ศ.ดร.ลิปปนนท์ เกตุทัต ประธานกรรมการประชาพิจารณ์โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยผลการประชุมประชาพิจารณ์โครงการก่อสร้างโรงงานโรงไฟฟ้าที่บ้านบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ได้จัดให้มีขึ้นในระหว่างวันที่ 10 - 11 กันยายน 2542
ประธานกรรมการฯ กล่าวว่า การจัดทำประชาพิจารณ์โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณบ้านบ่อนอก ตำบลบ่อนอก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยโครงการดังกล่าวเป็น 1 ใน 7 ของโครงการ IPP (Independent Power Producer) ที่รัฐเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมประมูลเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ ทั้งนี้โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่บริเวณนี้มีบริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจนเนอเรชั่น จำกัด เป็นเจ้าของโครงการ
สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดทำประชาพิจารณ์ครั้งนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะจากประชาชนผู้มีส่วนได้เสียจากโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 โดยอนุโลม ได้มีการประชาพิจารณ์ประเด็นสำคัญ ๆ รวม 4 ประเด็นด้วยกัน คือ เรื่องระบบนิเวศทางทะเล-การประมง มลพิษในอากาศ สังคม-การเมือง และความมั่นคง-ผลได้ผลเสียต่อสาธารณชน ผลการประชุมประชาพิจารณ์ในชั้นนี้สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ประเด็นระบบนิเวศทางทะเล-ประมง โดยมีความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง/ผู้แทน ดังนี้
- ผู้แทนส่วนราชการ มีความเห็นในแนวทางเดียวกัน โดยเห็นว่า แนวทางและมาตรการต่างๆ ที่รัฐกำหนดทั้งก่อนและหลังการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อนิเวศทางทะเลและประมงที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวประมง การสูญเสียทรัพยากรทางทะเลจากการดำเนินการผลิตไฟฟ้า การปล่อยของเสียจากเรือขนถ่ายถ่านหิน และการเปลี่ยนวัฏจักรห่วงโซ่ชีวิตของสัตว์น้ำ สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้หากมีประเด็นผลกระทบที่มีความสำคัญที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นอีกก็สามารถกำหนดมาตรการต่าง ๆ ให้บริษัทดำเนินการได้
- ที่ปรึกษา/ผู้ชำนาญ/นักวิชาการ มีความเห็นว่าการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ยังขาดภาพรวมของปริมาณทรัพยากรทางทะเล ทั้งการสูญเสียตัวอ่อนของสัตว์เศรษฐกิจ และแพลงตอน จากการสูบน้ำทะเล เพื่อใช้ในระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้า และจะต้องมีการศึกษาความสูญเสีย รวมถึงผลกระทบต่อวัฏจักรชีวิตของสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนแนวทางการแก้ไข เพื่อสร้างความสมดุลระบบนิเวศทางทะเลและช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการ โดยการสร้างความอุดมสมบูรณ์และทดแทนทรัพยากรที่สูญเสียไปจากการสร้างโรงไฟฟ้า เช่น การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ พร้อมทั้งชดเชยความสูญเสียให้แก่ชาวประมง โดยจัดตั้งกองทุนและดำเนินการโดยไตรภาคี เป็นต้น
- ผู้มีส่วนได้เสีย ฝ่ายผู้สนับสนุนมีความเห็นว่าการสร้างท่าเทียบเรือจะเป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำขนาดเล็กที่สามารถทดแทนปะการังเทียมของกรมประมง และป้องกันไม่ให้มีการทำประมงอวนลาก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนประมงชายฝั่งได้อีกทางหนึ่ง
ส่วนทางฝ่ายผู้คัดค้าน มีความเห็นว่า การดำเนินการตามโครงการจะส่งผลกระทบต่อปริมาณทรัพยากรทางทะเล ทั้งจากการสูบน้ำ และระดับอุณหภูมิของน้ำที่ปล่อยออกมาของโรงไฟฟ้าที่จะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและวัฏจักรสัตว์น้ำ จนเป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวประมง
2. ประเด็นมลพิษทางอากาศ
