เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2544 นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพร้อมผู้บริหารของสำนักงานงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่เกี่ยวข้อง แถลงข่าวเรื่องสรุปภาวะเศรษฐกิจจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสที่ 4/2543 แก่สื่อมวลชน ณ ห้องประชุมเดช สนิทวงศ์ สศช.
เลขาธิการ สศช.กล่าวว่า โดยภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2543 ยังคงขยายตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 4.3 สูงกว่าร้อยละ 4.2 ของปี 2542 เพียงเล็กน้อย โดยเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.7 ในช่วงครึ่งปีแรกและชะลอตัวลงเป็นร้อยละ 3.0 ในช่วงครึ่งปีหลัง สำหรับในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 3.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.8 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 ซึ่งเป็นผลมาจากการผลิตผลทางการเกษตรออกสู่ตลาดมากในช่วงปลายปี โดยเฉพาะพืชหลัก ในขณะที่การขยายตัวของภาคการส่งออกได้เริ่มชะลอลงและความต้องการภายในประเทศยังคงชะลอตัวเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และราคาสินค้าเกษตรยังคงปรับตัวลดลงก่อให้เกิดการสะสมสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นในปลายปี
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ภาคการผลิตในไตรมาสนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 โดยการผลิตภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.2 โดยหมวดพืชผล ขยายตัวค่อนข้างสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชหลัก เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้ กาแฟ และปาล์มน้ำมัน ส่วนหมวดปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 2.8 เนื่องจากการขยายตัวของปศุสัตว์ทุกชนิด ยกเว้นโคและกระบือในขณะที่หมวดประมงก็ขยายตัวร้อยละ 5.1 ตามการขยายตัวของผลผลิตกุ้งเพื่อการส่งออก
การผลิตภาคนอกการเกษตร ขยายตัวหลายสาขา ที่สำคัญคือสาขาอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ซึ่งเป็นส่วนใหญ่เป็นผลมาจากอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเลียม ปูนซีเมนต์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น สาขาไฟฟ้าประปา เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 สาขาคมนาคมขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 สาขาการค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 2.7 สาขาบริการโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 4.8 อย่างไรก็ตาม สาขาการก่อสร้างและสาขาการธนาคารยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่าน ๆ มา
สำหรับภาคการใช้จ่ายโดยรวมภายในประเทศ ในไตรมาสนี้ยังคงปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่แล้ว โดยการใช้จ่ายยังสามารถปรับตัวเป็นบวกอยู่ ได้แก่ การอุปโภคของครัวเรือนและการส่งออก แต่ทั้งนี้ทั้งสองรายการมีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลง โดยค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและบริการ ขยายตัวร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับอัตราเพิ่มร้อยละ 4.1 ของไตรมาสที่ 3 ชี้ให้เห็นถึงภาวะชะลอของการอุปโภคบริโภคในประเทศ ทั้งนี้มีปัจจัยที่สำคัญคือ
1. ราคาสินค้าเกษตรมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกษตรกรส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำ
2. ผลกระทบของการขึ้นราคาน้ำมันในตลาดโลกทำให้ระดับราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในด้านการใช้จ่ายของรัฐบาล ลดลงร้อยละ 5.3 ส่วนการสะสมทุนของภาครัฐมีสัดส่วนรัอยละ 15.5 ในขณะที่การลงทุนในภาคเอกชนมีการขยายตัวร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากเป็นการขยายตัวของการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักร แต่โดยรวมแล้วการลงทุนในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 2.0 ซึ่งต่ำกว่าไตรมาสที่ 3 เพียงเล็กน้อย
