ภาพรวมเศรษฐกิจไทย 2542
ในปี 2542 เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นจากปี 2541 ทั้งในด้านการขยายตัวทางด้านเสถียรภาพที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2541 ในขณะที่สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2542 และชัดเจนมากขึ้นในครึ่งหลังของปี คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.1 โดยเป็นการขยายตัวที่พึ่งพิงทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและอุปสงค์จากภายนอก การบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.0 ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนจะยังค่อนข้างทรงตัวโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลล่าร์ สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 ตามภาวะการส่งออกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ตลอดทั้งปีดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังมีฐานะเกินดุลและคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ร้อยละ 7.8 และ 9.4 ตามลำดับ ทางด้านการผลิตจะเป็นการขยายตัวที่มีฐานกว้างในหลายสาขา อาทิ สาขาเกษตร อุตสาหกรรม และสาขาบริการ โดยที่สาขาการเงินและสาขาก่อสร้างจังยังหดตัวแต่ลดความรุนแรงลง ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจะอยู่ในระดับประมาณ 32-34 พันล้านดอลล่าร์ สรอ.หรือคิดเป็นมูลค่าการนำเข้าประมาณ 7.8 เดือน อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.3 อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพอยู่ที่ระดับ 38 บาทต่อดอลล่าร์ สรอ.
ปัจจัยทีเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2542 ได้แก่
1. มูลค่าการส่งออกซึ่งขยายตัวดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนต้นปี คาดว่าตลอดปี 2542 การส่งออกในรูปเงินดอลล่าร์ สรอ.จะมีมูลค่าประมาณ 56,600 ล้านดอลล่าร์ สรอ.
2. การใช้จ่ายของภาครัฐทั้งจากเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณที่ช่วยกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ
3. การผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่ดีรวมทั้งการปรับตัวขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ สินค้าที่มีการผลิตเพิ่มสูงขึ้นได้แก่ ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง แผ่นเหล็กชุบสังกะสี ปูนซีเมนต์ และเครื่องดื่ม เป็นต้น
4. การท่องเที่ยว สถานการณ์การท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยใน 11 เดือนแรกจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3
ปัจจัยที่ยังคงมีความอ่อนแอ แม้การบริโภคภาคเอกชนได้เริ่มขยายตัวดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี และการลงทุนภาคเอกชนลดลงในอัตราที่ชะลอลง แต่อุปสงค์ภายในประเทศภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ทั้งนี้มีปัจจัยที่ชะลอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ได้แก่ การว่างงานกำลังการผลิตส่วนเกินภาคอุตสาหกรรม และหนี้ที่ไมก่อให้เกิดรายได้
ภาวะเศรษฐกิจรายภาคปี 2542 โดยภาพรวมมีการปรับตัวดีขึ้นเกือบทุกภูมิภาค ยกเว้นภาคใต้ที่ยังไม่มีแนวโน้มการขยายตัวที่ชัดเจนมากนัก ด้านการผลิตภาคเกษตรได้รับผลดีจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรลดต่ำและไม่จูงใจ และภาคอุตสาหกรรมมีปัจจัยสนับสนุนมาจากการส่งออกที่ดีขึ้น และอุปสงค์ภายในประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นบ้าง ในขณะเดียวกันเสถียรภาพของเศรษฐกิจภูมิภาคมีการปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยได้รับผลอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ อัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ลดลงมาก และอัตราเงินเฟ้อของภูมิภาคที่อยู่ในระดับต่ำ
-ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 2/กุมภาพันธ์ 2543--
ในปี 2542 เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นจากปี 2541 ทั้งในด้านการขยายตัวทางด้านเสถียรภาพที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2541 ในขณะที่สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2542 และชัดเจนมากขึ้นในครึ่งหลังของปี คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.1 โดยเป็นการขยายตัวที่พึ่งพิงทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและอุปสงค์จากภายนอก การบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.0 ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนจะยังค่อนข้างทรงตัวโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลล่าร์ สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 ตามภาวะการส่งออกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ตลอดทั้งปีดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังมีฐานะเกินดุลและคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ร้อยละ 7.8 และ 9.4 ตามลำดับ ทางด้านการผลิตจะเป็นการขยายตัวที่มีฐานกว้างในหลายสาขา อาทิ สาขาเกษตร อุตสาหกรรม และสาขาบริการ โดยที่สาขาการเงินและสาขาก่อสร้างจังยังหดตัวแต่ลดความรุนแรงลง ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจะอยู่ในระดับประมาณ 32-34 พันล้านดอลล่าร์ สรอ.หรือคิดเป็นมูลค่าการนำเข้าประมาณ 7.8 เดือน อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.3 อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพอยู่ที่ระดับ 38 บาทต่อดอลล่าร์ สรอ.
ปัจจัยทีเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2542 ได้แก่
1. มูลค่าการส่งออกซึ่งขยายตัวดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนต้นปี คาดว่าตลอดปี 2542 การส่งออกในรูปเงินดอลล่าร์ สรอ.จะมีมูลค่าประมาณ 56,600 ล้านดอลล่าร์ สรอ.
2. การใช้จ่ายของภาครัฐทั้งจากเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณที่ช่วยกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ
3. การผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่ดีรวมทั้งการปรับตัวขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ สินค้าที่มีการผลิตเพิ่มสูงขึ้นได้แก่ ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง แผ่นเหล็กชุบสังกะสี ปูนซีเมนต์ และเครื่องดื่ม เป็นต้น
4. การท่องเที่ยว สถานการณ์การท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยใน 11 เดือนแรกจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3
ปัจจัยที่ยังคงมีความอ่อนแอ แม้การบริโภคภาคเอกชนได้เริ่มขยายตัวดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี และการลงทุนภาคเอกชนลดลงในอัตราที่ชะลอลง แต่อุปสงค์ภายในประเทศภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ทั้งนี้มีปัจจัยที่ชะลอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ได้แก่ การว่างงานกำลังการผลิตส่วนเกินภาคอุตสาหกรรม และหนี้ที่ไมก่อให้เกิดรายได้
ภาวะเศรษฐกิจรายภาคปี 2542 โดยภาพรวมมีการปรับตัวดีขึ้นเกือบทุกภูมิภาค ยกเว้นภาคใต้ที่ยังไม่มีแนวโน้มการขยายตัวที่ชัดเจนมากนัก ด้านการผลิตภาคเกษตรได้รับผลดีจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรลดต่ำและไม่จูงใจ และภาคอุตสาหกรรมมีปัจจัยสนับสนุนมาจากการส่งออกที่ดีขึ้น และอุปสงค์ภายในประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นบ้าง ในขณะเดียวกันเสถียรภาพของเศรษฐกิจภูมิภาคมีการปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยได้รับผลอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ อัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ลดลงมาก และอัตราเงินเฟ้อของภูมิภาคที่อยู่ในระดับต่ำ
-ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 2/กุมภาพันธ์ 2543--