การแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติในระยะที่ผ่านมา มักเป็นไปในลักษณะที่แยกส่วน คือ ต่างหน่วยต่างคิด ต่างหน่วยต่างทำ ยึดตามหน้าที่ของหน่วยงานเป็นหลัก จึงทำให้ขาดพลัง ขาดความเข้มแข็ง ขาดความเชื่อมโยงของการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายของแผนได้อย่างเต็มที่ แม้ว่าในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ จะเริ่มให้ความสำคัญกับการปรับกระบวนทรรศน์การพัฒนาใหม่ มาสู่การพัฒนาที่เป็นองค์รวม มุ่งปรับวิธีการคิดให้เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ปรับวิธีการทำงานที่ยึดภารกิจร่วมกัน และทำงานแบบมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบ แต่ในทางปฏิบัติก็ยังไม่บังเกิดผลเท่าที่ควร ประกอบกับโครงสร้างระบบบริหารราชการ ตลอดจนทัศนคติ ค่านิยมของคนยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ทันทีทันใดและเป็นอุปสรรคต่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติอยู่มาก
ดังนั้น ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จึงต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยจะต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับสูงต่อการผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงาน รวมทั้งการสร้างพลังสังคมในทางบวก ซึ่งหมายถึงการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม สร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ จากการเปลี่ยนแปลง อันได้แก่ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงที่ผ่านมา การร่วมกันวิเคราะห์ โอกาส ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งจุดอ่อน จุดแข็ง มีการกำหนดภารกิจ ยุทธศาสตร์ รวมทั้งแผนปฏิบัติการในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ และมีเนื้อหาสาระเพื่อสร้างพลังร่วมให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีความเชื่อมโยงกัน มีความเข้มแข็งเพียงพอ มีความเข้าใจ มองเห็น ตระหนัก รู้ และรับเอาภารกิจการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ไปดำเนินการสู่การปฏิบัติ มีการจัดทำแผนปฏิบัติการในทุกระดับที่เชื่อมโยงกัน ภายใต้หลักการที่ยึดพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วม ตลอดจนปรับปรุงระบบ กลไก แก้ไขระเบียบปฏิบัติต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาระบบข้อมูลและการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อสามารถปรับปรุงแนวทางดำเนินการให้เหมาะสม ทำให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ บังเกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
๑ วัตถุประสงค์
เพื่อให้การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผลบังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์การดำเนินการไว้ ดังนี้
๑.๑ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานใหม่ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ตลอดจนองค์ความรู้ ความเข้าใจให้แก่ทุกภาคส่วนในสังคมไทยได้ตระหนักในความสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ และมีส่วนร่วมในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติในทุกระดับ
๑.๒ เพื่อปรับกระบวนการและกลไกการบริหารจัดการให้สามารถสนับสนุนการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ เชื่อมโยงสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการในทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม
๑.๓ เพื่อให้มีการติดตามประเมินผลการพัฒนาอย่างเป็นระบบ โดยมีการจัดทำดัชนีเครื่องชี้วัดเป็นเครื่องมือในการติดตามประเมินผล๒ เป้าหมาย
ภายใต้วัตถุประสงค์การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ ได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้
๒.๑ ทุกภาคส่วนในสังคมไทยมีความเข้าใจในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการแปลงแผนสู่การปฏิบัติทุกขั้นตอน และติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในทุกระดับ
๒.๒ มีกลไกและกระบวนการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ มีการจัดทำแผนปฏิบัติการในระดับยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของหน่วยงานปฏิบัติในทุกระดับ ทั้งระดับกระทรวง ระดับพื้นที่ ระดับท้องถิ่น และระดับชุมชน
๒.๓ สร้างเครื่องชี้วัดผลสำเร็จการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีความต่อเนื่องเป็นระบบ
๓ แนวทางการดำเนินการ
การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผลจะบังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมได้นั้น จำเป็นจะต้องเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีทำงานอย่างจริงจังจากการคิดแยกส่วนมาเป็นบูรณาการ จากต่างคนต่างทำตามหน้าที่มาเป็นมุ่งภารกิจร่วมกัน และต้องระดมพลังร่วมจากทุกภาคส่วนมาร่วมกันดำเนินการอย่างจริงจังต่อเนื่อง โดยเริ่มจากกระบวนการสร้างความเข้าใจในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ไปพร้อมกับการสร้างองค์ความรู้และสร้างสภาวะผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกัน ต้องมีการบริหารยุทธศาสตร์ พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการในระดับต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันและเชื่อมกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ภายใต้หลักการที่ยึดพื้นที่ ภารกิจ การมีส่วนร่วม โดยเฉพาะการจัดทำแผนแม่บทหรือแผนหลักและแผนปฏิบัติการในทุกระดับ และจำเป็นต้องเร่งปรับปรุงกลไกและบทบาทของหน่วยงานกลางให้มีการประสานความร่วมมือ สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยปฏิบัติ ที่สำคัญที่สุดต้องมีการปรับระบบการจัดสรรงบประมาณที่เน้นผลสัมฤทธิ์กระจายสู่ท้องถิ่นชุมชนอย่างสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ ควบคู่ไปกับการผลักดันให้ภาครัฐสร้างการมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาเพื่อลดความขัดแย้งในสังคม และพัฒนาระบบและกลไกติดตามประเมินผล สร้างดัชนีชี้วัดระดับต่างๆ ตลอดจนพัฒนาระบบฐานข้อมูล และโครงข่ายข้อมูลข่าวสารในทุกระดับ โดยมีแนวทางดำเนินการตามลำดับความสำคัญ ดังต่อไปนี้