- ผู้แทนส่วนราชการ มีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า การดำเนินงานของโรงไฟฟ้าบ่อนอกจะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และออกไซด์ของไนโตรเจนแต่ไม่มากนัก และอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน จึงไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนในบริเวณบ่อนอกหรือบริเวณเขาสามร้อยยอด เนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศและคุณภาพของถ่านหินมมีปริมาณซัลเฟอร์ต่ำ นอกจากนี้ บริษัทยังมีระบบตรวจสอบ ติดตาม และรายงานผลการควบคุมปริมาณมลพิษในอากาศ โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่นและประชาชนบ้านบ่อนอก
- ที่ปรึกษา/ผู้ชำนาญการ/นักวิชาการ มีความเห็นว่า รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของบริษัทฯ ยังมีจุดอ่อนที่ควรแก้ไข เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดจากการดำเนินงานของโครงการ ได้แก่
1) การขนถ่ายถ่านหินทางเรือ ควรมีระบบป้องกันการกระจายของฝุ่นที่ดีกว่านี้
2) วิธีกำจัดขี้เถ้า ควรเปลี่ยนจาก "ระบบฝังกลบ" เป็น "การนำขี้เถ้าไปใช้ประโยชน์" ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นแม้จะไม่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ ยังขาดความชัดเจนในเรื่องพื้นที่กองขี้เถ้า รวมทั้งวิธีการจัดระบบปัญหาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นในช่วงที่ยังไม่มีการฝังกลบ
3) ถ่านหินที่ใช้ แม้จะมีปริมาณซัลเฟอร์ต่ำก็ควรมีระบบกำจัดซัลเฟอร์ โดยอาจใช้ระบบ Fuel Gas Desulfurization หรือใช้เตาเผาชนิดพิเศษ Fluidized Base
4) ควรมีการจตรวจวัดปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบริเวณชุมชน และอุทยานเขาสามร้อยยอด
- ผู้มีส่วนได้เสีย ทางฝ่ายผู้สนับสนุนเห็นว่า การดำเนินการก่อสร้างตามโครงการมีความเหมาะสมเนื่องจาก
1) ได้คำนึงถึงความเหมาะสมในการคัดเลือกสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า
2) ได้กำหนดมาตรฐานมลพิษที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้าอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐานของธนาคารโลก
3) ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินคุณภาพดี มีซัลเฟอร์ต่ำ รวมทั้งมีแหล่งจัดหาที่มั่นคงแน่นอน และเพียงพอในระยะยาว
4) มีการออกแบบระบบขนถ่ายถ่านหิน ระบบการดักฝุ่น และระบบการกำจัดขี้เถ้า และฝุ่นละออง เป็นไปตามมาตรฐานที่หน่วยงานของรัฐกำหนด
5) มีการวิเคราะห์แบบจำลอง ที่ใช้ข้อมูลของหน่วยราชการภายใต้สภาพภูมิอากาศที่ใกล้เคียงความเป็นจริง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะไม่เกิดความเสียหายจากการดำเนินโครงการ
6) การขนถ่ายถ่านหินด้วยเรือขนาดใหญ่ จะไม่ก่อให้เกิดมลภาวะจากการกำจัดขยะเนื่องจากมีระบบกำจัดขยะภายในเรือเพื่อลดต้นทุนของการให้บริการ
7) มีการสร้างความมั่นใจในเรื่องของการตรวจสอบและประเมินผลคุณภาพของอากาศ โดยการติดตั้งสถานีตรวจอากาศ 4 จุด ในบริเวณชุมชนบ่อนอก วนอุทยานเขาสามร้อยยอด กุยบุรี และย่านชุมชนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
8) บริษัทยินดีให้การสนับสนุนชุมชน และสมทบกองทุนเพื่อช่วยป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินงานของโครงการ
สำหรับทางฝ่ายผู้คัดค้านไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างโครงการเนื่องจาก
1) ส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และการประกอบอาชีพด้านประมงและการเกษตร
2) ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของราษฎรและสภาพแวดล้อมของวนอุทยานเขาสามร้อยยอด เนื่องจากมลพิษในอากาศ
3) ไม่มั่นใจในคุณภาพของถ่านหินที่ใช้ในโรงไฟฟ้า เช่น เกรงว่าอาจมีการนำถ่านหินคุณภาพต่ำจากพม่ามาใช้
4) ขาดความเชื่อมั่นในการจัดทำระบบหรือมาตรฐานการตรวจสอบมลพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5) การทำประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ ดำเนินการผิดขั้นตอนและไม่มีกฎหมายรองรับ
3. ประเด็นสังคม การเมือง ความมั่นคง และผลได้เสียต่อสาธารณชน
