เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และธนาคารโลก จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่อง "ยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบทแนวใหม่ในประเทศไทย" ณ โรงแรมโรสการ์เด้น อ.สามพราน จ.นครปฐม โดยมีนายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สศช. เป็นประธานเปิดการสัมมนาและมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ตัวแทนจาก 8 กระทรวงหลัก นักวิชาการองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้นำชุมชนและตัวแทนองค์กรระหว่างประเทศ จำนวนประมาณ 150 คน
นายโกมล ชอบชื่นชม รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในชนบทของประเทศไทยอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้เกิดปัญาต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันงบประมาณของรัฐเพื่อการพัฒนาชนบทได้ถูกตัดลง ด้วยเหตุนี้ ธนาคารโลกซึ่งมีความสนใจด้านการพัฒนาชนบทอยู่แล้วจึงได้ประสานความร่วมมือกับรัฐบาลไทย จัดทำ "รายงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบทแนวใหม่ในประเทศไทย" ขึ้น และได้จัดการสัมมนาครั้งนี้เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบทของประเทศ ตลอดจนพิจารณากรอบและลักษณะของแผนงานโครงการและกลไกการบริหารงานพัฒนาชนบทที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน เพื่อนำผลสรุปไปใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำร่างแผนพัฒนาชนบท ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 รวมทั้งใช้เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์กรระหว่างประเทศ
หลังจากนั้นเป็นการปาฐกถาโดย นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ผู้ทรงคุณวุฒิฯ นายเครก คีทติ้ง ผู้แทนเอกอัครราชฑูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย และนายเจฟฟรี่ ฟ๊อกซ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการพัฒนาชนบทและทรัพยากรธรรมชาติ ธนาคารโลก
นายธรรมรักษ์ กล่าวว่า รายงานฉบับนี้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศแนวใหม่ ทั้งในเรื่องการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรชุมชนท้องถิ่น การยึดพื้นที่เป็นหลักในการพัฒนา โดยการเชื่อมโยงการพัฒนาเมืองและชนบทเข้าด้วยกัน ตลอดจนการปรับปรุงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงให้ข้อเสนอแนะว่า การสร้างความเข้มแข็งขององค์การชุมชนกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอาจไม่ใช่เรื่องเดียวกัน จึงจำเป็นต้องจัดสภาพแวดล้อมในทุก ๆ ด้าน ให้เอื้อต่อการสร้างความเข้มแข็งใหแก่องค์กรชุมชนและชุมชนควบคู่กันไป นอกจากนี้ควรทำความเข้าใจกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางให้ถ่องแท้ รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับการสร้างดัชนีชี้วัดกระบวนการปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการพัฒนาชนบทด้วย
ต่อจากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษเรื่อง "Renewing Rural Development in Thailand-Key Elements of Strategy" โดย ดอกเตอร์ หลุยส์ สคูรา และการอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบทแนวใหม่ในประเทศไทย 6 ประเด็น สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน บทบาทและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาประเทศสามารถแยกความแตกต่างของบทบาทได้ 3 ช่วงได้แก่ ช่วงแผนฯ 1-7 ชุมชนเป็นผู้ถูกพัฒนา โดยภาครัฐเป็นผู้กำหนดการพัฒนา ในช่วงแผนฯ 8 เป็นช่วงที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนามากขึ้น และในช่วงแผนฯ 9 ซึ่งคาดว่าชุมชนจะเป็นผู้มีบทบาทหลักในการกำหนดแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ ตามความต้องการของชุมชนโดยที่ชุมชนเป็นผู้ดำเนินการเองและรัฐเป็นเพียงผู้ประสานงาน
2. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ นโยบายและแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรธรรมชาติภายใต้แผนฯ 8 ยังคงต้องระบุไว้ในแผนฯ 9 เนื่องจากยังไม่มีผลทางปฏิบัติมากนัก และควรเน้นการสร้างมาตรฐานต่าง ๆ ที่จะมีผลต่อการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ
3. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร ควรมีการกำหนดแนวทางการพัฒนาด้านเทคโนโยลีและงานวิจัยให้ชัดเจน เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ได้ผลอย่างจริงจัง นอกจากนี้การกำหนดนโยบายและมาตรการในการพัฒนาควรแยกพิจารณาเกษตรกรออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มเกษตรกรยากจนและกลุ่มเกษตรกรก้าวหน้า ซึ่งจำเป็นต้องใช้นโยบายและมาตรการในการพัฒนาที่แตกต่างกัน
