ก่อนนำเสนอต่อสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคณะรัฐมนตรีได้เน้นย้ำว่า แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ควรมีลักษณะที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีความยืดหยุ่น และมีจุดเน้นที่ชัดเจน โดยในการจัดทำแผน ควรมีการจัดลำดับความสำคัญในเรื่องต่างๆ มี การพิจารณาจุดเด่น จุดด้อยของประเทศ แนวทางของแต่ละยุทธศาสตร์จะต้องมีความเชื่อมโยงกันและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ รวมทั้งควรมีความสอดคล้องกันระหว่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นโยบายของรัฐบาล และการจัดสรรงบประมาณด้วย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้จัดการประชุมเรื่อง"ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)" ระหว่างคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2544 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
พ.ต.ท.ทักษิณ ได้กล่าวเปิดประชุมว่า การจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีความสมบูรณ์และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติมากที่สุด ซึ่งนอกจากเนื้อหาสาระของแผนแล้ว คงต้องพิจารณาขั้นตอนหรือกระบวนการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสร้างความเข้าใจร่วมกันจากทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน การกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณในระยะ 5 ปี ของแผนหรือการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า สาระสำคัญของร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 กับนโยบายหลักของรัฐบาล จะมีความสอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกันอยู่แล้ว อาทิ เรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน การสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจระดับรากหญ้า การสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคมไทยการขจัดปัญหาคอร์รัปชั่นและยาเสพย์ติด รวมทั้งการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและเตรียมความพร้อมต่อการเปิดเสรี เป็นต้น
ที่ประชุมได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งผลของการประชุมสามารถสรุปได้ดังนี้
ลักษณะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ควรมีลักษณะดังนี้
1. สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และมีความเหมาะสมกับประเทศไทย
2. มีความยืดหยุ่น สามารถปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้
3. มีจุดเน้น (Focus) ของแผน เพื่อเป็นแนวทางที่ชัดเจนสำหรับการจัดสรรงบประมาณ ภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรที่มีอยู่
ทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะยาว
ที่ประชุมเห็นชอบให้นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทาง เพื่อพัฒนาสังคมไทยสู่"สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ"ใน 3 ด้านคือ สังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน เพื่อบรรลุสู่"การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ที่ดีมีสุขของคนไทย"
ทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปีข้างหน้า ควรให้ความสำคัญกับ
1. การเร่งแก้ปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจระดับฐานราก ให้มีเสถียรภาพและเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
2. การบรรเทาปัญหาความยากจน
3. การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ทั้งนี้ การกำหนดเป้าหมายการลดความยากจน และเป้าหมายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์/ประเด็นที่ควรให้มีความชัดเจนมากขึ้น
1. ให้มีความชัดเจนในเรื่องบทบาท (Positioning) ของประเทศในอนาคต เพื่อให้ก้าวทันโลก
2. ให้มีรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology) การพัฒนาคนและคุณภาพคน รวมทั้งการจัดการภาครัฐ
นอกจากนี้ ยังควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
-ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศควรมีความชัดเจน โดยมีการจัดลำดับความสำคัญ เพื่อนำไปสู่ความมั่งคั่งของประเทศ ซึ่งจะต้องมีการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งจากระดับบนและระดับล่างควบคู่กันไป ทั้งนี้ ภาครัฐยังจำเป็นต้องมีบทบาทนำและคอยให้ความสนับสนุนเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าเพื่อให้มีความพร้อมมากขึ้นในอนาคต
-ภายใต้ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ควรใช้เกณฑ์มาตรฐานสากลเป็นกรอบในการพัฒนาจุดอ่อน จุดแข็งของประเทศ เพื่อสร้างสมรรถนะการแข่งขันของประเทศในระยะยาว
-การกำหนดแนวทางในแต่ละยุทธศาสตร์ จำเป็นต้องคำนึงถึงความเชื่อโยงระหว่างยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
-การจัดระบบการเขื่อมโยงระหว่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และนดยบายรัฐ รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณ จะเป็นเงื่อนไขสำคุญที่ทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกันของภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในเรื่องทิศทางการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะเอื้อให้มีการนำแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ
1.ต้องมีการจัดทำแผนเฉพาะเรื่องและแผนปฏิบัติในระดับต่างๆที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
2.ต้องปรับระบบการจัดสรรงบประมาณให้มุ่งผลงานเป็นหลัก
3.ต้องประสานกลไกความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชน
ขั้นตอนการดำเนินงานต่อไป
สศช. จะปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ตามความเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมในครั้งนี้ เพื่อนำเสนอต่อสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ความเห็น ต่อจากนั้นจำนำร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอนูมัติ และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้แผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 ต่อไป
การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วงแผนฯ 9
การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต จะต้องพัฒนาให้คนมีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้ได้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีความเชื่อมโยงกันระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างฐานรากให้มีความเข้มแข็งและแก้ไขปัญหาความยากจน รวมทั้งจะต้องมีการพัฒนาควบคู่ไปกับการก้าวเข้าสู่กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะต้องมุ่งพัฒนาเพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความรู้ใหม่
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวในการสัมมนา"เศรษฐกิจฐานความรู้: ก้าวใหม่ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"ในหัวข้อ "มาตรการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาประเทศไทย"เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2544 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่จะต้องมีการพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง และจะต้องทราบว่าจะนำมาประยุกต์ใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด รวมทั้งทราบว่าจะใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไรให้เกิดความสมดุลตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ดังนั้น ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 จึงได้กำหนดยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข้งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีจุดเน้นใน 3 เรื่อง คือ การสร้างฐานรากให้มีความเข้มแข็ง เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ รู้เท่าทันโลก การแก้ไขปัญหาความยากจน และเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่ไปกับการก้าวเข้าสู่กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการใน 2 เรื่องที่สำคัญเรื่องแรก คือการพัฒนาคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการปฏิรูปากรศึกษา เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับคนทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมุ่งเน้นสู่กลุ่มคนในระดับชุมชนนั้น นับว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนา ในการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นการเพิ่มนฐานรากให้มีความเข้มแข็งและสามารถต่อยอดการพัฒนาให้เชื่อมโยงกับการแข่งขันในเวทีโลก
เรื่องที่สอง คือ การสร้างระบบการบริหารจัดการที่ดี โดยการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีความเชื่อมโยงกับทั้งภาครัฐและเอกชนให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงตามศักยภาพและโอกาส ซึ่งนอกจากจะเกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังสามารถนำการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านคุณภาพชีวิตได้อีกด้วย ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี
การดำเนินการดังกล่าว จะนำไปสู่จุดเน้นในแผนฯ 9 คือ การพัฒนาคน โดยการสร้างองค์ความรู้ ให้ก้าวทันโลก และการสร้างระบบ การบริหารจัดการที่ดี เป็นการสร้างความเข้มแข็งของฐานราก ส่วนการประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีอยู่เข้ากับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณภาพของภาคการผลิตและบริการ จะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนได้ในที่สุด
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6 มิถุนายน 2544--
-สส-
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้จัดการประชุมเรื่อง"ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)" ระหว่างคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2544 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
พ.ต.ท.ทักษิณ ได้กล่าวเปิดประชุมว่า การจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีความสมบูรณ์และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติมากที่สุด ซึ่งนอกจากเนื้อหาสาระของแผนแล้ว คงต้องพิจารณาขั้นตอนหรือกระบวนการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสร้างความเข้าใจร่วมกันจากทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน การกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณในระยะ 5 ปี ของแผนหรือการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า สาระสำคัญของร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 กับนโยบายหลักของรัฐบาล จะมีความสอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกันอยู่แล้ว อาทิ เรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน การสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจระดับรากหญ้า การสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคมไทยการขจัดปัญหาคอร์รัปชั่นและยาเสพย์ติด รวมทั้งการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและเตรียมความพร้อมต่อการเปิดเสรี เป็นต้น
ที่ประชุมได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งผลของการประชุมสามารถสรุปได้ดังนี้
ลักษณะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ควรมีลักษณะดังนี้
1. สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และมีความเหมาะสมกับประเทศไทย
2. มีความยืดหยุ่น สามารถปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้
3. มีจุดเน้น (Focus) ของแผน เพื่อเป็นแนวทางที่ชัดเจนสำหรับการจัดสรรงบประมาณ ภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรที่มีอยู่
ทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะยาว
ที่ประชุมเห็นชอบให้นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทาง เพื่อพัฒนาสังคมไทยสู่"สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ"ใน 3 ด้านคือ สังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน เพื่อบรรลุสู่"การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ที่ดีมีสุขของคนไทย"
ทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะ 5 ปีข้างหน้า ควรให้ความสำคัญกับ
1. การเร่งแก้ปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจระดับฐานราก ให้มีเสถียรภาพและเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