๓.๑ เสริมสร้างความเข้าใจในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ พร้อมสร้างองค์ความรู้ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างความรู้ สร้างวิธีการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ให้คนในสังคมไทยมีความเข้าใจ มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีขีดความสามารถ มีความพร้อมและมีส่วนร่วมในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม โดย
(๑) ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรเพื่อเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์ให้มีขีดความสามารถสูงเพียงพอในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม และเป็นผู้นำในการเชื่อมโยงเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสังคม เพื่อก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานของบุคคล ชุมชน และหน่วยงานต่างๆ โดยให้มีการพัฒนาบุคลากรและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการวิจัยเชิงนโยบายอย่างต่อเนื่อง
(๒) ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาและหน่วยงานฝึกอบรมต่างๆ จัดให้มีการเรียนการสอนและให้ความสำคัญต่อการวิจัยและพัฒนาการสร้างพลังองค์กร โดยเน้นการบริหารการเปลี่ยนแปลง การสร้างกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงจากบทเรียนที่ผ่านมา โดยใช้กระบวนการร่วมคิด ร่วมทำอย่างเข้มข้น เพื่อสร้างความยั่งยืนของการคิดใหม่ ทำใหม่ และร่วมกระบวนการเดียวกันในการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ สู่ภาคปฏิบัติอย่างแท้จริง
(๓) ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่องค์ความรู้และประชาสัมพันธ์ในสังคมไทยให้ได้รับทราบ และเรียนรู้ถึงความเคลื่อนไหวในกระบวนการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ไปสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการสร้างความเข้าใจให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มและใช้สื่อที่หลากหลายเหมาะสมสอดคล้องกับวัฒนธรรมของภูมิภาคและท้องถิ่น เช่น สื่อพื้นบ้านหรือสื่อท้องถิ่นต่างๆ
๓.๒ ให้มีการบริหารยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ อย่างจริงจัง พร้อมไปกับพัฒนากระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการในระดับต่างๆ ที่มีความเชื่อมโยงกัน ภายใต้หลักการที่ยึดพื้นที่ ภารกิจ การมีส่วนร่วมและมีการจัดลำดับความสำคัญ เพื่อเป็นเครื่องมือในการประสานแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดย
(๑) ผลักดันให้เกิดการบริหารยุทธศาสตร์ในลักษณะที่เป็นองค์รวม มุ่งผลสัมฤทธิ์ ภายใต้การหนุนนำอย่างต่อเนื่องและจริงจังจากฝ่ายบริหารประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการประสานและทำงานในแนวราบระหว่างหน่วยงานมากขึ้น สนับสนุนให้มีกลไกเชิงยุทธศาสตร์ช่วยขับเคลื่อนและเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงาน รวมทั้งให้มีการจัดทำแผนการจัดสรรทรัพยากรภาครัฐ เพื่อชี้นำทิศทางการลงทุนที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
(๒) สนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทหรือแผนหลัก ที่มีลักษณะเป็นแผนเฉพาะเรื่องอย่างเป็นองค์รวม โดยเลือกดำเนินการในเรื่องที่มีลำดับความสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ และเป็นเรื่องต้องอาศัยการประสานความร่วมมือจากหลายหน่วยงานมาร่วมดำเนินการอย่างมีบูรณาการ โดยแผนแม่บทหรือแผนหลักควรเป็นแผนระยะ ๕ ปี จัดทำโดยหน่วยงานเจ้าของเรื่องและผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ มีหน่วยงานกลางเป็นผู้ประสานแนวทางในการจัดทำ มีสาระที่สอดคล้องเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ มาสู่แนวดำเนินการในขั้นปฏิบัติที่มีแผนงานรองรับและมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน รวมทั้งมีกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผน
(๓) สนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการของหน่วยงานระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ ที่เชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ กับภารกิจของหน่วยงานและการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่ โดยเปิดโอกาสให้ผู้รับผิดชอบทั้งด้านนโยบายและปฏิบัติมีการเรียนรู้และเข้าใจในกระบวนการวางแผนแบบบูรณาการ ที่ต้องมีการประสานงานในแนวราบระหว่างหน่วยงานให้มากขึ้น โดยแผนปฏิบัติการควรมีระยะเวลาไม่เกิน ๓ ปี มีสาระที่บ่งชี้ถึงหลักการ เหตุผล วิสัยทัศน์การพัฒนา วัตถุประสงค์ เป้าหมายและภารกิจหลัก ตลอดจนสาระรายละเอียดของแผนงาน โครงการ มาตรการ มีสัดส่วนการใช้ทรัพยากรการเงินจากแหล่งต่างๆ มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และมีการจัดลำดับความสำคัญรวมทั้งมีแนวทางในการติดตามประเมินผล
(๔) สนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการในระดับชุมชนและระดับท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติการในระดับที่สูงกว่า โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ร่วมกัน ดังนี้
