(๓.๓) การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมือง ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและลดปัญหาความยากจนทั้งในชนบทและเมือง โดยอาศัยความเข้มแข็งของชุมชน ศักยภาพของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการสร้างสภาวะแวดล้อมเมืองและชุมชนให้น่าอยู่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยเร่งปรับกลไกการบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม ให้เอื้อต่อการเชื่อมโยงการพัฒนาแบบรวมกลุ่มการผลิตและกลุ่มพื้นที่ให้เป็นฐานเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ เพื่อกระจายโอกาสการพัฒนาอย่างเกื้อกูลระหว่างชนบทและเมือง
(๓.๔) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งปรับกลไกและกระบวนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย การเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้และปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งการกำหนดมาตรการทางกฎหมายคุ้มครองพื้นที่ รวมทั้งชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีความสำคัญเพื่ออนุรักษ์ไว้สำหรับรักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์และสนับสนุนเศรษฐกิจฐานราก สนับสนุนการลดปริมาณของเสียและการนำกลับมาใช้ใหม่ ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการมลพิษ
(๓.๕) การพัฒนาเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งของภาคการเงินเพื่อผลักดันการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งรักษาวินัยทางการคลังและการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อสร้างความมั่นคงของฐานะการคลัง การปฏิรูประบบงบประมาณและการบริหารรายจ่าย ควบคู่กับการส่งเสริมการออม การกระจายอำนาจการคลังและถ่ายโอนภารกิจไปสู่ท้องถิ่น รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของประเทศในการเปิดเสรีและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศที่เอื้อประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ
(๓.๖) การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ ให้ความสำคัญกับการปรับฐานเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานรากถึงระดับมหภาค โดยการปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งกระบวนการผลิตและการจัดการ สนับสนุนขบวนการเพิ่มผลผลิต โดยปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า พัฒนาสินค้าใหม่ และพัฒนาตลาดเฉพาะ รวมทั้งปรับบทบาทภาครัฐให้สนับสนุนการเชื่อมโยงวงจรการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงการตลาด และการพัฒนาแบบรวมกลุ่มการผลิต ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อขยายฐานการผลิตให้มั่นคงและยั่งยืน
(๓.๗) การพัฒนาความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งส่งเสริมให้ภาคเอกชนเป็นผู้นำในการประยุกต์พัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตและคิดค้นนวัตกรรม โดยภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ควบคู่ไปกับการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ และเสริมสร้างพื้นฐานความคิดแบบวิทยาศาสตร์ในสังคมไทย มีการกระจายแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่คนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างทั่วถึง รวมทั้งการผลักดันให้มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มศักยภาพ เอื้อประโยชน์ต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการ
การพัฒนาตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น จำเป็นต้องผลักดันให้เกิดการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยการผนึกพลังความร่วมมือของทุกฝ่ายในการปฏิรูปสังคมไทยให้มีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีทำงานใหม่ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ตลอดจนสร้างองค์ความรู้และสร้างสภาวะผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ไปพร้อมกับการสร้างความเข้าใจให้ทุกฝ่ายในสังคมไทยตระหนักในความสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ และมีส่วนร่วมในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผลในทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
(๓.๔) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งปรับกลไกและกระบวนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย การเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้และปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งการกำหนดมาตรการทางกฎหมายคุ้มครองพื้นที่ รวมทั้งชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีความสำคัญเพื่ออนุรักษ์ไว้สำหรับรักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์และสนับสนุนเศรษฐกิจฐานราก สนับสนุนการลดปริมาณของเสียและการนำกลับมาใช้ใหม่ ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการมลพิษ
(๓.๕) การพัฒนาเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งของภาคการเงินเพื่อผลักดันการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งรักษาวินัยทางการคลังและการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อสร้างความมั่นคงของฐานะการคลัง การปฏิรูประบบงบประมาณและการบริหารรายจ่าย ควบคู่กับการส่งเสริมการออม การกระจายอำนาจการคลังและถ่ายโอนภารกิจไปสู่ท้องถิ่น รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของประเทศในการเปิดเสรีและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศที่เอื้อประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ
(๓.๖) การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ ให้ความสำคัญกับการปรับฐานเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานรากถึงระดับมหภาค โดยการปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งกระบวนการผลิตและการจัดการ สนับสนุนขบวนการเพิ่มผลผลิต โดยปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า พัฒนาสินค้าใหม่ และพัฒนาตลาดเฉพาะ รวมทั้งปรับบทบาทภาครัฐให้สนับสนุนการเชื่อมโยงวงจรการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงการตลาด และการพัฒนาแบบรวมกลุ่มการผลิต ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อขยายฐานการผลิตให้มั่นคงและยั่งยืน
(๓.๗) การพัฒนาความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งส่งเสริมให้ภาคเอกชนเป็นผู้นำในการประยุกต์พัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตและคิดค้นนวัตกรรม โดยภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ควบคู่ไปกับการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ และเสริมสร้างพื้นฐานความคิดแบบวิทยาศาสตร์ในสังคมไทย มีการกระจายแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่คนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างทั่วถึง รวมทั้งการผลักดันให้มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มศักยภาพ เอื้อประโยชน์ต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการ
การพัฒนาตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น จำเป็นต้องผลักดันให้เกิดการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยการผนึกพลังความร่วมมือของทุกฝ่ายในการปฏิรูปสังคมไทยให้มีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีทำงานใหม่ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ตลอดจนสร้างองค์ความรู้และสร้างสภาวะผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ไปพร้อมกับการสร้างความเข้าใจให้ทุกฝ่ายในสังคมไทยตระหนักในความสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ และมีส่วนร่วมในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผลในทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-