แท็ก
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เป็นประธานเปิดการบรรยายเรื่อง "แนวโน้มการจัดการทรัพยากรน้ำสำหรับประเทศไทย" โดย นางมิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ ห้องประชุมเดช สนิทวงศ์ สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
นางมิ่งสรรพ์ กล่าวถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมี่ผ่านมาว่าส่วนใหญ่เน้นไปที่การจัดหาน้ำสำหรับฤดูแล้งเป็นหลัก จากการเพิ่มของประชากรและการขยายตัวทางเศรษฐกิตได้ส่งผลให้ความต้องการน้ำเพิ่มขึ้น ในขณะที่หน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ในการจัดหาน้ำคือ กรมชลประทาน ไม่สามารถจัดหาน้ำได้เพียงพอกับความต้องการ อีกทั้งการใช้น้ำในปัจจุบันเป็นลักษณะเปิดเสรีสามารถเข้าถึงได้ง่าย ในภาวะที่น้ำขาดแคลนจึงก่อให้เกิดปัญหาแย่งชิงการใช้น้ำ ประกอบกับการบริหารทรัพยากรน้ำที่ผ่านมาขาดเอกภาพ ขาดเครื่องมือและขาดความรู้และความเข้าใจในการบริหารจัดการน้ำ นอกจากนี้แนวทางการแก้ไขปัญหาส่วนใหญ่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาศัยเครื่องมือทางวิศวกรรมและกฎหมายโดยขาดมติทางสังคม แม้จะได้มีการพยายามแก้ไขปัญหา โดยการจัดทำร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ ตั้งคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติและคณะกรรมการลุ่มน้ำขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เนื่องจากหน่วยงานที่รับผิดชอบขีดความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีการประสานงานกันอย่างเป็นระบบ
นางมิ่งสรรพ์ กล่าวต่อไปว่า สถานการณ์น้ำของประเทศไทยจะมีแนวโน้มตึงตัวตลอด 20 ปี ข้างหน้า และตึงตัวสูงสุดปลายทศวรรษนี้ (พ.ศ.2549) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทำให้ปลูกข้าวได้มากขึ้นในฤดูแล้ง รวมทั้งเกษตรกรได้สำรองน้ำใต้ดินไว้ใช้ในการปลูกข้าวทำให้กรมชลประทานไม่สามารถควบคุมการใช้น้ำได้ นอกจากนี้การใช้น้ำจะเปลี่ยนแปลงตามราคาข้าวในตลาดโลก โดยถ้าข้าวราคาสูงจะมีการใช้น้ำมาก
จากการวิเคราะห์นโยบายทรัพยากรน้ำในปัจจุบันพบว่ายังขาดความเป็นธรรม ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่เอื้ออำนวยให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยมีต้นตอของปัญหาที่แท้จริงคือการเข้าถึงทรัพยากรน้ำได้โดยเสรี และร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำมุ่งแก้ปัญหาให้ภาคส่วนราชการแต่ไม่แก้ปัญหาให้แก่ราษฎร ดังนั้นแนวทางนโยบายด้านน้ำจึงต้องเป็นระบบที่ยืดหยุ่นและไม่ขึ้นกับการตัดสินใจในระดับสูง รวมทั้งต้องการการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและแก้ไขในเรื่องความเป็นธรรมก่อน
ดังนั้นเพื่อให้การจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นางมิ่งสรรพ์ ได้เสนอแนะให้มีการจัดลำดับความสำคัญของแนวทางการจัดการน้ำโดยควรให้ความสำคัญกับความเป็นธรรมเป็นอันดับแรก โดยใช้หลักธรรมภิบาล ลดความขัดแย้งและสอดคล้องกับจารีตประเพณีอันดับรองลงมา คือ การเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้หลักการใช้น้ำให้มีประโยชน์สูงสุด และอันดับสุดท้ายคือ ความยั่งยืน ซึ่งมีแนวทางการกำหนดนโยบายที่สำคัญคือ 1) ให้น้ำเป็นของประชาชน และรัฐบาลเป็นผู้ดูแลให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2) สิทธิการใช้น้ำเป็นของกลุ่ม 3) สิทธิการใช้น้ำนี้สามารถโอนได้ในระดับกลุ่ม 4) จัดตั้งเขตและคณะกรรมการจัดการน้ำ โดยให้ดำเนินการเฉพาะกลุ่มที่มีปัญหา 5) กระจายอำนาจการจัดการน้ำไปยังเขตและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาดำเนินงานขั้นต่ำอย่างน้อย 6 ปี
สำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการกักเก็บน้ำ นางมิ่งสรรพ์ เสนอว่าควรแยกรายงานการศึกษาด้านผลกระทบทางสังคมออกจากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากผลกระทบทางด้านสังคมทำให้เกิดต้นทุนโครงการสูงมาก และควรให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบได้มีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ นอกจากนี้ ควรเร่งรัดการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมปี 2535 ให้มีขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์ให้ชัดเจน และควรให้กรรมการเขตจัดการน้ำเป็นผู้ดำเนินการ
ส่วนการจัดการน้ำระหว่างประเทศนั้น ไทยยังมีข้อจำกัดในเรื่องความล้าสมัยของกฎหมายและเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำด้านอุปสงค์ การที่ประเทศไทยจะเข้าสู่เวทีระหว่างประเทศได้อย่างมั่นคงและมีศักดิ์ศรีได้นั้น ต้องลดความขัดแย้งในประเทศและปรับปรุงระบบการบริหารจัดการน้ำภายในประเทศให้ชัดเจนก่อน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 2/กุมภาพันธ์ 2544--
