ศ.ดร.สิปนนท์ เกตุทัต ประธานกรรมการประชาพิจารณ์ โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยผลการประชุมประชาพิจารณ์โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนถ่านหิน "หินกรูด" จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งได้จัดให้มีการประชาพิจารณ์ขึ้น ระหว่างวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2543 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมือง จัดหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ประกอบด้วย ประชาชนผู้มีส่วนจากการสร้างโรงไฟฟ้าประมาณ 1,500 คนเศษ ซึ่งสามารถสรุปความคิดเห็นของประชาชนในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนถ่านหิน หินกรูดแยกตามประเด็นได้ดังนี้
1.ด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว กลุ่มผู้คัดค้าน การก่อสร้างโรงไฟฟ้าให้ข้อคิดเห็นว่าการนำน้ำที่ใช้ในการหล่อเย็นทิ้งลงสู่ทะเลอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทางทะเลโดยเฉพาะปะการังและการวางไข่ของสัตว์น้ำ การสร้างสะพานยาว 3.5 กิโลเมตร ยื่นลงไปในทะเลเพื่อบรรทุกถ่านหินจะเป็นอุปสรรคต่อการทำประมงชายฝั่ง ทำลายระบบนิเวศน์ทางทะเล การนำดินและทรายที่ขุดลอกจากพื้นทะเลระหว่างการก่อสร้างท่าเทียบเรือเป็นการทำลายปะการังและระบบนิเวสน์อย่างร้ายแรง รวมทั้งยังทำลายทัศนีภาพการท่องเที่ยวให้เสียหาย นอกจากนี้การนำถ่านหินมาใช้ผลิตไฟฟ้าอาจเกิดมลภาวะเช่นเดียวกันกับโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และอาจทำให้เกิดฝนกรดได้ ส่วนกลุ่มผู้สนับสนุนกล่าวว่ามีความเชื่อมั่นในเอกสารและการปฎิบัติงานของภาครัฐในด้านการดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวมทั้งเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าจะสามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในมาตรฐานสากล และผู้ให้ลงทุนได้คำนึงถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งบนบกและในทะเลแล้ว
2. ด้านสังคมและการเมือง การปกครองท้องถิ่นผู้คัดค้านเห็นว่าการดำเนินงานที่ผ่านมา รัฐบาลไม่มีกระบวนการขอความเห็นชอบจากประชาชนจึงทำให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชนและประชาชนไม่มีความไว้วางใจในการควบคุม ตรวจสอบมลภาวะตามที่โรงไฟฟ้าเสนอ เพราะฝุ่นและของเสียอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชุมชนได้ รวมถึงขาดความโปร่งใสในการซื้อที่ดินนอกจากนี้รัฐยังไม่มีการทบทวนรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ว่ามีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่ส่วนผู้สนับสนุนกล่าวว่า หากมีการสร้างโรงไฟฟ้าควรมัสัญญาประชาคมเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือโดยขอให้ฝ่ายรัฐและกรรมการฯมาเป็นสักขีพยาน และเชื่อว่าการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะเป็นตัวอย่างการอยู่ร่วมกันระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมกับชุมชนอย่างสันติ รวมทั้งเป็นการสร้างรายได้ให้กับองค์กรท้องถิ่นในรูปของภาษี ส่วนการจัดตั้ง "กองทุนพัฒนาท้องถิ่น" เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการภายในท้องถิ่นจะทำให้กลุ่มชาวบ้านสามารถรวมตัวกัน เพื่อดูแลปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในชุมชนได้มากขึ้น
3. ด้านเศรษฐกิจ ผู้คัดค้านเห็นว่า นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าของประเทศไม่เพิ่มขึ้น ดังนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบควรเสนอให้รัฐบาลทบทวนการสร้างโรงไฟฟ้า รวมทั้งให้มีการทบทวนข้อเสนอการใช้วัตถุดิบที่เหมาะสมและไม่เกิดมลพิษ ส่วนผู้สนับสนุนเห็นว่า การสร้างโรงไฟฟ้าจะมีส่วนในการพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดการจ้างงาน ดึงดูดนักลงทุน และเป็นการแบ่งเบาภาระการเงินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต นอกจากนี้ต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีราคาต่ำ จะทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับประโยชน์ในระยะยาว
4. ด้านความมั่นคงต่อส่วนรวม ผู้สนับสนุนเห็นว่า การสร้างโรงไฟฟ้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จะมีความสำคัญต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคตะวันตกและภาคใต้ตอนบน ซึ่งมีปัญหาเรื่องไฟตก ไฟดับ และการใช้ถ่านหินคุณภาพดีเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เพราะมีปริมาณถ่านหินคุณภาพดีเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เพราะมีปริมาณถ่านหินสำรองในโลกมีอยู่จำนวนมาก ประกอบกับธรรมชาติในอ่าวไทย และประเทศเพื่อนบ้านมีไม่มากพอในระยะยาว
