เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 นายสิปปนนท์ เกตุทัต ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเรื่อง "ข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศ" ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพมหานคร
การประชุมครั้งนี้ สศช.ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม และกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกันจัดทำโครงการระบบการจัดการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจากการขนส่งสารเคมีและวัตถุอันตราย โดยได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากรัฐบาลสหพันธ์-สาธารณรัฐเยอรมัน และมี สศช.เป็นแกนกลางในการประสานงานระดมความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับขอบข่ายการดำเนินการโครงการประกอบด้วย
1) การพัฒนาระบบการจำแนกประเภทสารเคมี และมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยต่างๆ ที่อ้างอิงตามหลักเกณฑ์การขนส่งสินค้าอันตรายของสหประชาชาติโดยจัดทำเป็น "ข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย" จำนวน 2 เล่ม
2) การวางระบบการจัดการในภาวะฉุกเฉิน โดยประสานและรวบรวมข้อมูลแผนปฏิบัติการและทรัพยากรของแต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบ
3) การวางระบบข้อมูลสารสนเทศการจัดการในภาวะฉุกเฉิน โดยจัดเก็บรวบรวมข้อมูลการขนส่งสารเคมีและวัตถุอันตรายและข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน
4) การตรวจสอบและการให้คำรับรอง / ออกใบอนุญาต
สำหรับข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย เล่ม 1 นั้น เป็นเรื่องที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์ทั่วไปของการขนส่งเพื่อเป็นกติกาพื้นฐานในการขนส่งสินค้าอันตรายที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และกรอบกติกาการค้าเสรีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ปฏิบัติงานได้จริง ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 23 พฤษภาคม 2543 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นเกณฑ์พื้นฐานในการออกกฎเกณฑ์และระเบียบทางกฎหมาย และโดยที่แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว จะมีผลต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคเอกชน สศช.จึงเห็นควรให้จัดสัมมนาครั้งนั้เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจร่วมกัน และเตรียมความพร้อมล่วงหน้าก่อนที่จะมีการออกกฎระเบียบบังคับใช้ต่อไป
นายสิปปนนท์ เกตุทัต ได้กล่าวในพิธีเปิดสัมมนาดังกล่าวว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งในการที่ภาคเอกชน ผู้ประกอบการค้าการขนส่งสินค้า อันตรายจำนวนมากมีความกระตือรือร้นและตื่นตัวที่จะร่วมมือกับภาครัฐในการดำเนินงานการพัฒนาระบบความปลอดภัยของการขนส่งสินค้า อันตรายในประเทศไทย เพราะสิ่งนี้เป็นการแสดงถึงจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน เพราะปัจจุบันมีสารเคมีและวัตถุอันตรายมากกว่า 40,000 ชนิด อยู่ในตลาดการค้าโลก และนานาชาติต่างก็ตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนและสิ่งแวดล้อม
ข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศ เล่ม 1 นี้ แม้จะได้มีการอิงหลักเกณฑ์ของสหประชาชาติ และคำนึงถึงความสอดคล้องกับบทบัญญัติในกฎหมายไทยและกติกาสากลเพื่อให้เป็นที่ยอมรับและสามารถใช้ได้ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของภาคีการพัฒนาหลายฝ่ายคือ หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน และใช้ระยะเวลาถึง 3 ปี แล้วก็ตาม ต้องยอมรับว่าข้อกำหนดดังกล่าวมีมาตรฐานสูงและมีความยากลำบากในการปฏิบัติ โดยเฉพาะประเทศไทยที่เริ่มต้นจากศูนย์คือไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆเลย และยังขาดองค์ความรู้ บุคลากร และเงินทุน อย่างไรก็ตาม แม้เราจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของปัญหา แต่การตระหนักถึงปัญหาต่างๆ ไว้แต่แรก เริ่มจะทำให้เรามีโอกาสที่จะแก้ไขได้มากขึ้น และประการสำคัญจะต้องศึกษาคู่มือและเอกสารกำกับต่างๆ ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจไปพร้อมๆ กันด้วย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2543--