-สส-
นางมิ่งสรรพ์ กล่าวถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมี่ผ่านมาว่าส่วนใหญ่เน้นไปที่การจัดหาน้ำสำหรับฤดูแล้งเป็นหลัก จากการเพิ่มของประชากรและการขยายตัวทางเศรษฐกิตได้ส่งผลให้ความต้องการน้ำเพิ่มขึ้น ในขณะที่หน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ในการจัดหาน้ำคือ กรมชลประทาน ไม่สามารถจัดหาน้ำได้เพียงพอกับความต้องการ อีกทั้งการใช้น้ำในปัจจุบันเป็นลักษณะเปิดเสรีสามารถเข้าถึงได้ง่าย ในภาวะที่น้ำขาดแคลนจึงก่อให้เกิดปัญหาแย่งชิงการใช้น้ำ ประกอบกับการบริหารทรัพยากรน้ำที่ผ่านมาขาดเอกภาพ ขาดเครื่องมือและขาดความรู้และความเข้าใจในการบริหารจัดการน้ำ นอกจากนี้แนวทางการแก้ไขปัญหาส่วนใหญ่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาศัยเครื่องมือทางวิศวกรรมและกฎหมายโดยขาดมติทางสังคม แม้จะได้มีการพยายามแก้ไขปัญหา โดยการจัดทำร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ ตั้งคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติและคณะกรรมการลุ่มน้ำขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เนื่องจากหน่วยงานที่รับผิดชอบขีดความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีการประสานงานกันอย่างเป็นระบบ
นางมิ่งสรรพ์ กล่าวต่อไปว่า สถานการณ์น้ำของประเทศไทยจะมีแนวโน้มตึงตัวตลอด 20 ปี ข้างหน้า และตึงตัวสูงสุดปลายทศวรรษนี้ (พ.ศ.2549) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทำให้ปลูกข้าวได้มากขึ้นในฤดูแล้ง รวมทั้งเกษตรกรได้สำรองน้ำใต้ดินไว้ใช้ในการปลูกข้าวทำให้กรมชลประทานไม่สามารถควบคุมการใช้น้ำได้ นอกจากนี้การใช้น้ำจะเปลี่ยนแปลงตามราคาข้าวในตลาดโลก โดยถ้าข้าวราคาสูงจะมีการใช้น้ำมาก
จากการวิเคราะห์นโยบายทรัพยากรน้ำในปัจจุบันพบว่ายังขาดความเป็นธรรม ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่เอื้ออำนวยให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยมีต้นตอของปัญหาที่แท้จริงคือการเข้าถึงทรัพยากรน้ำได้โดยเสรี และร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำมุ่งแก้ปัญหาให้ภาคส่วนราชการแต่ไม่แก้ปัญหาให้แก่ราษฎร ดังนั้นแนวทางนโยบายด้านน้ำจึงต้องเป็นระบบที่ยืดหยุ่นและไม่ขึ้นกับการตัดสินใจในระดับสูง รวมทั้งต้องการการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและแก้ไขในเรื่องความเป็นธรรมก่อน
ดังนั้นเพื่อให้การจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นางมิ่งสรรพ์ ได้เสนอแนะให้มีการจัดลำดับความสำคัญของแนวทางการจัดการน้ำโดยควรให้ความสำคัญกับความเป็นธรรมเป็นอันดับแรก โดยใช้หลักธรรมภิบาล ลดความขัดแย้งและสอดคล้องกับจารีตประเพณีอันดับรองลงมา คือ การเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้หลักการใช้น้ำให้มีประโยชน์สูงสุด และอันดับสุดท้ายคือ ความยั่งยืน ซึ่งมีแนวทางการกำหนดนโยบายที่สำคัญคือ 1) ให้น้ำเป็นของประชาชน และรัฐบาลเป็นผู้ดูแลให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2) สิทธิการใช้น้ำเป็นของกลุ่ม 3) สิทธิการใช้น้ำนี้สามารถโอนได้ในระดับกลุ่ม 4) จัดตั้งเขตและคณะกรรมการจัดการน้ำ โดยให้ดำเนินการเฉพาะกลุ่มที่มีปัญหา 5) กระจายอำนาจการจัดการน้ำไปยังเขตและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาดำเนินงานขั้นต่ำอย่างน้อย 6 ปี
สำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการกักเก็บน้ำ นางมิ่งสรรพ์ เสนอว่าควรแยกรายงานการศึกษาด้านผลกระทบทางสังคมออกจากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากผลกระทบทางด้านสังคมทำให้เกิดต้นทุนโครงการสูงมาก และควรให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบได้มีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ นอกจากนี้ ควรเร่งรัดการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมปี 2535 ให้มีขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์ให้ชัดเจน และควรให้กรรมการเขตจัดการน้ำเป็นผู้ดำเนินการ
ส่วนการจัดการน้ำระหว่างประเทศนั้น ไทยยังมีข้อจำกัดในเรื่องความล้าสมัยของกฎหมายและเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำด้านอุปสงค์ การที่ประเทศไทยจะเข้าสู่เวทีระหว่างประเทศได้อย่างมั่นคงและมีศักดิ์ศรีได้นั้น ต้องลดความขัดแย้งในประเทศและปรับปรุงระบบการบริหารจัดการน้ำภายในประเทศให้ชัดเจนก่อน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 2/กุมภาพันธ์ 2544--
-สส-