1.ภาพรวม
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ยังคงเติบโตเพิ่มขึ้น โดยพิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่แท้จริงซึ่งขยายตัวร้อยละ 6.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว สูงกว่าร้อยละ 5.3 ในไตรมาสแรก การเติบโตของไตรมาสนี้มีภาคการส่งออกเป็นปัจจัยนำที่สำคัญประกอบกับมีการผลิตเพื่อสะสมในสินค้าคงคลังมากขึ้นอีกด้วย
มูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสนี้มีค่าเท่ากับ 1.198 ล้านล้านบาท เมื่อหักด้วยผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิตรับสุทธิระหว่างประเทศที่แสดงถึงรายได้ไหลออกนอกประเทศไปเท่ากับ 22,088 ล้านบาทแล้ว ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) ในไตรมาสนี้จึงมีมูลค่าประมาณ 1.176 ล้านล้านบาท และมูลค่าที่แท้จริงขยายตัวร้อยละ 8.0
ด้านการผลิต ขยายตัวสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วโดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของการผลิตทั้งในภาคเกษตร ได้แก่ การผลิตพืชผลและการประมง และนอกภาคเกษตร ประกอบด้วยอุตสาหกรรมและบริการที่สนับสนุนภาคการผลิต ส่วนสาขาการผลิตที่ยังคงมีการปรับตัวลดลง ได้แก่ สาขาการก่อสร้างโดยเฉพาะในส่วนของการก่อสร้างภาครัฐ และสาขาการเงินการธนาคาร
ด้านการใช้จ่าย โดยรวมมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามในส่วนของครัวเรือนนั้น ในไตรมาสนี้การใช้จ่ายขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อย ส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐยังคงขยายตัวในอัตราสูงไม่ต่างไปจากไตรมาสที่แล้วมากนัก สำหรับในด้านการลงทุนแม้ว่าจะสะท้อนภาพของการชะลอตัวค่อนข้างมาก แต่ก็เป็นปรากฏการณ์อันเนื่องมาจากมีการลงทุนโดยนำเข้าเครื่องบินมาเป็นจำนวนถึง 5 ลำในไตรมาสที่แล้ว และหากเมื่อปรับส่วนที่ผิดปรกตินี้ออกไปการลงทุนในไตรมาสนี้ก็ยังคงอยู่ในสถานการณ์ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้จ่ายสะสมทุนของภาคเอกชนที่เริ่มมีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกนั้นมูลค่าที่แท้จริงยังคงขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างสูง ขณะเดียวกันการนำเข้าได้ชะลอตัวลงค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับการส่งออก ประกอบกับการสะสมสินค้าคงคลังโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอุตสาหกรรมในไตรมาสนี้ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นด้วย จึงมีผลทำให้การผลิตในประเทศเพื่อรองรับความต้องการดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้น
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) หลังจากปรับค่าดัชนีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล (Seasonally Adjusted GDP) เปรียบเทียบจากไตรมาสที่แล้วขยายตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 0.7 ชะลอลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรกของปีนี้
2. ด้านการผลิต
2.1 สาขาการผลิตที่มีการขยายตัวสูงขึ้น
2.1.1 สาขาเกษตรกรรม
ผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากลดลงใน 2 ไตรมาสที่ผ่านมา การผลิตสาขาเกษตรโดยรวมขยายตัวร้อยละ 5.2 โดยขยายตัวเกือบทุกหมวด ทั้งหมวดพืชผล ปศุสัตว์ และประมง
หมวดพืชผล ขยายตัว ร้อยละ 5.2 ตามการขยายตัวเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวนาปรังที่ปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 37.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว รวมถึงการขยายตัวของการส่งออกยางพารา นอกจากนี้ พืชอื่นๆ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่ว ผักต่างๆ และ กาแฟ ก็ขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนพืชผลที่ผลิตได้ลดลง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ โดยเฉพาะ ทุเรียน และสับปะรด อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญคือราคาของพืชผลการเกษตรในไตรมาสนี้ที่ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจากปี 2542 โดยราคาพืชผลเฉลี่ยในไตรมาสนี้ ลดลงร้อยละ 4.8 ดังนั้นแม้ว่าจะผลิตได้เพิ่มขึ้นแต่ก็มิได้มีผลทำให้รายได้ของเกษตรกรปรับตัวสูงขึ้นมากนัก
