นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในการประชุมเตรียมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2543 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การประชุมเพื่อเตรียมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาฯ ซึ่งได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา และบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้วเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2543 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในหมวด 5 มาตรา 89 ที่ต้องการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการประเทศโดยคำนึงถึงความโปร่งในและยุติธรรม
นายสาวิตต์ กล่าวว่า สภาที่ปรึกษาฯ จะเป็นกลไกทางสังคมภาคประชาชนอีกกลไกหนึ่งในการตรวจสอบการทำงานโดยทางอ้อม นอกจากนี้ยังจะทำให้ประชาชนแน่ใจได้ว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนพัฒนาอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนดให้รับฟังความคิดเห็นจากสภาที่ปรึกษาฯ ก่อน จะมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า สภาที่ปรึกษาฯ จะมีความเชื่อมโยงกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อย่างใกล้ชิดในเรื่องกระบวนการการตัดสินใจในนโยบายของรัฐบาล ซึ่ง สศช. ถือเป็นมันสมองในการวางแผน วิเคราะห์ข้อมูลและศึกษาข้อมูลเชิงวิชาการ ในขณะที่สภาที่ปรึกษาฯ ถือเป็นกลไกภาคประชาชนที่สามารถชี้หรือบอกรัฐบาลได้ว่านโยบายพัฒนาประเทศที่ทำขึ้นนั้น สอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคมหรือไม่ อีกทั้งยังสะท้อนถึงความต้องการของประชาชนผู้รับผลของการพัฒนได้อย่างแท้จริง
ดังนั้น เมื่อมีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาฯ ขึ้นภายใน 180 วัน ตามกฎหมาย คาดว่าภารกิจแรกของสภาที่ปรึกษาฯ คือ จะต้องให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ก่อนการพิจารณาประกาศใช้ โดยมีระยะเวลาในการพิจารณาแผนฯ อย่างน้อย 30 วัน หรือภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และจัดส่งความเห็นให้คณะรัฐมนตรี ซึ่งจะได้นำความเห็นของสภาที่ปรึกษาฯ ประกอบการพิจารณา ในการจัดทำแผนพัฒนาฯ เพื่อให้สอดคล้องและตรงกับความต้องการของประชาชน อย่างแท้จริง
สำหรับขั้นตอนของการคัดเลือกสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่าสภาที่ปรึกษาฯ จะประกอบด้วยสมาชิก 99 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากบุคคลที่เป็นตัวแทนของกลุ่มประชาชนทุกภาค ส่วนได้แก่ กลุ่มในภาคเศรษฐกิจ แบ่งเป็นการผลิตด้านการเกษตร 16 คน การผลิตด้านการอุตสาหกรรม 17 คน และการผลิตด้านการบริการ 17 คน กลุ่มในภาคสังคม 19 คน กลุ่มในภาคฐานทรัพยากร 16 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 14 คน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความหลากหลายของบุคคลที่เป็นตัวแทนให้กระจายไปตามพื้นที่ อาชีพ เพศ และขนาดของกิจการ ทั้งนี้ การได้มาซึ่งสมาชิกสภาที่ปรึกษา นั้นมีกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนแรก ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ จำนวน 21 คน มีประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นประธาน และผู้แทนจากองค์กรต่าง ๆ ที่เลือกกันเองเป็นกรรมการทำหน้าที่พิจารณาสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นสมาชิก รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ จำนวน 6 คณะ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้เสนอรายชื่อองค์กรผู้มีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกของกลุ่มนั้น ๆ
ขั้นที่สอง คณะอนุกรรมการ จำนวน 6 คน ที่คณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ แต่งตั้ง ได้แก่ คณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ แต่งตั้ง ได้แก่ คณะอนุกรรมการการผลิตด้านการเกษตร ด้านการอุตสาหกรรม ด้านการบริการ กลุ่มในภาคสังคม กลุ่มในภาคฐานทรัพยากร และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ โดยแต่ละคณะประกอบด้วยอนุกรรมการ 12 คน ได้แก่ ผู้แทนภาคราชการ สถาบันการศึกษา สถาบันภาคการผลิต สหภาพแรงงาน องค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร และสื่อมวลชน ในจำนวนที่เท่ากัน โดยมีหน้าที่เสนอรายชื่อองค์กรที่มีคุณลักษณะและมีกิจกรรมที่เหมาะสมให้เป็นองค์กรผู้มีสิทธิเสนอรายชื่อสมาชิกของกลุ่ม โดยจะต้องเป็นองค์กรที่มีการดำเนินกิจกรรมจริง
ขั้นที่สาม องค์กรผู้มีสิทธเสนอชื่อจะเสนอชื่อบุคคลในกลุ่มของตนเองที่สมัครใจจะเป้นสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ โดยคณะอนุกรรมการแต่ละคณะจะคัดเลือกอีกครั้งให้เหลือเพียงจำนวน 3 เท่าของจำนวนสมาชิกที่พึงมีได้สำหรับกลุ่มนั้น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด บุคคลที่คณะอนุกรรมการคัดเลือกมานี้ แต่ละกลุ่มจะมาประชุมเพื่อเลือกกันเองตามวิธีการที่คณะกรรมการสรรหากำหนด เพื่อให้ได้บุคคลที่จะเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ จำนวน 99 คน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1/มกราคม2544--