(๔.๑) ส่งเสริมกระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชุมชนที่สอดคล้องกับศักยภาพ สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงตามความต้องการของชุมชนและประชาสังคมแต่ละแห่ง เป็นแผนปฏิบัติการที่ชุมชนร่วมคิด ร่วมค้นหาศักยภาพ และปัญหา ร่วมกันกำหนดความมุ่งหวังเพื่อวางแผนงาน กิจกรรมและดำเนินการร่วมกันบนพื้นฐานการพึ่งตนเอง เสริมด้วยการเกื้อหนุนจากภาครัฐและภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๔.๒) ประสานเชื่อมโยงแผนปฏิบัติการระดับชุมชนเข้ากับกระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับท้องถิ่น เพื่อให้แผนปฏิบัติการระดับท้องถิ่นมีความชัดเจน สอดคล้องกับศักยภาพของท้องถิ่น รวมทั้งตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและประชาชนในแต่ละท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง โดยลักษณะของแผนปฏิบัติการระดับท้องถิ่นควรมีระยะเวลาไม่เกิน ๓ ปี มีสาระรายละเอียดแผนงาน โครงการ และมาตรการ มีแนวทางในการติดตามประเมินผล รวมทั้งมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนและมีสัดส่วนการใช้ทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ โดยเน้นการพึ่งพาทรัพยากรในท้องถิ่นและชุมชนของตนเป็นหลัก เสริมด้วยทรัพยากรจากแหล่งภายนอก
(๕) วางหลักเกณฑ์เบื้องต้นสำหรับการพิจารณาจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนงานที่สอดคล้องตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ เพื่อหน่วยงานทุกระดับสามารถใช้ประโยชน์ในการพิจารณาจัดทำแผนปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักเกณฑ์สำคัญ ดังนี้
(๕.๑) ยึดแนวคิดและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและมีคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
(๕.๒) มีเป้าหมายที่มุ่งแก้ปัญหาความยากจน ดูแลผู้ด้อยโอกาส และกระจายรายได้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย
(๕.๓) เป็นการพัฒนาที่มีความสมดุลและยั่งยืนบนพื้นฐานการพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด ทั้งในด้านกระบวนการผลิต การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสังคมไทย การใช้ทรัพยากรและการดูแลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(๕.๔) มีการแบ่งบทบาท ภารกิจ และความร่วมมือที่ส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรในภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนอย่างเหมาะสม
(๕.๕) มีแผนงาน โครงการ และมาตรการ ตลอดจนขั้นตอนกระบวนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีการจัดลำดับความสำคัญของภารกิจและกิจกรรมที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลในการดำเนินงาน รวมทั้งปรับลดหรือระงับโครงการที่ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายหรือหมดความจำเป็นในการดำเนินการ เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
(๕.๖) การดำเนินแผนงานโครงการขนาดใหญ่ ต้องคำนึงถึงความจำเป็น ประโยชน์โดยรวม ความเหมาะสม ความพร้อม ขีดความสามารถในการลงทุน รวมทั้งผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจส่วนรวม สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชนในสังคม ต้องมีกระบวนการจัดเตรียมและนำเสนอโครงการที่สมบูรณ์ โปร่งใสตามหลักการบริหารจัดการที่ดี และเป็นไปตามขั้นตอนระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมนับแต่เริ่มต้นโครงการ มีกระบวนการสร้างความเข้าใจในหลายรูปแบบที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเข้าถึงกลุ่มคนทุกระดับได้
(๕.๗) ผลที่ได้จากดำเนินแผนงาน โครงการ และมาตรการจะต้องตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ สามารถติดตามและประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรม มีเครื่องชี้วัดผลสำเร็จและผลกระทบที่เกิดขึ้น
๓.๓ ปรับปรุงกลไกและบทบาทของภาคส่วนต่างๆ ในสังคม เพื่อสนับสนุนกระบวนการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ โดย
(๑) ประสานความร่วมมือและปรับบทบาทของหน่วยงานกลางให้สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ โดยส่งเสริมให้มีการทำงานเป็นทีมงาน มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานในแนวราบมากขึ้น มีการประสานแผนงาน แผนเงิน และแผนคนอย่างมีบูรณาการ ควบคู่กับการปรับระบบการจัดสรรงบประมาณที่เน้นผลสัมฤทธิ์กระจายลงสู่ท้องถิ่นชุมชนอย่างสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ โดยยึดพื้นที่ ภารกิจ การมีส่วนร่วม
(๒) สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐในระดับปฏิบัติจัดทำแผนแม่บทหรือแผนหลักเฉพาะเรื่อง เฉพาะสาขา ในเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็น รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ โดยจัดทำแผนงานโครงการในลักษณะบูรณาการที่ประสานระหว่างหน่วยงาน มีการจัดลำดับความสำคัญ และมีเครื่องชี้วัดประสิทธิผลการพัฒนาในระดับแผนงานโครงการและองค์กร
(๓) สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดมความร่วมมือจากชุมชนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ประสานจัดทำแผนปฏิบัติการในระดับท้องถิ่นให้สอดคล้องตามศักยภาพ ขีดความสามารถของท้องถิ่น รวมทั้งตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน ภายใต้กรอบทิศทางของแผนปฏิบัติการระดับกระทรวง ทบวง กรม และสอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙
(๔) ส่งเสริมให้ภาคประชาชนและชุมชนร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชุมชน ที่กำหนดแนวทางการพัฒนาโดยชุมชนและเพื่อชุมชน ให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ โดยชุมชนวิเคราะห์ศักยภาพและปัญหาของชุมชนร่วมกัน นำมากำหนดเป็นแผนการดำเนินงานที่นำไปปฏิบัติได้จริง มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละชุมชนที่แตกต่างกันไป โดยพึ่งพาทรัพยากรภายในชุมชนเป็นลำดับแรกและประสานขอรับการสนับสนุนในส่วนที่เกินขีดความสามารถจากภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๕) ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาและนักวิชาการเป็นแกนประสานเครือข่ายทางวิชาการ เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการและเทคนิควิธีการจัดทำแผน รวมตลอดทั้งการแปลงแผนสู่การปฏิบัติแก่หน่วยงานต่างๆ และภาคีการพัฒนาในทุกระดับ
