สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำสถิติผลิตภัณฑ์ในประเทศรายไตรมาส (Quarterly Gross Domestic Product QGDP) เพื่อให้เป็นข้อมูลที่มีมาตรฐานระดับสากล มีความถูกต้องชัดเจนเชื่อถือได้ และทันต่อเหตุการณ์สามารถสะท้อนข้อเท็จจริงได้ดี ซึ่งการจัดทำ QGDP นี้เป็นไปตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการ Special Data Dissemination Standard (SDDS) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่จะพัฒนาข้อมูลทางเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น
ความหมายของ QGDP และวิธีการประมวลผล
QGDP คือ สถิติที่ใช้ชี้วัดสถานะเศรษฐกิจมหาภาคของภาคเศรษฐกิจจริง (Real sector) หรือภาคการผลิตในลักษณะของค่ารวมหรือ aggregate ที่มีความถี่เป็นรายไตรมาส
วิธีประมวลผล
การประมวลผล QGDP เป็นวิธีการกะประมาณจากค่าจริงทางสถิติ (Statistical observation estimation) โดยมีการคำนวณทั้งจากข้อมูลทางตรงและทางอ้อม
การคำนวณทางตรง หมายถึง การประมาณจากค่าจริงรายไตรมาส เช่น การใช้จ่ายของรัฐบาล การส่งออก การนำเข้าและการผลิตในบางสาขาการผลิต เช่น สาขาเหมืองแร่ สาขาไฟฟ้า ประปา รวมทั้งการผลิตสินค้าและบริการของรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง
การคำนวณทางอ้อม หมายถึง การประมวลผลจากเครื่องชี้รายไตรมาส ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างสำคัญเพราะเป็นวิธีการหลักที่ใช้และ QGDP ที่ได้จะสะท้อนภาวะการณ์ได้ถูกต้องเพียงใด ขึ้นอยู่กับเครื่องชี้ที่ใช้เป็นสำคัญ
แนวคิดหลักของบัญชีประชาชาติและ QGDP
บัญชีประชาชาติเป็นข้อมูลที่แสดงภาพความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างหน่วยสถาบันเศรษฐกิจต่าง ๆ ประกอบด้วย การผลิตสินค้าและบริการ การเกิดขึ้นหรือได้มาของรายได้ ซึ่งเป็นผลตอบแทนปัจจัยการผลิตจากการผลิตสินค้าและบริการ การใช้รายได้เพื่อใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการ การออมและการลงทุนของสถาบันเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมทั้งการประกอบธุรกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยมีวิธีการคำนวณได้ 3 ทาง คือ การคำนวณด้านการผลิต ด้านรายได้และด้านรายจ่าย ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ที่เท่ากันในทางทฤษฎี โดยข้อมูลบัญชีประชาชาติรายปีเป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดมาก ความถูกต้องสูง แต่ต้องใช้ระยะเวลาประมวลผลและตรวจสอบนาน ในขณะที่ข้อมูล QGDP มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน คือ QGDP จะใช้เป็นเครื่องชี้ทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในระยะสั้น โดยต้องมีความถูกต้องและแม่นยำในเรื่องของทิศทางและสามารถรายงานผลได้รวดเร็วทันต่อการใช้ ด้วยเหตุนี้การจัดทำ QGDP ในหลายประเทศจึงมิได้ดำเนินการประมวลผลครบทั้งระบบ คือ ด้านการผลิต ด้านการใช้จ่าย และด้านรายได้ประชาชาติ โดยจะเน้นการประมวลผลที่สามารถทำได้สมบูรณ์เพียงบางด้าน เช่น ประเทศญี่ปุ่นเน้นทางด้านการใช้จ่าย (Demand side) ประเทศสหรัฐอเมริกาเน้นประมวลผลด้านรายได้