หมวดปศุสัตว์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.3 เนื่องจากการขยายตัวของ การเลี้ยงสุกร การลี้ยงไก่ และไข่ไก่ โดยเฉพาะไก่ไข่มีวิธีการเลี้ยงที่ทันสมัยเป็นผลให้ไข่ได้มากขึ้น แต่ทางด้านราคาโดยรวมของหมวดปศุสัตว์ลดลงถึงร้อยละ 34.1 รุนแรงมากกว่าราคาในหมวดพืชผลหมวดประมง ขยายตัวร้อยละ 8.0 เนื่องจากการขยายตัวของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ซึ่งมีแรงจูงใจจากราคาส่งออกที่สูงขึ้น โดยไตรมาสนี้สามารถส่งออกกุ้งได้มากขึ้น ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.2 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.1 สาหตุที่สามารถส่งออกกุ้งได้เพิ่มขึ้นนั้นเนื่องจากกุ้งในประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ ประเทศเอกวาดอร์ เกิดโรคระบาด ทำให้สหรัฐอเมริกานำเข้ากุ้งจากไทยเพิ่มขึ้น ส่วนผลผลิตปลาลดลง เนื่องจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมงในน่านน้ำไทย และชาวประมงยังไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปจับปลาในน่านน้ำของพม่าได้ รวมทั้งราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงส่งปัญหาต่อต้นทุนในการทำการประมง เรือประมงขนาดเล็กจึงยังไม่สามารถทำการประมงต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้วได้
2.1.2 สาขาอุตสาหกรรม
การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว โดยการเติบโตดังกล่าวนี้ได้กระจายไปในเกือบทุกหมวดอุตสาหกรรมการผลิตยกเว้นอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ยาสูบ และปิโตรเลียมที่ยังคงลดลง โดยอุตสาหกรรมปิโตรเลียมมีการผลิตลดลงตามปริมาณการจำหน่าย เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกยังเป็นปัจจัยที่ทำให้การผลิตรวมของสาขานี้ขยายตัวได้ดี อุตสาหกรรมสำคัญที่มีการขยายตัวสูงมีดังนี้
หมวดอุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์ รายการที่สำคัญคืออุตสาหกรรมเครื่องจักรที่ใช้ในครัวเรือน เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ฯลฯ มีอัตราการขยายตัวรวมร้อยละ 26.9 เป็นผลจากการส่งออกที่สูงขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกเครื่องปรับอากาศในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 29.2
หมวดอุตสาหกรรมเครื่องจักรและเครื่องใช้สำนักงาน อุตสาหกรรมที่สำคัญคือการผลิตเครื่องใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ขยายตัวร้อยละ 36.6 เนื่องมาจากการส่งออกขยายตัวสูง อย่างไรก็ตามการผลิตในหมวดนี้มีการพึ่งพิงวัตถุดิบจากการนำเข้าค่อนข้างสูง โดยการนำเข้าอุปกรณ์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ขยายตัวสูงมากถึงร้อยละ 68.6 ในไตรมาสที่ 2 ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
หมวดอุตสาหกรรมเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และอุปกรณ์การสื่อสาร ขยายตัวร้อยละ 28.0 เนื่องจากการส่งออกที่ขยายตัวสูง โดยการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.7
หมวดอุตสาหกรรมยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 36.0 แม้ว่าชะลอลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 69.0 ในไตรมาสที่แล้วแต่ก็ยังคงเป็นหมวดอุตสาหกรรมที่มีอัตราขายตัวสูงที่สุดเมื่อเทียบกับหมวดอื่น ๆ การเติบโตในอัตราดังกล่าวนี้เป็นผลเนื่องมาจากการส่งออกและความต้องการภายในประเทศที่ชะลอลง
หมวดอุตสาหกรรมอื่น ๆ อุตสาหกรรมหลักในหมวดนี้คือ อุตสาหกรรมเครื่องประดับและอัญมณี การผลิตรวมขยายตัวร้อยละ 13.5 โดยการส่งออกเครื่องประดับและอัญมณีในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 11.3
2.1.3 สาขาเหมืองแร่
การผลิตสาขาเหมืองแร่ขยายตัวร้อยละ 10.8 ตามการขยายตัวของการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นรายการที่สำคัญของสาขานี้ขยายตัวร้อยละ 17.2 ส่วนรายการแร่อื่นๆ ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
2.1.4 สาขาไฟฟ้า ประปาและโรงแยกก๊าซการผลิตสาขานี้มีการขยายตัวร้อยละ 11.8 ประกอบด้วยหมวดไฟฟ้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 เป็นไปตามภาวะการผลิตและการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้ไฟฟ้าของทุกภาคการผลิต โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม หมวดประปามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 นอกจากนั้นโรงแยกก๊าซก็มีการผลิตขยายตัวร้อยละ 9.2 เช่นกัน
2.1.5 โรงแรมและภัตตาคาร
บริการโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 โดยภัตตาคารซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 70 ขยายตัวร้อยละ 2.7 ในขณะที่บริการโรงแรมซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 30 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 ตามการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยว
2.1.6 สาขาคมนาคมขนส่ง
ไตรมาสนี้ขยายตัวค่อนข้างสูงในอัตราร้อยละ 7.8 โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้นตามการผลิตในสาขาเกษตร และอุตสาหกรรม โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกับการขยายตัวของการจำหน่ายน้ำมันดีเซลแม้ว่าราคาน้ำมันดีเซลจะขยายตัวสูงขึ้นในไตรมาสนี้ รวมทั้งการขยายตัวในอัตราสูงของการส่งออกก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การขนส่งทางทะเลขยายตัวมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม กิจการด้านการบริการรถโดยสารโดยเฉพาะรถโดยสารไม่ประจำทางลดลงร้อยละ 4.3 ส่วนการคมนาคมยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากการบริการโทรศัพท์ทางไกล
