เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2543 นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพร้อมผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่เกี่ยวข้อง ได้แถลงข่าวเรื่อง สรุปภาวะเศรษฐกิจจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสที่ 2/2543 แก่สื่อมวลชน ณ ห้องประชุมเดช สนิทวงศ์ สศช.
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2543 เมื่อพิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ขยายตัวร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นการปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาสแรกของปีนี้ที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีรวมทั้งปริมาณสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวได้ร้อยละ 5.9 สูงกว่าร้อยละ 1.3 ของครึ่งปีแรกของปีทีแล้ว และเมื่อหักรายได้สุทธิจากปัจจัยการผลิตระหว่างประเทศแล้วพบว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือ GNP ขยายตัวได้รัอยละ 8.0
เลขาธิการ ฯ สศช. กล่าวต่อไปว่า ด้านการผลิต ขยายตัวสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลจากการขยายตัวของการผลิตทั้งในภาคเกษตร ได้แก่ การผลิตพืชผลและการประมงและนอกภาคเกษตร ได้แก่ การผลิตพืชผลและการประมงและนอกภาคเกษตร ประกอบด้วยอุตสาหกรรมและบริการที่สนบสนุนภาคการผลิต ส่วนสาขาการผลิตที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สาขาการก่อสร้างภาครัฐ และสาขาการเงินการธนาคาร
ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายของครัวเรือนเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย ส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐยังคงขยายตัวในอัตราสูง สำหรับการลงทุนยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะการลงทุนของภาคเอกชนที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกสินค้าและบริการในรูปของมูลค่าที่แท้จริงยังคงขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ดีภาวะการใช้จ่ายของครัวเรือนที่ชะลอลงและปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรที่มีมาก จึงส่งผลให้มีการสะสมสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้
สำหรับการผลิตที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ได้แก่
สาขาเกษตรกรรม ขยายตัวร้อยละ 5.2 โดยเพิ่มขึ้นทั้งหมวดพืชผล ปศุสัตว์ และประมง
หมวดพืชผล ขยายตัวร้อยละ 5.2 โดยพืชที่ผลิตเพิ่มขึ้น เช่นข้าวนาปรัง ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่ว ผัก และกาแฟ เป็นต้น
หมวดปศุสัตว์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเลี้ยงสุกร ไก่เนื้อ และผลผลิตไข่ไก่
หมวดประมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เนื่องจากการขยายตัวของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ที่สามารถส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มขึ้น
สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 9.0 โดยมีการกระจายตัวไปในเกือบทุกหมวด ยกเว้นหมวดอาหารเครื่องดื่มและยาสูบ และหมวดปิโตรเลียม อุตสาหกรรมที่เติบโตได้ดีในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องจักรและเครื่องใช้สำนักงานคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ อุปกรณ์การสื่อสาร อุตสาหกรรมยานยนต์ และอัญมณีและเครื่องประดับเป็นต้น
สาขาการผลิตอื่นที่ขยายตัวดีขึ้น ได้แก่ สาขาการค้าส่ง ค้าปลีก ขยายตัวร้อยละ 5.1 ซึ่งเป็นไปตามการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรและการนำเข้า สาขาคมนาคมและขนส่ง ขยายตัวร้อยละ 7.8 โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าที่ขยายตัวตามผลผลิตการเกษตรและอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น ทำนองเดียวกันการขนส่งทางทะเลก็เพิ่มขึ้นตามปริมาณการส่งสินค้าออกส่วนด้านโทรคมนาคมยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริการโทรศัพท์ทางไกล สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 3.8 โดยเฉพาะโรงแรมขยายตัวสูงถึงร้อยละ 13.6 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น สาขาไฟฟ้า ประปา และโรงแยกก๊าซ ขยายตัวโดยรวมร้อยละ 7.3
ส่วนสาขาการผลิตที่ลดลงในไตรมาสนี้ ได้แก่
สาขาก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 2.8 เป็นผลมาจากการก่อสร้าง ภาครัฐบาลลดลงร้อยละ 10.6 เนื่องจากการชะลอการเบิกจ่ายเงินโครงการก่อสร้างของหน่วยราชการ ส่วนกลางและรัฐวิสาหกิจ ในขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนกลับขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 17.8 โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครเริ่มปรับตัวเป็นบวกครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเป็นต้นมา
