- ธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้มาลงทุนเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน ปรับตัวลดลงเล็กน้อย
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง สวนทางกับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทุกช่วงอายุ
-เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากในวันจันทร์จากปัจจัยบวกภายในประเทศ ก่อนจะมีทิศทางลดลงในช่วงกลางสัปดาห์ ตามค่าเงินเยน หลังจากจีนปฏิเสธการปรับขึ้นค่าเงินหยวนในการประชุม G-7 ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ.ได้รับ sentiment ในทางบวกจากความพยายามเพื่อแก้ไขปัญหา Twin Deficits
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงตลอดสัปดาห์ โดยธนาคาร พาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการ ปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ต้นสัปดาห์ และการสำรองสภาพคล่องเพื่อรองรับ การเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงเทศกาลตรุษจีนมาลงทุนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในวันพุธ ประกอบกับมีสภาพคล่องบางส่วนทยอยไหลกลับเข้าระบบ หลังจากช่วงเทศกาลตรุษจีนและเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ใหม่ของการสำรองสภาพ คล่อง ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืน พันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันปิดตลาด ลดลงจากร้อยละ 1.9375 และ 2 ต่อปี มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.875 - 1.90625 และ 1.96875 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วันปิดตลาดคงที่ที่ ร้อยละ 2.0 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วง เคลื่อนไหวแคบลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.85 - 1.95 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงจากระดับร้อยละ 1.93 ต่อปีในช่วงต้น สัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี ในช่วงกลางและปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับ อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 28,500 ล้านบาท โดยเป็น ตั๋วเงินคลัง อายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 13,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 10 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,500 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทน ลดลงจากสัปดาห์ก่อน ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 91 วันที่มีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้น เล็กน้อย และมีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์อายุ 3 ปี ที่ กระทรวงการคลังค้ำประกัน วงเงิน 2,000 ล้านบาท มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 84,026 ล้านบาท หรือ เท่ากับ 16,805 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15.9 โดยเป็น ธุรกรรม Outright 50,621 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.4 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณ การซื้อขายสูงสุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาเป็นพันธบัตร ธปท. ส่วนอัตรา ผลตอบแทนโดยรวม (yield) มีทิศทางปรับตัวลดลงตั้งแต่ต้นสัปดาห์ ก่อนปรับ เพิ่มขึ้นในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของ พันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุ ปรับลดลง 1-7 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรฯ และหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 19 และ 12 basis points ตามลำดับ
สำหรับอัตราผลตอบแทน (yield) ของ US Treasury ในรอบสัปดาห์ค่อนข้าง ผันผวน หลังจากในวันสุดท้ายของสัปดาห์ที่แล้ว yield ปรับตัวลดลงมากจาก ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ต่ำกว่าคาดการณ์ ซึ่งทำให้นักลงทุนบางกลุ่ม คาดว่า Fed อาจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วในการประชุมครั้งหน้า หรือมีความเป็นไปได้ที่จะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในบางครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี ทำให้ yield ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในช่วงปลายสัปดาห์ Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากการลดลงของตัวเลขขาดดุลการค้าสหรัฐฯ และตัวเลขผู้ ขอรับสวัสดิการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้ม การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้นักลงทุนคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังอยู่ในขาขึ้น ต่อไป ณ สิ้นสัปดาห์ Yield ของ US Treasury ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-7 basis points โดยปรับตัวขึ้นมากในตราสารระยะสั้นอายุ 1-3 ปี
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.44 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น เล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์ แข็งค่าขึ้นอย่างมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการซื้อ สุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ประกอบกับ ผลการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมา ทำให้สามารถตั้งรัฐบาลจากพรรคการเมืองเดียว ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพและนโยบายเศรษฐกิจมีความต่อเนื่อง ปัจจัย ดังกล่าวส่งผลให้เงินบาทปรับแข็งค่าที่สุดในรอบเกือบ 5 ปี ที่ระดับ 38.21 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันจันทร์ อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงอย่าง ต่อเนื่องในช่วงกลางสัปดาห์ ตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยนที่ปรับอ่อนค่าลง หลังจากการประชุมกลุ่ม G-7 ยังไม่สามารถกดดันให้ทางการจีนปรับขึ้นค่าเงิน หยวนในระยะนี้ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยบวกจากแถลงการณ์ของ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่แสดงนัยว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้ม ลดลง ตลอดจนคำยืนยันจากประธาธิบดีสหรัฐฯ ว่าจะลดการขาดดุลงบประมาณ ลงจากระดับร้อยละ 3.5 สู่ระดับร้อยละ 1.7 ของ GDP สหรัฐฯ ภายใน ปีงบประมาณ 2551 อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยแรงขาย ทำกำไรเงินดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ แม้ว่ายอดการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ประจำเดือนธันวาคมจะลดลงและต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด แต่นักลงทุน เชื่อว่าเป็นการปรับลดลงที่ไม่ยั่งยืน และยังไม่มั่นใจในการแก้ไขปัญหา Twin Deficits ของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงและเงินบาท แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง สวนทางกับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทุกช่วงอายุ
-เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากในวันจันทร์จากปัจจัยบวกภายในประเทศ ก่อนจะมีทิศทางลดลงในช่วงกลางสัปดาห์ ตามค่าเงินเยน หลังจากจีนปฏิเสธการปรับขึ้นค่าเงินหยวนในการประชุม G-7 ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ.ได้รับ sentiment ในทางบวกจากความพยายามเพื่อแก้ไขปัญหา Twin Deficits
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงตลอดสัปดาห์ โดยธนาคาร พาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการ ปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ต้นสัปดาห์ และการสำรองสภาพคล่องเพื่อรองรับ การเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงเทศกาลตรุษจีนมาลงทุนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในวันพุธ ประกอบกับมีสภาพคล่องบางส่วนทยอยไหลกลับเข้าระบบ หลังจากช่วงเทศกาลตรุษจีนและเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ใหม่ของการสำรองสภาพ คล่อง ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืน พันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันปิดตลาด ลดลงจากร้อยละ 1.9375 และ 2 ต่อปี มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.875 - 1.90625 และ 1.96875 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วันปิดตลาดคงที่ที่ ร้อยละ 2.0 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วง เคลื่อนไหวแคบลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.85 - 1.95 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงจากระดับร้อยละ 1.93 ต่อปีในช่วงต้น สัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี ในช่วงกลางและปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับ อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 28,500 ล้านบาท โดยเป็น ตั๋วเงินคลัง อายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 13,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 10 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,500 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทน ลดลงจากสัปดาห์ก่อน ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 91 วันที่มีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้น เล็กน้อย และมีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์อายุ 3 ปี ที่ กระทรวงการคลังค้ำประกัน วงเงิน 2,000 ล้านบาท มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 84,026 ล้านบาท หรือ เท่ากับ 16,805 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15.9 โดยเป็น ธุรกรรม Outright 50,621 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.4 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณ การซื้อขายสูงสุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาเป็นพันธบัตร ธปท. ส่วนอัตรา ผลตอบแทนโดยรวม (yield) มีทิศทางปรับตัวลดลงตั้งแต่ต้นสัปดาห์ ก่อนปรับ เพิ่มขึ้นในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนของ พันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุ ปรับลดลง 1-7 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรฯ และหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 19 และ 12 basis points ตามลำดับ
สำหรับอัตราผลตอบแทน (yield) ของ US Treasury ในรอบสัปดาห์ค่อนข้าง ผันผวน หลังจากในวันสุดท้ายของสัปดาห์ที่แล้ว yield ปรับตัวลดลงมากจาก ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ต่ำกว่าคาดการณ์ ซึ่งทำให้นักลงทุนบางกลุ่ม คาดว่า Fed อาจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วในการประชุมครั้งหน้า หรือมีความเป็นไปได้ที่จะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในบางครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี ทำให้ yield ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในช่วงปลายสัปดาห์ Yield ปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากการลดลงของตัวเลขขาดดุลการค้าสหรัฐฯ และตัวเลขผู้ ขอรับสวัสดิการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้ม การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้นักลงทุนคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังอยู่ในขาขึ้น ต่อไป ณ สิ้นสัปดาห์ Yield ของ US Treasury ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-7 basis points โดยปรับตัวขึ้นมากในตราสารระยะสั้นอายุ 1-3 ปี
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.44 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น เล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์ แข็งค่าขึ้นอย่างมากจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการซื้อ สุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทยเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ประกอบกับ ผลการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมา ทำให้สามารถตั้งรัฐบาลจากพรรคการเมืองเดียว ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพและนโยบายเศรษฐกิจมีความต่อเนื่อง ปัจจัย ดังกล่าวส่งผลให้เงินบาทปรับแข็งค่าที่สุดในรอบเกือบ 5 ปี ที่ระดับ 38.21 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันจันทร์ อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงอย่าง ต่อเนื่องในช่วงกลางสัปดาห์ ตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยนที่ปรับอ่อนค่าลง หลังจากการประชุมกลุ่ม G-7 ยังไม่สามารถกดดันให้ทางการจีนปรับขึ้นค่าเงิน หยวนในระยะนี้ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยบวกจากแถลงการณ์ของ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่แสดงนัยว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้ม ลดลง ตลอดจนคำยืนยันจากประธาธิบดีสหรัฐฯ ว่าจะลดการขาดดุลงบประมาณ ลงจากระดับร้อยละ 3.5 สู่ระดับร้อยละ 1.7 ของ GDP สหรัฐฯ ภายใน ปีงบประมาณ 2551 อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยแรงขาย ทำกำไรเงินดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ แม้ว่ายอดการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ประจำเดือนธันวาคมจะลดลงและต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด แต่นักลงทุน เชื่อว่าเป็นการปรับลดลงที่ไม่ยั่งยืน และยังไม่มั่นใจในการแก้ไขปัญหา Twin Deficits ของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงและเงินบาท แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-