(๖) สนับสนุนสื่อมวลชนทำหน้าที่เป็นสื่อกลางที่มีคุณภาพในการสร้างสรรค์ความสามัคคีในสังคม สร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการถ่ายทอดความรู้ สะท้อนปัญหาและความต้องการของประชาชนสู่สาธารณะอย่างสร้างสรรค์
๓.๔ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนควบคู่กับการลดความขัดแย้งในสังคมอันเนื่องมาจากการดำเนินโครงการพัฒนา เพื่อให้สามารถประสานแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติได้อย่างราบรื่นสัมฤทธิผลและเกิดความสงบสุขสามัคคีในสังคม โดย
(๑) ผลักดันให้ภาครัฐสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นโครงการและต่อเนื่องในขั้นการศึกษารายละเอียด การนำเสนอและตัดสินใจในโครงการ รวมทั้งขั้นการดำเนินโครงการและติดตามประเมินผล โดยเลือกใช้รูปแบบวิธีการที่หลากหลาย มีความเหมาะสมกับประเภทโครงการ สถานการณ์ สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิต สามารถเข้าถึงกลุ่มคนทุกระดับได้อย่างทั่วถึงเพื่อป้องกันและลดความขัดแย้งในสังคม
(๒) สนับสนุนให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเผยแพร่ให้ความรู้ที่ถูกต้อง รวมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการที่ครบถ้วนเป็นระยะๆ ต่อเนื่องและทั่วถึง เพื่อสร้างความเชื่อถือและไว้วางใจจากประชาชน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนรับรู้ สามารถให้ข้อเสนอแนะต่อโครงการ
(๓) ปรับบทบาทและทัศนคติของภาครัฐ ให้สามารถปฏิบัติงานป้องกันแก้ไขข้อขัดแย้งในสังคมด้วยสันติวิธี โดย
(๓.๑) ทุกส่วนราชการยึดหลักการดำเนินงานที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุมีผล และมีความจริงใจในการทำงานร่วมกับประชาชน ใช้ทั้งหลักรัฐศาสตร์ควบคู่กับหลักนิติศาสตร์ในการป้องกันแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งในสังคม
(๓.๒) ส่งเสริมการใช้ฉันทานุมัติในการแก้ไขปัญหาแทนการใช้เสียงข้างมากและเผยแพร่มติข้อตกลงให้ประชาชนรู้อย่างเปิดเผยและกว้างขวาง
(๔) ส่งเสริมให้มีหลักสูตรการเรียน การสอน และการฝึกอบรม "การใช้สันติวิธีแก้ไขข้อขัดแย้ง" ควบคู่กับจัดทำคู่มือทางเลือกในการแก้ไขข้อขัดแย้งที่ชัดเจน เพื่อเผยแพร่ให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างกว้างขวาง
(๕) สนับสนุนบทบาทของกลไกสาธารณะ หรือหน่วยงานที่มีความเป็นกลาง มีความอิสระเป็นที่เชื่อถือและยอมรับของสังคม และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินการ ให้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจรจาทำความตกลงหาข้อยุติที่ยอมรับร่วมกันได้ และสามารถยุติปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่
๓.๕ พัฒนาระบบและกลไกการติดตามประเมินผลและสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนาในทุกระดับ ให้สอดคล้องกับกระบวนการปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่และการมีส่วนร่วมของประชาชน โดย
(๑) ประสานวางระบบการติดตามประเมินผลงานและตรวจสอบผลงานของหน่วยงานกลางให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกัน มีเกณฑ์ชี้วัดประเมินผลงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถนำมาเป็นข้อมูลในการประสานแผนงาน แผนเงิน และแผนคนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
(๒) สนับสนุนให้หน่วยปฏิบัติทุกระดับดำเนินการติดตามประเมินผลแผนงานโครงการ สร้างเกณฑ์ชี้วัดและระบบประเมินผลงานขององค์กรที่เน้นผลลัพธ์ของงาน เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและติดตามประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานมากขึ้น รวมทั้งให้มีการนำข้อมูลที่ได้จากการติดตามประเมินผลมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงแผนงานโครงการประจำปีโดยต่อเนื่อง
(๓) พัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒนาต่อเนื่องจากที่ดำเนินการในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ โดยเฉพาะในระดับภาพรวมหรือผลกระทบขั้นสุดท้าย ระดับยุทธศาสตร์ และการพัฒนาเฉพาะด้าน ให้เป็นรูปธรรมมีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสภาพการณ์เปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการยอมรับของทุกฝ่ายและนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างกว้างขวาง
(๔) พัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องการติดตามประเมินผลการพัฒนาและการจัดทำดัชนีชี้วัดให้แก่หน่วยงานปฏิบัติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชน โดยใช้กระบวนการฝึกอบรม เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน เพื่อสร้างทักษะในการติดตามประเมินผล และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม
(๕) จัดให้มีการระดมความคิดและมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลการพัฒนาในระดับภูมิภาคและระดับชาติเป็นประจำปี โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง
๓.๖ ส่งเสริมการจัดทำฐานข้อมูลและการพัฒนาโครงข่ายข้อมูลข่าวสารในระดับต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจและการบริหารจัดการการพัฒนา โดย
(๑) พัฒนาระบบโครงข่ายข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานระดับนโยบาย เพื่อติดตามตรวจสอบการดำเนินนโยบายสำคัญๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของฐานข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
(๒) ประสานความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น ให้การสนับสนุนด้านวิชาการแก่ท้องถิ่นและชุมชนในการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการวางแผน และใช้ประโยชน์เพื่อการติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการพัฒนา ทั้งนี้ การบริหารจัดการฐานข้อมูลจะต้องยึดการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในท้องถิ่นและชุมชนเป็นหลัก