2.1.7 สาขาการค้าส่งค้าปลีก
ขยายตัวร้อยละ 5.1 เป็นผลมาจากการขยายตัวตามการผลิตในสาขาเกษตร และสาขาอุตสาหกรรม รวมทั้งการนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้น
2.2 สาขาการผลิตที่ชะลอตัวลง
2.2.1 สาขาก่อสร้าง
การก่อสร้างลดลงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการก่อสร้างของภาครัฐบาล ซึ่งมีสัดส่วน ร้อยละ 66.7 ของการก่อสร้างรวมทั้งหมด ไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 10.6 ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยขยายตัวร้อยละ 17.8 เมื่อเทียบกับร้อยละ 4.1 ในไตรมาสที่แล้ว การก่อสร้างอาคารประเภทที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ขยายตัวดีขึ้นทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว นับเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกหลังจากหดตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
2.2.2 สาขาการเงิน
บริการการเงินในไตรมาสนี้เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับในช่วงหลายไตรมาสที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามก็ยังคงหดตัวลง ร้อยละ 3.6 เนื่องมาจาก ธนาคารพาณิชย์ยังระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ในขณะที่ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังคงต่ำไม่จูงใจในการออมทำให้ภาคเอกชนหันไปลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า
3. ด้านการใช้จ่าย
3.1 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือน
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือน ในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อ เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นผลมาจากปัจจัยด้านรายได้ของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำลง เนื่องจากผลผลิตที่ล้นตลาด อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าประชาชนในบางกลุ่มมีการใช้จ่ายนอกหมวดอาหารเพิ่มขึ้นในรายการเสื้อผ้า เครื่องใช้ในบ้าน และ ยานพาหนะ การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าและบริการหลัก ๆ ประกอบด้วย
หมวดสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 2.1 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วตามปริมาณการบริโภคผักและผลไม้ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากและมีราคาค่อนข้างต่ำ
หมวดอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องนุ่งห่ม ในไตรมาสนี้มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องถึงร้อยละ 3.1 เป็นผลจากการบริโภคสินค้าหลัก ได้แก่ การบริโภคเนื้อสัตว์และการบริโภคเครื่องดื่มขยายตัวร้อยละ 0.7 และ 5.3 ตามลำดับ ส่วนการอุปโภคเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องนุ่งห่มขยายตัวร้อยละ 4.1 เทียบกับร้อยละ 3.0 ในไตรมาสที่แล้วหมวดเครื่องเรือนและของใช้ในครัวเรือน ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการอุปโภคเครื่องเรือนมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 6.5หมวดยานพาหนะ ขยายตัวในอัตราสูงร้อยละ 31.3 แต่ยังนับว่าชะลอลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 54.0 ในไตรมาสที่แล้ว โดยมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.1 และ 44.4 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากกลยุทธส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการและอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่มีระดับต่ำ
หมวดไฟฟ้า ประปา และเชื้อเพลิง เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูร้อน ทำให้การใช้จ่ายในด้านนี้ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 8.4 โดยการใช้จ่ายค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 และการใช้จ่ายค่าน้ำประปาขยายตัวร้อยละ 7.2 หมวดบริการโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 4.4 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3.2 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาครัฐบาล
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของรัฐบาลในไตรมาสนี้มีมูลค่า 134,169 ล้านบาท มูลค่าที่แท้จริงขยายตัวจากระยะเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 10.4 โดยจำแนกเป็นค่าใช้จ่ายหมวดเงินเดือน ค่าจ้างและค่าตอบแทนขยายตัวร้อยละ 6.9 และค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 17.2 ทั้งนี้ยังคงเป็นผลต่อเนื่องมาจากการใช้นโยบายขาดดุลการคลังและมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
