แท็ก
วิกฤติเศรษฐกิจ
ความเป็นมา
จากวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศที่เริ่มในปี 2540 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ส่งผลกระทบสู่ชนทุกชั้นในสังคมทำให้มีความยากลำบากในการครองชีพและเกิดปัญหาทางสังคมต่างๆ ตามมา ทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจึงต้องเข้ามาร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการดูแลสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาที่สำคัญในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
จากความสำคัญดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้จัดทำ "โครงการศึกษา วิเคราะห์ปัจจัยที่สนับสนุนให้ชุมชนเข้มแข็ง" ขึ้น เพื่อศึกษาถึงวิธีดำเนินงานและการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่เสริมสร้างและมีผลให้ชุมชนเข้มแข็ง อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายหลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) โดยสำนักงานฯ ได้สำรวจข้อมูลและความคิดเห็นจากตัวอย่างชุมชนทุกภาคของปรเทศรวมทั้งสิ้น 23 ชุมชน แบ่งเป็นชุมชนภาคเหนือ 6 ชุมชน ภาคกลาง 7 ชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 ชุมชน และภาคใต้ 3 ชุมชน ใช้ระยะเวลาศึกษาระหว่างเดือนพฤษจิกายน 2543 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2544
มูลเหตุที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่ม
จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าการรวมกลุ่มของประชาชนเพื่อการทำกิจกรรมร่วมกันในการพัฒนาชุมชนจนกระทั่งประสบความสำเร็จเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง เกิดจากมูลเหตุสำคัญหลายประการ ได้แก่
1. การต้องการรายได้เพิ่มขึ้น อันเป็นมูลเหตุหลักที่พบในชุมชนเกือบทุกแห่งที่สำรวจ เนื่องจากคนในชุมชนมีรายไม่พอเพียงต่อการครองชีพ
2. คนในชุมชนมีปัญหาด้านสุขภาพ จึงเกิดการรวมกลุ่มขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
3. ผู้นำและแกนนำของชุมชนต้องการแก้ไขปัญหาภายในชุมชน โดยกระตุ้นให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชนตั้งแต่การร่วมคิดร่วมทำ ตลอดจนร่วมกันแก้ไขปัญหา
4. ได้รับการแนะนำ ส่งเสริม และสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่หน่วยงานของรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนจะเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นให้คนในชุมชนเกิดความตื่นตัวและรวมกลุ่มขึ้น
5. ความต้องการเงินทุนและความรู้เพื่อประกอบอาชีพ พบว่าหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ให้การสนับสนุนเงินทุนหรือความรู้เพื่อประกอบอาชีพเสริม จะดำเนินงานโดยรวมกลุ่มกัน
6. สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นการรวมกลุ่มเพื่อถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน รวมทั้งเพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่ความต้องการของตลาด เช่น กลุ่มทอผ้าไหม กลุ่มจักสาน กลุ่มทำน้ำตาลโตนด เป็นต้น
7. ความต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ เช่น การรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาแหล่งต้นน้ำ ลำธาร การอนุรักษ์ป่าชายเลน การรักษาระบบนิเวศน์ชานฝั่ง เป็นต้น
8. กระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่เห็นได้ชัดเจน คือ กระแสชีวจิต ซึ่งทำให้คนหันมาบริโภคผลผลิตหรือหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากธรรมชาติมากขึ้น จึงได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อการแปรรูปสมุนไพร การปลูกผักปลอดสารพิษ การผลิตข้าวซ้อมมือ เป็นต้น
ปัจจัยที่สนับสนุนให้การดำเนินงานของกลุ่มประสบความสำเร็จ
จากมูลเหตุต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มแล้ว ยังมีปัจจัยต่างๆ ที่สนับสนุนให้การดำเนินงานของกลุ่มประสบความสำเร็จ ได้แก่
1) ปัจจัยภายใน มีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ผู้นำ คณะกรรมการสมาชิกของกลุ่ม และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น โดยแต่ละส่วนจะต้องมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