ในกรณีของประเทศไทย การจัดทำ QGDP มีการประมวลผล 2 ด้าน คือ ด้านการผลิต (Supply side) และด้านการใช้จ่าย (Demand side) กล่าวคือ มีการประมวลผลในด้านการผลิตเป็นหลัก เนื่องจากเป็นด้านที่มีข้อมูลสมบูรณ์กว่าด้านการใช้จ่าย โดยมีการจัดทำข้อมูลครบทั้งในมูลค่าราคาตลาด (current market prices) และมูลค่าราคาคงที่ (constant Prices) ซึ่งมีปี 2531 เป็นปีฐาน ในขณะที่การประมวลผลด้านการใช้จ่ายทั้งระบบมีเพียงมูลค่าราคาตลาด มิได้ประมวลราคาคงที่ เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลใน 2 ส่วน คือ การส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการ และมูลค่าส่วนเปลี่ยนสินค้าคงคลัง
ความแตกต่างระหว่างการประมาณการหรือการพยากรณ์ QGDP กับการประมวลผล QGDP
การประมาณการหรือการพยากรณ์ QGDP หรือ GDP รายปี เป็นข้อมูลที่มีผู้จัดทำขึ้นหลายหน่วยงานในประเทศไทย เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ สศช. เป็นต้น การคำนวณ GDP เกิดจากแบบจำลองทางเศรษฐกิจ (economic model) ซึ่งประกอบด้วยสมการทางคณิตศาสตร์จำนวนหลาย ๆ สมการ โดยใช้วิธีการทางเศรษฐมิติ เพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่คิดว่าจะมีอิทธิพลต่อความเคลื่อนไหวของระบบเศรษฐกิจ อาทิ อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน การนำเข้า ส่งออก สินค้าและบริการ ราคาน้ำมัน ฯลฯ ทั้งนี้ ความแม่นยำของการประมาณการ QGDP ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น เทคนิคที่นำมาใช้ ความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ใช้กับรูปแบบหรือพฤติกรรมของสิ่งที่จะพยากรณ์ในอดีต ความทันสมัยของฐานข้อมูลที่ใช้ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงวิกฤตหรือช่วงเปลี่ยนผ่านของระบบเศรษฐกิจทั้งขาขึ้นและขาลง ความแม่นยำของการประมาณการหรือพยากรณ์จากแบบจำลองจะลดลงมาก เนื่องจากความผันผวนของตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมีมาก
การประมวลผล QGDP ของ สศช. แตกต่างจากการพยากรณ์ QGDP คือ เป็นการจัดทำจากฐานข้อมูลสถิติโดยตรงและเป็นการวัดสถานะเศรษฐกิจมหภาคของภาคเศรษฐกิจจริงในช่วงเวลาที่เหตุการณ์ได้ผ่านพ้นไปแล้วเท่านั้น
การเผยแพร่ข้อมูล QGDP และการปรับปรุง
การจัดการ QGDP โดยหลักมาตรฐานแล้วจะมีการนำเสนอผลและการปรับปรุงแก้ไขค่ารายไตรมาส รวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง คือ
1. การนำเสนอผลครั้งแรก เป็นการเผยแพร่ผล QGDP ของไตรมาสที่แล้วภายใน 3 เดือน เมื่อไตรมาสที่แล้วสิ้นสุดลง ค่าที่นำเสนอครั้งแรกนี้จะสำคัญมาก เพราะเป็นเครื่องชี้ภาวะของเศรษฐกิจระดับมหาภาคที่ทันสมัยที่สุดจะเป็นที่น่าสนใจของผู้ใช้ในการประเมินสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต โดยค่าที่นำเสนอครั้งแรกมุ่งเน้นที่ความรวดเร็วและความสามารถในการชี้ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ
2. การนำเสนอค่าครั้งที่สองหรือการปรับปรุงครั้งแรก เป็นการปรับปรุงค่าของไตรมาสย้อนหลังของไตรมาสอื่น ๆ เมื่อได้มีการเผยแพร่ข้อมูลของไตรมาสใหม่ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นมีความถูกต้องสมบูรณ์และทันสมัย อันเนื่องมาจากการได้รับมูลต่าง ๆ เพิ่มเติมสมบูรณ์ครบถ้วนมากกว่าในการเผยแพร่ครั้งแรก นอกจากนั้นการปรับดังกล่าวยังเป็นการกระทำเพื่อให้มีข้อมูลฐานที่ดีในการคำนวณค่าของไตรมาสอ้างอิงปัจจุบัน
3. การนำเสนอค่าที่ปรับปรุงครั้งที่สอง เป็นการปรับปรุงค่า QGDP ย้อนหลังทั้งหมดที่มีการเผยแพร่ข้อมูล GDP รายปีที่เป็นทางการ เนื่องจากในการจัดทำสถิติรายได้ประชาชาติข้อมูลรายปีจะเป็นหลักที่สำคัญ ซึ่งจะมีการประมวลผลในระดับรายละเอียดที่สุดและสมบูรณ์กว่าข้อมูลในรายไตรมาส ดังนั้นเมื่อมีการเผยแพร่ข้อมูลรายปีที่เป็นทางการจึงจำเป็นต้องปรับข้อมูลรายไตรมาสย้อนหลังทั้งหมดให้มีค่าเท่ากับรายปี
