(ต่อ2)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสสี่ ปี 2547 และแนวโน้มปี 2548

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 8, 2005 16:37 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          2.  เงื่อนไขและปัจจัยทางเศรษฐกิจปี 2548 
2.1 ในปี 2548 เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว
แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2548 ในปี 2548 เศรษฐกิจโลก มีแนวโน้มขยายตัวได้ช้าลงกว่าในปี 2547 จากปัจจัยเสี่ยงที่มี ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 ได้แก่ ราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับ สูงและผันผวน ภาวะเงินเฟ้อ และความไม่สงบและปัญหาทาง การเมืองในตะวันออกกลาง รวมทั้งการอ่อนค่าของเงิน ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับปัญหาการขาดดุลแฝด ของสหรัฐฯ ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ทยอยปรับเพิ่มอัตราดอก เบี้ย และดำเนินนโยบายการคลังที่สมดุลมากขึ้น จึงคาดว่า เศรษฐกิจโลกจะมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจากปลายปี 2547 และขยายตัวร้อยละ 3.8 จากการชะลอตัวของกลุ่มเศรษฐกิจ หลัก ๆ ทั้งสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน และอาเซียน ที่คาดว่าจะชะลอตัว ลงชัดเจนมากขึ้นต่อเนื่องจากครึ่งหลังของปี 2547เศรษฐกิจ สหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวประมาณร้อยละ 3.8 เทียบกับร้อย ละ 4.4 ในปี 2547 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและการ ดำเนินโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นเป็นสำคัญ จะเห็นว่าการ ขยายตัวของการลงทุนในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้ชะลอลง และลดความร้อนแรงลงเนื่องจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและภาวะหนี้ ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การใช้จ่ายครัวเรือนจะชะลอลง ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ยัง มีแนวโน้มขยายตัวได้ค่อนข้างดี เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะชะลอตัว ค่อนข้างมากโดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น เนื่องจาก นโยบายการคลังที่เข้มงวดมากขึ้น และการชะลอตัวของการ ใช้จ่ายครัวเรือนและการลงทุนเอกชนโดยเฉพาะการลงทุนใน การก่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งการชะลอตัวของอุปสงค์ภายใน ประเทศส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการส่งออกที่คาดว่าจะ ชะลอตัวลงมากจากการชะลอตัวของวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจที่สูงในปี 2547 ทำ ให้อัตราการขยายตัวในปี 2548 มีผลจากฐานที่สูงด้วยส่วน หนึ่ง เศรษฐกิจสหภาพยุโรปมีสัญญาณชะลอตัวชัดเจนใน ครึ่งหลังของปี 2547 โดยเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ สเปน ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร ขณะที่เศรษฐกิจเยอรมนี อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ หดตัวจากไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการ ส่งออกสุทธิลดลงเนื่องจากผลกระทบของค่าเงินยูโรที่แข็งค่า ขึ้น ในขณะที่การฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศยังเปราะ บาง และสถานการณ์การจ้างงานยังไม่ดีขึ้นโดยเฉพาะ ประเทศเยอรมนีที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ แม้ว่ารัฐบาลเยอรมนีจะดำเนินมาตรการหลายประการเพื่อ กระตุ้นให้คนว่างงานกลับมาสู่ตลาดแรงงาน เศรษฐกิจจีนยัง มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราสูงแม้จะชะลอตัวกว่าในปี 2547 โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.5 จากร้อยละ 9.5 ในปี 2547 โดยเป็นการชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชนและการใช้จ่าย ภาครัฐเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอ ตัวตามตลาดส่งออกสำคัญของจีน
เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักและจีนที่ขยายตัวช้า ลงจะเป็นข้อจำกัดที่ทำให้การส่งออกของประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในเอเชียไม่สามารถขยายตัวได้มาก เช่นในปี 2546-2547 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวสูงสุด อย่างไรก็ตาม ปัจจัยพื้นฐานของกลุ่มประเทศในเอเชียใน ปัจจุบันนับว่าอยู่ในเกณฑ์ดีเนื่องจากประเทศต่าง ๆ มีการ ปรับโครงสร้างมากขึ้นทั้งในภาคการเงินและภาคการผลิต การ ใช้ปัจจัยการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนา แรงงานอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การดำเนินมาตรการทางการ เงินและการคลังเพื่อลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจนั้นดำเนิน การอย่างค่อยเป็นค่อยไป และการเลือกดำเนินมาตรการที่ตรง ประเด็นปัญหามากขึ้น เช่น ในกรณีของประเทศจีน การ ดำเนินมาตรการด้านสินเชื่อเฉพาะสาขาได้ทำให้การลงทุนใน ภาคการก่อสร้าง อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะพื้นฐานลดความ ร้อนแรงลง เป็นต้น พื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีและการกระตุ้น เศรษฐกิจภายในประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมการค้าภายในภูมิ ภาค จะเป็นเงื่อนไขที่จะทำให้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศใน เอเชียขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี
คาดว่าในปี 2548 ประเทศกำลังพัฒนาจะยังมีรายได้และกำลัง ซื้อเพิ่มขึ้นแม้ว่าราคาสินค้าจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอก็ตาม ความต้องการสินค้าโดยเฉพาะในกลุ่ม เหล็กกล้า แร่เหล็ก และอะลูมิเนียม จะทำให้ราคาเพิ่มขึ้น กลุ่มสินค้าเกษตร ซึ่งผล ผลิตโดยทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไม่มากเนื่องจากหลาย ประเทศประสบภาวะแห้งแล้งมีผลผลิตลดลงในขณะที่ความ ต้องการยังเพิ่มขึ้น จึงคาดว่าราคาจะยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2548
จากเงื่อนไขและปัจจัยดังกล่าวทำให้สถาบันต่าง ๆ คาดการณ์ ว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2548 จะไม่รุนแรง และ มีแนวโน้มขยายตัวประมาณร้อยละ 3.8 อัตราเงินเฟ้อของ ประเทศที่พัฒนาแล้วอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 2.1 และของ ประเทศอื่น ๆ อยู่ในระดับประมาณร้อยละ 5.5 ปริมาณการค้า โลกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8.0 อัตราดอกเบี้ย Fed funds เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.50 ภายในสิ้นปี 2548 ในขณะที่อัตรา ดอกเบี้ยทางการของกลุ่มยูโร และญี่ปุ่น จะทรงตัวอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 2.0 และ 0 ตามลำดับ สำหรับประเทศในเอเชียที่คาด ว่าจะปรับเพิ่มดอกเบี้ย ได้แก่ จีน ฮ่องกง มาเลเชีย ฟิลิปปินส์ และ ไต้หวัน และเกาหลีใต้
2.2 ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยในปี 2548
ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจในปี 2548 หลายประการเป็นปัจจัย ต่อเนื่องจากปี 2547 แต่เริ่มอ่อนตัวลงและสนับสนุนการขยาย ตัวของเศรษฐกิจได้น้อยกว่าในปี 2547 ประกอบด้วย
(1) เศรษฐกิจโลกยังขยายตัวต่อเนื่องแม้อัตราการขยายตัวจะ ต่ำกว่าในปี 2546-2547 แต่นับว่ายังเป็นปัจจัย ที่ สนับสนุนให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น แต่อัตราการขยาย ตัวของการส่งออกจะเริ่มช้าลง จ่ายและค่าลดหย่อนแล้วจากเดิมยกเว้นในวงเงิน
(2) ปัจจัยที่ยังสนับสนุนให้มีการใช้จ่ายของครัวเรือนเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย อัตราดอกเบี้ยที่นับว่ายังอยู่ในระดับต่ำโดย เปรียบเทียบกับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่า2 แม้จะมีแนว โน้มปรับเพิ่มขึ้นก็ตาม และรายได้ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นเร็วกว่าราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้โดย สุทธิแล้วรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้นและประชาชนสามารถใช้ จ่ายเพิ่มขึ้นได้ ปัจจัยที่ทำให้รายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย
* การจ้างงานเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีตำแหน่งงานว่างเพิ่ม ขึ้นที่จะทำให้เกิดการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้น ในปี 2547 มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.1 และตำแหน่ง งานว่างเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 สำหรับปี 2547 โดยที่ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42.3 ในช่วงไตรมาสสุดท้าย
* การปรับเพิ่มเงินเดือนราชการและรัฐวิสาหกิจในช่วง ครึ่งหลังปี 2547 ทำให้ฐานเงินเดือนในปี 2548 โดย เฉลี่ยสูงกว่าในปี 2547 รวมทั้งการช่วยเหลือค่าครอง ชีพแก่ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวในระบบราช การ วงเงิน 3,700 ล้านบาทต่อปี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ มีมติเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2547 ในขณะที่ภาคเอกชน ทยอยปรับเพิ่มเงินเดือนและค่าจ้าง รวมทั้งการปรับ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำทางการที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 ทำให้เงินเดือนและค่าจ้างเฉลี่ยปี 2548 สูงกว่าในปี 2547
* มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนสังคมและช่วยเหลือผู้มี รายได้น้อยถึงปานกลาง ซึ่งเป็นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม 2547 ได้แก่ การยกเว้นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้ 80,000 บาทแรกให้เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 บาทแรก ซึ่งจะทำให้ภาระภาษีลดลงและเพิ่มกำลังซื้อของ ประชาชนตั้งแต่ปลายปีนี้
(3) บรรยากาศทางการลงทุนยังเอื้ออำนวย ปัจจัยที่ยัง สนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนในปี 2548 ประกอบด้วย
* อัตราการใช้กำลังการผลิตที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและ อยู่ในระดับสูง ในปี 2547 อัตราการใช้กำลังการผลิต เฉลี่ยของภาคอุตสาหกรรมเท่ากับร้อยละ 69.2 สูง กว่าระดับร้อยละ 67.5 ในปี 2546 เล็กน้อย แม้ว่า โดยภาพรวมอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นไม่ มาก แต่ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่มีการเพิ่ม กำลังการผลิตในหลายอุตสาหกรรม เช่น ในกลุ่ม อิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก และหมวดยานยนต์ เป็นต้น สาขาที่อัตราการใช้กำลังการผลิตในระดับเกินร้อยละ 80 มีหลายสาขา อาทิ การผลิตรถมอเตอร์ไซด์ สังกะสี ยางรถยนต์ รถยนต์เพื่อการพาณิ ชย์ แบตเตอรี่ คอมเพรสเซอร์ แผงวงจรไฟฟ้า และปิโตร เคมี เป็นต้น และเนื่องจากสาขาอุตสาหกรรมการ ผลิตเหล่านี้เป็นลักษณะกิจกรรมการผลิตที่ต้องมีวง เงินลงทุนค่อนข้างมาก จึงคาดว่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ ทำให้การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น
* อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบ กับการปรับเพิ่มราคาสินค้าแม้จะมีการปรับเพิ่มอัตรา ดอกเบี้ยก็ตาม จึงทำให้ต้นทุนการกู้ยืมที่แท้จริงยัง อยู่ในระดับต่ำ
* ผลประกอบการภาคธุรกิจเอกชนเพิ่มขึ้นตลอดช่วงปี 2547 โดยในช่วง 3 ไตรมาสแรก ผลประกอบการ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อน จึงยังเป็น เงื่อนไขที่จูงใจของภาคเอกชน
* มาตรการด้านภาษีที่จะสร้างแรงจูงใจต่อการลงทุนใน ปี 2548 เช่น การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับผู้ประกอบการที่มีทุนจดทะเบียนแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท จากเดิมที่จัดเก็บในอัตราก้าวหน้าของ กำไรสุทธิในส่วนหนึ่งล้านบาทแรก อัตราร้อยละ 20 ปรับใหม่เป็นจัดเก็บในอัตราร้อยละ 15 และสำหรับ กำไรสุทธิในส่วนที่เหลือให้คงอัตราเดิม โดยจะมีผล บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 และคณะ รัฐมนตรีได้มีมติที่จะขยายขนาดรายได้ของผู้ ประกอบการขนาดย่อมที่ไม่ต้องจดทะเบียนเข้าสู่ ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 1.2 ล้านบาทต่อปี ให้เพิ่มเป็นไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2548
* การลงทุนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากคณะ กรรมการส่งเสริมการลงทุนในปี 2547 มีจำนวนราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.2 โดยมีวงเงินลงทุนตามแผนการ ลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 111.7 โดยที่โครงการเพื่อการ ส่งออกร้อยละ 80-100 เพิ่มขึ้นมาก และส่วนใหญ่ กระจายอยู่ในสาขาอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า สาขาบริการสาธารณูปโภค สาขาเคมี กระดาษ และ พลาสติก และสาขาเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง นอกจากนี้ในปี 2547 เงินทุนไหลเข้าจากต่าง
ประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ ลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น และมีวงเงินลงทุนของ จำนวนกิจการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนสุทธิเพิ่ม ขึ้นร้อยละ 115.2 ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มการลงทุนที่ ยังเพิ่มขึ้น
* การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น จากโครง การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและโครงการลงทุน ขนาดใหญ่ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติไปเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2547 ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้าน โครงสร้างพื้นฐานระยะ 5 ปี วงเงิน 827,978 ล้าน บาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินโครงการได้บาง ส่วนในปลายปี 2548 รวมทั้งการใช้จ่ายของรัฐบาล เพิ่มขึ้นเป็นงบประมาณเพิ่มเติมกลางปีประมาณ 50,000 ล้านบาท
(ยังมีต่อ)...3.ข้อจำกัด/..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