เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2542 นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงข่าวแก่สื่อมวลชน เรื่อง ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 2/2542 ณ ห้องประชุมสุนทร หงส์ลดารมภ์ สศช.
เลขาธิการฯ กล่าวว่า จากภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่ผ่านมา โดยพิจารณาจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 2 ของปี 2542 มีทิศทางปรับตัวดีขึ้นทั้งด้านการผลิตและด้านการใช้จ่ายเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา กล่าวคือ
ด้านการผลิต มีทิศทางขยายตัวสูงกว่าไตรมาสแรก เนื่องจากสาขาอุตสาหกรรมซึ่งเป็นสาขาหลักมีทิศทางขยายตัวสูงขึ้นทั้งด้านการผลิตเพื่อการส่งออก และการผลิตเพื่อใช้ในประเทศในสินค้าที่สำคัญ
ด้านการใช้จ่าย การบริโภคของครัวเรือนเริ่มปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าคงทน เช่น รถยนต์นั่งและเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐบาลนั้นขยายตัวในอัตราสูงกว่าด้านอื่น ๆ ทุกด้าน เนื่องมาจากการใช้จ่ายตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจจากเงินกู้เริ่มใช้จ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ส่วนการลงทุนในประเทศปรับทิศทางขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 9 ไตรมาสที่ผ่านมา
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเบื้องต้นไตรมาสที่ 2 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2541 ขยายตัวร้อยละ 3.5 และหากเทียบกับไตรมาสแรกที่ผ่านมาโดยปรับด้วยดัชนีฤดูกาลแล้ว ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 0.4 ทั้งนี้สาขาการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้แก่
(1) สาขาการเกษตร การผลิตสาขาเกษตรในไตรมาสที่ 2 ของปี 2542 ขยายตัวร้อยละ 1.3 เนื่องจากการขยายตัวของรายการสำคัญคือ การผลิตหมวดพืชผลและปศุสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 โดยพืชผลหลักที่ขยายตัวได้แก่ ยางพารา อ้อย พืชน้ำมัน ผัก และผลไม้ ส่วนพืชที่มีการผลิตลดลงได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง และกาแฟ ซึ่งเป็นไปตามวัฎจักรของการเพราะปลูก
สำหรับปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 11.9 โดยมีรายการสำคัญที่ขยายตัวคือ โค กระบือ ส่วนด้านการประมงผลิตได้ลดลงในไตรมาสนี้ เนื่องจากการปิดอ่าวในช่วงตั้งแต่ 15 เมษายน - 15 มิถุนายน ของทุกปี ประกอบกับการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำลดลงเนื่องจากมีโรคไวรัสตัวแดงดวงขาวและการห้ามเลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืด
(2) สาขาอุตสาหกรรม การผลิตสาขาอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 2 ปี 2542 ขยายตัวร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมสำคัญที่มีการขยายตัวสูงได้แก่
หมวดอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร การผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ เนื่องจากการเร่งผลิตเพื่อเป็นสินค้าคงคลัง เนื่องจากสัมปทานโรงกลั่นสุราจะหมดอายุในช่วงปลายปีนี้
หมวดอุตสาหกรรมอโลหะ สินค้าที่สำคัญในหมวดนี้คือ การผลิตปูนซิเมนต์
หมวดอุตสาหกรรมเครื่องจักรและเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน หมวดนี้ขยายตัวค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศขยายตัวร้อยละ 18.0
หมวดอุตสาหกรรมยานยนต์ ขยายตัวโดยรวมร้อยละ 90 เป็นต้น
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของสาขาการผลิตที่มีอัตราการขยายตัวชะลอลง ได้แก่
(1) สาขาไฟฟ้าและประปา ผลผลิตลดลงร้อยละ 4.9 สาเหตุสำคัญเนื่องจากการผลิตและกระแสไฟฟ้าซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 85.0 ของสาขานี้ลดลงร้อยละ 5.5
(2) สาขาก่อสร้าง ภาวะการก่อสร้างในไตรมาสที่ 2 ลดลงร้อยละ 7.2 ดีขึ้นกว่าอัตราหดตัวร้อยละ 25.9 ในไตรมาสที่ 1 เนื่องจากลดลงในอัตราที่น้อยกว่าไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมา
(3) การเงินการธนาคาร การธนาคารเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 33.1 ทั้งนี้เป็นเพราะการดำเนินธุรกรรมด้านการเงินยังอยู่ในภาวะซบเซา ธนาคารยังปล่อยกู้ได้น้อย การฝากเงินถอนเงินมีน้อย จึงทำให้รายได้จากการขายบริการด้านการเงินของธนาคารลดลงไปด้วย
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของด้านการใช้จ่ายภายในประเทศ การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคสินค้าและบริการของครัวเรือน ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2542 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคที่แท้จริงของรัฐบาล ไตรมาสที่ 2 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2541 ร้อยละ 41.3 โดยค่าตอบแทนแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 และค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 90.9 เนื่องจากนโยบายการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ และการสนับสนุนการจ้างงานภายใต้โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ
สำหรับการสะสมทุนถาวรเบื้องต้นในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในอัตราร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว หลังจากที่ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2540 หรือประมาณ 9 ไตรมาสที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นผลมาจากการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 จำแนกเป็นการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 7.1 และเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 30.5
ส่วนการสะสมทุนของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 โดยเป็นการขยายตัวของการลงทุนด้านเครื่องมือ เครื่องจักรในอัตราร้อยละ 8.0 โดยเฉพาะรายการยานพาหนะและเครื่องใช้สำนักงาน ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยรวมแล้วแนวโน้มการลงทุนภาคเอกชนมีทิศทางกระเตื้องขึ้นตามปัจจัยด้านบวกคือ อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ และการใช้กำลังการผลิตของธุรกิจเริ่มปรับตัวสูงขึ้น
