คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการกรอบงบประมาณลงทุนประจำปี 2545 ของรัฐวิสาหกิจ ในภาพรวมและรายรัฐวิสาหกิจ จำนวน 50 แห่ง โดยเห็นสมควรให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการลงทุนได้ 204,899 ล้านบาท และเบิกจ่ายได้ 160,505 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ฐานะโดยรวมของรัฐวิสาหกิจขาดดุล 15,821 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.3 ของผลิตภัณฑ์มวลชนในประเทศ (GDP)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เสนอเรื่อง งบประมาณประจำปี 2545 ของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 50 แห่ง เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเมื่อวันที่ 25 กันยายน ศกนี้ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการกรอบงบประมาณลงทุนประจำปี 2545 ของรัฐวิสาหกิจ ในภาพรวมและรายรัฐวิสาหกิจ โดยเห็นสมควรให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการลงทุนได้ 204,899 ล้านบาท และเบิกจ่ายได้ 160,505 ล้านบาท ทั้งนี้ ได้พิจารณาโดยึดหลักเกณฑ์การลงทุนประจำปี 2545 ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจของปี 2545 และตอบสนองนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันรวมทั้งสนับสนุนแนวทางการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ตลอดจนเหมาะสมกับความพร้อมของรัฐวิสาหกิจที่จะสามารถดำเนินการและเบิกจ่ายได้จริงในปีนี้
ทั้งนี้ ยอดอนุมัติการเบิกจ่ายดังกล่าว จะทำให้ฐานะโดยรวมของรัฐวิสาหกิจขาดดุล 15,812 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งเป็นการขาดดุลค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับกรอบนโยบายงบประมาณของภาครัฐในปี 2545 ที่ขาดดุลร้อยละ 4.2 ของ GDP อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจในปีทีผ่านมาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จึงควรให้มีการดูแลติดตามให้รัฐวิสาหกิจดำเนินงานและเบิกจ่ายตามแผนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แผนงบประมาณเป็นประโยชน์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแท้จริง
สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาการลงทุนในปี 2545 มีหลักเกณฑ์ทั่วไปคือ 1) เป็นการลงทุนที่มีบทบาทกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ และก่อให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศ 2) มีสัดส่วนการนำเข้าต่ำ และหากจำเป็น การนำเข้านั้นต้องก่อให้เกิดรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศและคุ้มค่าต่อการลงทุน 3) เสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน หรือปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานและวางรากฐานของการพัฒนาระยะยาว รวมทั้งก่อให้เกิดผลเชื่อมโยงกับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องภายในประเทศ 4) เป็นการลงทุนตามภารกิจเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน หรือเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและท้องถิ่น และ 5) สอดคล้องกับขีดความสามารถของรับวิสาหกิจ คือ มีความพร้อมและสามารถดำเนินการได้ทันที
อย่างไรก็ตาม ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการลงทุนเพิ่มเติม โดยจะเริ่มใช้ในปี 2545 ดังนี้ 1) เป็นโครงการที่มุ่งเน้นเพิ่มคุณภาพและความปลอดภัยในการใช้บริการ ความสะดวกรวดเร็ว และการเชื่อมโยงโครงข่ายให้เป็นระบบที่สมบูรณ์ 2) เป็นโครงการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของภาคเศรษฐกิจจริง และสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ของประเทศในพื้นที่ที่มีศักยภาพ 3) เป็นโครงการที่ทำให้ประชาชนได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ 4) เป็นโครงการที่ช่วยพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่มีคุณภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้นรวมทั้งมีการป้องกันภัยธรรมชาติเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 5) เป็นโครงการที่ช่วยเสริมสร้างสมรรถนะและวางรากฐานเพื่อการแข่งขันของประเทศในระยะยาว และเตรียมความพร้อมของประเทศเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าและบริการ 6) เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ 7) เป็นโครงการที่แบ่งเบาภาระการลงทุนของภาครัฐโดยการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน 8) เป็นโครงการที่มีการศึกษาความเป็นไปได้ สำรวจ ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ มีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการสร้างความเข้าใจกับประชาชนและชุมชนในพื้นที่โครงการ และ 9) เป็นโครงการที่มีความพร้อมในการจัดเตรียมที่ดิน การจัดเตรียมบุคลากรและแผนงานบริหารโครงการไว้อย่างชัดเจน สามารถดำเนินการได้ทันทีเมื่อได้รับอนุญาต
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 2545 ของรัฐวิสาหกิจ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะรัฐมนตรีจึงให้มีการจัดประชุมเพื่อพิจารณารายละเอียดงบประมาณการลงทุนประจำปี 2545 ของรัฐวิสาหกิจเป็นการเฉพาะอีกครั้งหนึ่ง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ ประธานคณะกรรมการ ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง และเจ้าหน้าที่ด้านการเงินของรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 9/กันยายน 2544--