(1) ผู้นำหรือคณะกรรมการ ต้องมีความเสียสละ ซื่อสัตย์ เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน รับฟังความคิดเห็นของสมาชิก เน้นการมีส่วนร่วมยืดถือผลประโยชน์ของกลุ่มเป็นหลัก และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้แก่สมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถจัดหาเงินทุนและตลาดรองรับผลผลิตของชุมชน มีการบริหารจัดการที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้และความยุติธรรม
(2) สมาชิกกลุ่มหรือคนในชุมชน มีความสามัคคีและให้ความร่วมมือในการร่วมคิด ร่วมทำ ในกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย มีจิตสำนึกที่ดีต่อกลุ่มในการร่วมกันพัฒนาและร่วมทำกิจกรรมในชุมชน ตลอดจนการมีพื้นฐานการนับถือศาสนาและวัฒนธรรมที่เหมือนกัน ซึ่งจะทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันและมีความเอื้อเฟื้อต่อกันยิ่งขึ้น
(3) การมีทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต โดยการนำปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการดัดแปลงทรัพยาที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เป็นสินค้าส่งออก ทำให้คนในชุนชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
2) ปัจจัยภายนอก มีดังนี้
(1) หน่วยงานภายนอก ซึ่งหมายถึงภาครัฐและเอกชนที่ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริมด้านวิชาการ คำแนะนำ ด้านการเงิน การตลาดและอุปกรณ์การผลิตสำหรับการดำเนินงานของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการประสานขอความช่วยเหลือและขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานอื่นให้เข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่ม
(2)การประสานเครือข่ายด้านการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการตลาด นับเป็นปัจจัยที่สำคัญในการผลักดันให้กลุ่มประสบความสำเร็จ หากมีการจัดการด้านคุณภาพสินค้า การตลาดและการประชาสัมพันธ์ที่ดี ก็จะช่วยให้ผลผลิตส่งออกสู่ตลาดเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศได้ ดังตัวอย่างการผลิตน้ำสมุนไพรของศูนย์อินแปง จ. สกลนคร สามารถขยายเครือข่ายไปยังประเทศญี่ปุ่น จีน และมีการขยายเครือข่ายไปยังประเทศอื่นๆ อีก
(3)กระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเฉพาะกระแสชีวจิตส่งผลให้ผลผลิตของชุมชนเป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค
ลักษณะการดำเนินงาน
จากการศึกษายังพบว่า ในแต่ละชุมชนต่างมีการดำเนินงานในกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่ สภาพดินฟ้าอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น รวมทั้งวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในชุมชนซึ่งมีส่วนช่วยส่งเสริมให้การรวมกลุ่มมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ทั้งนี้ลักษณะการดำเนินงานของชุมชนที่สำคัญ คือ
1) วัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่ม แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
(1) การรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยเหลือคนในชุมชน โดยจะรวมกลุ่มกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นของคนในชุมชนร่วมกัน เช่น ปัญหาการขาดแคลนเงินทุน ปัญหาการตลาด การขาดความรู้ทางด้านเทคโนโลยี โดยมีการรวมกลุ่มในรูปแบบต่างๆ เช่นการตั้งกลุ่มออมทรัพย์ ศูนย์สาธิตการตลาด ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นต้น
(2) การรวมกลุ่มอาชีพ โดยคนในชุมชนต้องการมีรายได้ให้เพียงพอต่อการครองชีพ และต้องการที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งการรวมกลุ่มอาชีพนี้มักเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการรวมกลุ่มออกทรัพย์ เช่น การรวมกลุ่มทอผ้าไหม การแปรรูปสมุนไพร กลุ่มผลิตข้าวซ้อมมือ กลุ่มผลิต น้ำตาลโตนด เป็นต้น