- ผู้แทนส่วนราชการ มีความเห็นว่า ความมั่นคงของระบบโครงสร้างพื้นฐานจะเป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้จะต้องสร้างความโปร่งใสในการอนุมัติโครงการ โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมาย
- ที่ปรึกษา/ผู้ชำนาญการ/นักวิชาการ มีความเห็นว่า ความมั่นคงของชุมชนตั้งอยู่บนรากฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอน อย่างไรก็ตาม ควรใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานเสริมต้นทุนการผลิตสูงกว่าการใช้พลังงานจากถ่านหิน
- ผู้มีส่วนได้เสีย ฝ่ายสนับสนุนมีความเห็นว่า การก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะสามารถสร้างงานและรายได้ให้แก่ชุมชน รวมทั้งพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญ นอกจากนี้สามารถที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมควบคู่ไปด้วยกันได้ หากมีการกำหนดเขตของการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมให้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ควรมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานของไตรภาคีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ฝ่ายสนับสนุนเห็นว่าบริษัทฯ ยินดีดำเนินการตามข้อเสนอแนะของชุมชนเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ด้วย
ฝ่ายผู้คัดค้าน มีความเห็นว่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ควรพัฒนาเฉพาะการท่องเที่ยวและการประมงสำหรับการประมาณการต้นทุนของโครงการควรต้องคำนึงถึงต้นทุนของสังคมด้วย นอกจากนี้ประชาชนยังขาดความเชื่อมั่นว่าบริษัทฯ จะปฏิบัติตามข้อเสนอและมาตรการในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
ประธานกรรมการฯ ได้กล่าวสรุปว่า ขณะนี้คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ กำลังดำเนินการจัดทำรายงานผลการประชุมประชาพิจารณ์ฯ ซึ่งจะครอบคลุมเนื้อหาสาระของการประชุมประชาพิจารณ์ตามที่กล่าวข้างต้นอย่างครบถ้วนที่สุด เพื่อนำเสนอรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค) เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2542--
ประธานกรรมการฯ กล่าวว่า การจัดทำประชาพิจารณ์โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณบ้านบ่อนอก ตำบลบ่อนอก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยโครงการดังกล่าวเป็น 1 ใน 7 ของโครงการ IPP (Independent Power Producer) ที่รัฐเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมประมูลเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ ทั้งนี้โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่บริเวณนี้มีบริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจนเนอเรชั่น จำกัด เป็นเจ้าของโครงการ
สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดทำประชาพิจารณ์ครั้งนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะจากประชาชนผู้มีส่วนได้เสียจากโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 โดยอนุโลม ได้มีการประชาพิจารณ์ประเด็นสำคัญ ๆ รวม 4 ประเด็นด้วยกัน คือ เรื่องระบบนิเวศทางทะเล-การประมง มลพิษในอากาศ สังคม-การเมือง และความมั่นคง-ผลได้ผลเสียต่อสาธารณชน ผลการประชุมประชาพิจารณ์ในชั้นนี้สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ประเด็นระบบนิเวศทางทะเล-ประมง โดยมีความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง/ผู้แทน ดังนี้
- ผู้แทนส่วนราชการ มีความเห็นในแนวทางเดียวกัน โดยเห็นว่า แนวทางและมาตรการต่างๆ ที่รัฐกำหนดทั้งก่อนและหลังการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อนิเวศทางทะเลและประมงที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวประมง การสูญเสียทรัพยากรทางทะเลจากการดำเนินการผลิตไฟฟ้า การปล่อยของเสียจากเรือขนถ่ายถ่านหิน และการเปลี่ยนวัฏจักรห่วงโซ่ชีวิตของสัตว์น้ำ สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้หากมีประเด็นผลกระทบที่มีความสำคัญที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นอีกก็สามารถกำหนดมาตรการต่าง ๆ ให้บริษัทดำเนินการได้