3.3 การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น
การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น ในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 1.6 โดยปัจจัยหลักเป็นการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 65.7 ขยายตัวร้อยละ 9.4 ส่วนการลงทุนภาครัฐบาลซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 34.3 กลับเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว3.3.1 การลงทุนภาคเอกชน ในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 9.4 ส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวของการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักร ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 77.8 ของการลงทุนภาคเอกชนรวม ขยายตัวร้อยละ 7.4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าทุน ในหมวดเครื่องมือ เครื่องจักรและเครื่องใช้สำนักงานที่ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 5.6 ส่วนหมวดยานพาหนะขยายตัวร้อยละ 21.5 ซึ่งเป็นการขยายตัวในรายการรถยนต์เชิงพาณิชย์และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล สำหรับการลงทุนด้านการก่อสร้างของเอกชน ปรับตัวดีขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 โดยขยายตัวถึงร้อยละ 17.0 ทั้งนี้เป็นผลจากการก่อสร้างอาคารประเภทที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล
3.3.2 การลงทุนภาครัฐบาล ในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 10.6 โดยการลงทุนด้านก่อสร้าง ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 77.5 ของการลงทุนรวมของภาครัฐ ลดลงร้อยละ 10.3 ส่วนการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 22.5 ก็ลดลงเช่นกันในอัตราร้อยละ 11.6 อย่างไรก็ตามหากไม่รวมเครื่องบินแล้วการลงทุนโดยรวมของภาครัฐลดลงเพียงร้อยละ 4.8
3.4 มูลค่าส่วนเปลี่ยนของสินค้าคงเหลือ
มูลค่าตามราคาตลาดของส่วนเปลี่ยนในสินค้าคงเหลือประจำไตรมาสนี้มีมูลค่า 44,159 ล้านบาท สูงกว่า 32,621 ล้านบาทในไตรมาสที่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นการสะสมสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นทั้งสินค้าเกษตรได้แก่ข้าวนาปรังซึ่งออกสู่ตลาดในขณะนี้และสินค้าอุตสาหกรรม อาทิเช่น ปลาทูน่ากระปํอง ด้ายและเส้นใย เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ซีเมนต์ และเครื่องรับโทรทัศน์ เป็นต้น
3.5 การส่งออกสินค้าและบริการ
มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริงในไตรมาสนี้ ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 15.2 เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงยังคงเป็นสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 85.7 ของมูลค่าการส่งออกสินค้ารวม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้วัตถุดิบและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เช่นแผงวงจรและชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ เป็นต้น ในขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 5.8 โดยสินค้าที่มีการส่งออกมากที่สุดในไตรมาสนี้คือยางพารา ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 34.9 ของสินค้าเกษตรส่งออกทั้งหมด ขยายตัวร้อยละ 78.3 รายรับจากบริการในไตรมาสนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในอัตราร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน เนื่องจากรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่รายรับจากการบริการอื่นๆ ลดลง
3.6 การนำเข้าสินค้าและบริการ
มูลค่าการนำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริงในไตรมาสนี้ ขยายตัวร้อยละ 16.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว โดยสินค้านำเข้าที่สำคัญยังคงเป็นสินค้าทุนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 48.4 มีมูลค่าการนำเข้าตามราคา c.i.f. เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5 ในขณะที่สินค้าประเภทวัตถุดิบตามราคา c.i.f. เช่นกันขยายตัวร้อยละ 33.1 ที่สำคัญคือสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขยายตัวสูงมากถึงร้อยละ 51.6 ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 26.5
ค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการจากต่างประเทศในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยในต่างประเทศชะลอลง ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการอื่นๆก็ลดลงเช่นกัน