เลขาธิการ สศช.กล่าวต่อไปว่า ด้านการส่งออกของสินค้าและบริการมีการขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 21.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยสินค้าที่ส่งออกมูลค่าสูงยังคงเป็นสินค้าอุตสาหกรรมโดยเฉพาะสินค้าที่มีการใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ในขณะที่สินค้าเกษตรที่มีการส่งออกมากในไตรมาสนี้ได้แก่ ยางพารา กุ้งสดและไก่ที่มีการแช่แข็งและแปรรูป ส่วนรายรับที่ได้จากการบริการในไตรมาสนี้ลดลงอย่างต่อเนื่องร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมาเนื่องจากการให้บริการด้านการขนส่งหดตัวลงประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวมีการขยายตัวเล็กน้อยส่วนการนำเข้าของสินค้าและบริการมีการขยายตัวร้อยละ 32.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 52.2 ขยายตัวร้อยละ 44.3 โดยสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 50.8 และ 23.0 ตามลำดับในขณะที่สินค้าขั้นกลางขยายตัวร้อยละ 12.3 ตามลำดับในขณะที่สินค้าขั้นกลางขยายตัวร้อยละ 12.3 ส่วนค่าใช้จ่ายในการซี้อบริการจากต่างประเทศหดตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการอื่น ๆ ที่หดตัวลงค่อนข้างมาก
สำหรับดุลการค้าและดุลบริการ เกินดุลลดลง โดยดุลการค้าในไตรมาสนี้เกินดุล 50,001 ล้านบาท ในขณะที่ด้านดุลบริการในไตรมาสนี้เกินดุล 49,618 ล้านบาท เมื่อรวมทั้งสองรายการเข้าด้วยกันแล้วพบว่า ในไตรมาสนี้ยังคงเกินดุลอยู่ 99,619 ล้านบาท ลดลงจากที่เกินดุล 138,485 ล้านบาทในไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้เลขาธิการฯ ยังได้กล่าวถึง การประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทยว่า จากการที่ภาวะเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวในครึ่งหลังของปี 2543 และภาวะเศรษฐกิจที่ค่อนข้างทรงตัวในเดือนมกราคมคาดว่าในปี 2544 นี้ เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 3.5 เนื่องจากมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวต่อเนื่องจากครึ่งปีที่แล้วและข้อจำกัดที่สำคัญคือภาวะเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศส่งออกที่สำคัญมีการชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ทำให้แนวโน้มการส่งออกขยายตัวได้ในอัตราที่ต่ำกว่าการขยายตัวในปีที่แล้ว
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 3/มีนาคม 2544--
-สส-
เลขาธิการ สศช.กล่าวว่า โดยภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2543 ยังคงขยายตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 4.3 สูงกว่าร้อยละ 4.2 ของปี 2542 เพียงเล็กน้อย โดยเป็นการขยายตัวร้อยละ 5.7 ในช่วงครึ่งปีแรกและชะลอตัวลงเป็นร้อยละ 3.0 ในช่วงครึ่งปีหลัง สำหรับในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 3.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.8 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 ซึ่งเป็นผลมาจากการผลิตผลทางการเกษตรออกสู่ตลาดมากในช่วงปลายปี โดยเฉพาะพืชหลัก ในขณะที่การขยายตัวของภาคการส่งออกได้เริ่มชะลอลงและความต้องการภายในประเทศยังคงชะลอตัวเนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และราคาสินค้าเกษตรยังคงปรับตัวลดลงก่อให้เกิดการสะสมสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นในปลายปี
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ภาคการผลิตในไตรมาสนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 โดยการผลิตภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.2 โดยหมวดพืชผล ขยายตัวค่อนข้างสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชหลัก เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้ กาแฟ และปาล์มน้ำมัน ส่วนหมวดปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 2.8 เนื่องจากการขยายตัวของปศุสัตว์ทุกชนิด ยกเว้นโคและกระบือในขณะที่หมวดประมงก็ขยายตัวร้อยละ 5.1 ตามการขยายตัวของผลผลิตกุ้งเพื่อการส่งออก