(๓) สนับสนุนการจัดทำฐานข้อมูลระดับชุมชนและท้องถิ่น รวมทั้งข้อมูลข่าวสารที่บ่งชี้ศักยภาพบุคคล องค์กรชุมชน ชุมชน และประชาสังคม อย่างเป็นระบบภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
(๔) ส่งเสริมการเชื่อมโยงโครงข่ายข้อมูลระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและท้องถิ่น ให้เป็นระบบที่เข้าถึงได้ง่ายและใช้ประโยชน์ได้สะดวก เพื่อให้ทุกฝ่ายมีข้อมูลทันสมัยที่ถูกต้องแม่นยำ เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในระดับต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
ดังนั้น ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จึงต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยจะต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับสูงต่อการผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงาน รวมทั้งการสร้างพลังสังคมในทางบวก ซึ่งหมายถึงการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม สร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ จากการเปลี่ยนแปลง อันได้แก่ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงที่ผ่านมา การร่วมกันวิเคราะห์ โอกาส ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งจุดอ่อน จุดแข็ง มีการกำหนดภารกิจ ยุทธศาสตร์ รวมทั้งแผนปฏิบัติการในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ และมีเนื้อหาสาระเพื่อสร้างพลังร่วมให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีความเชื่อมโยงกัน มีความเข้มแข็งเพียงพอ มีความเข้าใจ มองเห็น ตระหนัก รู้ และรับเอาภารกิจการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ไปดำเนินการสู่การปฏิบัติ มีการจัดทำแผนปฏิบัติการในทุกระดับที่เชื่อมโยงกัน ภายใต้หลักการที่ยึดพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วม ตลอดจนปรับปรุงระบบ กลไก แก้ไขระเบียบปฏิบัติต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาระบบข้อมูลและการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อสามารถปรับปรุงแนวทางดำเนินการให้เหมาะสม ทำให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ บังเกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
๑ วัตถุประสงค์
เพื่อให้การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผลบังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์การดำเนินการไว้ ดังนี้
๑.๑ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานใหม่ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ตลอดจนองค์ความรู้ ความเข้าใจให้แก่ทุกภาคส่วนในสังคมไทยได้ตระหนักในความสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ และมีส่วนร่วมในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติในทุกระดับ
๑.๒ เพื่อปรับกระบวนการและกลไกการบริหารจัดการให้สามารถสนับสนุนการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ เชื่อมโยงสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการในทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม
๑.๓ เพื่อให้มีการติดตามประเมินผลการพัฒนาอย่างเป็นระบบ โดยมีการจัดทำดัชนีเครื่องชี้วัดเป็นเครื่องมือในการติดตามประเมินผล๒ เป้าหมาย
ภายใต้วัตถุประสงค์การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ ได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้
๒.๑ ทุกภาคส่วนในสังคมไทยมีความเข้าใจในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการแปลงแผนสู่การปฏิบัติทุกขั้นตอน และติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในทุกระดับ
๒.๒ มีกลไกและกระบวนการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ มีการจัดทำแผนปฏิบัติการในระดับยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของหน่วยงานปฏิบัติในทุกระดับ ทั้งระดับกระทรวง ระดับพื้นที่ ระดับท้องถิ่น และระดับชุมชน
๒.๓ สร้างเครื่องชี้วัดผลสำเร็จการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีความต่อเนื่องเป็นระบบ
๓ แนวทางการดำเนินการ
การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผลจะบังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมได้นั้น จำเป็นจะต้องเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีทำงานอย่างจริงจังจากการคิดแยกส่วนมาเป็นบูรณาการ จากต่างคนต่างทำตามหน้าที่มาเป็นมุ่งภารกิจร่วมกัน และต้องระดมพลังร่วมจากทุกภาคส่วนมาร่วมกันดำเนินการอย่างจริงจังต่อเนื่อง โดยเริ่มจากกระบวนการสร้างความเข้าใจในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ไปพร้อมกับการสร้างองค์ความรู้และสร้างสภาวะผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกัน ต้องมีการบริหารยุทธศาสตร์ พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการในระดับต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันและเชื่อมกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ภายใต้หลักการที่ยึดพื้นที่ ภารกิจ การมีส่วนร่วม โดยเฉพาะการจัดทำแผนแม่บทหรือแผนหลักและแผนปฏิบัติการในทุกระดับ และจำเป็นต้องเร่งปรับปรุงกลไกและบทบาทของหน่วยงานกลางให้มีการประสานความร่วมมือ สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยปฏิบัติ ที่สำคัญที่สุดต้องมีการปรับระบบการจัดสรรงบประมาณที่เน้นผลสัมฤทธิ์กระจายสู่ท้องถิ่นชุมชนอย่างสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ ควบคู่ไปกับการผลักดันให้ภาครัฐสร้างการมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาเพื่อลดความขัดแย้งในสังคม และพัฒนาระบบและกลไกติดตามประเมินผล สร้างดัชนีชี้วัดระดับต่างๆ ตลอดจนพัฒนาระบบฐานข้อมูล และโครงข่ายข้อมูลข่าวสารในทุกระดับ โดยมีแนวทางดำเนินการตามลำดับความสำคัญ ดังต่อไปนี้