4. ดุลการค้าและดุลบริการ
ดุลการค้าในไตรมาสนี้เกินดุล 35,797 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีแล้วที่เกินดุล 78,703 ล้านบาท ถึงแม้ว่าไตรมาสนี้มูลค่าการส่งออกสินค้าจะเพิ่มสูงขึ้น แต่สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่พึ่งพาวัตถุดิบและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าในไตรมาสนี้ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับในไตรมาสนี้ราคาสินค้านำเข้าปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าราคาสินค้าส่งออก ทำให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นสูงกว่ามูลค่าการส่งออกจึงส่งผลให้ดุลการค้าในไตรมาสนี้เกินดุลลดลง สำหรับดุลบริการในไตรมาสนี้เกินดุล 37,860 ล้านบาท เมื่อรวมกันแล้วดุลการค้าและบริการเกินดุล 73,657 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วที่เกินดุล 112,192 ล้านบาท
5. ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในไตรมาสที่ 2 นี้ ปรับตัวสูงขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างต่ำเช่นเดียวกับไตรมาสที่แล้ว โดยขยายตัวร้อยละ 2.8 อย่างก็ตามก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตซึ่งขยายตัวร้อยละ 1.6 และ 3.7 ตามลำดับ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-ยก-
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ยังคงเติบโตเพิ่มขึ้น โดยพิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่แท้จริงซึ่งขยายตัวร้อยละ 6.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว สูงกว่าร้อยละ 5.3 ในไตรมาสแรก การเติบโตของไตรมาสนี้มีภาคการส่งออกเป็นปัจจัยนำที่สำคัญประกอบกับมีการผลิตเพื่อสะสมในสินค้าคงคลังมากขึ้นอีกด้วย
มูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสนี้มีค่าเท่ากับ 1.198 ล้านล้านบาท เมื่อหักด้วยผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิตรับสุทธิระหว่างประเทศที่แสดงถึงรายได้ไหลออกนอกประเทศไปเท่ากับ 22,088 ล้านบาทแล้ว ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) ในไตรมาสนี้จึงมีมูลค่าประมาณ 1.176 ล้านล้านบาท และมูลค่าที่แท้จริงขยายตัวร้อยละ 8.0
ด้านการผลิต ขยายตัวสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วโดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของการผลิตทั้งในภาคเกษตร ได้แก่ การผลิตพืชผลและการประมง และนอกภาคเกษตร ประกอบด้วยอุตสาหกรรมและบริการที่สนับสนุนภาคการผลิต ส่วนสาขาการผลิตที่ยังคงมีการปรับตัวลดลง ได้แก่ สาขาการก่อสร้างโดยเฉพาะในส่วนของการก่อสร้างภาครัฐ และสาขาการเงินการธนาคาร
ด้านการใช้จ่าย โดยรวมมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามในส่วนของครัวเรือนนั้น ในไตรมาสนี้การใช้จ่ายขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อย ส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐยังคงขยายตัวในอัตราสูงไม่ต่างไปจากไตรมาสที่แล้วมากนัก สำหรับในด้านการลงทุนแม้ว่าจะสะท้อนภาพของการชะลอตัวค่อนข้างมาก แต่ก็เป็นปรากฏการณ์อันเนื่องมาจากมีการลงทุนโดยนำเข้าเครื่องบินมาเป็นจำนวนถึง 5 ลำในไตรมาสที่แล้ว และหากเมื่อปรับส่วนที่ผิดปรกตินี้ออกไปการลงทุนในไตรมาสนี้ก็ยังคงอยู่ในสถานการณ์ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้จ่ายสะสมทุนของภาคเอกชนที่เริ่มมีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกนั้นมูลค่าที่แท้จริงยังคงขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างสูง ขณะเดียวกันการนำเข้าได้ชะลอตัวลงค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับการส่งออก ประกอบกับการสะสมสินค้าคงคลังโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอุตสาหกรรมในไตรมาสนี้ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นด้วย จึงมีผลทำให้การผลิตในประเทศเพื่อรองรับความต้องการดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้น
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) หลังจากปรับค่าดัชนีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล (Seasonally Adjusted GDP) เปรียบเทียบจากไตรมาสที่แล้วขยายตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 0.7 ชะลอลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 1.4 ในไตรมาสแรกของปีนี้
2. ด้านการผลิต
2.1 สาขาการผลิตที่มีการขยายตัวสูงขึ้น
2.1.1 สาขาเกษตรกรรม
ผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากลดลงใน 2 ไตรมาสที่ผ่านมา การผลิตสาขาเกษตรโดยรวมขยายตัวร้อยละ 5.2 โดยขยายตัวเกือบทุกหมวด ทั้งหมวดพืชผล ปศุสัตว์ และประมง