2. การบรรเทาปัญหาความยากจน
3. การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ทั้งนี้ การกำหนดเป้าหมายการลดความยากจน และเป้าหมายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์/ประเด็นที่ควรให้มีความชัดเจนมากขึ้น
1. ให้มีความชัดเจนในเรื่องบทบาท (Positioning) ของประเทศในอนาคต เพื่อให้ก้าวทันโลก
2. ให้มีรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology) การพัฒนาคนและคุณภาพคน รวมทั้งการจัดการภาครัฐ
นอกจากนี้ ยังควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
-ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศควรมีความชัดเจน โดยมีการจัดลำดับความสำคัญ เพื่อนำไปสู่ความมั่งคั่งของประเทศ ซึ่งจะต้องมีการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งจากระดับบนและระดับล่างควบคู่กันไป ทั้งนี้ ภาครัฐยังจำเป็นต้องมีบทบาทนำและคอยให้ความสนับสนุนเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าเพื่อให้มีความพร้อมมากขึ้นในอนาคต
-ภายใต้ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ควรใช้เกณฑ์มาตรฐานสากลเป็นกรอบในการพัฒนาจุดอ่อน จุดแข็งของประเทศ เพื่อสร้างสมรรถนะการแข่งขันของประเทศในระยะยาว
-การกำหนดแนวทางในแต่ละยุทธศาสตร์ จำเป็นต้องคำนึงถึงความเชื่อโยงระหว่างยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
-การจัดระบบการเขื่อมโยงระหว่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และนดยบายรัฐ รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณ จะเป็นเงื่อนไขสำคุญที่ทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกันของภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในเรื่องทิศทางการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะเอื้อให้มีการนำแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ
1.ต้องมีการจัดทำแผนเฉพาะเรื่องและแผนปฏิบัติในระดับต่างๆที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
2.ต้องปรับระบบการจัดสรรงบประมาณให้มุ่งผลงานเป็นหลัก
3.ต้องประสานกลไกความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชน
ขั้นตอนการดำเนินงานต่อไป
สศช. จะปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ตามความเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมในครั้งนี้ เพื่อนำเสนอต่อสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ความเห็น ต่อจากนั้นจำนำร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอนูมัติ และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้แผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 ต่อไป
การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วงแผนฯ 9
การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต จะต้องพัฒนาให้คนมีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้ได้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีความเชื่อมโยงกันระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างฐานรากให้มีความเข้มแข็งและแก้ไขปัญหาความยากจน รวมทั้งจะต้องมีการพัฒนาควบคู่ไปกับการก้าวเข้าสู่กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะต้องมุ่งพัฒนาเพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความรู้ใหม่
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวในการสัมมนา"เศรษฐกิจฐานความรู้: ก้าวใหม่ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"ในหัวข้อ "มาตรการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาประเทศไทย"เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2544 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่จะต้องมีการพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง และจะต้องทราบว่าจะนำมาประยุกต์ใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด รวมทั้งทราบว่าจะใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไรให้เกิดความสมดุลตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ดังนั้น ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 จึงได้กำหนดยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข้งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีจุดเน้นใน 3 เรื่อง คือ การสร้างฐานรากให้มีความเข้มแข็ง เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ รู้เท่าทันโลก การแก้ไขปัญหาความยากจน และเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่ไปกับการก้าวเข้าสู่กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการใน 2 เรื่องที่สำคัญเรื่องแรก คือการพัฒนาคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการปฏิรูปากรศึกษา เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับคนทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมุ่งเน้นสู่กลุ่มคนในระดับชุมชนนั้น นับว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนา ในการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นการเพิ่มนฐานรากให้มีความเข้มแข็งและสามารถต่อยอดการพัฒนาให้เชื่อมโยงกับการแข่งขันในเวทีโลก
เรื่องที่สอง คือ การสร้างระบบการบริหารจัดการที่ดี โดยการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีความเชื่อมโยงกับทั้งภาครัฐและเอกชนให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงตามศักยภาพและโอกาส ซึ่งนอกจากจะเกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังสามารถนำการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านคุณภาพชีวิตได้อีกด้วย ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี
การดำเนินการดังกล่าว จะนำไปสู่จุดเน้นในแผนฯ 9 คือ การพัฒนาคน โดยการสร้างองค์ความรู้ ให้ก้าวทันโลก และการสร้างระบบ การบริหารจัดการที่ดี เป็นการสร้างความเข้มแข็งของฐานราก ส่วนการประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีอยู่เข้ากับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณภาพของภาคการผลิตและบริการ จะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนได้ในที่สุด
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6 มิถุนายน 2544--
-สส-