๓.๑ เสริมสร้างความเข้าใจในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ พร้อมสร้างองค์ความรู้ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างความรู้ สร้างวิธีการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ให้คนในสังคมไทยมีความเข้าใจ มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีขีดความสามารถ มีความพร้อมและมีส่วนร่วมในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม โดย
(๑) ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรเพื่อเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์ให้มีขีดความสามารถสูงเพียงพอในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม และเป็นผู้นำในการเชื่อมโยงเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสังคม เพื่อก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานของบุคคล ชุมชน และหน่วยงานต่างๆ โดยให้มีการพัฒนาบุคลากรและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการวิจัยเชิงนโยบายอย่างต่อเนื่อง
(๒) ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาและหน่วยงานฝึกอบรมต่างๆ จัดให้มีการเรียนการสอนและให้ความสำคัญต่อการวิจัยและพัฒนาการสร้างพลังองค์กร โดยเน้นการบริหารการเปลี่ยนแปลง การสร้างกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงจากบทเรียนที่ผ่านมา โดยใช้กระบวนการร่วมคิด ร่วมทำอย่างเข้มข้น เพื่อสร้างความยั่งยืนของการคิดใหม่ ทำใหม่ และร่วมกระบวนการเดียวกันในการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ สู่ภาคปฏิบัติอย่างแท้จริง
(๓) ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่องค์ความรู้และประชาสัมพันธ์ในสังคมไทยให้ได้รับทราบ และเรียนรู้ถึงความเคลื่อนไหวในกระบวนการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ไปสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการสร้างความเข้าใจให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มและใช้สื่อที่หลากหลายเหมาะสมสอดคล้องกับวัฒนธรรมของภูมิภาคและท้องถิ่น เช่น สื่อพื้นบ้านหรือสื่อท้องถิ่นต่างๆ
๓.๒ ให้มีการบริหารยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ อย่างจริงจัง พร้อมไปกับพัฒนากระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการในระดับต่างๆ ที่มีความเชื่อมโยงกัน ภายใต้หลักการที่ยึดพื้นที่ ภารกิจ การมีส่วนร่วมและมีการจัดลำดับความสำคัญ เพื่อเป็นเครื่องมือในการประสานแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดย
(๑) ผลักดันให้เกิดการบริหารยุทธศาสตร์ในลักษณะที่เป็นองค์รวม มุ่งผลสัมฤทธิ์ ภายใต้การหนุนนำอย่างต่อเนื่องและจริงจังจากฝ่ายบริหารประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการประสานและทำงานในแนวราบระหว่างหน่วยงานมากขึ้น สนับสนุนให้มีกลไกเชิงยุทธศาสตร์ช่วยขับเคลื่อนและเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงาน รวมทั้งให้มีการจัดทำแผนการจัดสรรทรัพยากรภาครัฐ เพื่อชี้นำทิศทางการลงทุนที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
(๒) สนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทหรือแผนหลัก ที่มีลักษณะเป็นแผนเฉพาะเรื่องอย่างเป็นองค์รวม โดยเลือกดำเนินการในเรื่องที่มีลำดับความสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ และเป็นเรื่องต้องอาศัยการประสานความร่วมมือจากหลายหน่วยงานมาร่วมดำเนินการอย่างมีบูรณาการ โดยแผนแม่บทหรือแผนหลักควรเป็นแผนระยะ ๕ ปี จัดทำโดยหน่วยงานเจ้าของเรื่องและผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ มีหน่วยงานกลางเป็นผู้ประสานแนวทางในการจัดทำ มีสาระที่สอดคล้องเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ มาสู่แนวดำเนินการในขั้นปฏิบัติที่มีแผนงานรองรับและมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน รวมทั้งมีกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผน
(๓) สนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการของหน่วยงานระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ ที่เชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ กับภารกิจของหน่วยงานและการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่ โดยเปิดโอกาสให้ผู้รับผิดชอบทั้งด้านนโยบายและปฏิบัติมีการเรียนรู้และเข้าใจในกระบวนการวางแผนแบบบูรณาการ ที่ต้องมีการประสานงานในแนวราบระหว่างหน่วยงานให้มากขึ้น โดยแผนปฏิบัติการควรมีระยะเวลาไม่เกิน ๓ ปี มีสาระที่บ่งชี้ถึงหลักการ เหตุผล วิสัยทัศน์การพัฒนา วัตถุประสงค์ เป้าหมายและภารกิจหลัก ตลอดจนสาระรายละเอียดของแผนงาน โครงการ มาตรการ มีสัดส่วนการใช้ทรัพยากรการเงินจากแหล่งต่างๆ มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และมีการจัดลำดับความสำคัญรวมทั้งมีแนวทางในการติดตามประเมินผล
(๔) สนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการในระดับชุมชนและระดับท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติการในระดับที่สูงกว่า โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ร่วมกัน ดังนี้
(๔.๑) ส่งเสริมกระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชุมชนที่สอดคล้องกับศักยภาพ สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงตามความต้องการของชุมชนและประชาสังคมแต่ละแห่ง เป็นแผนปฏิบัติการที่ชุมชนร่วมคิด ร่วมค้นหาศักยภาพ และปัญหา ร่วมกันกำหนดความมุ่งหวังเพื่อวางแผนงาน กิจกรรมและดำเนินการร่วมกันบนพื้นฐานการพึ่งตนเอง เสริมด้วยการเกื้อหนุนจากภาครัฐและภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๔.๒) ประสานเชื่อมโยงแผนปฏิบัติการระดับชุมชนเข้ากับกระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับท้องถิ่น เพื่อให้แผนปฏิบัติการระดับท้องถิ่นมีความชัดเจน สอดคล้องกับศักยภาพของท้องถิ่น รวมทั้งตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและประชาชนในแต่ละท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง โดยลักษณะของแผนปฏิบัติการระดับท้องถิ่นควรมีระยะเวลาไม่เกิน ๓ ปี มีสาระรายละเอียดแผนงาน โครงการ และมาตรการ มีแนวทางในการติดตามประเมินผล รวมทั้งมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนและมีสัดส่วนการใช้ทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ โดยเน้นการพึ่งพาทรัพยากรในท้องถิ่นและชุมชนของตนเป็นหลัก เสริมด้วยทรัพยากรจากแหล่งภายนอก
