การผลิตนอกภาคเกษตร มีอัตราการเจริญเติบโตชะลอตัวลงจากร้อยละ 7.0 เป็นร้อยละ 5.0 ในปีนี้ สาเหตุเนื่องจากการ
ชะลอตัวของสาขาหลัก ได้แก่สาขาอุตสาหกรรมสาขาการไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา สาขาการก่อสร้าง สาขาโรงแรมและภัตตาคาร เป็นต้น โดยสาขาอุตสาหกรรม หมวดที่มีการชะลอตัวลง ได้แก่ เครื่องดื่ม สิ่งทอ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และยานยนต์ สำหรับสาขาที่มีการขยายตัวสูงขึ้นจาก ปีที่แล้ว คือ สาขาการขายส่งการขายปลีกฯ สาขาการขนส่งฯและสาขาการให้บริการชุมชนฯ ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตต่อ GRP ค่อนข้างสูง คือ ร้อยละ 18.8 7.5 และ 1.5 ตามลำดับ
อัตราขยายตัวของ GPP ภาคตะวันตก (ร้อยละ)
อัตราขยายตัว สัดส่วนต่อ GRP
จังหวัด 2545 2546 2545 2546
1. ราชบุรี 10.3 5.7 30.0 29.8
2. กาญจนบุรี 6.7 4.8 20.1 19.8
3. ประจวบคีรีขันธ์ 4.7 7.3 14.7 14.8
4. เพชรบุรี 0.6 3.5 13.9 13.5
5. สุพรรณบุรี 5.8 11.8 17.1 17.9
6. สมุทรสงคราม -0.6 6.2 4.2 4.2
รวมทั้งภาค 6.1 6.5 100.0 100.0
ภาวะการผลิตรายจังหวัด หลายจังหวัดมีอัตราการเจริญเติบโตขยายตัวสูงขึ้นจากปีก่อน ได้แก่ ประจวบฯ เพชรบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม โดยที่จังหวัดสุพรรณบุรีมีการขยาย ตัวสูงที่สุดของภูมิภาคนี้ คือ ร้อยละ 11.8 ทั้งนี้เป็นการขยาย ตัวของการผลิตภาคเกษตรกรรม ในสาขาเกษตรกรรม ล่าสัตว์และป่าไม้ ซึ่งเป็นสาขาที่มีสัดส่วนการผลิตต่อ GRP ค่อนข้างสูง โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มจากร้อยละ 7.0 เป็นร้อยละ15.8 ในปีนี้ เป็นการขยายตัวของหมวดหลัก ได้แก่ ข้าว อ้อยและพืชผักต่างๆ เป็นต้น และ ภาคนอกเกษตรกรรมเกือบทุกสาขามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยเฉพาะสาขาหลักๆ ได้แก่ สาขาการขายส่ง ขายปลีกฯ และสาขาอุตสาหกรรม โดยมีอัตราการเจริญ เติ บ โต ร้อยละ 5.3 และ 37.2 ตามลำดับ สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวได้ดี ได้แก่ เครื่องดื่มสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์หนัง เคมีและผลิตภัณฑ์เคมีเป็นต้นจังหวัดที่มีการขยายตัวรองลงมา ได้แก่ ประจวบฯสมุทรสงคราม และเพชรชุรี ยกเว้นในจังหวัดราชบุรี และกาญจนบุรี มีอัตราการเจริญ เติบโตชะลอตัวลงจากปีก่อนสาเหตุจากการชะลอตัวของการผลิตภาคนอกเกษตรกรรมในสาขาอุตสาหกรรม สาขาไฟฟ้า ก๊าซ และการประปาและสาขาการขายส่งขายปลีกฯ ซึ่งเป็นสาขาการผลิตหลักของจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดราชบุรี อัตราการชะลอตัวของสาขาอุตสาหกรรม มาจากหมวดผลิตภัณฑ์อาหาร สิ่งทอ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เป็นต้น
ภาคกลาง
ภาพรวม GRP ขยายตัวร้อยละ 15.9 เมื่อเทียบกับร้อยละ 8.4 ในปีที่ผ่านมา นับเป็นอัตราขยายตัวสูงสุดเมื่อเทียบกับทุกภาค สาเหตุเกิดจากการผลิตนอกภาคเกษตรซึ่งเป็นการผลิตหลักของภาคขยายตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรมขยายตัวสูงถึงร้อยละ 22.4 ประกอบกับการผลิตภาคเกษตร โดยเฉพ สาขาการเกษตร การล่าสัตว์ และการป่าไม้เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 8.0 การผลิตภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 8.3 สูงกว่าร้อยละ 5.0 ในปีที่ผ่านมาสาเหตุหลักมจากการขยายตัวของสาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ ซึ่งขยายตัวร้อยละ 8.0 เทียบกับร้อยละ 5.5 ในปีก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของหมวดพื ชผลและหมวดการเลี้ยงปศุสัตว์ รายการที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย รวมทั้ง ไก่เนื้อ ไข่ไก่ ไข่เป็ด และโค นอกจากนั้น สาขาการประมงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดต่างๆ
(ยังมีต่อ).../..อัตราขยายตัว..