4. การจ้างงานนอกภาคเกษตรและวิสาหกิจในชนบทรัฐควรมีบทบาทในการสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เป็นกลไกสำคัญในการสร้างรายได้นอกภาคเกษตร บนพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้านและเงินทุนในท้องถิ่นให้ชัดเจนมากขึ้น สำหรับแนวทางการพัฒนาชนบทต้องยืดหยุ่นตามสภาพปัญหาหรือความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละชุมชน โดยเฉพาะการพัฒนาด้านเทคโนโลยี นอกจากนี้การพัฒนาต้องเริ่มจากโครงการเล็ก ๆ ตามศักยภาพของชุมชน และต้องสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนร่วมคิดพัฒนาประเทศโดยไม่ต้องพึ่งพาเงินกู้จากต่างประเทศ
5. การพัฒนาการเงินและสินเชื่อในชนบท ควรให้ ธกส. เป็นสถาบันการเงินอิสระที่ปลอดจากการแทรกแซงของรัฐ และปรับเปลี่ยนบทบาทจากการให้สินเชื่อเพียงภารกิจเดียว ไปสู่ภารกิจที่หลากหลายมากขึ้น สำหรับการพัฒนาระบบการเงินในชนบทควรพิจารณาให้เชื่อมโยงกับปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณ รวมถึงต้องติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูคุณภาพชีวติเกษตรกรที่เน้นบทบาทของเกษตรกรในการมีส่วนร่วมกำหนดระเบียบและแนวทางปฏิบัติ
6. กลไกการบริหารและกรอบแผนงานและโครงการ กลไกการบริหารต้องปรับเปลี่ยนสู่แนวทางใหม่ที่มุ่งเสริมสร้างความร่วมมือ ค่านิยม ความเชื่อและจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการพัฒนาของแต่ละภาคส่วนให้เชื่อมโยงกับประเทศและไม่ควรกำหนดแนวทางการพัฒนาเป็นสูตรสำเร็จหรือกำหนดกรอบแผนจากส่วนกลางที่ขาดความยืดหยุ่นต่อการแก้ไขปัญหาของชุมชนแต่ละแห่ง การกำหนดแผนงานและโครงการใด ๆ ควรสร้างเวทีสาธารณะให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนา รวมถึงการติดตามผลความก้าวหน้าและสามารถตรวจสอบได้
ในส่วนของข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นั้น ควรเริ่มต้นจากการสร้างพลังขับเคลื่อน 4 ด้าน ได้แก่
1. ต้องปรับแนวคิดให้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ส่วนรัฐเป็นผู้ประสานไปสู่แนวคิด
2. ต้องมีกลไกในการบริหารที่เหมาะสม มีการปฏิรูปภาคราชการ และปรับกระบวนทัศน์ที่เริ่มต้นจากชุมชน รวมทั้งให้มีการปฏิรูประบบงบประมาณที่สอดคล้องกับแผนงานของชุมชน
3. สร้างกลยุทธ์การเรียนรู้โดยเน้นการเรียนรู้ที่ชุมชนเป็นเจ้าของ และมีการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อการพัฒนา
4. ส่งเสริมการจัดทำแผนการดำเนินงานชุมชน ดัชนีวัดความเข้มแข็งของชุมชน และระบบการติดตามประเมินผลที่ชัดเจน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1/มกราคม 2543--
นายโกมล ชอบชื่นชม รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในชนบทของประเทศไทยอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้เกิดปัญาต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันงบประมาณของรัฐเพื่อการพัฒนาชนบทได้ถูกตัดลง ด้วยเหตุนี้ ธนาคารโลกซึ่งมีความสนใจด้านการพัฒนาชนบทอยู่แล้วจึงได้ประสานความร่วมมือกับรัฐบาลไทย จัดทำ "รายงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบทแนวใหม่ในประเทศไทย" ขึ้น และได้จัดการสัมมนาครั้งนี้เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบทของประเทศ ตลอดจนพิจารณากรอบและลักษณะของแผนงานโครงการและกลไกการบริหารงานพัฒนาชนบทที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน เพื่อนำผลสรุปไปใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำร่างแผนพัฒนาชนบท ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 รวมทั้งใช้เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์กรระหว่างประเทศ
หลังจากนั้นเป็นการปาฐกถาโดย นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ผู้ทรงคุณวุฒิฯ นายเครก คีทติ้ง ผู้แทนเอกอัครราชฑูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย และนายเจฟฟรี่ ฟ๊อกซ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการพัฒนาชนบทและทรัพยากรธรรมชาติ ธนาคารโลก
นายธรรมรักษ์ กล่าวว่า รายงานฉบับนี้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศแนวใหม่ ทั้งในเรื่องการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรชุมชนท้องถิ่น การยึดพื้นที่เป็นหลักในการพัฒนา โดยการเชื่อมโยงการพัฒนาเมืองและชนบทเข้าด้วยกัน ตลอดจนการปรับปรุงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงให้ข้อเสนอแนะว่า การสร้างความเข้มแข็งขององค์การชุมชนกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอาจไม่ใช่เรื่องเดียวกัน จึงจำเป็นต้องจัดสภาพแวดล้อมในทุก ๆ ด้าน ให้เอื้อต่อการสร้างความเข้มแข็งใหแก่องค์กรชุมชนและชุมชนควบคู่กันไป นอกจากนี้ควรทำความเข้าใจกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางให้ถ่องแท้ รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับการสร้างดัชนีชี้วัดกระบวนการปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการพัฒนาชนบทด้วย
