นายสรรเสริฐ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยผลการสัมมนาเรื่อง "การเสริมสร้างความเข้าใจในการจัดทำแผนพัฒนาระดับพื้นที่ภายใต้ทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งได้ดำเนินการในระดับอนุภาค 9 อนุภาค มีตัวแทนที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องในการจัดทำแผนระดับพื้นที่เข้าร่วมประชุมอนุภาคละประมาณ 300 คน โดยได้จัดสัมมนาในช่วงวันที่ 24 สิงหาคม - 15 กันยายน 2543
เลขาธิการฯ กล่าวว่า การสัมมนาดังกล่าวนอกจากช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในทิศทางตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่จะเป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับพื้นที่แล้ว ยังเป็นการระดมความคิดเห็นในการเชื่อมโยงระหว่างแผนพัฒนาระดับชุมชน ซึ่งเป็นหัวใจของแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่ กับการประสานแผนงานของท้องถิ่น แผนอำเภอ และจังหวัด ตลอดจนได้ความชัดเจนในกระบวนการความร่วมมือระหว่างภาคีการพัฒนาต่างๆ ในการจัดทำแผนพัฒนาระดับชุมชน ซึ่งมีผลสรุปดังนี้
การเชื่อมโยงระหว่างแผนพัฒนาระดับชุมชนกับแผนของทางราชการ ควรมีการสร้างความเข้าใจในแผนฯ 9 ให้ชุมชนโดยเน้นความเข้าใจ สาระสำคัญ และกระบวนการของแผนที่ได้มาจากการะดมความคิดจากประชาชนทั่วประเทศ ตลอดจนจัดทำวิสัยทัศน์ ร่วมกับระดับชุมชนในลักษณะพหุภาคี นอกจากนั้น แผนชุมชนควรเน้นในเรื่องของกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ที่ได้และเป็นแผนที่ครบวงจรทั้งระยะสั้นและระยะยาวทั้งนี้ต้องเป็นแผนที่ชุมชนทำขึ้นเอง มีการใช้ศักยภาพของชุมชนศึกษารากเหง้าชุมชนแล้วสร้างเป็นระบบข้อมูลภายในชุมชนและมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสร้างเครือข่ายชุมชนเพื่อประสานความร่วมมือจากภายนอก และขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐในสิ่งที่เกินขีดความสามารถของชุมชน
ความร่วมมือระหว่างภาคีการพัฒนาต่างๆ ในการจัดทำแผนพัฒนาระดับชุมชน มีการกำหนดบทบาทแต่ละภาคให้ชัดเจนทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน ชุมชนและองค์กรท้องถิ่น รวมทั้งร่วมมือกันส่งเสริมให้เกิดประชาคมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย และสร้างกลไกการประสานงานของพหุภาคี ในระดับท้องถิ่น ในส่วนที่จะสนับสนุนชุมชนเพื่อบูรณาการเป็นศูนย์องค์รวมของชุมชน
นายสรรเสริฐ กล่าวในตอนท้ายว่า สำหรับประเด็นที่ทั้ง 9 อนุภาคเห็นว่าควรได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลางในการแปลงแผนฯ 9 ไปสู่การปฏิบัตินั้น คือการกำหนดเป็นนโยบายให้การสนับสนุนข้าราชการในส่วนภูมิภาคเข้าร่วมทำงานในประชาคม และสนับสนุนงบประมาณและกลไกการสร้างวิทยากรพี่เลี้ยงในกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อช่วยเหลือชุมชน สำหรับการเชื่อมโยงแผนพัฒนาระดับชุมชนกับแผนของท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด และส่วนกลาง ควรมีการบูรณาการทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติเพื่อลดความซ้ำซ้อนของแผนงาน / โครงการกลุ่มเป้าหมายและงบประมาณในการปฏิบัติ ส่วนการสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัตินั้น ควรมีการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบต่างๆ ให้เอื้อต่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ เช่น การปฏิรูประบบบริหารงบประมาณให้กระจายสู่ชุมชนอย่างชัดเจน มีระบบข้อมูลที่เป็นของชุมชนและเชื่อมโยงสู่ระบบสากล เป็นต้น รวมทั้งมีการปรับบทบาทส่วนกลางจากสั่งการเป็นสนับสนุนและเอื้อต่อการพัฒนาชุมชน นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่เห็นว่า ควรมีกระบวนการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแผนฯ 9 แก่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาระของแผนฯ ที่มาจากประชาชน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2543--