-สส-
การประชุมครั้งนี้ สศช.ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม และกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกันจัดทำโครงการระบบการจัดการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจากการขนส่งสารเคมีและวัตถุอันตราย โดยได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากรัฐบาลสหพันธ์-สาธารณรัฐเยอรมัน และมี สศช.เป็นแกนกลางในการประสานงานระดมความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับขอบข่ายการดำเนินการโครงการประกอบด้วย
1) การพัฒนาระบบการจำแนกประเภทสารเคมี และมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยต่างๆ ที่อ้างอิงตามหลักเกณฑ์การขนส่งสินค้าอันตรายของสหประชาชาติโดยจัดทำเป็น "ข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย" จำนวน 2 เล่ม
2) การวางระบบการจัดการในภาวะฉุกเฉิน โดยประสานและรวบรวมข้อมูลแผนปฏิบัติการและทรัพยากรของแต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบ
3) การวางระบบข้อมูลสารสนเทศการจัดการในภาวะฉุกเฉิน โดยจัดเก็บรวบรวมข้อมูลการขนส่งสารเคมีและวัตถุอันตรายและข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน
4) การตรวจสอบและการให้คำรับรอง / ออกใบอนุญาต
สำหรับข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย เล่ม 1 นั้น เป็นเรื่องที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์ทั่วไปของการขนส่งเพื่อเป็นกติกาพื้นฐานในการขนส่งสินค้าอันตรายที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และกรอบกติกาการค้าเสรีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ปฏิบัติงานได้จริง ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 23 พฤษภาคม 2543 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นเกณฑ์พื้นฐานในการออกกฎเกณฑ์และระเบียบทางกฎหมาย และโดยที่แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว จะมีผลต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคเอกชน สศช.จึงเห็นควรให้จัดสัมมนาครั้งนั้เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจร่วมกัน และเตรียมความพร้อมล่วงหน้าก่อนที่จะมีการออกกฎระเบียบบังคับใช้ต่อไป
นายสิปปนนท์ เกตุทัต ได้กล่าวในพิธีเปิดสัมมนาดังกล่าวว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งในการที่ภาคเอกชน ผู้ประกอบการค้าการขนส่งสินค้า อันตรายจำนวนมากมีความกระตือรือร้นและตื่นตัวที่จะร่วมมือกับภาครัฐในการดำเนินงานการพัฒนาระบบความปลอดภัยของการขนส่งสินค้า อันตรายในประเทศไทย เพราะสิ่งนี้เป็นการแสดงถึงจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน เพราะปัจจุบันมีสารเคมีและวัตถุอันตรายมากกว่า 40,000 ชนิด อยู่ในตลาดการค้าโลก และนานาชาติต่างก็ตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนและสิ่งแวดล้อม
ข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศ เล่ม 1 นี้ แม้จะได้มีการอิงหลักเกณฑ์ของสหประชาชาติ และคำนึงถึงความสอดคล้องกับบทบัญญัติในกฎหมายไทยและกติกาสากลเพื่อให้เป็นที่ยอมรับและสามารถใช้ได้ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของภาคีการพัฒนาหลายฝ่ายคือ หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน และใช้ระยะเวลาถึง 3 ปี แล้วก็ตาม ต้องยอมรับว่าข้อกำหนดดังกล่าวมีมาตรฐานสูงและมีความยากลำบากในการปฏิบัติ โดยเฉพาะประเทศไทยที่เริ่มต้นจากศูนย์คือไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆเลย และยังขาดองค์ความรู้ บุคลากร และเงินทุน อย่างไรก็ตาม แม้เราจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของปัญหา แต่การตระหนักถึงปัญหาต่างๆ ไว้แต่แรก เริ่มจะทำให้เรามีโอกาสที่จะแก้ไขได้มากขึ้น และประการสำคัญจะต้องศึกษาคู่มือและเอกสารกำกับต่างๆ ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจไปพร้อมๆ กันด้วย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2543--
-สส-