หมวดพืชผล ขยายตัว ร้อยละ 5.2 ตามการขยายตัวเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวนาปรังที่ปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 37.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว รวมถึงการขยายตัวของการส่งออกยางพารา นอกจากนี้ พืชอื่นๆ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่ว ผักต่างๆ และ กาแฟ ก็ขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนพืชผลที่ผลิตได้ลดลง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ โดยเฉพาะ ทุเรียน และสับปะรด อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญคือราคาของพืชผลการเกษตรในไตรมาสนี้ที่ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจากปี 2542 โดยราคาพืชผลเฉลี่ยในไตรมาสนี้ ลดลงร้อยละ 4.8 ดังนั้นแม้ว่าจะผลิตได้เพิ่มขึ้นแต่ก็มิได้มีผลทำให้รายได้ของเกษตรกรปรับตัวสูงขึ้นมากนัก
หมวดปศุสัตว์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.3 เนื่องจากการขยายตัวของ การเลี้ยงสุกร การลี้ยงไก่ และไข่ไก่ โดยเฉพาะไก่ไข่มีวิธีการเลี้ยงที่ทันสมัยเป็นผลให้ไข่ได้มากขึ้น แต่ทางด้านราคาโดยรวมของหมวดปศุสัตว์ลดลงถึงร้อยละ 34.1 รุนแรงมากกว่าราคาในหมวดพืชผลหมวดประมง ขยายตัวร้อยละ 8.0 เนื่องจากการขยายตัวของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ซึ่งมีแรงจูงใจจากราคาส่งออกที่สูงขึ้น โดยไตรมาสนี้สามารถส่งออกกุ้งได้มากขึ้น ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.2 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.1 สาหตุที่สามารถส่งออกกุ้งได้เพิ่มขึ้นนั้นเนื่องจากกุ้งในประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ ประเทศเอกวาดอร์ เกิดโรคระบาด ทำให้สหรัฐอเมริกานำเข้ากุ้งจากไทยเพิ่มขึ้น ส่วนผลผลิตปลาลดลง เนื่องจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมงในน่านน้ำไทย และชาวประมงยังไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปจับปลาในน่านน้ำของพม่าได้ รวมทั้งราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงส่งปัญหาต่อต้นทุนในการทำการประมง เรือประมงขนาดเล็กจึงยังไม่สามารถทำการประมงต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้วได้
2.1.2 สาขาอุตสาหกรรม
การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว โดยการเติบโตดังกล่าวนี้ได้กระจายไปในเกือบทุกหมวดอุตสาหกรรมการผลิตยกเว้นอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ยาสูบ และปิโตรเลียมที่ยังคงลดลง โดยอุตสาหกรรมปิโตรเลียมมีการผลิตลดลงตามปริมาณการจำหน่าย เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกยังเป็นปัจจัยที่ทำให้การผลิตรวมของสาขานี้ขยายตัวได้ดี อุตสาหกรรมสำคัญที่มีการขยายตัวสูงมีดังนี้
หมวดอุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์ รายการที่สำคัญคืออุตสาหกรรมเครื่องจักรที่ใช้ในครัวเรือน เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ฯลฯ มีอัตราการขยายตัวรวมร้อยละ 26.9 เป็นผลจากการส่งออกที่สูงขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกเครื่องปรับอากาศในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 29.2
หมวดอุตสาหกรรมเครื่องจักรและเครื่องใช้สำนักงาน อุตสาหกรรมที่สำคัญคือการผลิตเครื่องใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ขยายตัวร้อยละ 36.6 เนื่องมาจากการส่งออกขยายตัวสูง อย่างไรก็ตามการผลิตในหมวดนี้มีการพึ่งพิงวัตถุดิบจากการนำเข้าค่อนข้างสูง โดยการนำเข้าอุปกรณ์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ขยายตัวสูงมากถึงร้อยละ 68.6 ในไตรมาสที่ 2 ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
หมวดอุตสาหกรรมเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และอุปกรณ์การสื่อสาร ขยายตัวร้อยละ 28.0 เนื่องจากการส่งออกที่ขยายตัวสูง โดยการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.7
หมวดอุตสาหกรรมยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 36.0 แม้ว่าชะลอลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 69.0 ในไตรมาสที่แล้วแต่ก็ยังคงเป็นหมวดอุตสาหกรรมที่มีอัตราขายตัวสูงที่สุดเมื่อเทียบกับหมวดอื่น ๆ การเติบโตในอัตราดังกล่าวนี้เป็นผลเนื่องมาจากการส่งออกและความต้องการภายในประเทศที่ชะลอลง
หมวดอุตสาหกรรมอื่น ๆ อุตสาหกรรมหลักในหมวดนี้คือ อุตสาหกรรมเครื่องประดับและอัญมณี การผลิตรวมขยายตัวร้อยละ 13.5 โดยการส่งออกเครื่องประดับและอัญมณีในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 11.3
2.1.3 สาขาเหมืองแร่
การผลิตสาขาเหมืองแร่ขยายตัวร้อยละ 10.8 ตามการขยายตัวของการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นรายการที่สำคัญของสาขานี้ขยายตัวร้อยละ 17.2 ส่วนรายการแร่อื่นๆ ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