ทั้งนี้ ภายหลังจากที่คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อวิเคราะห์และประมวลข้อเท็จจริง ขอชี้แนะข้อคัดค้านและสนับสนุน ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องของสาระสำคัญแล้ว จะนำเสนอรายงานประชาพิจารณ์ต่อ นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
-ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 4/เมษายน 2543--
-สส-
1.ด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว กลุ่มผู้คัดค้าน การก่อสร้างโรงไฟฟ้าให้ข้อคิดเห็นว่าการนำน้ำที่ใช้ในการหล่อเย็นทิ้งลงสู่ทะเลอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทางทะเลโดยเฉพาะปะการังและการวางไข่ของสัตว์น้ำ การสร้างสะพานยาว 3.5 กิโลเมตร ยื่นลงไปในทะเลเพื่อบรรทุกถ่านหินจะเป็นอุปสรรคต่อการทำประมงชายฝั่ง ทำลายระบบนิเวศน์ทางทะเล การนำดินและทรายที่ขุดลอกจากพื้นทะเลระหว่างการก่อสร้างท่าเทียบเรือเป็นการทำลายปะการังและระบบนิเวสน์อย่างร้ายแรง รวมทั้งยังทำลายทัศนีภาพการท่องเที่ยวให้เสียหาย นอกจากนี้การนำถ่านหินมาใช้ผลิตไฟฟ้าอาจเกิดมลภาวะเช่นเดียวกันกับโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และอาจทำให้เกิดฝนกรดได้ ส่วนกลุ่มผู้สนับสนุนกล่าวว่ามีความเชื่อมั่นในเอกสารและการปฎิบัติงานของภาครัฐในด้านการดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวมทั้งเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าจะสามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในมาตรฐานสากล และผู้ให้ลงทุนได้คำนึงถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งบนบกและในทะเลแล้ว
2. ด้านสังคมและการเมือง การปกครองท้องถิ่นผู้คัดค้านเห็นว่าการดำเนินงานที่ผ่านมา รัฐบาลไม่มีกระบวนการขอความเห็นชอบจากประชาชนจึงทำให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชนและประชาชนไม่มีความไว้วางใจในการควบคุม ตรวจสอบมลภาวะตามที่โรงไฟฟ้าเสนอ เพราะฝุ่นและของเสียอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชุมชนได้ รวมถึงขาดความโปร่งใสในการซื้อที่ดินนอกจากนี้รัฐยังไม่มีการทบทวนรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ว่ามีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่ส่วนผู้สนับสนุนกล่าวว่า หากมีการสร้างโรงไฟฟ้าควรมัสัญญาประชาคมเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือโดยขอให้ฝ่ายรัฐและกรรมการฯมาเป็นสักขีพยาน และเชื่อว่าการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะเป็นตัวอย่างการอยู่ร่วมกันระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมกับชุมชนอย่างสันติ รวมทั้งเป็นการสร้างรายได้ให้กับองค์กรท้องถิ่นในรูปของภาษี ส่วนการจัดตั้ง "กองทุนพัฒนาท้องถิ่น" เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการภายในท้องถิ่นจะทำให้กลุ่มชาวบ้านสามารถรวมตัวกัน เพื่อดูแลปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในชุมชนได้มากขึ้น
3. ด้านเศรษฐกิจ ผู้คัดค้านเห็นว่า นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าของประเทศไม่เพิ่มขึ้น ดังนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบควรเสนอให้รัฐบาลทบทวนการสร้างโรงไฟฟ้า รวมทั้งให้มีการทบทวนข้อเสนอการใช้วัตถุดิบที่เหมาะสมและไม่เกิดมลพิษ ส่วนผู้สนับสนุนเห็นว่า การสร้างโรงไฟฟ้าจะมีส่วนในการพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดการจ้างงาน ดึงดูดนักลงทุน และเป็นการแบ่งเบาภาระการเงินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต นอกจากนี้ต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีราคาต่ำ จะทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับประโยชน์ในระยะยาว
4. ด้านความมั่นคงต่อส่วนรวม ผู้สนับสนุนเห็นว่า การสร้างโรงไฟฟ้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จะมีความสำคัญต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคตะวันตกและภาคใต้ตอนบน ซึ่งมีปัญหาเรื่องไฟตก ไฟดับ และการใช้ถ่านหินคุณภาพดีเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เพราะมีปริมาณถ่านหินคุณภาพดีเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เพราะมีปริมาณถ่านหินสำรองในโลกมีอยู่จำนวนมาก ประกอบกับธรรมชาติในอ่าวไทย และประเทศเพื่อนบ้านมีไม่มากพอในระยะยาว
ทั้งนี้ ภายหลังจากที่คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อวิเคราะห์และประมวลข้อเท็จจริง ขอชี้แนะข้อคัดค้านและสนับสนุน ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องของสาระสำคัญแล้ว จะนำเสนอรายงานประชาพิจารณ์ต่อ นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
-ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 4/เมษายน 2543--
-สส-