(๕) วางหลักเกณฑ์เบื้องต้นสำหรับการพิจารณาจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนงานที่สอดคล้องตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ เพื่อหน่วยงานทุกระดับสามารถใช้ประโยชน์ในการพิจารณาจัดทำแผนปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักเกณฑ์สำคัญ ดังนี้
(๕.๑) ยึดแนวคิดและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและมีคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
(๕.๒) มีเป้าหมายที่มุ่งแก้ปัญหาความยากจน ดูแลผู้ด้อยโอกาส และกระจายรายได้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย
(๕.๓) เป็นการพัฒนาที่มีความสมดุลและยั่งยืนบนพื้นฐานการพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด ทั้งในด้านกระบวนการผลิต การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสังคมไทย การใช้ทรัพยากรและการดูแลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(๕.๔) มีการแบ่งบทบาท ภารกิจ และความร่วมมือที่ส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรในภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนอย่างเหมาะสม
(๕.๕) มีแผนงาน โครงการ และมาตรการ ตลอดจนขั้นตอนกระบวนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีการจัดลำดับความสำคัญของภารกิจและกิจกรรมที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลในการดำเนินงาน รวมทั้งปรับลดหรือระงับโครงการที่ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายหรือหมดความจำเป็นในการดำเนินการ เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
(๕.๖) การดำเนินแผนงานโครงการขนาดใหญ่ ต้องคำนึงถึงความจำเป็น ประโยชน์โดยรวม ความเหมาะสม ความพร้อม ขีดความสามารถในการลงทุน รวมทั้งผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจส่วนรวม สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชนในสังคม ต้องมีกระบวนการจัดเตรียมและนำเสนอโครงการที่สมบูรณ์ โปร่งใสตามหลักการบริหารจัดการที่ดี และเป็นไปตามขั้นตอนระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมนับแต่เริ่มต้นโครงการ มีกระบวนการสร้างความเข้าใจในหลายรูปแบบที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเข้าถึงกลุ่มคนทุกระดับได้
(๕.๗) ผลที่ได้จากดำเนินแผนงาน โครงการ และมาตรการจะต้องตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ สามารถติดตามและประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรม มีเครื่องชี้วัดผลสำเร็จและผลกระทบที่เกิดขึ้น
๓.๓ ปรับปรุงกลไกและบทบาทของภาคส่วนต่างๆ ในสังคม เพื่อสนับสนุนกระบวนการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ โดย
(๑) ประสานความร่วมมือและปรับบทบาทของหน่วยงานกลางให้สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานระดับปฏิบัติ โดยส่งเสริมให้มีการทำงานเป็นทีมงาน มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานในแนวราบมากขึ้น มีการประสานแผนงาน แผนเงิน และแผนคนอย่างมีบูรณาการ ควบคู่กับการปรับระบบการจัดสรรงบประมาณที่เน้นผลสัมฤทธิ์กระจายลงสู่ท้องถิ่นชุมชนอย่างสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ โดยยึดพื้นที่ ภารกิจ การมีส่วนร่วม
(๒) สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐในระดับปฏิบัติจัดทำแผนแม่บทหรือแผนหลักเฉพาะเรื่อง เฉพาะสาขา ในเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็น รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ โดยจัดทำแผนงานโครงการในลักษณะบูรณาการที่ประสานระหว่างหน่วยงาน มีการจัดลำดับความสำคัญ และมีเครื่องชี้วัดประสิทธิผลการพัฒนาในระดับแผนงานโครงการและองค์กร
(๓) สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดมความร่วมมือจากชุมชนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ประสานจัดทำแผนปฏิบัติการในระดับท้องถิ่นให้สอดคล้องตามศักยภาพ ขีดความสามารถของท้องถิ่น รวมทั้งตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน ภายใต้กรอบทิศทางของแผนปฏิบัติการระดับกระทรวง ทบวง กรม และสอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙
(๔) ส่งเสริมให้ภาคประชาชนและชุมชนร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชุมชน ที่กำหนดแนวทางการพัฒนาโดยชุมชนและเพื่อชุมชน ให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ โดยชุมชนวิเคราะห์ศักยภาพและปัญหาของชุมชนร่วมกัน นำมากำหนดเป็นแผนการดำเนินงานที่นำไปปฏิบัติได้จริง มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละชุมชนที่แตกต่างกันไป โดยพึ่งพาทรัพยากรภายในชุมชนเป็นลำดับแรกและประสานขอรับการสนับสนุนในส่วนที่เกินขีดความสามารถจากภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๕) ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาและนักวิชาการเป็นแกนประสานเครือข่ายทางวิชาการ เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการและเทคนิควิธีการจัดทำแผน รวมตลอดทั้งการแปลงแผนสู่การปฏิบัติแก่หน่วยงานต่างๆ และภาคีการพัฒนาในทุกระดับ
(๖) สนับสนุนสื่อมวลชนทำหน้าที่เป็นสื่อกลางที่มีคุณภาพในการสร้างสรรค์ความสามัคคีในสังคม สร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการถ่ายทอดความรู้ สะท้อนปัญหาและความต้องการของประชาชนสู่สาธารณะอย่างสร้างสรรค์
๓.๔ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนควบคู่กับการลดความขัดแย้งในสังคมอันเนื่องมาจากการดำเนินโครงการพัฒนา เพื่อให้สามารถประสานแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติได้อย่างราบรื่นสัมฤทธิผลและเกิดความสงบสุขสามัคคีในสังคม โดย