-สส-
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เสนอเรื่อง งบประมาณประจำปี 2545 ของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 50 แห่ง เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเมื่อวันที่ 25 กันยายน ศกนี้ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการกรอบงบประมาณลงทุนประจำปี 2545 ของรัฐวิสาหกิจ ในภาพรวมและรายรัฐวิสาหกิจ โดยเห็นสมควรให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการลงทุนได้ 204,899 ล้านบาท และเบิกจ่ายได้ 160,505 ล้านบาท ทั้งนี้ ได้พิจารณาโดยึดหลักเกณฑ์การลงทุนประจำปี 2545 ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจของปี 2545 และตอบสนองนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันรวมทั้งสนับสนุนแนวทางการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ตลอดจนเหมาะสมกับความพร้อมของรัฐวิสาหกิจที่จะสามารถดำเนินการและเบิกจ่ายได้จริงในปีนี้
ทั้งนี้ ยอดอนุมัติการเบิกจ่ายดังกล่าว จะทำให้ฐานะโดยรวมของรัฐวิสาหกิจขาดดุล 15,812 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งเป็นการขาดดุลค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับกรอบนโยบายงบประมาณของภาครัฐในปี 2545 ที่ขาดดุลร้อยละ 4.2 ของ GDP อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจในปีทีผ่านมาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จึงควรให้มีการดูแลติดตามให้รัฐวิสาหกิจดำเนินงานและเบิกจ่ายตามแผนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แผนงบประมาณเป็นประโยชน์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแท้จริง
สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาการลงทุนในปี 2545 มีหลักเกณฑ์ทั่วไปคือ 1) เป็นการลงทุนที่มีบทบาทกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ และก่อให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศ 2) มีสัดส่วนการนำเข้าต่ำ และหากจำเป็น การนำเข้านั้นต้องก่อให้เกิดรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศและคุ้มค่าต่อการลงทุน 3) เสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน หรือปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานและวางรากฐานของการพัฒนาระยะยาว รวมทั้งก่อให้เกิดผลเชื่อมโยงกับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องภายในประเทศ 4) เป็นการลงทุนตามภารกิจเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน หรือเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและท้องถิ่น และ 5) สอดคล้องกับขีดความสามารถของรับวิสาหกิจ คือ มีความพร้อมและสามารถดำเนินการได้ทันที
อย่างไรก็ตาม ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการลงทุนเพิ่มเติม โดยจะเริ่มใช้ในปี 2545 ดังนี้ 1) เป็นโครงการที่มุ่งเน้นเพิ่มคุณภาพและความปลอดภัยในการใช้บริการ ความสะดวกรวดเร็ว และการเชื่อมโยงโครงข่ายให้เป็นระบบที่สมบูรณ์ 2) เป็นโครงการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของภาคเศรษฐกิจจริง และสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ของประเทศในพื้นที่ที่มีศักยภาพ 3) เป็นโครงการที่ทำให้ประชาชนได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ 4) เป็นโครงการที่ช่วยพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่มีคุณภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้นรวมทั้งมีการป้องกันภัยธรรมชาติเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 5) เป็นโครงการที่ช่วยเสริมสร้างสมรรถนะและวางรากฐานเพื่อการแข่งขันของประเทศในระยะยาว และเตรียมความพร้อมของประเทศเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าและบริการ 6) เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ 7) เป็นโครงการที่แบ่งเบาภาระการลงทุนของภาครัฐโดยการเพิ่มบทบาทภาคเอกชน 8) เป็นโครงการที่มีการศึกษาความเป็นไปได้ สำรวจ ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ มีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการสร้างความเข้าใจกับประชาชนและชุมชนในพื้นที่โครงการ และ 9) เป็นโครงการที่มีความพร้อมในการจัดเตรียมที่ดิน การจัดเตรียมบุคลากรและแผนงานบริหารโครงการไว้อย่างชัดเจน สามารถดำเนินการได้ทันทีเมื่อได้รับอนุญาต
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 2545 ของรัฐวิสาหกิจ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะรัฐมนตรีจึงให้มีการจัดประชุมเพื่อพิจารณารายละเอียดงบประมาณการลงทุนประจำปี 2545 ของรัฐวิสาหกิจเป็นการเฉพาะอีกครั้งหนึ่ง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ ประธานคณะกรรมการ ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง และเจ้าหน้าที่ด้านการเงินของรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 9/กันยายน 2544--
-สส-