(3) การรวมกลุ่มเพื่อส่วนรวม พบว่ามีในทุกภาคที่ทำการศึกษาโดยในภาคเหนือจะมุ่งเน้นการอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำ ลำธารและป่าไม้ ภาคกลางอนุรักษ์แหล่งน้ำและทรัพยากรทางทะเล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อนุรักษ์แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ส่วนภาคใต้ อนุรักษ์แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรการพัฒนาระบบนิเวศน์ชายฝั่ง และป่าชายเลน นอกจากนี้บางชุมชนรวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนาชุมชนและแก้ไขปัญหาในชุมชน เช่น การแก้ไขปัญหายาเสพย์ติด เป็นต้น
2)การจัดบริหารจัดการ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของคณะกรรมการโดยการคัดเลือกคนในชุมชนเข้ามาบริหารจัดการ กำหนดกฎระเบียบ หลักเกณฑ์การดำเนินงาน และผลตอบแทนของสมาชิก รวมทั้งทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการประสานขอความร่วมมือและขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือองค์กรนอกชุมชน
3) การระดมทุนหมุนเวียน จะมาจากเงินทุนภายในชุมชน ซึ่งเป็นการระดมทุนจากสมาชิกในชุมชนในลักษณะการซื้อหุ้น เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ และเงินทุนจากภาคนอกชุมชน ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในรูปแบบของการให้เปล่า หรือการให้กู้ยืมในช่วงเริ่มก่อตั้งกลุ่ม
4) การตลาด การจัดการด้านการตลาดของแต่ละชุมชนมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของสินค้านั้นๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อที่แหล่งผลิตโดยตรง คนในชุมชนเป็นตัวกลางในการจำหน่าย และมีการจำหน่ายตามร้านค้าทั่วไปศูนย์สาธิตาการตลาด งานประเพณีหรืองานประจำจังหวัดต่างๆ
การเปลี่ยนแปลงของชุมชนหลังจากการรวมกลุ่ม
ผลจากการรวมกลุ่มของชุมชน นอกจากจะทำให้เกิดความสามัคคีกันแล้ว ยังส่งผลให้สมาชิกและคนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนรวมถึงความมั่นคงด้านรายได้ อันส่งผลต่อ การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยเพราะมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น โดยไม่ต้องออกไปหางานทำนอกท้องถิ่น คนในชุมชนมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ เนื่องจากการรวมกลุ่มเป็นการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้รับรู้ และเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและได้รับความรู้ในการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้ดีขึ้น
นอกจากนี้ การที่คนในชุมชนมีความสามัคคี เอื้ออาทรต่อกัน ส่งผลให้ชุมชนมีความสงบสุข เนื่องจากคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนอย่างจริงจัง รวมทั้งตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่
แนวทางการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ
การศึกษาครั้งนี้ พบประเด็นที่น่าสนใจยิ่งต่อการรวมกลุ่มกัน คือ ในชุมชนใดที่เข้มแข็งสามารถดำเนินงานจนประสบผลสำเร็จได้นั้น ได้ดำเนินการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไปด้วนความอดทนและมีความพากเพียร มีการผลิตที่มีความพอเพียง เหมาะสมหรือพอประมาณกับกำลังกาย กำลังทรัพย์และกำลังปัญญาที่มีอยู่ โดยคนในชุมชนได้เริ่มดำเนินกิจกรรมจากเงินออมของตนและเงินทุนของชุมชนมีจิตใจที่เอื้อเฟื้อเผื้อแผ่ มีความเอื้ออาทรต่อกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ จึงส่งผลให้คนในชุมชนสามารถเรียนรู้/ฝึกฝนร่วมกัน และแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกันอยู่เสมอ
แม้ว่าแนวทางการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว จะไม่ทำให้คนในชุมชนมีความร่ำรวย แต่ทุกคนต่างมีความสุขมากขึ้น เมื่อคนในชุมชนส่วนใหญ่มีความสุขแล้ว ก็มีความปรารถนาที่จะทำให้ชุมชนเกิดความน่าอยู่โดยหันหน้ามาร่วมกันดำเนินกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์มากขึ้น รวมทั้งร่วมกันจัดระเบียบขึ้นภายในชุมชน อาทิ สร้างถนนคอนกรีต กั้นรั้วให้เป็นสัดส่วน และร่วมกันดูแลผู้สูงอายุ ส่งผลให้เกิดความสงบความสันติสุขขึ้นภายในชุมชน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 5 พฤษภาคม 2544--