สาขาการเงิน ลดลงร้อยละ 3.6 เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับต่ำ จึงไม่จูงใจให้ภาคเอกชนและภาคครัวเรือนเกิดการออม แต่หันไปลงทุนในหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
ภาคการใช้จ่าย
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน ไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 4.8 โดยการชะลอตัวลงนี้เป็นผลมาจากข้อจำกัดในเรื่องรายได้ของประชากรส่วนใหญ่คือเกษตรกรที่ต้องประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 10.4 โดยหมวดเงินเดือนค่าจ้างและบริการเพิ่มร้อยละ 17.2 ซึ่งเป็นไปตามนโยบายเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น (หรือการลงทุน) ขยายตัวร้อยละ 1.6 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ประกอบด้วยการลงทุนในส่วนของเครื่องมือเครื่องจักรเพิ่มร้อยละ 7.4 และการก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 ในขณะที่การลงทุนภาครัฐบาลกลับเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 10.6 ในไตรมาสนี้ เนื่องจากการชะลอการเบิกจ่ายโครงการด้านการก่อสร้างของหน่วยราชการส่วนกลางและรัฐวิสาหกิจ
การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือ มูลค่าสินค้าคงเหลือประจำไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นเป็น 44,159 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการสะสมสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นในสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าวนาปรังและสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง ด้ายและเส้นใยเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ซีเมนต์และเครื่องรับโทรทัศน์ เป็นต้น
ภาคต่างประเทศ
การส่งออกและบริการตามมูลค่าที่แท้จริง (Real term) ในไตรมาสนี้ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 15.2 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว โดยเป็นสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 85.7 ของมูลค่าการส่งออกสินค้ารวมทุกประเภท ขยายตัวร้อยละ 85.7 ของมูลค่าการส่งออกสินค้ารวมทุกประเภท ขยายตัวร้อยละ 18.9 ในขณะที่สินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 5.8 โดยสินค้าที่ส่งออกได้มากในไตรมาสนี้ ได้แก่ ยางพารา ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 78.3 สำหรับด้านบริการส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.3 เพราะรายได้จากการท่องเที่ยวชะลอตามจำนวนนักท่องเที่ยว ต่างชาติที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เทียบกับร้อยละ 9.1 ของไตรมาสที่แล้ว รวมทั้งรายรับจากการบริการอื่นลดลง
การนำเข้าสินค้าและบริการตามมูลค่าที่แท้จริง (Real term) ขยายตัวร้อยละ 16.0 สินค้านำเข้าที่สำคัญยังคงเป็นสินค้าทุนโดยมีมูลค่านำเข้าตามราคา c.i.f. (Cost,Insurance and Freight) เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5 สินค้าประเภทวัตถุดิบขยายตัวร้อยละ 33.1 สินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 26.5 สินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงขยายตัวสูงถึงร้อยละ 51.6 ส่วนในด้านบริการลดลงร้อยละ 4.9 เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวของคนไทยในต่างประเทศลดลง
ดุลการค้าและดุลบริการ เกินดุล 73,657 ล้านบาทประกอบด้วยดุลการค้าเกินดุล 35,797 ล้านบาท และดุลบริการเกินดุล 37,860 ล้านบาท
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวต่อไปว่า ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (หรือ GDP Deflator) ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.8 สูงกว่าดีชนีราคาผู้บริโภค (หรืออัตราเงินเฟ้อ) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 และต่ำกว่าดัชนีราคาผู้ผลิต (หรือดัชนีราคาขายส่งเดิม) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 โดยมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และค่าขนส่ง
