองค์ความรู้และการสร้างสรรค์ มีภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก และสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยเน้นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้มีความสมดุล สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก รวมทั้งมีความรอบคอบในการบริหารความเสี่ยงในการเปิดเสรีให้สมดุลกับผลประโยชน์ที่ได้ และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนาและสร้างภูมิคุ้มกันแก่ภูมิภาค ตลอดจนสร้างความพร้อมและความรอบรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำมาประยุกต์ใช้และพัฒนานวัตกรรมของตนเองอย่างเหมาะสม ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน และการปรับปรุงการบริหารจัดการของภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ ทั้งนี้ โดยดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ๓ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียุทธศาสตร์การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมเป็นการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางด้านมหภาคของประเทศต่อเนื่องจากการดำเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงต้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ เพื่อส่งเสริมให้ฐานเศรษฐกิจของประเทศมีความแข็งแกร่งและขยายตัวได้อย่างมีคุณภาพ ควบคู่ไปกับการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยเร่งแก้ไขระบบการเงินให้มีบทบาทสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งรักษาทุนสำรองเงินตราต่างประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุน ในด้านการคลังให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก ซึ่งจะเป็นแรงส่งให้ภาคการผลิต การค้าและบริการฟื้นตัว ควบคู่ไปกับรักษาวินัยการคลังและการบริหารหนี้สาธารณะเพื่อสร้างความเข้มแข็งของฐานะการคลังในระยะยาว รวมทั้งปรับปรุงการบริหารจัดการเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อาทิ ระบบการเจรจาทางการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศให้มีความชัดเจนและเชื่อมโยงไปในทิศทางเดียวกัน
ภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวได้ในช่วงปลายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ ยังมีความเปราะบาง อันเนื่องจากความไม่สมดุลระหว่างภาคการผลิตที่สามารถแข่งขันได้และภาคการผลิตที่ยังมีความอ่อนแอ ยุทธศาสตร์การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จะให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างภาคการผลิต การบริการ และการลงทุนจากการพึ่งปัจจัยการผลิตในเชิงปริมาณทั้งทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานราคาถูกที่มีผลิตภาพและมูลค่าเพิ่มต่ำไปสู่เศรษฐกิจที่เน้นการใช้องค์ความรู้เป็นหลัก มีความเร็วและสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เกษตรกร รวมทั้งสถาบันเกษตรกรเป็นฐานสำคัญ ซึ่งจะต้องเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระดับมหภาคและระดับสาขา โดยเฉพาะการสนับสนุนเพิ่มผลผลิตและการปรับระบบบริหารจัดการในทุกภาคส่วนของสังคม ไม่จำกัดเพียงเฉพาะภาครัฐ ภาคเอกชน แต่ครอบคลุมถึงภาคประชาชน เพื่อให้เกิดมาตรฐานและความโปร่งใสที่จะนำไปสู่ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะให้ความสำคัญกับการปรับปรุงคุณภาพของบริการและการสร้างเครือข่ายของบริการพื้นฐานให้ทั่วถึงและเท่าเทียม ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพของคนเพื่อการเพิ่มทักษะและผลิตภาพในทุกระดับ ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและการคุ้มครองทางสังคม
ในการเพิ่มสมรรถนะของภาคการผลิตและบริการให้สามารถเป็นฐานเศรษฐกิจที่มีความมั่นคง พึ่งตนเอง และสามารถแข่งขันได้ในระยะยาว จำเป็นที่จะต้องพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้พร้อมเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศและแก้ไขภาวะวิกฤต โดยเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการพัฒนานวัตกรรมในสาขาการผลิตที่ประเทศไทยมีศักยภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชนและเกษตรกร พร้อมกับการปรับเปลี่ยนระบบบริหารจัดการในเชิงรุกและเพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการในภาคการผลิต เพื่อลดการพึ่งพิงเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี สร้างกลไกกระจายความรู้สู่ชนบทเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถต่อยอดความรู้เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้บริบทของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทย
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-