- ที่ปรึกษา/ผู้ชำนาญ/นักวิชาการ มีความเห็นว่าการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ยังขาดภาพรวมของปริมาณทรัพยากรทางทะเล ทั้งการสูญเสียตัวอ่อนของสัตว์เศรษฐกิจ และแพลงตอน จากการสูบน้ำทะเล เพื่อใช้ในระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้า และจะต้องมีการศึกษาความสูญเสีย รวมถึงผลกระทบต่อวัฏจักรชีวิตของสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนแนวทางการแก้ไข เพื่อสร้างความสมดุลระบบนิเวศทางทะเลและช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการ โดยการสร้างความอุดมสมบูรณ์และทดแทนทรัพยากรที่สูญเสียไปจากการสร้างโรงไฟฟ้า เช่น การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ พร้อมทั้งชดเชยความสูญเสียให้แก่ชาวประมง โดยจัดตั้งกองทุนและดำเนินการโดยไตรภาคี เป็นต้น
- ผู้มีส่วนได้เสีย ฝ่ายผู้สนับสนุนมีความเห็นว่าการสร้างท่าเทียบเรือจะเป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำขนาดเล็กที่สามารถทดแทนปะการังเทียมของกรมประมง และป้องกันไม่ให้มีการทำประมงอวนลาก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนประมงชายฝั่งได้อีกทางหนึ่ง
ส่วนทางฝ่ายผู้คัดค้าน มีความเห็นว่า การดำเนินการตามโครงการจะส่งผลกระทบต่อปริมาณทรัพยากรทางทะเล ทั้งจากการสูบน้ำ และระดับอุณหภูมิของน้ำที่ปล่อยออกมาของโรงไฟฟ้าที่จะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและวัฏจักรสัตว์น้ำ จนเป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวประมง
2. ประเด็นมลพิษทางอากาศ
- ผู้แทนส่วนราชการ มีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า การดำเนินงานของโรงไฟฟ้าบ่อนอกจะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และออกไซด์ของไนโตรเจนแต่ไม่มากนัก และอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน จึงไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนในบริเวณบ่อนอกหรือบริเวณเขาสามร้อยยอด เนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศและคุณภาพของถ่านหินมมีปริมาณซัลเฟอร์ต่ำ นอกจากนี้ บริษัทยังมีระบบตรวจสอบ ติดตาม และรายงานผลการควบคุมปริมาณมลพิษในอากาศ โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่นและประชาชนบ้านบ่อนอก
- ที่ปรึกษา/ผู้ชำนาญการ/นักวิชาการ มีความเห็นว่า รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของบริษัทฯ ยังมีจุดอ่อนที่ควรแก้ไข เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดจากการดำเนินงานของโครงการ ได้แก่
1) การขนถ่ายถ่านหินทางเรือ ควรมีระบบป้องกันการกระจายของฝุ่นที่ดีกว่านี้
2) วิธีกำจัดขี้เถ้า ควรเปลี่ยนจาก "ระบบฝังกลบ" เป็น "การนำขี้เถ้าไปใช้ประโยชน์" ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นแม้จะไม่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ ยังขาดความชัดเจนในเรื่องพื้นที่กองขี้เถ้า รวมทั้งวิธีการจัดระบบปัญหาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นในช่วงที่ยังไม่มีการฝังกลบ
3) ถ่านหินที่ใช้ แม้จะมีปริมาณซัลเฟอร์ต่ำก็ควรมีระบบกำจัดซัลเฟอร์ โดยอาจใช้ระบบ Fuel Gas Desulfurization หรือใช้เตาเผาชนิดพิเศษ Fluidized Base
4) ควรมีการจตรวจวัดปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบริเวณชุมชน และอุทยานเขาสามร้อยยอด
- ผู้มีส่วนได้เสีย ทางฝ่ายผู้สนับสนุนเห็นว่า การดำเนินการก่อสร้างตามโครงการมีความเหมาะสมเนื่องจาก
1) ได้คำนึงถึงความเหมาะสมในการคัดเลือกสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า
2) ได้กำหนดมาตรฐานมลพิษที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้าอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐานของธนาคารโลก
3) ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินคุณภาพดี มีซัลเฟอร์ต่ำ รวมทั้งมีแหล่งจัดหาที่มั่นคงแน่นอน และเพียงพอในระยะยาว
4) มีการออกแบบระบบขนถ่ายถ่านหิน ระบบการดักฝุ่น และระบบการกำจัดขี้เถ้า และฝุ่นละออง เป็นไปตามมาตรฐานที่หน่วยงานของรัฐกำหนด
5) มีการวิเคราะห์แบบจำลอง ที่ใช้ข้อมูลของหน่วยราชการภายใต้สภาพภูมิอากาศที่ใกล้เคียงความเป็นจริง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะไม่เกิดความเสียหายจากการดำเนินโครงการ
6) การขนถ่ายถ่านหินด้วยเรือขนาดใหญ่ จะไม่ก่อให้เกิดมลภาวะจากการกำจัดขยะเนื่องจากมีระบบกำจัดขยะภายในเรือเพื่อลดต้นทุนของการให้บริการ
7) มีการสร้างความมั่นใจในเรื่องของการตรวจสอบและประเมินผลคุณภาพของอากาศ โดยการติดตั้งสถานีตรวจอากาศ 4 จุด ในบริเวณชุมชนบ่อนอก วนอุทยานเขาสามร้อยยอด กุยบุรี และย่านชุมชนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
8) บริษัทยินดีให้การสนับสนุนชุมชน และสมทบกองทุนเพื่อช่วยป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินงานของโครงการ
สำหรับทางฝ่ายผู้คัดค้านไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างโครงการเนื่องจาก
1) ส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และการประกอบอาชีพด้านประมงและการเกษตร
2) ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของราษฎรและสภาพแวดล้อมของวนอุทยานเขาสามร้อยยอด เนื่องจากมลพิษในอากาศ
3) ไม่มั่นใจในคุณภาพของถ่านหินที่ใช้ในโรงไฟฟ้า เช่น เกรงว่าอาจมีการนำถ่านหินคุณภาพต่ำจากพม่ามาใช้
4) ขาดความเชื่อมั่นในการจัดทำระบบหรือมาตรฐานการตรวจสอบมลพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5) การทำประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ ดำเนินการผิดขั้นตอนและไม่มีกฎหมายรองรับ
3. ประเด็นสังคม การเมือง ความมั่นคง และผลได้เสียต่อสาธารณชน
- ผู้แทนส่วนราชการ มีความเห็นว่า ความมั่นคงของระบบโครงสร้างพื้นฐานจะเป็นปัจจัยหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้จะต้องสร้างความโปร่งใสในการอนุมัติโครงการ โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมาย
- ที่ปรึกษา/ผู้ชำนาญการ/นักวิชาการ มีความเห็นว่า ความมั่นคงของชุมชนตั้งอยู่บนรากฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอน อย่างไรก็ตาม ควรใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานเสริมต้นทุนการผลิตสูงกว่าการใช้พลังงานจากถ่านหิน
- ผู้มีส่วนได้เสีย ฝ่ายสนับสนุนมีความเห็นว่า การก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะสามารถสร้างงานและรายได้ให้แก่ชุมชน รวมทั้งพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญ นอกจากนี้สามารถที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมควบคู่ไปด้วยกันได้ หากมีการกำหนดเขตของการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมให้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ควรมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานของไตรภาคีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ฝ่ายสนับสนุนเห็นว่าบริษัทฯ ยินดีดำเนินการตามข้อเสนอแนะของชุมชนเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ด้วย
ฝ่ายผู้คัดค้าน มีความเห็นว่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ควรพัฒนาเฉพาะการท่องเที่ยวและการประมงสำหรับการประมาณการต้นทุนของโครงการควรต้องคำนึงถึงต้นทุนของสังคมด้วย นอกจากนี้ประชาชนยังขาดความเชื่อมั่นว่าบริษัทฯ จะปฏิบัติตามข้อเสนอและมาตรการในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
ประธานกรรมการฯ ได้กล่าวสรุปว่า ขณะนี้คณะกรรมการประชาพิจารณ์ฯ กำลังดำเนินการจัดทำรายงานผลการประชุมประชาพิจารณ์ฯ ซึ่งจะครอบคลุมเนื้อหาสาระของการประชุมประชาพิจารณ์ตามที่กล่าวข้างต้นอย่างครบถ้วนที่สุด เพื่อนำเสนอรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค) เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2542--