สำหรับแนวโน้มและประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2543 โดยภาพรวมคาดว่าราคาน้ำมันที่ยังคงมรแนวโน้มอยู่ในระดับสูงประกอบกับราคาพืชผลต่ำและความซบเซาของตลาดหลักทรัพย์จะเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างไรก็ดีเศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มที่ดีในครึ่งปีหลังของปีจะยังเป็นปัจจัยการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชน ดังนั้นโดยภาพรวมคาดว่าเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังจะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นจากในครึ่งปีหลังของปีที่แล้ว แต่ด้วยอัตราที่ชะลอตัวลงกว่าการขยายตัวในครึ่งแรกของปี 2543 โดยคาดว่าจะโดยรวมตลอดปี 2543 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 5.0
การขยายตัวของเศรษฐกิจดังกล่าวจะมีปัจจัยสนับสนุนทั้งจากอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ ในขณะที่ภาคการผลิตโดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรมและบริการจะขยายตัวได้ในระดับใกล้เคียงกับการขยายตัวร้อยละ 5.4 โดยเป็นการขยายตัวของการบริโภคอุปโภคของภาคเอกชนร้อยละ 4.5 และของภาครัฐบาลขยายตัวร้อยละ 10.0 และการลงทุนภาครัฐหดตัวร้อยละ 5.0 การส่งออกสินค้าทั้งปีมีมูลค่า 64.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 จากปี 2542 การนำเข้ามีมูลค่า 58.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 จากปี 2542
นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนภ.) ครั้งที่ 2/2543 ณ ห้องประชุมสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2543
ที่ประชุม ได้มีมติให้ความเห็นขอบใน 2 เรื่อง ดังนี้
สนับสนุนการบริหารจัดการให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรับถ่ายโอนภารกิจการบริการสาธารณะจากส่วนกลางซึ่งในปีงบประมาณ 2544 มีงบประมาณสำหรับการถ่ายโอนภารกิจและบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมคุณภาพชีวิตและคุณภาพสิ่งแวดล้อม จำนวน 32,332 ล้านบาท ที่ประชุมมีมติให้มีการสนับสนุนการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการถ่ายโอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้สำนักงบประมาณเป็นแกนกลางร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลัง ประสานกับหน่วยงานที่มีการถ่ายโอนเพื่อจัดทำรายละเอียดแนวทางการปฎิบัติให้ชัดเจนในการบริหารและเบิกจ่ายเงิน รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ขณะเดียวกันให้ส่วนราชการผู้ถ่ายโอนภารกิจจัดอบรมและประชาสัมพันธ์แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง
ปรับปรุงระบบบริหารงานพัฒนาภูมิภาคและท้องถิ่นให้เป็นกลไกหลักในการผลักดันนโยบายที่สนับสนุนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยเฉพาะนโยบายด้านการพัฒนาภูมิภาคและชนบท ที่จะต้องดำเนินการอย่างเข้มแข็งและจริงจังเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชนบทได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ควรมีการปรับนโยบายของกนภ. ให้ชัดเจนมีเอกภาพและเป็นรูปธรรม โดยดำเนินงานเฉพาะเรื่องที่เป็นประเด็นระดับชาติ อันได้แก่ การแก้ไขปัญหาความยากจน การสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งปรับแนวทางการจัดสรรวบประมาณให้สอดคล้องกับแนวโยบายตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในช่วง แผนฯ 9 โดยใช้กระบวนการงบประมาณที่เน้นผลงาน มีการประเมินผลอย่างใกล้ชิดและเป็นระบบ โดยใช้ระบบติดตามประเมินผล
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติคณะกรรมการ กนภ. ที่สำคัญได้แก่
ความก้าวหน้าการจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 โดยเป็นองค์การกลางทางการเงินของชุมชนที่เกิดจากการยุบรวมสำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง การเคหะแห่งชาติ และกองทุนพัฒนาชนบทเข้าด้วยกันโดยมีงบประมาณ จากกองทุนเดิมที่ยุบรวมกัน ประมาณ 2,500 ล้านบาท และรัฐได้จัดสรรเพิ่มเติมให้อีก 500 ล้านบาท
งบประมาณเพื่อกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น ในปีงบประมาณ 2544 ได้รับการจัดสรรจำนวน 172,518.34 ล้านบาท โดยแยกเป็นงบประมารณที่จัดสรรให้ 8 กระทรวงหลัก และ 2 หน่วยงานเสริม ภายใต้ระบบ กนภ.จำนวน 96,194.4 ล้านบาท จัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2544 จำนวน 73,286.3 ล้าน บาท และจัดสรรให้สำหรับมาตรการเสริมสร้างการพัฒนาชนบทและชุมชน จำนวน 3,037.64 ล้านบาท
กรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ซึ่ง ครม. ได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 โดยมีกรอบวิสัยทัศน์ที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อมุ่งสู่สังคมที่เข้มแข็ง และมีดุลยภาพ โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำรายละเอียดในยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน ซึ่งมีการปรับการจัดการพื้นที่ในมิติใหม่ ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของเมืองและชนบท--จบ--