(๑) ผลักดันให้ภาครัฐสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นโครงการและต่อเนื่องในขั้นการศึกษารายละเอียด การนำเสนอและตัดสินใจในโครงการ รวมทั้งขั้นการดำเนินโครงการและติดตามประเมินผล โดยเลือกใช้รูปแบบวิธีการที่หลากหลาย มีความเหมาะสมกับประเภทโครงการ สถานการณ์ สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิต สามารถเข้าถึงกลุ่มคนทุกระดับได้อย่างทั่วถึงเพื่อป้องกันและลดความขัดแย้งในสังคม
(๒) สนับสนุนให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเผยแพร่ให้ความรู้ที่ถูกต้อง รวมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการที่ครบถ้วนเป็นระยะๆ ต่อเนื่องและทั่วถึง เพื่อสร้างความเชื่อถือและไว้วางใจจากประชาชน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนรับรู้ สามารถให้ข้อเสนอแนะต่อโครงการ
(๓) ปรับบทบาทและทัศนคติของภาครัฐ ให้สามารถปฏิบัติงานป้องกันแก้ไขข้อขัดแย้งในสังคมด้วยสันติวิธี โดย
(๓.๑) ทุกส่วนราชการยึดหลักการดำเนินงานที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุมีผล และมีความจริงใจในการทำงานร่วมกับประชาชน ใช้ทั้งหลักรัฐศาสตร์ควบคู่กับหลักนิติศาสตร์ในการป้องกันแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งในสังคม
(๓.๒) ส่งเสริมการใช้ฉันทานุมัติในการแก้ไขปัญหาแทนการใช้เสียงข้างมากและเผยแพร่มติข้อตกลงให้ประชาชนรู้อย่างเปิดเผยและกว้างขวาง
(๔) ส่งเสริมให้มีหลักสูตรการเรียน การสอน และการฝึกอบรม "การใช้สันติวิธีแก้ไขข้อขัดแย้ง" ควบคู่กับจัดทำคู่มือทางเลือกในการแก้ไขข้อขัดแย้งที่ชัดเจน เพื่อเผยแพร่ให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างกว้างขวาง
(๕) สนับสนุนบทบาทของกลไกสาธารณะ หรือหน่วยงานที่มีความเป็นกลาง มีความอิสระเป็นที่เชื่อถือและยอมรับของสังคม และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินการ ให้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจรจาทำความตกลงหาข้อยุติที่ยอมรับร่วมกันได้ และสามารถยุติปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่
๓.๕ พัฒนาระบบและกลไกการติดตามประเมินผลและสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนาในทุกระดับ ให้สอดคล้องกับกระบวนการปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่และการมีส่วนร่วมของประชาชน โดย
(๑) ประสานวางระบบการติดตามประเมินผลงานและตรวจสอบผลงานของหน่วยงานกลางให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกัน มีเกณฑ์ชี้วัดประเมินผลงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถนำมาเป็นข้อมูลในการประสานแผนงาน แผนเงิน และแผนคนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
(๒) สนับสนุนให้หน่วยปฏิบัติทุกระดับดำเนินการติดตามประเมินผลแผนงานโครงการ สร้างเกณฑ์ชี้วัดและระบบประเมินผลงานขององค์กรที่เน้นผลลัพธ์ของงาน เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและติดตามประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานมากขึ้น รวมทั้งให้มีการนำข้อมูลที่ได้จากการติดตามประเมินผลมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงแผนงานโครงการประจำปีโดยต่อเนื่อง
(๓) พัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒนาต่อเนื่องจากที่ดำเนินการในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ โดยเฉพาะในระดับภาพรวมหรือผลกระทบขั้นสุดท้าย ระดับยุทธศาสตร์ และการพัฒนาเฉพาะด้าน ให้เป็นรูปธรรมมีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสภาพการณ์เปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการยอมรับของทุกฝ่ายและนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างกว้างขวาง
(๔) พัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องการติดตามประเมินผลการพัฒนาและการจัดทำดัชนีชี้วัดให้แก่หน่วยงานปฏิบัติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชน โดยใช้กระบวนการฝึกอบรม เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน เพื่อสร้างทักษะในการติดตามประเมินผล และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม
(๕) จัดให้มีการระดมความคิดและมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลการพัฒนาในระดับภูมิภาคและระดับชาติเป็นประจำปี โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง
๓.๖ ส่งเสริมการจัดทำฐานข้อมูลและการพัฒนาโครงข่ายข้อมูลข่าวสารในระดับต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจและการบริหารจัดการการพัฒนา โดย
(๑) พัฒนาระบบโครงข่ายข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานระดับนโยบาย เพื่อติดตามตรวจสอบการดำเนินนโยบายสำคัญๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของฐานข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
(๒) ประสานความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น ให้การสนับสนุนด้านวิชาการแก่ท้องถิ่นและชุมชนในการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการวางแผน และใช้ประโยชน์เพื่อการติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการพัฒนา ทั้งนี้ การบริหารจัดการฐานข้อมูลจะต้องยึดการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในท้องถิ่นและชุมชนเป็นหลัก
(๓) สนับสนุนการจัดทำฐานข้อมูลระดับชุมชนและท้องถิ่น รวมทั้งข้อมูลข่าวสารที่บ่งชี้ศักยภาพบุคคล องค์กรชุมชน ชุมชน และประชาสังคม อย่างเป็นระบบภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
(๔) ส่งเสริมการเชื่อมโยงโครงข่ายข้อมูลระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและท้องถิ่น ให้เป็นระบบที่เข้าถึงได้ง่ายและใช้ประโยชน์ได้สะดวก เพื่อให้ทุกฝ่ายมีข้อมูลทันสมัยที่ถูกต้องแม่นยำ เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในระดับต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-