2.1.4 สาขาไฟฟ้า ประปาและโรงแยกก๊าซการผลิตสาขานี้มีการขยายตัวร้อยละ 11.8 ประกอบด้วยหมวดไฟฟ้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 เป็นไปตามภาวะการผลิตและการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้ไฟฟ้าของทุกภาคการผลิต โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม หมวดประปามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 นอกจากนั้นโรงแยกก๊าซก็มีการผลิตขยายตัวร้อยละ 9.2 เช่นกัน
2.1.5 โรงแรมและภัตตาคาร
บริการโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 โดยภัตตาคารซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 70 ขยายตัวร้อยละ 2.7 ในขณะที่บริการโรงแรมซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 30 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 ตามการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยว
2.1.6 สาขาคมนาคมขนส่ง
ไตรมาสนี้ขยายตัวค่อนข้างสูงในอัตราร้อยละ 7.8 โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้นตามการผลิตในสาขาเกษตร และอุตสาหกรรม โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกับการขยายตัวของการจำหน่ายน้ำมันดีเซลแม้ว่าราคาน้ำมันดีเซลจะขยายตัวสูงขึ้นในไตรมาสนี้ รวมทั้งการขยายตัวในอัตราสูงของการส่งออกก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การขนส่งทางทะเลขยายตัวมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม กิจการด้านการบริการรถโดยสารโดยเฉพาะรถโดยสารไม่ประจำทางลดลงร้อยละ 4.3 ส่วนการคมนาคมยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากการบริการโทรศัพท์ทางไกล
2.1.7 สาขาการค้าส่งค้าปลีก
ขยายตัวร้อยละ 5.1 เป็นผลมาจากการขยายตัวตามการผลิตในสาขาเกษตร และสาขาอุตสาหกรรม รวมทั้งการนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้น
2.2 สาขาการผลิตที่ชะลอตัวลง
2.2.1 สาขาก่อสร้าง
การก่อสร้างลดลงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการก่อสร้างของภาครัฐบาล ซึ่งมีสัดส่วน ร้อยละ 66.7 ของการก่อสร้างรวมทั้งหมด ไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 10.6 ส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยขยายตัวร้อยละ 17.8 เมื่อเทียบกับร้อยละ 4.1 ในไตรมาสที่แล้ว การก่อสร้างอาคารประเภทที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ขยายตัวดีขึ้นทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว นับเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกหลังจากหดตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
2.2.2 สาขาการเงิน
บริการการเงินในไตรมาสนี้เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับในช่วงหลายไตรมาสที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามก็ยังคงหดตัวลง ร้อยละ 3.6 เนื่องมาจาก ธนาคารพาณิชย์ยังระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ในขณะที่ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังคงต่ำไม่จูงใจในการออมทำให้ภาคเอกชนหันไปลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า
3. ด้านการใช้จ่าย
3.1 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือน
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือน ในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อ เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นผลมาจากปัจจัยด้านรายได้ของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำลง เนื่องจากผลผลิตที่ล้นตลาด อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าประชาชนในบางกลุ่มมีการใช้จ่ายนอกหมวดอาหารเพิ่มขึ้นในรายการเสื้อผ้า เครื่องใช้ในบ้าน และ ยานพาหนะ การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าและบริการหลัก ๆ ประกอบด้วย
หมวดสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 2.1 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วตามปริมาณการบริโภคผักและผลไม้ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากและมีราคาค่อนข้างต่ำ
หมวดอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องนุ่งห่ม ในไตรมาสนี้มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องถึงร้อยละ 3.1 เป็นผลจากการบริโภคสินค้าหลัก ได้แก่ การบริโภคเนื้อสัตว์และการบริโภคเครื่องดื่มขยายตัวร้อยละ 0.7 และ 5.3 ตามลำดับ ส่วนการอุปโภคเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องนุ่งห่มขยายตัวร้อยละ 4.1 เทียบกับร้อยละ 3.0 ในไตรมาสที่แล้วหมวดเครื่องเรือนและของใช้ในครัวเรือน ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการอุปโภคเครื่องเรือนมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 6.5หมวดยานพาหนะ ขยายตัวในอัตราสูงร้อยละ 31.3 แต่ยังนับว่าชะลอลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 54.0 ในไตรมาสที่แล้ว โดยมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.1 และ 44.4 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากกลยุทธส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการและอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่มีระดับต่ำ