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 9/กันยายน 2542--
เลขาธิการฯ กล่าวว่า จากภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่ผ่านมา โดยพิจารณาจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 2 ของปี 2542 มีทิศทางปรับตัวดีขึ้นทั้งด้านการผลิตและด้านการใช้จ่ายเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา กล่าวคือ
ด้านการผลิต มีทิศทางขยายตัวสูงกว่าไตรมาสแรก เนื่องจากสาขาอุตสาหกรรมซึ่งเป็นสาขาหลักมีทิศทางขยายตัวสูงขึ้นทั้งด้านการผลิตเพื่อการส่งออก และการผลิตเพื่อใช้ในประเทศในสินค้าที่สำคัญ
ด้านการใช้จ่าย การบริโภคของครัวเรือนเริ่มปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าคงทน เช่น รถยนต์นั่งและเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐบาลนั้นขยายตัวในอัตราสูงกว่าด้านอื่น ๆ ทุกด้าน เนื่องมาจากการใช้จ่ายตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจจากเงินกู้เริ่มใช้จ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ส่วนการลงทุนในประเทศปรับทิศทางขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 9 ไตรมาสที่ผ่านมา
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเบื้องต้นไตรมาสที่ 2 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2541 ขยายตัวร้อยละ 3.5 และหากเทียบกับไตรมาสแรกที่ผ่านมาโดยปรับด้วยดัชนีฤดูกาลแล้ว ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 0.4 ทั้งนี้สาขาการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้แก่
(1) สาขาการเกษตร การผลิตสาขาเกษตรในไตรมาสที่ 2 ของปี 2542 ขยายตัวร้อยละ 1.3 เนื่องจากการขยายตัวของรายการสำคัญคือ การผลิตหมวดพืชผลและปศุสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 โดยพืชผลหลักที่ขยายตัวได้แก่ ยางพารา อ้อย พืชน้ำมัน ผัก และผลไม้ ส่วนพืชที่มีการผลิตลดลงได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง และกาแฟ ซึ่งเป็นไปตามวัฎจักรของการเพราะปลูก
สำหรับปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 11.9 โดยมีรายการสำคัญที่ขยายตัวคือ โค กระบือ ส่วนด้านการประมงผลิตได้ลดลงในไตรมาสนี้ เนื่องจากการปิดอ่าวในช่วงตั้งแต่ 15 เมษายน - 15 มิถุนายน ของทุกปี ประกอบกับการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำลดลงเนื่องจากมีโรคไวรัสตัวแดงดวงขาวและการห้ามเลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืด
(2) สาขาอุตสาหกรรม การผลิตสาขาอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 2 ปี 2542 ขยายตัวร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมสำคัญที่มีการขยายตัวสูงได้แก่
หมวดอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร การผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ เนื่องจากการเร่งผลิตเพื่อเป็นสินค้าคงคลัง เนื่องจากสัมปทานโรงกลั่นสุราจะหมดอายุในช่วงปลายปีนี้
หมวดอุตสาหกรรมอโลหะ สินค้าที่สำคัญในหมวดนี้คือ การผลิตปูนซิเมนต์
หมวดอุตสาหกรรมเครื่องจักรและเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน หมวดนี้ขยายตัวค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศขยายตัวร้อยละ 18.0
หมวดอุตสาหกรรมยานยนต์ ขยายตัวโดยรวมร้อยละ 90 เป็นต้น
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของสาขาการผลิตที่มีอัตราการขยายตัวชะลอลง ได้แก่
(1) สาขาไฟฟ้าและประปา ผลผลิตลดลงร้อยละ 4.9 สาเหตุสำคัญเนื่องจากการผลิตและกระแสไฟฟ้าซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 85.0 ของสาขานี้ลดลงร้อยละ 5.5
(2) สาขาก่อสร้าง ภาวะการก่อสร้างในไตรมาสที่ 2 ลดลงร้อยละ 7.2 ดีขึ้นกว่าอัตราหดตัวร้อยละ 25.9 ในไตรมาสที่ 1 เนื่องจากลดลงในอัตราที่น้อยกว่าไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมา
(3) การเงินการธนาคาร การธนาคารเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 33.1 ทั้งนี้เป็นเพราะการดำเนินธุรกรรมด้านการเงินยังอยู่ในภาวะซบเซา ธนาคารยังปล่อยกู้ได้น้อย การฝากเงินถอนเงินมีน้อย จึงทำให้รายได้จากการขายบริการด้านการเงินของธนาคารลดลงไปด้วย
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของด้านการใช้จ่ายภายในประเทศ การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคสินค้าและบริการของครัวเรือน ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2542 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคที่แท้จริงของรัฐบาล ไตรมาสที่ 2 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2541 ร้อยละ 41.3 โดยค่าตอบแทนแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 และค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 90.9 เนื่องจากนโยบายการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ และการสนับสนุนการจ้างงานภายใต้โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ
สำหรับการสะสมทุนถาวรเบื้องต้นในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในอัตราร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว หลังจากที่ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2540 หรือประมาณ 9 ไตรมาสที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นผลมาจากการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 จำแนกเป็นการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 7.1 และเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 30.5
ส่วนการสะสมทุนของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 โดยเป็นการขยายตัวของการลงทุนด้านเครื่องมือ เครื่องจักรในอัตราร้อยละ 8.0 โดยเฉพาะรายการยานพาหนะและเครื่องใช้สำนักงาน ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยรวมแล้วแนวโน้มการลงทุนภาคเอกชนมีทิศทางกระเตื้องขึ้นตามปัจจัยด้านบวกคือ อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ และการใช้กำลังการผลิตของธุรกิจเริ่มปรับตัวสูงขึ้น
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 9/กันยายน 2542--