-สส-
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การประชุมเพื่อเตรียมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาฯ ซึ่งได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา และบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้วเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2543 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในหมวด 5 มาตรา 89 ที่ต้องการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการประเทศโดยคำนึงถึงความโปร่งในและยุติธรรม
นายสาวิตต์ กล่าวว่า สภาที่ปรึกษาฯ จะเป็นกลไกทางสังคมภาคประชาชนอีกกลไกหนึ่งในการตรวจสอบการทำงานโดยทางอ้อม นอกจากนี้ยังจะทำให้ประชาชนแน่ใจได้ว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนพัฒนาอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนดให้รับฟังความคิดเห็นจากสภาที่ปรึกษาฯ ก่อน จะมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า สภาที่ปรึกษาฯ จะมีความเชื่อมโยงกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อย่างใกล้ชิดในเรื่องกระบวนการการตัดสินใจในนโยบายของรัฐบาล ซึ่ง สศช. ถือเป็นมันสมองในการวางแผน วิเคราะห์ข้อมูลและศึกษาข้อมูลเชิงวิชาการ ในขณะที่สภาที่ปรึกษาฯ ถือเป็นกลไกภาคประชาชนที่สามารถชี้หรือบอกรัฐบาลได้ว่านโยบายพัฒนาประเทศที่ทำขึ้นนั้น สอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคมหรือไม่ อีกทั้งยังสะท้อนถึงความต้องการของประชาชนผู้รับผลของการพัฒนได้อย่างแท้จริง
ดังนั้น เมื่อมีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาฯ ขึ้นภายใน 180 วัน ตามกฎหมาย คาดว่าภารกิจแรกของสภาที่ปรึกษาฯ คือ จะต้องให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ก่อนการพิจารณาประกาศใช้ โดยมีระยะเวลาในการพิจารณาแผนฯ อย่างน้อย 30 วัน หรือภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และจัดส่งความเห็นให้คณะรัฐมนตรี ซึ่งจะได้นำความเห็นของสภาที่ปรึกษาฯ ประกอบการพิจารณา ในการจัดทำแผนพัฒนาฯ เพื่อให้สอดคล้องและตรงกับความต้องการของประชาชน อย่างแท้จริง
สำหรับขั้นตอนของการคัดเลือกสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่าสภาที่ปรึกษาฯ จะประกอบด้วยสมาชิก 99 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากบุคคลที่เป็นตัวแทนของกลุ่มประชาชนทุกภาค ส่วนได้แก่ กลุ่มในภาคเศรษฐกิจ แบ่งเป็นการผลิตด้านการเกษตร 16 คน การผลิตด้านการอุตสาหกรรม 17 คน และการผลิตด้านการบริการ 17 คน กลุ่มในภาคสังคม 19 คน กลุ่มในภาคฐานทรัพยากร 16 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 14 คน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความหลากหลายของบุคคลที่เป็นตัวแทนให้กระจายไปตามพื้นที่ อาชีพ เพศ และขนาดของกิจการ ทั้งนี้ การได้มาซึ่งสมาชิกสภาที่ปรึกษา นั้นมีกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนแรก ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ จำนวน 21 คน มีประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นประธาน และผู้แทนจากองค์กรต่าง ๆ ที่เลือกกันเองเป็นกรรมการทำหน้าที่พิจารณาสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา และวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นสมาชิก รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ จำนวน 6 คณะ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้เสนอรายชื่อองค์กรผู้มีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกของกลุ่มนั้น ๆ
ขั้นที่สอง คณะอนุกรรมการ จำนวน 6 คน ที่คณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ แต่งตั้ง ได้แก่ คณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ แต่งตั้ง ได้แก่ คณะอนุกรรมการการผลิตด้านการเกษตร ด้านการอุตสาหกรรม ด้านการบริการ กลุ่มในภาคสังคม กลุ่มในภาคฐานทรัพยากร และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ โดยแต่ละคณะประกอบด้วยอนุกรรมการ 12 คน ได้แก่ ผู้แทนภาคราชการ สถาบันการศึกษา สถาบันภาคการผลิต สหภาพแรงงาน องค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร และสื่อมวลชน ในจำนวนที่เท่ากัน โดยมีหน้าที่เสนอรายชื่อองค์กรที่มีคุณลักษณะและมีกิจกรรมที่เหมาะสมให้เป็นองค์กรผู้มีสิทธิเสนอรายชื่อสมาชิกของกลุ่ม โดยจะต้องเป็นองค์กรที่มีการดำเนินกิจกรรมจริง
ขั้นที่สาม องค์กรผู้มีสิทธเสนอชื่อจะเสนอชื่อบุคคลในกลุ่มของตนเองที่สมัครใจจะเป้นสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ โดยคณะอนุกรรมการแต่ละคณะจะคัดเลือกอีกครั้งให้เหลือเพียงจำนวน 3 เท่าของจำนวนสมาชิกที่พึงมีได้สำหรับกลุ่มนั้น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด บุคคลที่คณะอนุกรรมการคัดเลือกมานี้ แต่ละกลุ่มจะมาประชุมเพื่อเลือกกันเองตามวิธีการที่คณะกรรมการสรรหากำหนด เพื่อให้ได้บุคคลที่จะเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ จำนวน 99 คน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1/มกราคม2544--
-สส-