ต่อจากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษเรื่อง "Renewing Rural Development in Thailand-Key Elements of Strategy" โดย ดอกเตอร์ หลุยส์ สคูรา และการอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบทแนวใหม่ในประเทศไทย 6 ประเด็น สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน บทบาทและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาประเทศสามารถแยกความแตกต่างของบทบาทได้ 3 ช่วงได้แก่ ช่วงแผนฯ 1-7 ชุมชนเป็นผู้ถูกพัฒนา โดยภาครัฐเป็นผู้กำหนดการพัฒนา ในช่วงแผนฯ 8 เป็นช่วงที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนามากขึ้น และในช่วงแผนฯ 9 ซึ่งคาดว่าชุมชนจะเป็นผู้มีบทบาทหลักในการกำหนดแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ ตามความต้องการของชุมชนโดยที่ชุมชนเป็นผู้ดำเนินการเองและรัฐเป็นเพียงผู้ประสานงาน
2. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ นโยบายและแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรธรรมชาติภายใต้แผนฯ 8 ยังคงต้องระบุไว้ในแผนฯ 9 เนื่องจากยังไม่มีผลทางปฏิบัติมากนัก และควรเน้นการสร้างมาตรฐานต่าง ๆ ที่จะมีผลต่อการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ
3. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร ควรมีการกำหนดแนวทางการพัฒนาด้านเทคโนโยลีและงานวิจัยให้ชัดเจน เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ได้ผลอย่างจริงจัง นอกจากนี้การกำหนดนโยบายและมาตรการในการพัฒนาควรแยกพิจารณาเกษตรกรออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มเกษตรกรยากจนและกลุ่มเกษตรกรก้าวหน้า ซึ่งจำเป็นต้องใช้นโยบายและมาตรการในการพัฒนาที่แตกต่างกัน
4. การจ้างงานนอกภาคเกษตรและวิสาหกิจในชนบทรัฐควรมีบทบาทในการสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เป็นกลไกสำคัญในการสร้างรายได้นอกภาคเกษตร บนพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้านและเงินทุนในท้องถิ่นให้ชัดเจนมากขึ้น สำหรับแนวทางการพัฒนาชนบทต้องยืดหยุ่นตามสภาพปัญหาหรือความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละชุมชน โดยเฉพาะการพัฒนาด้านเทคโนโลยี นอกจากนี้การพัฒนาต้องเริ่มจากโครงการเล็ก ๆ ตามศักยภาพของชุมชน และต้องสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนร่วมคิดพัฒนาประเทศโดยไม่ต้องพึ่งพาเงินกู้จากต่างประเทศ
5. การพัฒนาการเงินและสินเชื่อในชนบท ควรให้ ธกส. เป็นสถาบันการเงินอิสระที่ปลอดจากการแทรกแซงของรัฐ และปรับเปลี่ยนบทบาทจากการให้สินเชื่อเพียงภารกิจเดียว ไปสู่ภารกิจที่หลากหลายมากขึ้น สำหรับการพัฒนาระบบการเงินในชนบทควรพิจารณาให้เชื่อมโยงกับปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณ รวมถึงต้องติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูคุณภาพชีวติเกษตรกรที่เน้นบทบาทของเกษตรกรในการมีส่วนร่วมกำหนดระเบียบและแนวทางปฏิบัติ
6. กลไกการบริหารและกรอบแผนงานและโครงการ กลไกการบริหารต้องปรับเปลี่ยนสู่แนวทางใหม่ที่มุ่งเสริมสร้างความร่วมมือ ค่านิยม ความเชื่อและจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการพัฒนาของแต่ละภาคส่วนให้เชื่อมโยงกับประเทศและไม่ควรกำหนดแนวทางการพัฒนาเป็นสูตรสำเร็จหรือกำหนดกรอบแผนจากส่วนกลางที่ขาดความยืดหยุ่นต่อการแก้ไขปัญหาของชุมชนแต่ละแห่ง การกำหนดแผนงานและโครงการใด ๆ ควรสร้างเวทีสาธารณะให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนา รวมถึงการติดตามผลความก้าวหน้าและสามารถตรวจสอบได้
ในส่วนของข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นั้น ควรเริ่มต้นจากการสร้างพลังขับเคลื่อน 4 ด้าน ได้แก่
1. ต้องปรับแนวคิดให้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ส่วนรัฐเป็นผู้ประสานไปสู่แนวคิด
2. ต้องมีกลไกในการบริหารที่เหมาะสม มีการปฏิรูปภาคราชการ และปรับกระบวนทัศน์ที่เริ่มต้นจากชุมชน รวมทั้งให้มีการปฏิรูประบบงบประมาณที่สอดคล้องกับแผนงานของชุมชน
3. สร้างกลยุทธ์การเรียนรู้โดยเน้นการเรียนรู้ที่ชุมชนเป็นเจ้าของ และมีการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อการพัฒนา
4. ส่งเสริมการจัดทำแผนการดำเนินงานชุมชน ดัชนีวัดความเข้มแข็งของชุมชน และระบบการติดตามประเมินผลที่ชัดเจน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1/มกราคม 2543--