ประโยชน์ของ QGDP
QGDP มีประโยชน์ที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้
1. ทำให้เห็นทิศทางของเศรษฐกิจในระยะสั้น และใช้เป็นเครื่องมือกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในระยะสั้น
2. ใช้เป็นเครื่องชี้วัดสถานะของภาคเศรษฐกิจจริง (Real sector)
3. ใช้เป็นตัวเปรียบเทียบค่า (denominator) เช่นการขาดดุลงบประมาณเทียบกับ QGDP เงินกู้เทียบกับ GDP และหนี้เสีย (NPL) เทียบกับ GDP เป็นต้น
4. ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์การลงทุน การวิเคราะห์โครงการ การวิเคราะห์ผลิตภาพการผลิต เป็นต้น
แนวทางการปรับปรุงการประมวลผลให้ทันเวลาการรายงานผล
ในการรักษามาตรฐานในเรื่องกำหนดระยะเวลาเผยแพร่และปรับปรุงคุณภาพของข้อมูลให้ได้มาตรฐานขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ
1. ความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ในการประมวลข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้สำหรับประมวล QGDP และส่งให้ สศช. รวดเร็วขึ้น อย่างช้าภายใน 8 สัปดาห์หลังจากสิ้นไตรมาส ขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงยกระดับความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูลต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น ส่วนในระยะยาวควรหาทางเปลี่ยนมาใช้ข้อมูลจากการสำรวจ (Statistical Survey) โดยตรงแทนข้อมูลเพื่อการบริหารราชการ (Administrative records)
2. การใช้เวลาในการประมวลผล เนื่องจากการจัดทำ QGDP ของประเทศไทยได้จัดทำลงในรายละเอียดค่อนข้างลึก มีรายการประมวลผลประมาณ 500 รายการ นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบจัดทำยังมีภารกิจในการจัดทำข้อมูล GDP รายปีที่มีรายละเอียดมากยิ่งขึ้น ดังนั้นควรจะต้องมีการสร้างโปรแกรมฐานข้อมูลและโปรแกรมประมวลผลสำเร็จรูป และในระยะยาวควรมีการจัดสรรบุคลากรสำหรับดำเนินการ QGDP เป็นการเฉพาะ
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2542--
ความหมายของ QGDP และวิธีการประมวลผล
QGDP คือ สถิติที่ใช้ชี้วัดสถานะเศรษฐกิจมหาภาคของภาคเศรษฐกิจจริง (Real sector) หรือภาคการผลิตในลักษณะของค่ารวมหรือ aggregate ที่มีความถี่เป็นรายไตรมาส
วิธีประมวลผล
การประมวลผล QGDP เป็นวิธีการกะประมาณจากค่าจริงทางสถิติ (Statistical observation estimation) โดยมีการคำนวณทั้งจากข้อมูลทางตรงและทางอ้อม
การคำนวณทางตรง หมายถึง การประมาณจากค่าจริงรายไตรมาส เช่น การใช้จ่ายของรัฐบาล การส่งออก การนำเข้าและการผลิตในบางสาขาการผลิต เช่น สาขาเหมืองแร่ สาขาไฟฟ้า ประปา รวมทั้งการผลิตสินค้าและบริการของรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง
การคำนวณทางอ้อม หมายถึง การประมวลผลจากเครื่องชี้รายไตรมาส ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างสำคัญเพราะเป็นวิธีการหลักที่ใช้และ QGDP ที่ได้จะสะท้อนภาวะการณ์ได้ถูกต้องเพียงใด ขึ้นอยู่กับเครื่องชี้ที่ใช้เป็นสำคัญ
แนวคิดหลักของบัญชีประชาชาติและ QGDP