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 9/กันยายน 2543--
-สส-
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2543 เมื่อพิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ขยายตัวร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นการปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาสแรกของปีนี้ที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีรวมทั้งปริมาณสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวได้ร้อยละ 5.9 สูงกว่าร้อยละ 1.3 ของครึ่งปีแรกของปีทีแล้ว และเมื่อหักรายได้สุทธิจากปัจจัยการผลิตระหว่างประเทศแล้วพบว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือ GNP ขยายตัวได้รัอยละ 8.0
เลขาธิการ ฯ สศช. กล่าวต่อไปว่า ด้านการผลิต ขยายตัวสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลจากการขยายตัวของการผลิตทั้งในภาคเกษตร ได้แก่ การผลิตพืชผลและการประมงและนอกภาคเกษตร ได้แก่ การผลิตพืชผลและการประมงและนอกภาคเกษตร ประกอบด้วยอุตสาหกรรมและบริการที่สนบสนุนภาคการผลิต ส่วนสาขาการผลิตที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สาขาการก่อสร้างภาครัฐ และสาขาการเงินการธนาคาร
ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายของครัวเรือนเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย ส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐยังคงขยายตัวในอัตราสูง สำหรับการลงทุนยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะการลงทุนของภาคเอกชนที่มีทิศทางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกสินค้าและบริการในรูปของมูลค่าที่แท้จริงยังคงขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ดีภาวะการใช้จ่ายของครัวเรือนที่ชะลอลงและปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรที่มีมาก จึงส่งผลให้มีการสะสมสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้
สำหรับการผลิตที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ได้แก่
สาขาเกษตรกรรม ขยายตัวร้อยละ 5.2 โดยเพิ่มขึ้นทั้งหมวดพืชผล ปศุสัตว์ และประมง
หมวดพืชผล ขยายตัวร้อยละ 5.2 โดยพืชที่ผลิตเพิ่มขึ้น เช่นข้าวนาปรัง ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่ว ผัก และกาแฟ เป็นต้น
หมวดปศุสัตว์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเลี้ยงสุกร ไก่เนื้อ และผลผลิตไข่ไก่
หมวดประมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เนื่องจากการขยายตัวของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ที่สามารถส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มขึ้น
สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 9.0 โดยมีการกระจายตัวไปในเกือบทุกหมวด ยกเว้นหมวดอาหารเครื่องดื่มและยาสูบ และหมวดปิโตรเลียม อุตสาหกรรมที่เติบโตได้ดีในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องจักรและเครื่องใช้สำนักงานคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ อุปกรณ์การสื่อสาร อุตสาหกรรมยานยนต์ และอัญมณีและเครื่องประดับเป็นต้น
สาขาการผลิตอื่นที่ขยายตัวดีขึ้น ได้แก่ สาขาการค้าส่ง ค้าปลีก ขยายตัวร้อยละ 5.1 ซึ่งเป็นไปตามการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรและการนำเข้า สาขาคมนาคมและขนส่ง ขยายตัวร้อยละ 7.8 โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าที่ขยายตัวตามผลผลิตการเกษตรและอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น ทำนองเดียวกันการขนส่งทางทะเลก็เพิ่มขึ้นตามปริมาณการส่งสินค้าออกส่วนด้านโทรคมนาคมยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริการโทรศัพท์ทางไกล สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 3.8 โดยเฉพาะโรงแรมขยายตัวสูงถึงร้อยละ 13.6 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น สาขาไฟฟ้า ประปา และโรงแยกก๊าซ ขยายตัวโดยรวมร้อยละ 7.3
ส่วนสาขาการผลิตที่ลดลงในไตรมาสนี้ ได้แก่
สาขาก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 2.8 เป็นผลมาจากการก่อสร้าง ภาครัฐบาลลดลงร้อยละ 10.6 เนื่องจากการชะลอการเบิกจ่ายเงินโครงการก่อสร้างของหน่วยราชการ ส่วนกลางและรัฐวิสาหกิจ ในขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนกลับขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 17.8 โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครเริ่มปรับตัวเป็นบวกครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเป็นต้นมา
