เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2544 นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพร้อมคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ให้การต้อนรับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายจตุรนต์ ฉายแสง และคณะที่ได้มาเยี่ยมชมสำนักงานฯ และได้รับนโยบายและแนวทางในการปฎิบัติงานแก่ สศช.
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่ารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับมอบหมายให้มาทำงานร่วมกับ สศช.ซึ่งเป็นมันสมองของประเทศและเป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพโดยในระยะที่ผ่านมากล่าวได้ว่า สศช.เป็นหน่วยงานวางแผนหลัก และมีบทบาทในการพัฒนาประเทศสูง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น สศช.ควรจะต้องสวมบทบาทของตนเองให้เข้มข้นยิ่งขึ้น เกี่ยวกับบทบาทในการเสนอหรือกำหนดกรอบทิศทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ บทบาทในการประเมินสถานการณ์ การนำเสนอปัญหาที่สำคัญทางเศรษฐกิจ รวมทั้งติดตามผลการพัฒนาในเชิงภาพรวมที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศ และนโยบายรัฐบาล
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า บทบาทที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือการติดตามปัญหาทางเศรษฐกิจที่เป็นปัญหาใหญ่ ๆ เช่น การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด หนี้สาธารณะ และผลกระทบของการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งให้ สศช.จำกัดเรื่องที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการที่เป็นเรื่องเฉพาะให้น้อยลง เพื่อจะได้มีเวลาทำงานในเรื่องสำคัญใหม่ ๆ มากขึ้น
นอกจากนั้นของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขอให้มีการสร้างความเข้าใจในหมู่ประชาชนให้มากขึ้นว่าสภาที่ปรึกษาฯ คืออะไร มีบทบาทและมีความสำคัญอย่างไร และประชาชนมีส่วนร่วมผลักดันได้อย่างไร
ส่วนเรื่องที่ถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน คือ การจัดทำแผน 9 ซึ่งได้ดำเนินการยกร่างโดยผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนแล้ว เมื่อมีสภาที่ปรึกษาฯ เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ สภาที่ปรึกษาฯ ก็จะมีหน้าที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนดังกล่าว ต่อจากนั้นจะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา สศช. ดำเนินการจัดทำแผนฯ 9 มีสอดคล้องกับความเห็นของสภาที่ปรีกษาฯ และนโยบายรัฐบาล
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวในที่สุดว่า สำหรับเรื่องการแถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศรายไตรมาส (QGDP) ต่อสื่อมวลชนของ สศช. ให้แถลงและชี้แจงได้โดยอิสระ ไม่ต้องรายงานฝ่ายการเมืองก่อน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 3/มีนาคม 2544--
-สส-
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่ารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับมอบหมายให้มาทำงานร่วมกับ สศช.ซึ่งเป็นมันสมองของประเทศและเป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพโดยในระยะที่ผ่านมากล่าวได้ว่า สศช.เป็นหน่วยงานวางแผนหลัก และมีบทบาทในการพัฒนาประเทศสูง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น สศช.ควรจะต้องสวมบทบาทของตนเองให้เข้มข้นยิ่งขึ้น เกี่ยวกับบทบาทในการเสนอหรือกำหนดกรอบทิศทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ บทบาทในการประเมินสถานการณ์ การนำเสนอปัญหาที่สำคัญทางเศรษฐกิจ รวมทั้งติดตามผลการพัฒนาในเชิงภาพรวมที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศ และนโยบายรัฐบาล
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า บทบาทที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือการติดตามปัญหาทางเศรษฐกิจที่เป็นปัญหาใหญ่ ๆ เช่น การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด หนี้สาธารณะ และผลกระทบของการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งให้ สศช.จำกัดเรื่องที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการที่เป็นเรื่องเฉพาะให้น้อยลง เพื่อจะได้มีเวลาทำงานในเรื่องสำคัญใหม่ ๆ มากขึ้น
นอกจากนั้นของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขอให้มีการสร้างความเข้าใจในหมู่ประชาชนให้มากขึ้นว่าสภาที่ปรึกษาฯ คืออะไร มีบทบาทและมีความสำคัญอย่างไร และประชาชนมีส่วนร่วมผลักดันได้อย่างไร
ส่วนเรื่องที่ถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน คือ การจัดทำแผน 9 ซึ่งได้ดำเนินการยกร่างโดยผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนแล้ว เมื่อมีสภาที่ปรึกษาฯ เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ สภาที่ปรึกษาฯ ก็จะมีหน้าที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนดังกล่าว ต่อจากนั้นจะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา สศช. ดำเนินการจัดทำแผนฯ 9 มีสอดคล้องกับความเห็นของสภาที่ปรีกษาฯ และนโยบายรัฐบาล
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวในที่สุดว่า สำหรับเรื่องการแถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศรายไตรมาส (QGDP) ต่อสื่อมวลชนของ สศช. ให้แถลงและชี้แจงได้โดยอิสระ ไม่ต้องรายงานฝ่ายการเมืองก่อน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 3/มีนาคม 2544--
-สส-