นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า การสร้างคุณภาพคือการสร้างอนาคต ในการประชุมสัมมนาวาระแห่งชาติ สำหรับการประชาสัมพันธ์ เรื่อง "การสร้างคุณภาพ" ณ ห้องรีเจนซี โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา เมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า เนื่องจากภาคราชการนั้นมีขอบเขตความรับผิดชอบกว้างขวางจึงมักมองปัญหาของประเทศในระดับมหภาค รวมถึงมีแนวคิดในการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาเป็นนามธรรมมากกว่าภาคเอกชน และที่สำคัญในปัจจุบันนี้คนในสังคมกำลังเผชิญกับสภาพปัญหา 3 ประการด้วยกันคือ ประการแรกปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ประการที่ 2 ปัญหาการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นและประการสุดท้ายความปรารถนาของคนไทยที่ต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม
นายสันติ บางอ้อ กล่าวต่อไปว่า ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องเร่งแก้ไขด้วยการสร้างคุณภาพ ซึ่งทางรัฐบาลก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้โดยมติ ครม. เห็นชอบกับนโยบายการสร้างคุณภาพ ส่วนการทำให้เรื่อง "คุณภาพ" ประสบความสำเร็จได้นั้นเป็นภารกิจสำคัญที่นักประชาสัมพันธ์ต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
- รณรงค์ให้บุคลากรในหน่วยงานสนใจ ตระหนักและรับรู้เพื่อสร้างให้บุคลากรในองค์กรมีคุณภาพ
- จัดให้มีแผนงานและโครงการเพื่อหาแนวทางแก้ไขและพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานให้มีคุณภาพ เพื่อเป็นการสร้างคุณภาพให้กับหน่วยงานด้วย โดยการวิเคราะห์ปัญหาขององค์กรหรือหน่วยงาน ให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด โดยเฉพาะหน่วยงานราชการนั้นต้องให้บริการประชาชนอย่างมีคุณภาพ
ทั้งนี้ในการจัดทำแผนงานและโครงการดังกล่าว ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับแผนงานและโครงการของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถประสานการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และได้คุณภาพงานเต็มที่
ในส่วนของเรื่องมาตรฐานการวัดคุณภาพนั้น รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า ไม่ควรมีมาตรฐานกลางมาวัดเรื่องคุณภาพของแต่ละหน่วยงาน เนื่องจากสภาพแวดล้อมของแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรนั้นต่างกัน จึงขอให้นักประชาสัมพันธ์ยึดหลักการสร้างคุณภาพในการประชาสัมพันธ์คือ ต้องสามารถเปลี่ยนค่านิยม ทัศนคติและพฤติกรรมของคน
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า ภาคราชการจะสามารถสร้างคุณภาพได้จนประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อได้รับการยอมรับจากประชาชน และได้ภาพลักษณ์ที่ดีเกิดขึ้นแก่หน่วยงาน ดังนั้น หน่วยงานประชาสัมพันธ์จึงต้องมีกลยุทธ์ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนยอมรับว่า การสร้างคุณภาพ คือ การสร้างอนาคต
สำหรับแนวคิดการจัดทำวาระแห่งชาติสำหรับการประชาสัมพันธ์ เรื่อง การสร้างคุณภาพนั้นเกิดจากปัญหาสังคม ที่มีสาเหตุมาจาก ค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของคนในชาติที่มุ่งพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับผลตอบแทนระยะสั้นมากกว่าความยั่งยืนในระยะยาว เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาของชาติไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน จึงต้องสร้างความตระหนักให้คนไทยรู้จักสิทธิหน้าที่ของตนเอง รวมถึงการเปลี่ยนค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมที่จะนำไปสู่ผลของการพัฒนาสังคมไทยที่ดียิ่งขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับปรัชญาและแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8
ดังนั้นคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ จึงมีความเห็นให้กำหนดเรื่อง การสร้างคุณภาพเป็นวาระแห่งชาติสำหรับการประชาสัมพันธ์ เพราะเห็นเป็นเรื่องที่มีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมหลายด้าน ซึ่ง ครม.มีมติเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2542 เห็นชอบและอนุมัติให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเรื่องการสร้างคุณภาพดังกล่าว