สาขาการเงิน ลดลงร้อยละ 3.6 เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับต่ำ จึงไม่จูงใจให้ภาคเอกชนและภาคครัวเรือนเกิดการออม แต่หันไปลงทุนในหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
ภาคการใช้จ่าย
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน ไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 4.8 โดยการชะลอตัวลงนี้เป็นผลมาจากข้อจำกัดในเรื่องรายได้ของประชากรส่วนใหญ่คือเกษตรกรที่ต้องประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 10.4 โดยหมวดเงินเดือนค่าจ้างและบริการเพิ่มร้อยละ 17.2 ซึ่งเป็นไปตามนโยบายเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น (หรือการลงทุน) ขยายตัวร้อยละ 1.6 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ประกอบด้วยการลงทุนในส่วนของเครื่องมือเครื่องจักรเพิ่มร้อยละ 7.4 และการก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 ในขณะที่การลงทุนภาครัฐบาลกลับเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 10.6 ในไตรมาสนี้ เนื่องจากการชะลอการเบิกจ่ายโครงการด้านการก่อสร้างของหน่วยราชการส่วนกลางและรัฐวิสาหกิจ
การเปลี่ยนแปลงของสินค้าคงเหลือ มูลค่าสินค้าคงเหลือประจำไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นเป็น 44,159 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการสะสมสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นในสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าวนาปรังและสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง ด้ายและเส้นใยเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ซีเมนต์และเครื่องรับโทรทัศน์ เป็นต้น
ภาคต่างประเทศ
การส่งออกและบริการตามมูลค่าที่แท้จริง (Real term) ในไตรมาสนี้ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 15.2 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว โดยเป็นสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 85.7 ของมูลค่าการส่งออกสินค้ารวมทุกประเภท ขยายตัวร้อยละ 85.7 ของมูลค่าการส่งออกสินค้ารวมทุกประเภท ขยายตัวร้อยละ 18.9 ในขณะที่สินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 5.8 โดยสินค้าที่ส่งออกได้มากในไตรมาสนี้ ได้แก่ ยางพารา ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 78.3 สำหรับด้านบริการส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.3 เพราะรายได้จากการท่องเที่ยวชะลอตามจำนวนนักท่องเที่ยว ต่างชาติที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เทียบกับร้อยละ 9.1 ของไตรมาสที่แล้ว รวมทั้งรายรับจากการบริการอื่นลดลง
การนำเข้าสินค้าและบริการตามมูลค่าที่แท้จริง (Real term) ขยายตัวร้อยละ 16.0 สินค้านำเข้าที่สำคัญยังคงเป็นสินค้าทุนโดยมีมูลค่านำเข้าตามราคา c.i.f. (Cost,Insurance and Freight) เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5 สินค้าประเภทวัตถุดิบขยายตัวร้อยละ 33.1 สินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 26.5 สินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงขยายตัวสูงถึงร้อยละ 51.6 ส่วนในด้านบริการลดลงร้อยละ 4.9 เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวของคนไทยในต่างประเทศลดลง
ดุลการค้าและดุลบริการ เกินดุล 73,657 ล้านบาทประกอบด้วยดุลการค้าเกินดุล 35,797 ล้านบาท และดุลบริการเกินดุล 37,860 ล้านบาท
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวต่อไปว่า ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (หรือ GDP Deflator) ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.8 สูงกว่าดีชนีราคาผู้บริโภค (หรืออัตราเงินเฟ้อ) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 และต่ำกว่าดัชนีราคาผู้ผลิต (หรือดัชนีราคาขายส่งเดิม) ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 โดยมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และค่าขนส่ง
สำหรับแนวโน้มและประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2543 โดยภาพรวมคาดว่าราคาน้ำมันที่ยังคงมรแนวโน้มอยู่ในระดับสูงประกอบกับราคาพืชผลต่ำและความซบเซาของตลาดหลักทรัพย์จะเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างไรก็ดีเศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มที่ดีในครึ่งปีหลังของปีจะยังเป็นปัจจัยการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชน ดังนั้นโดยภาพรวมคาดว่าเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังจะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นจากในครึ่งปีหลังของปีที่แล้ว แต่ด้วยอัตราที่ชะลอตัวลงกว่าการขยายตัวในครึ่งแรกของปี 2543 โดยคาดว่าจะโดยรวมตลอดปี 2543 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 5.0