-สส-
เลขาธิการฯ กล่าวว่า การสัมมนาดังกล่าวนอกจากช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในทิศทางตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่จะเป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับพื้นที่แล้ว ยังเป็นการระดมความคิดเห็นในการเชื่อมโยงระหว่างแผนพัฒนาระดับชุมชน ซึ่งเป็นหัวใจของแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่ กับการประสานแผนงานของท้องถิ่น แผนอำเภอ และจังหวัด ตลอดจนได้ความชัดเจนในกระบวนการความร่วมมือระหว่างภาคีการพัฒนาต่างๆ ในการจัดทำแผนพัฒนาระดับชุมชน ซึ่งมีผลสรุปดังนี้
การเชื่อมโยงระหว่างแผนพัฒนาระดับชุมชนกับแผนของทางราชการ ควรมีการสร้างความเข้าใจในแผนฯ 9 ให้ชุมชนโดยเน้นความเข้าใจ สาระสำคัญ และกระบวนการของแผนที่ได้มาจากการะดมความคิดจากประชาชนทั่วประเทศ ตลอดจนจัดทำวิสัยทัศน์ ร่วมกับระดับชุมชนในลักษณะพหุภาคี นอกจากนั้น แผนชุมชนควรเน้นในเรื่องของกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ที่ได้และเป็นแผนที่ครบวงจรทั้งระยะสั้นและระยะยาวทั้งนี้ต้องเป็นแผนที่ชุมชนทำขึ้นเอง มีการใช้ศักยภาพของชุมชนศึกษารากเหง้าชุมชนแล้วสร้างเป็นระบบข้อมูลภายในชุมชนและมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสร้างเครือข่ายชุมชนเพื่อประสานความร่วมมือจากภายนอก และขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐในสิ่งที่เกินขีดความสามารถของชุมชน
ความร่วมมือระหว่างภาคีการพัฒนาต่างๆ ในการจัดทำแผนพัฒนาระดับชุมชน มีการกำหนดบทบาทแต่ละภาคให้ชัดเจนทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน ชุมชนและองค์กรท้องถิ่น รวมทั้งร่วมมือกันส่งเสริมให้เกิดประชาคมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย และสร้างกลไกการประสานงานของพหุภาคี ในระดับท้องถิ่น ในส่วนที่จะสนับสนุนชุมชนเพื่อบูรณาการเป็นศูนย์องค์รวมของชุมชน
นายสรรเสริฐ กล่าวในตอนท้ายว่า สำหรับประเด็นที่ทั้ง 9 อนุภาคเห็นว่าควรได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลางในการแปลงแผนฯ 9 ไปสู่การปฏิบัตินั้น คือการกำหนดเป็นนโยบายให้การสนับสนุนข้าราชการในส่วนภูมิภาคเข้าร่วมทำงานในประชาคม และสนับสนุนงบประมาณและกลไกการสร้างวิทยากรพี่เลี้ยงในกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อช่วยเหลือชุมชน สำหรับการเชื่อมโยงแผนพัฒนาระดับชุมชนกับแผนของท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด และส่วนกลาง ควรมีการบูรณาการทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติเพื่อลดความซ้ำซ้อนของแผนงาน / โครงการกลุ่มเป้าหมายและงบประมาณในการปฏิบัติ ส่วนการสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัตินั้น ควรมีการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบต่างๆ ให้เอื้อต่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ เช่น การปฏิรูประบบบริหารงบประมาณให้กระจายสู่ชุมชนอย่างชัดเจน มีระบบข้อมูลที่เป็นของชุมชนและเชื่อมโยงสู่ระบบสากล เป็นต้น รวมทั้งมีการปรับบทบาทส่วนกลางจากสั่งการเป็นสนับสนุนและเอื้อต่อการพัฒนาชุมชน นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่เห็นว่า ควรมีกระบวนการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแผนฯ 9 แก่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาระของแผนฯ ที่มาจากประชาชน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2543--
-สส-