การผลิตภาคนอกการเกษตร ขยายตัวหลายสาขา ที่สำคัญคือสาขาอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ซึ่งเป็นส่วนใหญ่เป็นผลมาจากอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเลียม ปูนซีเมนต์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น สาขาไฟฟ้าประปา เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 สาขาคมนาคมขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 สาขาการค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 2.7 สาขาบริการโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 4.8 อย่างไรก็ตาม สาขาการก่อสร้างและสาขาการธนาคารยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่าน ๆ มา
สำหรับภาคการใช้จ่ายโดยรวมภายในประเทศ ในไตรมาสนี้ยังคงปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่แล้ว โดยการใช้จ่ายยังสามารถปรับตัวเป็นบวกอยู่ ได้แก่ การอุปโภคของครัวเรือนและการส่งออก แต่ทั้งนี้ทั้งสองรายการมีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลง โดยค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและบริการ ขยายตัวร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับอัตราเพิ่มร้อยละ 4.1 ของไตรมาสที่ 3 ชี้ให้เห็นถึงภาวะชะลอของการอุปโภคบริโภคในประเทศ ทั้งนี้มีปัจจัยที่สำคัญคือ
1. ราคาสินค้าเกษตรมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกษตรกรส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำ
2. ผลกระทบของการขึ้นราคาน้ำมันในตลาดโลกทำให้ระดับราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในด้านการใช้จ่ายของรัฐบาล ลดลงร้อยละ 5.3 ส่วนการสะสมทุนของภาครัฐมีสัดส่วนรัอยละ 15.5 ในขณะที่การลงทุนในภาคเอกชนมีการขยายตัวร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากเป็นการขยายตัวของการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักร แต่โดยรวมแล้วการลงทุนในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 2.0 ซึ่งต่ำกว่าไตรมาสที่ 3 เพียงเล็กน้อย
เลขาธิการ สศช.กล่าวต่อไปว่า ด้านการส่งออกของสินค้าและบริการมีการขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 21.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยสินค้าที่ส่งออกมูลค่าสูงยังคงเป็นสินค้าอุตสาหกรรมโดยเฉพาะสินค้าที่มีการใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ในขณะที่สินค้าเกษตรที่มีการส่งออกมากในไตรมาสนี้ได้แก่ ยางพารา กุ้งสดและไก่ที่มีการแช่แข็งและแปรรูป ส่วนรายรับที่ได้จากการบริการในไตรมาสนี้ลดลงอย่างต่อเนื่องร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมาเนื่องจากการให้บริการด้านการขนส่งหดตัวลงประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวมีการขยายตัวเล็กน้อยส่วนการนำเข้าของสินค้าและบริการมีการขยายตัวร้อยละ 32.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 52.2 ขยายตัวร้อยละ 44.3 โดยสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 50.8 และ 23.0 ตามลำดับในขณะที่สินค้าขั้นกลางขยายตัวร้อยละ 12.3 ตามลำดับในขณะที่สินค้าขั้นกลางขยายตัวร้อยละ 12.3 ส่วนค่าใช้จ่ายในการซี้อบริการจากต่างประเทศหดตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการอื่น ๆ ที่หดตัวลงค่อนข้างมาก
สำหรับดุลการค้าและดุลบริการ เกินดุลลดลง โดยดุลการค้าในไตรมาสนี้เกินดุล 50,001 ล้านบาท ในขณะที่ด้านดุลบริการในไตรมาสนี้เกินดุล 49,618 ล้านบาท เมื่อรวมทั้งสองรายการเข้าด้วยกันแล้วพบว่า ในไตรมาสนี้ยังคงเกินดุลอยู่ 99,619 ล้านบาท ลดลงจากที่เกินดุล 138,485 ล้านบาทในไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้เลขาธิการฯ ยังได้กล่าวถึง การประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทยว่า จากการที่ภาวะเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวในครึ่งหลังของปี 2543 และภาวะเศรษฐกิจที่ค่อนข้างทรงตัวในเดือนมกราคมคาดว่าในปี 2544 นี้ เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 3.5 เนื่องจากมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวต่อเนื่องจากครึ่งปีที่แล้วและข้อจำกัดที่สำคัญคือภาวะเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศส่งออกที่สำคัญมีการชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ทำให้แนวโน้มการส่งออกขยายตัวได้ในอัตราที่ต่ำกว่าการขยายตัวในปีที่แล้ว
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 3/มีนาคม 2544--
-สส-