สำนักติดตามประเมินผลการพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดำเนินการจ้างสถาบันพระปกเกล้า เป็นที่ปรึกษาโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีชี้วัด ผลการพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี และจ้างสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีชี้วัดครอบครัวอยู่ดีมีสุข
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะโฆษกสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักติดตามประเมินผลการพัฒนา สศช. ได้ดำเนินการจ้างสถาบันพระปกเกล้าเป็นที่ปรึกษาโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีชี้วัดผลการพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี ในวงเงิน 2,300,000 บาท ระยะเวลาการศึกษา 12 เดือน
โครงการศึกษาดังกล่าว จะครอบคลุมประเด็นการสร้างกรอบความคิดการพัฒนาดัชนีชี้วัดที่สอดคล้องกับหลักการบริหารจัดการที่ดีตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และ 9 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี
สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาดัชนีชี้วัดผลการพัฒนาดัชนีชี้วัดผลการพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดีจะประกอบด้วยข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทั้งที่เป็นข้อมูลปฐมภูมิและฑุติยภูมิ โดยได้กำหนดพื้นที่ตัวอย่างเพื่อเก็บข้อมูลและทดสอบดัชนีใน 5 ภูมิภาค ภูมิภาคละ 2 จังหวัด
โฆษกสำนักงานฯ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ สำนักติดตามประเมินผลการพัฒนา สศช. ยังได้ดำเนินการจ้างสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีชี้วัดครอบครัวอยู่ดีมีสุข ในวงเงิน 600,000 บาท ระยะเวลาการศึกษา 10 เดือน
โครงการศึกษาดังกล่าว ครอบคลุมการศึกษากรอบแนวคิดและดัชนีชี้วัดที่หน่วยงานต่างๆ ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อนำมาอ้างอิงและใช้ประโยชน์ในการดำเนินโครงการ รวมทั้งจัดทำรายการดัชนีชี้วัดครอบครัวอยู่ดีมีสุขสำหรับการพัฒนาเป็นเครื่องมือในการติดตามประเมินผลระดับประเทศ และนำดัชนีชี้วัดไปทดลองศึกษาในพื้นที่นำร่อง
ดัชนีชี้วัดครอบครัวอยู่ดีมีสุขจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มดัชนีชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว ซึ่งมีอยู่แล้วในฐานข้อมูลต่างๆ ในปัจจุบัน เพื่อสะท้อนภาวะ "ครอบครัวอยู่ดีมีสุข" 2) กลุ่มตัวชี้วัดที่ให้ข้อมูลที่จำเป็น และสามารถจัดเก็บเพิ่มเติมได้ในกระบวนการจัดทำฐานข้อมูลที่มีอยู่ และ 3) กลุ่มตัวชี้วัดที่จำเป็น แต่ยังไม่มีโอกาสจัดเก็บในกระบวนการจัดทำฐานข้อมูลในปัจจุบัน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 9/กันยายน 2544--
-สส-
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะโฆษกสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักติดตามประเมินผลการพัฒนา สศช. ได้ดำเนินการจ้างสถาบันพระปกเกล้าเป็นที่ปรึกษาโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีชี้วัดผลการพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี ในวงเงิน 2,300,000 บาท ระยะเวลาการศึกษา 12 เดือน
โครงการศึกษาดังกล่าว จะครอบคลุมประเด็นการสร้างกรอบความคิดการพัฒนาดัชนีชี้วัดที่สอดคล้องกับหลักการบริหารจัดการที่ดีตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และ 9 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี
สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาดัชนีชี้วัดผลการพัฒนาดัชนีชี้วัดผลการพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดีจะประกอบด้วยข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทั้งที่เป็นข้อมูลปฐมภูมิและฑุติยภูมิ โดยได้กำหนดพื้นที่ตัวอย่างเพื่อเก็บข้อมูลและทดสอบดัชนีใน 5 ภูมิภาค ภูมิภาคละ 2 จังหวัด
โฆษกสำนักงานฯ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ สำนักติดตามประเมินผลการพัฒนา สศช. ยังได้ดำเนินการจ้างสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีชี้วัดครอบครัวอยู่ดีมีสุข ในวงเงิน 600,000 บาท ระยะเวลาการศึกษา 10 เดือน
โครงการศึกษาดังกล่าว ครอบคลุมการศึกษากรอบแนวคิดและดัชนีชี้วัดที่หน่วยงานต่างๆ ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อนำมาอ้างอิงและใช้ประโยชน์ในการดำเนินโครงการ รวมทั้งจัดทำรายการดัชนีชี้วัดครอบครัวอยู่ดีมีสุขสำหรับการพัฒนาเป็นเครื่องมือในการติดตามประเมินผลระดับประเทศ และนำดัชนีชี้วัดไปทดลองศึกษาในพื้นที่นำร่อง
ดัชนีชี้วัดครอบครัวอยู่ดีมีสุขจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มดัชนีชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว ซึ่งมีอยู่แล้วในฐานข้อมูลต่างๆ ในปัจจุบัน เพื่อสะท้อนภาวะ "ครอบครัวอยู่ดีมีสุข" 2) กลุ่มตัวชี้วัดที่ให้ข้อมูลที่จำเป็น และสามารถจัดเก็บเพิ่มเติมได้ในกระบวนการจัดทำฐานข้อมูลที่มีอยู่ และ 3) กลุ่มตัวชี้วัดที่จำเป็น แต่ยังไม่มีโอกาสจัดเก็บในกระบวนการจัดทำฐานข้อมูลในปัจจุบัน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 9/กันยายน 2544--
-สส-