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2542--
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า เนื่องจากภาคราชการนั้นมีขอบเขตความรับผิดชอบกว้างขวางจึงมักมองปัญหาของประเทศในระดับมหภาค รวมถึงมีแนวคิดในการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาเป็นนามธรรมมากกว่าภาคเอกชน และที่สำคัญในปัจจุบันนี้คนในสังคมกำลังเผชิญกับสภาพปัญหา 3 ประการด้วยกันคือ ประการแรกปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ประการที่ 2 ปัญหาการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นและประการสุดท้ายความปรารถนาของคนไทยที่ต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม
นายสันติ บางอ้อ กล่าวต่อไปว่า ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องเร่งแก้ไขด้วยการสร้างคุณภาพ ซึ่งทางรัฐบาลก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้โดยมติ ครม. เห็นชอบกับนโยบายการสร้างคุณภาพ ส่วนการทำให้เรื่อง "คุณภาพ" ประสบความสำเร็จได้นั้นเป็นภารกิจสำคัญที่นักประชาสัมพันธ์ต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
- รณรงค์ให้บุคลากรในหน่วยงานสนใจ ตระหนักและรับรู้เพื่อสร้างให้บุคลากรในองค์กรมีคุณภาพ
- จัดให้มีแผนงานและโครงการเพื่อหาแนวทางแก้ไขและพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานให้มีคุณภาพ เพื่อเป็นการสร้างคุณภาพให้กับหน่วยงานด้วย โดยการวิเคราะห์ปัญหาขององค์กรหรือหน่วยงาน ให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด โดยเฉพาะหน่วยงานราชการนั้นต้องให้บริการประชาชนอย่างมีคุณภาพ
ทั้งนี้ในการจัดทำแผนงานและโครงการดังกล่าว ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับแผนงานและโครงการของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถประสานการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และได้คุณภาพงานเต็มที่
ในส่วนของเรื่องมาตรฐานการวัดคุณภาพนั้น รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า ไม่ควรมีมาตรฐานกลางมาวัดเรื่องคุณภาพของแต่ละหน่วยงาน เนื่องจากสภาพแวดล้อมของแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรนั้นต่างกัน จึงขอให้นักประชาสัมพันธ์ยึดหลักการสร้างคุณภาพในการประชาสัมพันธ์คือ ต้องสามารถเปลี่ยนค่านิยม ทัศนคติและพฤติกรรมของคน
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า ภาคราชการจะสามารถสร้างคุณภาพได้จนประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อได้รับการยอมรับจากประชาชน และได้ภาพลักษณ์ที่ดีเกิดขึ้นแก่หน่วยงาน ดังนั้น หน่วยงานประชาสัมพันธ์จึงต้องมีกลยุทธ์ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนยอมรับว่า การสร้างคุณภาพ คือ การสร้างอนาคต
สำหรับแนวคิดการจัดทำวาระแห่งชาติสำหรับการประชาสัมพันธ์ เรื่อง การสร้างคุณภาพนั้นเกิดจากปัญหาสังคม ที่มีสาเหตุมาจาก ค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของคนในชาติที่มุ่งพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับผลตอบแทนระยะสั้นมากกว่าความยั่งยืนในระยะยาว เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาของชาติไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน จึงต้องสร้างความตระหนักให้คนไทยรู้จักสิทธิหน้าที่ของตนเอง รวมถึงการเปลี่ยนค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมที่จะนำไปสู่ผลของการพัฒนาสังคมไทยที่ดียิ่งขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับปรัชญาและแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8
ดังนั้นคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ จึงมีความเห็นให้กำหนดเรื่อง การสร้างคุณภาพเป็นวาระแห่งชาติสำหรับการประชาสัมพันธ์ เพราะเห็นเป็นเรื่องที่มีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมหลายด้าน ซึ่ง ครม.มีมติเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2542 เห็นชอบและอนุมัติให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเรื่องการสร้างคุณภาพดังกล่าว
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2542--