บัญชีประชาชาติเป็นข้อมูลที่แสดงภาพความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างหน่วยสถาบันเศรษฐกิจต่าง ๆ ประกอบด้วย การผลิตสินค้าและบริการ การเกิดขึ้นหรือได้มาของรายได้ ซึ่งเป็นผลตอบแทนปัจจัยการผลิตจากการผลิตสินค้าและบริการ การใช้รายได้เพื่อใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการ การออมและการลงทุนของสถาบันเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมทั้งการประกอบธุรกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยมีวิธีการคำนวณได้ 3 ทาง คือ การคำนวณด้านการผลิต ด้านรายได้และด้านรายจ่าย ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ที่เท่ากันในทางทฤษฎี โดยข้อมูลบัญชีประชาชาติรายปีเป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดมาก ความถูกต้องสูง แต่ต้องใช้ระยะเวลาประมวลผลและตรวจสอบนาน ในขณะที่ข้อมูล QGDP มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน คือ QGDP จะใช้เป็นเครื่องชี้ทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในระยะสั้น โดยต้องมีความถูกต้องและแม่นยำในเรื่องของทิศทางและสามารถรายงานผลได้รวดเร็วทันต่อการใช้ ด้วยเหตุนี้การจัดทำ QGDP ในหลายประเทศจึงมิได้ดำเนินการประมวลผลครบทั้งระบบ คือ ด้านการผลิต ด้านการใช้จ่าย และด้านรายได้ประชาชาติ โดยจะเน้นการประมวลผลที่สามารถทำได้สมบูรณ์เพียงบางด้าน เช่น ประเทศญี่ปุ่นเน้นทางด้านการใช้จ่าย (Demand side) ประเทศสหรัฐอเมริกาเน้นประมวลผลด้านรายได้
ในกรณีของประเทศไทย การจัดทำ QGDP มีการประมวลผล 2 ด้าน คือ ด้านการผลิต (Supply side) และด้านการใช้จ่าย (Demand side) กล่าวคือ มีการประมวลผลในด้านการผลิตเป็นหลัก เนื่องจากเป็นด้านที่มีข้อมูลสมบูรณ์กว่าด้านการใช้จ่าย โดยมีการจัดทำข้อมูลครบทั้งในมูลค่าราคาตลาด (current market prices) และมูลค่าราคาคงที่ (constant Prices) ซึ่งมีปี 2531 เป็นปีฐาน ในขณะที่การประมวลผลด้านการใช้จ่ายทั้งระบบมีเพียงมูลค่าราคาตลาด มิได้ประมวลราคาคงที่ เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลใน 2 ส่วน คือ การส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการ และมูลค่าส่วนเปลี่ยนสินค้าคงคลัง
ความแตกต่างระหว่างการประมาณการหรือการพยากรณ์ QGDP กับการประมวลผล QGDP
การประมาณการหรือการพยากรณ์ QGDP หรือ GDP รายปี เป็นข้อมูลที่มีผู้จัดทำขึ้นหลายหน่วยงานในประเทศไทย เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ สศช. เป็นต้น การคำนวณ GDP เกิดจากแบบจำลองทางเศรษฐกิจ (economic model) ซึ่งประกอบด้วยสมการทางคณิตศาสตร์จำนวนหลาย ๆ สมการ โดยใช้วิธีการทางเศรษฐมิติ เพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ที่คิดว่าจะมีอิทธิพลต่อความเคลื่อนไหวของระบบเศรษฐกิจ อาทิ อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน การนำเข้า ส่งออก สินค้าและบริการ ราคาน้ำมัน ฯลฯ ทั้งนี้ ความแม่นยำของการประมาณการ QGDP ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น เทคนิคที่นำมาใช้ ความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ใช้กับรูปแบบหรือพฤติกรรมของสิ่งที่จะพยากรณ์ในอดีต ความทันสมัยของฐานข้อมูลที่ใช้ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงวิกฤตหรือช่วงเปลี่ยนผ่านของระบบเศรษฐกิจทั้งขาขึ้นและขาลง ความแม่นยำของการประมาณการหรือพยากรณ์จากแบบจำลองจะลดลงมาก เนื่องจากความผันผวนของตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมีมาก
การประมวลผล QGDP ของ สศช. แตกต่างจากการพยากรณ์ QGDP คือ เป็นการจัดทำจากฐานข้อมูลสถิติโดยตรงและเป็นการวัดสถานะเศรษฐกิจมหภาคของภาคเศรษฐกิจจริงในช่วงเวลาที่เหตุการณ์ได้ผ่านพ้นไปแล้วเท่านั้น
การเผยแพร่ข้อมูล QGDP และการปรับปรุง
การจัดการ QGDP โดยหลักมาตรฐานแล้วจะมีการนำเสนอผลและการปรับปรุงแก้ไขค่ารายไตรมาส รวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง คือ
