เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2542 นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2542 ณ ห้องประชุมตึกสันติไมตรีหลังนอก ทำเนียบรัฐบาล โดยที่ประชุมได้มีมติให้ระดมความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศที่สำคัญประการหนึ่ง เพื่อให้คนในระดับฐานรากของประเทศ มีความพร้อมที่จะเผชิญปัญหาวิกฤต และมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้อย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
หลังจากนั้น ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแนวทางดังกล่าว ซึ่งในขณะนี้ ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน เข้ามามีส่วนผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2542 โดยมีหน่วยงานหลักที่เป็นแกนกลางผลักดันในเรื่องนี้ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมการปกครอง และกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งสถาบันราชภัฎ กระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับเรื่องเพื่อพิจารณาของที่ประชุม คือ การระดมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนนั้น ที่ประชุมได้มีมติดังนี้
1) ให้มีการระดมความร่วมมือของทุกกระทรวง ที่มีแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน โดยให้บุคลากรในสังกัดเข้าร่วมและใช้แผนการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นกรอบการดำเนินงาน โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาตามแผนปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
2) ให้ทุกกระทรวงชี้แจงทำความเข้าใจแก่ข้าราชการในสังกัด ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ในหลักการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ตลอดจนวิธีปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อให้เกิดการระดมความร่วมมือการปฏิบัติการในพื้นที่
3) ส่งเสริมให้ปรับวิธีคิดและวิธีการทำงานของข้าราชการในทุกระดับ จากการยึดภารกิจของหน่วยงานมาสู่การยึดความต้องการของประชาชนและชุมชน โดยมอบให้คณะอนุกรรมการพัฒนาศักยภาพของข้าราชการรับไปดำเนินการดังนี้
(1) เพิ่มวิชาความรู้พื้นฐานการพัฒนาแบบองค์รวมเข้าไปในทุกหลักสูตรของการฝึกอบรมข้าราชการของทุกหน่วยงาน เพื่อสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
(2) จัดฝึกอบรมวิทยากรกลางหลัก และวิทยากรทวีคูณของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแก่บุคลากรในสังกัดของหน่วยงานนั้น ๆ
(3) กำหนดเกณฑ์การประเมินผลข้าราชการในลักษณะการวัดความรู้การทำงานแบบองค์รวม เพื่อสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และพัฒนาให้เป็นตัวชี้วัดสำหรับใช้เป็นเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบของข้าราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป
4) การปรับปรุงกลไกการใช้งบประมาณในปี 2543 ให้ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน โดยให้กรมและหน่วยงานส่วนกลางของ 8 กระทรวงหลักกระจายอำนาจการบริหารงบประมาณให้จังหวัดเป็นผู้จัดสรรทรัพยากรลงพื้นที่ ตามแผนที่ได้จากความต้องการของชุมชน โดยมอบให้คณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤต ร่วมกับสำนักงบประมาณ และะอนุกรรมการประสานแผนพัฒนาจังหวัด รับไปดำเนินการ
5) รณรงค์ให้ประชาชนในชาติมีส่วนร่วมในการร่วมคิดร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบแก้ไขปัญหา ในการพัฒนาท้องถิ่นของตนร่วมกับภาคีการพัฒนา โดยมอบให้คณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤตร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ รับไปจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อประชาสัมพันธ์ต่อไป
6) สนับสนุนการสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานตามแผนปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤต ทั้งภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน รวมทั้งภาคีในการพัฒนาต่าง ๆ โดยมอบให้สำนักงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤตร่วมกับมูลนิธิพัฒนาไท เป็นผู้ดำเนินการ
7) เร่งรัดการจัดตั้งกลไกส่งเสริมการพัฒนาองค์กรชุมชน ที่เป็นองค์กรอิสระ เพื่อทำหน้าที่พัฒนาองค์กรชุมชนในด้านการบริหารจัดการในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรของชุมชน รวมทั้งการรับรององค์กรการเงินชุมชน หรือองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อให้เข้าถึงแหล่งสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐ ซึ่งในการนี้ กระทรวงการคลังกำลังทบทวนรูปแบบองค์กรที่เหมาะสมอยู่ ซึ่งควรเร่งรัดให้มีการจัดตั้งโดยเร็ว
8) ให้มีการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ เพื่อการเรียนรู้ที่จะนำมาสู่การปรับกระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมอบให้คณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤต ร่วมกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยใช้เครือข่ายผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจราชการของกรมและกระทรวง เป็นผู้ดำเนินการ
