ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการฯ เป็นประธานการสัมมนาวิชาการประจำปี 2548 ด้านยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจมหภาค เรื่อง "อนาคตเศรษฐกิจไทย ก้าวต่อไปสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน"” เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการปรับปรุงคุณภาพข้อมูลบัญชีรายได้ประชาชาติให้ทันสมัย ประยุกต์เทคนิคการวิเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพ และการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และทันต่อการเปลี่ยนแปลง เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2548
สศช. ได้เสนอรายงานการวิจัยให้ที่ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 3 เรื่อง ดังนี้
1) อนาคตเศรษฐกิจไทย : สู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน โดยรัฐบาลจะต้องมีนโยบายและมาตรการในการพัฒนาแรงงานมีฝีมือ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับจีนและอินเดีย และสามารถทดแทนกันได้ในแต่ละภาคการผลิต ควรมีการศึกษาและวิจัยผลกระทบระยะสั้นและระยะยาวเรื่องดุลบัญชีเดินสะพัดให้ละเอียด ใช้นโยบายเศรษฐกิจมหภาคแบบสมดุล สนับสนุนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เป็นการลงทุนระยะยาวและคนไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ทบทวนระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับภาคการผลิต รวมทั้งเห็นควรสนับสนุนการใช้นโยบายตลาดเกษตรล่วงหน้ามาบริหารความเสี่ยง โดยภาครัฐไม่ควรแทรกแซง สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมโดยพิจารณาศักยภาพในการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรมภายใต้ BCG Cash Flow Model นโยบายระดับมหภาคและจุลภาค ควรมีความสอดคล้องและผลักดันไปสู่การปฏิบัติได้ เน้นการสร้างคุณค่าของสินค้าและบริการ (Value creation) โดยใช้เอกลักษณ์ความเป็นไทย
2) การศึกษากับการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ควรศึกษาทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมจากหลายแหล่งประกอบกัน และมุ่งไปที่การสร้างคุณค่าของสินค้าและบริการอย่างครบวงจร โดยเน้นการผลิตในอุตสาหกรรมหลัก การส่งออก สนับสนุนการสร้างแฟรนซ์ไชส์ และการร่วมลงทุนกับต่างประเทศ การผลิตกำลังคนควรเน้นแรงงานที่มีทักษะและมีฝีมือในอาชีพ มีความรู้ด้านการให้บริการ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมในการบริหารจัดการ ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ และกระบวนการคิด โดยกำหนดนโยบายและแผนพัฒนากำลังคนของชาติ และการปฏิรูประบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ทางด้านการจัดโครงสร้างระบบการศึกษา ควรเน้นการวิจัย การบริหาร การสร้างความรู้ระดับสูง การวิจัยระดับกลางและระดับต้น ให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข
3) ค่าใช้จ่ายและต้นทุนการศึกษาในระบบการศึกษาของประเทศไทย โดยจะต้องมีการจัดทำบัญชีบริวาร โดยเฉพาะบัญชีการศึกษาที่ต้องจัดทำทั้งด้าน Input และ Output ให้แยกอิสระออกจากกัน โดย Input คือ การตีค่าเวลาของนักเรียน ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านหนังสือ ห้องสมุด หรืออื่นๆ ส่วน Output คือ คนที่สำเร็จการศึกษา รายได้และผลตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงิน ซึ่งจะต้องเท่ากันทั้งสองด้าน โดยเริ่มที่ภาพรวมระดับประเทศก่อน และนิยามศัพท์ทางด้านการศึกษาให้ชัดเจน ควรมีเศรษฐกิจแบบ "เศรษฐกิจฐานปัญญา" " (Wisdom-based economy) ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนและเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งควรนับการศึกษาเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
สศช. ได้เสนอรายงานการวิจัยให้ที่ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 3 เรื่อง ดังนี้
1) อนาคตเศรษฐกิจไทย : สู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน โดยรัฐบาลจะต้องมีนโยบายและมาตรการในการพัฒนาแรงงานมีฝีมือ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับจีนและอินเดีย และสามารถทดแทนกันได้ในแต่ละภาคการผลิต ควรมีการศึกษาและวิจัยผลกระทบระยะสั้นและระยะยาวเรื่องดุลบัญชีเดินสะพัดให้ละเอียด ใช้นโยบายเศรษฐกิจมหภาคแบบสมดุล สนับสนุนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เป็นการลงทุนระยะยาวและคนไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ทบทวนระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับภาคการผลิต รวมทั้งเห็นควรสนับสนุนการใช้นโยบายตลาดเกษตรล่วงหน้ามาบริหารความเสี่ยง โดยภาครัฐไม่ควรแทรกแซง สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมโดยพิจารณาศักยภาพในการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรมภายใต้ BCG Cash Flow Model นโยบายระดับมหภาคและจุลภาค ควรมีความสอดคล้องและผลักดันไปสู่การปฏิบัติได้ เน้นการสร้างคุณค่าของสินค้าและบริการ (Value creation) โดยใช้เอกลักษณ์ความเป็นไทย
2) การศึกษากับการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ควรศึกษาทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมจากหลายแหล่งประกอบกัน และมุ่งไปที่การสร้างคุณค่าของสินค้าและบริการอย่างครบวงจร โดยเน้นการผลิตในอุตสาหกรรมหลัก การส่งออก สนับสนุนการสร้างแฟรนซ์ไชส์ และการร่วมลงทุนกับต่างประเทศ การผลิตกำลังคนควรเน้นแรงงานที่มีทักษะและมีฝีมือในอาชีพ มีความรู้ด้านการให้บริการ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมในการบริหารจัดการ ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ และกระบวนการคิด โดยกำหนดนโยบายและแผนพัฒนากำลังคนของชาติ และการปฏิรูประบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ทางด้านการจัดโครงสร้างระบบการศึกษา ควรเน้นการวิจัย การบริหาร การสร้างความรู้ระดับสูง การวิจัยระดับกลางและระดับต้น ให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข
3) ค่าใช้จ่ายและต้นทุนการศึกษาในระบบการศึกษาของประเทศไทย โดยจะต้องมีการจัดทำบัญชีบริวาร โดยเฉพาะบัญชีการศึกษาที่ต้องจัดทำทั้งด้าน Input และ Output ให้แยกอิสระออกจากกัน โดย Input คือ การตีค่าเวลาของนักเรียน ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านหนังสือ ห้องสมุด หรืออื่นๆ ส่วน Output คือ คนที่สำเร็จการศึกษา รายได้และผลตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงิน ซึ่งจะต้องเท่ากันทั้งสองด้าน โดยเริ่มที่ภาพรวมระดับประเทศก่อน และนิยามศัพท์ทางด้านการศึกษาให้ชัดเจน ควรมีเศรษฐกิจแบบ "เศรษฐกิจฐานปัญญา" " (Wisdom-based economy) ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนและเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งควรนับการศึกษาเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-