การขยายตัวของเศรษฐกิจดังกล่าวจะมีปัจจัยสนับสนุนทั้งจากอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ ในขณะที่ภาคการผลิตโดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรมและบริการจะขยายตัวได้ในระดับใกล้เคียงกับการขยายตัวร้อยละ 5.4 โดยเป็นการขยายตัวของการบริโภคอุปโภคของภาคเอกชนร้อยละ 4.5 และของภาครัฐบาลขยายตัวร้อยละ 10.0 และการลงทุนภาครัฐหดตัวร้อยละ 5.0 การส่งออกสินค้าทั้งปีมีมูลค่า 64.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 จากปี 2542 การนำเข้ามีมูลค่า 58.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 จากปี 2542
นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนภ.) ครั้งที่ 2/2543 ณ ห้องประชุมสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2543
ที่ประชุม ได้มีมติให้ความเห็นขอบใน 2 เรื่อง ดังนี้
สนับสนุนการบริหารจัดการให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรับถ่ายโอนภารกิจการบริการสาธารณะจากส่วนกลางซึ่งในปีงบประมาณ 2544 มีงบประมาณสำหรับการถ่ายโอนภารกิจและบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมคุณภาพชีวิตและคุณภาพสิ่งแวดล้อม จำนวน 32,332 ล้านบาท ที่ประชุมมีมติให้มีการสนับสนุนการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการถ่ายโอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้สำนักงบประมาณเป็นแกนกลางร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลัง ประสานกับหน่วยงานที่มีการถ่ายโอนเพื่อจัดทำรายละเอียดแนวทางการปฎิบัติให้ชัดเจนในการบริหารและเบิกจ่ายเงิน รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ขณะเดียวกันให้ส่วนราชการผู้ถ่ายโอนภารกิจจัดอบรมและประชาสัมพันธ์แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง
ปรับปรุงระบบบริหารงานพัฒนาภูมิภาคและท้องถิ่นให้เป็นกลไกหลักในการผลักดันนโยบายที่สนับสนุนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยเฉพาะนโยบายด้านการพัฒนาภูมิภาคและชนบท ที่จะต้องดำเนินการอย่างเข้มแข็งและจริงจังเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชนบทได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ควรมีการปรับนโยบายของกนภ. ให้ชัดเจนมีเอกภาพและเป็นรูปธรรม โดยดำเนินงานเฉพาะเรื่องที่เป็นประเด็นระดับชาติ อันได้แก่ การแก้ไขปัญหาความยากจน การสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งปรับแนวทางการจัดสรรวบประมาณให้สอดคล้องกับแนวโยบายตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในช่วง แผนฯ 9 โดยใช้กระบวนการงบประมาณที่เน้นผลงาน มีการประเมินผลอย่างใกล้ชิดและเป็นระบบ โดยใช้ระบบติดตามประเมินผล
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติคณะกรรมการ กนภ. ที่สำคัญได้แก่
ความก้าวหน้าการจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 โดยเป็นองค์การกลางทางการเงินของชุมชนที่เกิดจากการยุบรวมสำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง การเคหะแห่งชาติ และกองทุนพัฒนาชนบทเข้าด้วยกันโดยมีงบประมาณ จากกองทุนเดิมที่ยุบรวมกัน ประมาณ 2,500 ล้านบาท และรัฐได้จัดสรรเพิ่มเติมให้อีก 500 ล้านบาท
งบประมาณเพื่อกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น ในปีงบประมาณ 2544 ได้รับการจัดสรรจำนวน 172,518.34 ล้านบาท โดยแยกเป็นงบประมารณที่จัดสรรให้ 8 กระทรวงหลัก และ 2 หน่วยงานเสริม ภายใต้ระบบ กนภ.จำนวน 96,194.4 ล้านบาท จัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2544 จำนวน 73,286.3 ล้าน บาท และจัดสรรให้สำหรับมาตรการเสริมสร้างการพัฒนาชนบทและชุมชน จำนวน 3,037.64 ล้านบาท
กรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ซึ่ง ครม. ได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 โดยมีกรอบวิสัยทัศน์ที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อมุ่งสู่สังคมที่เข้มแข็ง และมีดุลยภาพ โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำรายละเอียดในยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน ซึ่งมีการปรับการจัดการพื้นที่ในมิติใหม่ ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของเมืองและชนบท--จบ--
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 9/กันยายน 2543--
-สส-