-สส-
จากวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศที่เริ่มในปี 2540 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ส่งผลกระทบสู่ชนทุกชั้นในสังคมทำให้มีความยากลำบากในการครองชีพและเกิดปัญหาทางสังคมต่างๆ ตามมา ทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจึงต้องเข้ามาร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการดูแลสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาที่สำคัญในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
จากความสำคัญดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้จัดทำ "โครงการศึกษา วิเคราะห์ปัจจัยที่สนับสนุนให้ชุมชนเข้มแข็ง" ขึ้น เพื่อศึกษาถึงวิธีดำเนินงานและการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่เสริมสร้างและมีผลให้ชุมชนเข้มแข็ง อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายหลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) โดยสำนักงานฯ ได้สำรวจข้อมูลและความคิดเห็นจากตัวอย่างชุมชนทุกภาคของปรเทศรวมทั้งสิ้น 23 ชุมชน แบ่งเป็นชุมชนภาคเหนือ 6 ชุมชน ภาคกลาง 7 ชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 ชุมชน และภาคใต้ 3 ชุมชน ใช้ระยะเวลาศึกษาระหว่างเดือนพฤษจิกายน 2543 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2544
มูลเหตุที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่ม
จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าการรวมกลุ่มของประชาชนเพื่อการทำกิจกรรมร่วมกันในการพัฒนาชุมชนจนกระทั่งประสบความสำเร็จเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง เกิดจากมูลเหตุสำคัญหลายประการ ได้แก่
1. การต้องการรายได้เพิ่มขึ้น อันเป็นมูลเหตุหลักที่พบในชุมชนเกือบทุกแห่งที่สำรวจ เนื่องจากคนในชุมชนมีรายไม่พอเพียงต่อการครองชีพ
2. คนในชุมชนมีปัญหาด้านสุขภาพ จึงเกิดการรวมกลุ่มขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
3. ผู้นำและแกนนำของชุมชนต้องการแก้ไขปัญหาภายในชุมชน โดยกระตุ้นให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชนตั้งแต่การร่วมคิดร่วมทำ ตลอดจนร่วมกันแก้ไขปัญหา
4. ได้รับการแนะนำ ส่งเสริม และสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่หน่วยงานของรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนจะเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นให้คนในชุมชนเกิดความตื่นตัวและรวมกลุ่มขึ้น
5. ความต้องการเงินทุนและความรู้เพื่อประกอบอาชีพ พบว่าหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ให้การสนับสนุนเงินทุนหรือความรู้เพื่อประกอบอาชีพเสริม จะดำเนินงานโดยรวมกลุ่มกัน
6. สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นการรวมกลุ่มเพื่อถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน รวมทั้งเพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่ความต้องการของตลาด เช่น กลุ่มทอผ้าไหม กลุ่มจักสาน กลุ่มทำน้ำตาลโตนด เป็นต้น
7. ความต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ เช่น การรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาแหล่งต้นน้ำ ลำธาร การอนุรักษ์ป่าชายเลน การรักษาระบบนิเวศน์ชานฝั่ง เป็นต้น
8. กระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่เห็นได้ชัดเจน คือ กระแสชีวจิต ซึ่งทำให้คนหันมาบริโภคผลผลิตหรือหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากธรรมชาติมากขึ้น จึงได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อการแปรรูปสมุนไพร การปลูกผักปลอดสารพิษ การผลิตข้าวซ้อมมือ เป็นต้น
ปัจจัยที่สนับสนุนให้การดำเนินงานของกลุ่มประสบความสำเร็จ
จากมูลเหตุต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มแล้ว ยังมีปัจจัยต่างๆ ที่สนับสนุนให้การดำเนินงานของกลุ่มประสบความสำเร็จ ได้แก่
1) ปัจจัยภายใน มีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ผู้นำ คณะกรรมการสมาชิกของกลุ่ม และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น โดยแต่ละส่วนจะต้องมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