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 9/กันยายน 2542--
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศที่สำคัญประการหนึ่ง เพื่อให้คนในระดับฐานรากของประเทศ มีความพร้อมที่จะเผชิญปัญหาวิกฤต และมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้อย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
หลังจากนั้น ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแนวทางดังกล่าว ซึ่งในขณะนี้ ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน เข้ามามีส่วนผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2542 โดยมีหน่วยงานหลักที่เป็นแกนกลางผลักดันในเรื่องนี้ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมการปกครอง และกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งสถาบันราชภัฎ กระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับเรื่องเพื่อพิจารณาของที่ประชุม คือ การระดมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนนั้น ที่ประชุมได้มีมติดังนี้
1) ให้มีการระดมความร่วมมือของทุกกระทรวง ที่มีแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน โดยให้บุคลากรในสังกัดเข้าร่วมและใช้แผนการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นกรอบการดำเนินงาน โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาตามแผนปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
2) ให้ทุกกระทรวงชี้แจงทำความเข้าใจแก่ข้าราชการในสังกัด ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ในหลักการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ตลอดจนวิธีปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อให้เกิดการระดมความร่วมมือการปฏิบัติการในพื้นที่
3) ส่งเสริมให้ปรับวิธีคิดและวิธีการทำงานของข้าราชการในทุกระดับ จากการยึดภารกิจของหน่วยงานมาสู่การยึดความต้องการของประชาชนและชุมชน โดยมอบให้คณะอนุกรรมการพัฒนาศักยภาพของข้าราชการรับไปดำเนินการดังนี้
(1) เพิ่มวิชาความรู้พื้นฐานการพัฒนาแบบองค์รวมเข้าไปในทุกหลักสูตรของการฝึกอบรมข้าราชการของทุกหน่วยงาน เพื่อสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
(2) จัดฝึกอบรมวิทยากรกลางหลัก และวิทยากรทวีคูณของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแก่บุคลากรในสังกัดของหน่วยงานนั้น ๆ
(3) กำหนดเกณฑ์การประเมินผลข้าราชการในลักษณะการวัดความรู้การทำงานแบบองค์รวม เพื่อสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และพัฒนาให้เป็นตัวชี้วัดสำหรับใช้เป็นเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบของข้าราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป
4) การปรับปรุงกลไกการใช้งบประมาณในปี 2543 ให้ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน โดยให้กรมและหน่วยงานส่วนกลางของ 8 กระทรวงหลักกระจายอำนาจการบริหารงบประมาณให้จังหวัดเป็นผู้จัดสรรทรัพยากรลงพื้นที่ ตามแผนที่ได้จากความต้องการของชุมชน โดยมอบให้คณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อเผชิญปัญหาวิกฤต ร่วมกับสำนักงบประมาณ และะอนุกรรมการประสานแผนพัฒนาจังหวัด รับไปดำเนินการ
5) รณรงค์ให้ประชาชนในชาติมีส่วนร่วมในการร่วมคิดร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบแก้ไขปัญหา ในการพัฒนาท้องถิ่นของตนร่วมกับภาคีการพัฒนา โดยมอบให้คณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤตร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ รับไปจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อประชาสัมพันธ์ต่อไป
6) สนับสนุนการสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานตามแผนปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤต ทั้งภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน รวมทั้งภาคีในการพัฒนาต่าง ๆ โดยมอบให้สำนักงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤตร่วมกับมูลนิธิพัฒนาไท เป็นผู้ดำเนินการ
7) เร่งรัดการจัดตั้งกลไกส่งเสริมการพัฒนาองค์กรชุมชน ที่เป็นองค์กรอิสระ เพื่อทำหน้าที่พัฒนาองค์กรชุมชนในด้านการบริหารจัดการในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรของชุมชน รวมทั้งการรับรององค์กรการเงินชุมชน หรือองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อให้เข้าถึงแหล่งสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐ ซึ่งในการนี้ กระทรวงการคลังกำลังทบทวนรูปแบบองค์กรที่เหมาะสมอยู่ ซึ่งควรเร่งรัดให้มีการจัดตั้งโดยเร็ว
8) ให้มีการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ เพื่อการเรียนรู้ที่จะนำมาสู่การปรับกระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมอบให้คณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤต ร่วมกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยใช้เครือข่ายผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจราชการของกรมและกระทรวง เป็นผู้ดำเนินการ
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 9/กันยายน 2542--