สำนักพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต จัดทำโครงการนำร่องการจัดทำแผนที่ทุนทางสังคม และโครงการศึกษาและรวบรวมภูมิปัญญาช่างเครื่องเงินฯ
นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่าสำนักพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ได้รับการสนับสนุนงบประมาณปี 2548 จากค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ เพื่อดำเนินงานผลักดันยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2 โครงการ ดังนี้
1. โครงการนำร่องการจัดทำแผนที่ทุนทางสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลทุนทางสังคมในพื้นที่อย่างเป็นระบบในลักษณะของแผนที่ทุนทางสังคม (Social Capital Mapping) เพื่อประเมินสถานภาพทุนทางสังคมและนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาทุนทางสังคมในพื้นที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยจะดำเนินการในจังหวัดนำร่อง 2 แห่ง ได้แก่ กาญจนบุรีและพะเยา
ทั้งนี้ ได้มอบให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการร่วมกับภาคีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยมีกิจกรรมสำคัญๆ คือ การจัดเวทีกระบวนการเพื่อสืบค้นรวบรวมทุนทางสังคมในพื้นที่ การวิเคราะห์ศักยภาพ ปัญหาและความต้องการของชุมชนเพื่อคัดเลือกประเด็นในการนำทุนทางสังคมของพื้นที่มาใช้ประโยชน์ การวิเคราะห์บทเรียนและการจัดทำประมวลสรุปผลและข้อเสนอเพื่อการขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
2. โครงการศึกษาและรวบรวมภูมิปัญญาช่างเครื่องเงินเพื่อการอนุรักษ์ต่อยอดและพัฒนาให้เป็นระบบสากล เพื่อดำเนินการอนุรักษ์องค์ความรู้ด้านทุนทางปัญญาและวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูลและเทคนิควิธีการทำเครื่องประดับเงินแบบดั้งเดิม เป็นการพัฒนาการจัดการภูมิปัญญาที่อยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) ถ่ายทอดออกมาเป็นความรู้ที่เปิดเผย (Explicit Knowledge) มีการจัดระบบองค์ความรู้อย่างเป็นระบบและสามารถเข้าถึงได้สะดวก รวมทั้งการพัฒนาต่อยอดโดยการพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสากลและเป็นที่นิยม สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งนี้ ได้มอบให้กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยดำเนินการ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่าสำนักพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ได้รับการสนับสนุนงบประมาณปี 2548 จากค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ เพื่อดำเนินงานผลักดันยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2 โครงการ ดังนี้
1. โครงการนำร่องการจัดทำแผนที่ทุนทางสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลทุนทางสังคมในพื้นที่อย่างเป็นระบบในลักษณะของแผนที่ทุนทางสังคม (Social Capital Mapping) เพื่อประเมินสถานภาพทุนทางสังคมและนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาทุนทางสังคมในพื้นที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยจะดำเนินการในจังหวัดนำร่อง 2 แห่ง ได้แก่ กาญจนบุรีและพะเยา
ทั้งนี้ ได้มอบให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการร่วมกับภาคีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยมีกิจกรรมสำคัญๆ คือ การจัดเวทีกระบวนการเพื่อสืบค้นรวบรวมทุนทางสังคมในพื้นที่ การวิเคราะห์ศักยภาพ ปัญหาและความต้องการของชุมชนเพื่อคัดเลือกประเด็นในการนำทุนทางสังคมของพื้นที่มาใช้ประโยชน์ การวิเคราะห์บทเรียนและการจัดทำประมวลสรุปผลและข้อเสนอเพื่อการขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
2. โครงการศึกษาและรวบรวมภูมิปัญญาช่างเครื่องเงินเพื่อการอนุรักษ์ต่อยอดและพัฒนาให้เป็นระบบสากล เพื่อดำเนินการอนุรักษ์องค์ความรู้ด้านทุนทางปัญญาและวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูลและเทคนิควิธีการทำเครื่องประดับเงินแบบดั้งเดิม เป็นการพัฒนาการจัดการภูมิปัญญาที่อยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) ถ่ายทอดออกมาเป็นความรู้ที่เปิดเผย (Explicit Knowledge) มีการจัดระบบองค์ความรู้อย่างเป็นระบบและสามารถเข้าถึงได้สะดวก รวมทั้งการพัฒนาต่อยอดโดยการพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสากลและเป็นที่นิยม สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งนี้ ได้มอบให้กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยดำเนินการ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-