(1) ผู้นำหรือคณะกรรมการ ต้องมีความเสียสละ ซื่อสัตย์ เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน รับฟังความคิดเห็นของสมาชิก เน้นการมีส่วนร่วมยืดถือผลประโยชน์ของกลุ่มเป็นหลัก และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้แก่สมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถจัดหาเงินทุนและตลาดรองรับผลผลิตของชุมชน มีการบริหารจัดการที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้และความยุติธรรม
(2) สมาชิกกลุ่มหรือคนในชุมชน มีความสามัคคีและให้ความร่วมมือในการร่วมคิด ร่วมทำ ในกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย มีจิตสำนึกที่ดีต่อกลุ่มในการร่วมกันพัฒนาและร่วมทำกิจกรรมในชุมชน ตลอดจนการมีพื้นฐานการนับถือศาสนาและวัฒนธรรมที่เหมือนกัน ซึ่งจะทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันและมีความเอื้อเฟื้อต่อกันยิ่งขึ้น
(3) การมีทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต โดยการนำปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการดัดแปลงทรัพยาที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เป็นสินค้าส่งออก ทำให้คนในชุนชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
2) ปัจจัยภายนอก มีดังนี้
(1) หน่วยงานภายนอก ซึ่งหมายถึงภาครัฐและเอกชนที่ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริมด้านวิชาการ คำแนะนำ ด้านการเงิน การตลาดและอุปกรณ์การผลิตสำหรับการดำเนินงานของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการประสานขอความช่วยเหลือและขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานอื่นให้เข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่ม
(2)การประสานเครือข่ายด้านการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการตลาด นับเป็นปัจจัยที่สำคัญในการผลักดันให้กลุ่มประสบความสำเร็จ หากมีการจัดการด้านคุณภาพสินค้า การตลาดและการประชาสัมพันธ์ที่ดี ก็จะช่วยให้ผลผลิตส่งออกสู่ตลาดเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศได้ ดังตัวอย่างการผลิตน้ำสมุนไพรของศูนย์อินแปง จ. สกลนคร สามารถขยายเครือข่ายไปยังประเทศญี่ปุ่น จีน และมีการขยายเครือข่ายไปยังประเทศอื่นๆ อีก
(3)กระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเฉพาะกระแสชีวจิตส่งผลให้ผลผลิตของชุมชนเป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค
ลักษณะการดำเนินงาน
จากการศึกษายังพบว่า ในแต่ละชุมชนต่างมีการดำเนินงานในกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่ สภาพดินฟ้าอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น รวมทั้งวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในชุมชนซึ่งมีส่วนช่วยส่งเสริมให้การรวมกลุ่มมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ทั้งนี้ลักษณะการดำเนินงานของชุมชนที่สำคัญ คือ
1) วัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่ม แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
(1) การรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยเหลือคนในชุมชน โดยจะรวมกลุ่มกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นของคนในชุมชนร่วมกัน เช่น ปัญหาการขาดแคลนเงินทุน ปัญหาการตลาด การขาดความรู้ทางด้านเทคโนโลยี โดยมีการรวมกลุ่มในรูปแบบต่างๆ เช่นการตั้งกลุ่มออมทรัพย์ ศูนย์สาธิตการตลาด ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นต้น
(2) การรวมกลุ่มอาชีพ โดยคนในชุมชนต้องการมีรายได้ให้เพียงพอต่อการครองชีพ และต้องการที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งการรวมกลุ่มอาชีพนี้มักเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการรวมกลุ่มออกทรัพย์ เช่น การรวมกลุ่มทอผ้าไหม การแปรรูปสมุนไพร กลุ่มผลิตข้าวซ้อมมือ กลุ่มผลิต น้ำตาลโตนด เป็นต้น