1. การนำเสนอผลครั้งแรก เป็นการเผยแพร่ผล QGDP ของไตรมาสที่แล้วภายใน 3 เดือน เมื่อไตรมาสที่แล้วสิ้นสุดลง ค่าที่นำเสนอครั้งแรกนี้จะสำคัญมาก เพราะเป็นเครื่องชี้ภาวะของเศรษฐกิจระดับมหาภาคที่ทันสมัยที่สุดจะเป็นที่น่าสนใจของผู้ใช้ในการประเมินสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต โดยค่าที่นำเสนอครั้งแรกมุ่งเน้นที่ความรวดเร็วและความสามารถในการชี้ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ
2. การนำเสนอค่าครั้งที่สองหรือการปรับปรุงครั้งแรก เป็นการปรับปรุงค่าของไตรมาสย้อนหลังของไตรมาสอื่น ๆ เมื่อได้มีการเผยแพร่ข้อมูลของไตรมาสใหม่ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นมีความถูกต้องสมบูรณ์และทันสมัย อันเนื่องมาจากการได้รับมูลต่าง ๆ เพิ่มเติมสมบูรณ์ครบถ้วนมากกว่าในการเผยแพร่ครั้งแรก นอกจากนั้นการปรับดังกล่าวยังเป็นการกระทำเพื่อให้มีข้อมูลฐานที่ดีในการคำนวณค่าของไตรมาสอ้างอิงปัจจุบัน
3. การนำเสนอค่าที่ปรับปรุงครั้งที่สอง เป็นการปรับปรุงค่า QGDP ย้อนหลังทั้งหมดที่มีการเผยแพร่ข้อมูล GDP รายปีที่เป็นทางการ เนื่องจากในการจัดทำสถิติรายได้ประชาชาติข้อมูลรายปีจะเป็นหลักที่สำคัญ ซึ่งจะมีการประมวลผลในระดับรายละเอียดที่สุดและสมบูรณ์กว่าข้อมูลในรายไตรมาส ดังนั้นเมื่อมีการเผยแพร่ข้อมูลรายปีที่เป็นทางการจึงจำเป็นต้องปรับข้อมูลรายไตรมาสย้อนหลังทั้งหมดให้มีค่าเท่ากับรายปี
ประโยชน์ของ QGDP
QGDP มีประโยชน์ที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้
1. ทำให้เห็นทิศทางของเศรษฐกิจในระยะสั้น และใช้เป็นเครื่องมือกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในระยะสั้น
2. ใช้เป็นเครื่องชี้วัดสถานะของภาคเศรษฐกิจจริง (Real sector)
3. ใช้เป็นตัวเปรียบเทียบค่า (denominator) เช่นการขาดดุลงบประมาณเทียบกับ QGDP เงินกู้เทียบกับ GDP และหนี้เสีย (NPL) เทียบกับ GDP เป็นต้น
4. ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์การลงทุน การวิเคราะห์โครงการ การวิเคราะห์ผลิตภาพการผลิต เป็นต้น
แนวทางการปรับปรุงการประมวลผลให้ทันเวลาการรายงานผล
ในการรักษามาตรฐานในเรื่องกำหนดระยะเวลาเผยแพร่และปรับปรุงคุณภาพของข้อมูลให้ได้มาตรฐานขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ
1. ความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ในการประมวลข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้สำหรับประมวล QGDP และส่งให้ สศช. รวดเร็วขึ้น อย่างช้าภายใน 8 สัปดาห์หลังจากสิ้นไตรมาส ขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงยกระดับความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูลต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น ส่วนในระยะยาวควรหาทางเปลี่ยนมาใช้ข้อมูลจากการสำรวจ (Statistical Survey) โดยตรงแทนข้อมูลเพื่อการบริหารราชการ (Administrative records)
2. การใช้เวลาในการประมวลผล เนื่องจากการจัดทำ QGDP ของประเทศไทยได้จัดทำลงในรายละเอียดค่อนข้างลึก มีรายการประมวลผลประมาณ 500 รายการ นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบจัดทำยังมีภารกิจในการจัดทำข้อมูล GDP รายปีที่มีรายละเอียดมากยิ่งขึ้น ดังนั้นควรจะต้องมีการสร้างโปรแกรมฐานข้อมูลและโปรแกรมประมวลผลสำเร็จรูป และในระยะยาวควรมีการจัดสรรบุคลากรสำหรับดำเนินการ QGDP เป็นการเฉพาะ
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2542--