สำหรับการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติอย่างได้ผล จำเป็นต้องผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนทั้งแนวความคิด ค่านิยม เป้าหมาย และวิธีการทำงาน โดยต้องให้ความสำคัญลำดับสูงต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างสภาวะผู้นำร่วมกันในทุกระดับ เกิดการระดมทุนทางสังคมในทุกๆด้าน มาเป็นพลังผลักดันร่วมกันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแปลงแผนสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง โดยต้องดำเนินการในเรื่องสำคัญ ดังนี้
1. พัฒนากลไกเพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงให้สนับสนุนการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยระดมพลังและสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ให้เข้าใจและมีความผูกพันในภารกิจเป้าหมาย และยุทธศาสตร์การดำเนินงานร่วมกันในทุกกระบวนการของการแปลงแผนสู่การปฏิบัติ ควบคู่ไปกับการสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง รวมไว้ในหลักสูตรและระบบการฝึกอบรมในสถาบันของภาครัฐและเอกชน และให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรเพื่อเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์ตลอดจนจัดให้มีงบประมาณสนับสนุน
2. ปรับปรุงกลไกการดำเนินงานในทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐ การปรับระบบงบประมาณให้ตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน และปรับบทบาทของหน่วยงานกลางในการประสานแผนงาน แผนเงิน และแผนคนอย่างมีบูรณาการ ควบคู่ไปกับการจัดเตรียมกลไกประสานการจัดทำระดับชุมชน ให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
3. วางกรอบแนวทางการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ภายใต้หลักการที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแนวคิด ค่านิยม ตลอดจนมุมมองปัญหา ให้สอดคล้องรู้เท่าทันโลก รู้จักใช้ปัญญา มีวิจารณญาณบนฐานวัฒนธรรมไทยที่เอื้ออาทร ประนีประนอม และให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมโดยต้องปฏิรูปวิธีการจัดการและปฏิรูปโครงสร้างทุกด้านอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ ในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ จำเป็นต้องวางหลักเกณฑ์การพิจารณาแผนงานที่สอดคล้องตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยมีหลักเกณฑ์เบื้องต้นที่สำคัญ ดังนี้
3.1 เป็นการพัฒนาที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและมีคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
3.2 มีเป้าหมายที่มุ่งแก้ปัญหาความยากจน ดูแลผู้ด้อยโอกาส และกระจายรายได้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย
3.3 เป็นการพัฒนาที่มีความสมดุลและยั่งยืนบนพื้นฐานที่พึ่งตนเองได้ ทั้งในด้านกระบวนการผลิต การใช้ทรัพยากร และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
3.4 มีการแบ่งบทบาท ภารกิจ และความร่วมมือที่ส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างเหมาะสม
3.5 มีแผนงานและกระบวนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณภาพ เน้นการประหยัด มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
3.6 ผลที่ได้จากการดำเนินแผนงานโครงการ จะต้องตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ 9 และสามารถประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรม
4. พัฒนาระบบติดตามประเมินผล โดยส่งเสริมการจัดทำดัชนีชี้วัดในทุกระดับ เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ แผนงานโครงการ และการติดตามประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ
5. พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีความถูกต้อง ทันสมัย ครบถ้วน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2543--
-สส-
1. พัฒนากลไกเพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงให้สนับสนุนการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยระดมพลังและสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ให้เข้าใจและมีความผูกพันในภารกิจเป้าหมาย และยุทธศาสตร์การดำเนินงานร่วมกันในทุกกระบวนการของการแปลงแผนสู่การปฏิบัติ ควบคู่ไปกับการสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง รวมไว้ในหลักสูตรและระบบการฝึกอบรมในสถาบันของภาครัฐและเอกชน และให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรเพื่อเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์ตลอดจนจัดให้มีงบประมาณสนับสนุน
2. ปรับปรุงกลไกการดำเนินงานในทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐ การปรับระบบงบประมาณให้ตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน และปรับบทบาทของหน่วยงานกลางในการประสานแผนงาน แผนเงิน และแผนคนอย่างมีบูรณาการ ควบคู่ไปกับการจัดเตรียมกลไกประสานการจัดทำระดับชุมชน ให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
3. วางกรอบแนวทางการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ภายใต้หลักการที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแนวคิด ค่านิยม ตลอดจนมุมมองปัญหา ให้สอดคล้องรู้เท่าทันโลก รู้จักใช้ปัญญา มีวิจารณญาณบนฐานวัฒนธรรมไทยที่เอื้ออาทร ประนีประนอม และให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมโดยต้องปฏิรูปวิธีการจัดการและปฏิรูปโครงสร้างทุกด้านอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ ในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ จำเป็นต้องวางหลักเกณฑ์การพิจารณาแผนงานที่สอดคล้องตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยมีหลักเกณฑ์เบื้องต้นที่สำคัญ ดังนี้
3.1 เป็นการพัฒนาที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและมีคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
3.2 มีเป้าหมายที่มุ่งแก้ปัญหาความยากจน ดูแลผู้ด้อยโอกาส และกระจายรายได้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย
3.3 เป็นการพัฒนาที่มีความสมดุลและยั่งยืนบนพื้นฐานที่พึ่งตนเองได้ ทั้งในด้านกระบวนการผลิต การใช้ทรัพยากร และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
3.4 มีการแบ่งบทบาท ภารกิจ และความร่วมมือที่ส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างเหมาะสม
3.5 มีแผนงานและกระบวนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณภาพ เน้นการประหยัด มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
3.6 ผลที่ได้จากการดำเนินแผนงานโครงการ จะต้องตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ 9 และสามารถประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรม
4. พัฒนาระบบติดตามประเมินผล โดยส่งเสริมการจัดทำดัชนีชี้วัดในทุกระดับ เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ แผนงานโครงการ และการติดตามประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ
5. พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีความถูกต้อง ทันสมัย ครบถ้วน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2543--
-สส-