(3) การรวมกลุ่มเพื่อส่วนรวม พบว่ามีในทุกภาคที่ทำการศึกษาโดยในภาคเหนือจะมุ่งเน้นการอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำ ลำธารและป่าไม้ ภาคกลางอนุรักษ์แหล่งน้ำและทรัพยากรทางทะเล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อนุรักษ์แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ส่วนภาคใต้ อนุรักษ์แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรการพัฒนาระบบนิเวศน์ชายฝั่ง และป่าชายเลน นอกจากนี้บางชุมชนรวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนาชุมชนและแก้ไขปัญหาในชุมชน เช่น การแก้ไขปัญหายาเสพย์ติด เป็นต้น
2)การจัดบริหารจัดการ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของคณะกรรมการโดยการคัดเลือกคนในชุมชนเข้ามาบริหารจัดการ กำหนดกฎระเบียบ หลักเกณฑ์การดำเนินงาน และผลตอบแทนของสมาชิก รวมทั้งทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการประสานขอความร่วมมือและขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือองค์กรนอกชุมชน
3) การระดมทุนหมุนเวียน จะมาจากเงินทุนภายในชุมชน ซึ่งเป็นการระดมทุนจากสมาชิกในชุมชนในลักษณะการซื้อหุ้น เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ และเงินทุนจากภาคนอกชุมชน ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในรูปแบบของการให้เปล่า หรือการให้กู้ยืมในช่วงเริ่มก่อตั้งกลุ่ม
4) การตลาด การจัดการด้านการตลาดของแต่ละชุมชนมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของสินค้านั้นๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อที่แหล่งผลิตโดยตรง คนในชุมชนเป็นตัวกลางในการจำหน่าย และมีการจำหน่ายตามร้านค้าทั่วไปศูนย์สาธิตาการตลาด งานประเพณีหรืองานประจำจังหวัดต่างๆ
การเปลี่ยนแปลงของชุมชนหลังจากการรวมกลุ่ม
ผลจากการรวมกลุ่มของชุมชน นอกจากจะทำให้เกิดความสามัคคีกันแล้ว ยังส่งผลให้สมาชิกและคนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนรวมถึงความมั่นคงด้านรายได้ อันส่งผลต่อ การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยเพราะมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น โดยไม่ต้องออกไปหางานทำนอกท้องถิ่น คนในชุมชนมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ เนื่องจากการรวมกลุ่มเป็นการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้รับรู้ และเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและได้รับความรู้ในการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้ดีขึ้น
นอกจากนี้ การที่คนในชุมชนมีความสามัคคี เอื้ออาทรต่อกัน ส่งผลให้ชุมชนมีความสงบสุข เนื่องจากคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนอย่างจริงจัง รวมทั้งตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่
แนวทางการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ
การศึกษาครั้งนี้ พบประเด็นที่น่าสนใจยิ่งต่อการรวมกลุ่มกัน คือ ในชุมชนใดที่เข้มแข็งสามารถดำเนินงานจนประสบผลสำเร็จได้นั้น ได้ดำเนินการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไปด้วนความอดทนและมีความพากเพียร มีการผลิตที่มีความพอเพียง เหมาะสมหรือพอประมาณกับกำลังกาย กำลังทรัพย์และกำลังปัญญาที่มีอยู่ โดยคนในชุมชนได้เริ่มดำเนินกิจกรรมจากเงินออมของตนและเงินทุนของชุมชนมีจิตใจที่เอื้อเฟื้อเผื้อแผ่ มีความเอื้ออาทรต่อกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ จึงส่งผลให้คนในชุมชนสามารถเรียนรู้/ฝึกฝนร่วมกัน และแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกันอยู่เสมอ
แม้ว่าแนวทางการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว จะไม่ทำให้คนในชุมชนมีความร่ำรวย แต่ทุกคนต่างมีความสุขมากขึ้น เมื่อคนในชุมชนส่วนใหญ่มีความสุขแล้ว ก็มีความปรารถนาที่จะทำให้ชุมชนเกิดความน่าอยู่โดยหันหน้ามาร่วมกันดำเนินกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์มากขึ้น รวมทั้งร่วมกันจัดระเบียบขึ้นภายในชุมชน อาทิ สร้างถนนคอนกรีต กั้นรั้วให้เป็นสัดส่วน และร่วมกันดูแลผู้สูงอายุ ส่งผลให้เกิดความสงบความสันติสุขขึ้นภายในชุมชน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 5 พฤษภาคม 2544--
-สส-