หมวดไฟฟ้า ประปา และเชื้อเพลิง เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูร้อน ทำให้การใช้จ่ายในด้านนี้ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 8.4 โดยการใช้จ่ายค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 และการใช้จ่ายค่าน้ำประปาขยายตัวร้อยละ 7.2 หมวดบริการโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 4.4 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3.2 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาครัฐบาล
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของรัฐบาลในไตรมาสนี้มีมูลค่า 134,169 ล้านบาท มูลค่าที่แท้จริงขยายตัวจากระยะเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 10.4 โดยจำแนกเป็นค่าใช้จ่ายหมวดเงินเดือน ค่าจ้างและค่าตอบแทนขยายตัวร้อยละ 6.9 และค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 17.2 ทั้งนี้ยังคงเป็นผลต่อเนื่องมาจากการใช้นโยบายขาดดุลการคลังและมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
3.3 การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น
การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น ในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 1.6 โดยปัจจัยหลักเป็นการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 65.7 ขยายตัวร้อยละ 9.4 ส่วนการลงทุนภาครัฐบาลซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 34.3 กลับเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว3.3.1 การลงทุนภาคเอกชน ในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 9.4 ส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวของการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักร ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 77.8 ของการลงทุนภาคเอกชนรวม ขยายตัวร้อยละ 7.4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าทุน ในหมวดเครื่องมือ เครื่องจักรและเครื่องใช้สำนักงานที่ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 5.6 ส่วนหมวดยานพาหนะขยายตัวร้อยละ 21.5 ซึ่งเป็นการขยายตัวในรายการรถยนต์เชิงพาณิชย์และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล สำหรับการลงทุนด้านการก่อสร้างของเอกชน ปรับตัวดีขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 โดยขยายตัวถึงร้อยละ 17.0 ทั้งนี้เป็นผลจากการก่อสร้างอาคารประเภทที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล
3.3.2 การลงทุนภาครัฐบาล ในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 10.6 โดยการลงทุนด้านก่อสร้าง ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 77.5 ของการลงทุนรวมของภาครัฐ ลดลงร้อยละ 10.3 ส่วนการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 22.5 ก็ลดลงเช่นกันในอัตราร้อยละ 11.6 อย่างไรก็ตามหากไม่รวมเครื่องบินแล้วการลงทุนโดยรวมของภาครัฐลดลงเพียงร้อยละ 4.8
3.4 มูลค่าส่วนเปลี่ยนของสินค้าคงเหลือ
มูลค่าตามราคาตลาดของส่วนเปลี่ยนในสินค้าคงเหลือประจำไตรมาสนี้มีมูลค่า 44,159 ล้านบาท สูงกว่า 32,621 ล้านบาทในไตรมาสที่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นการสะสมสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นทั้งสินค้าเกษตรได้แก่ข้าวนาปรังซึ่งออกสู่ตลาดในขณะนี้และสินค้าอุตสาหกรรม อาทิเช่น ปลาทูน่ากระปํอง ด้ายและเส้นใย เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ซีเมนต์ และเครื่องรับโทรทัศน์ เป็นต้น
3.5 การส่งออกสินค้าและบริการ
มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริงในไตรมาสนี้ ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 15.2 เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงยังคงเป็นสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 85.7 ของมูลค่าการส่งออกสินค้ารวม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้วัตถุดิบและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เช่นแผงวงจรและชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ เป็นต้น ในขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 5.8 โดยสินค้าที่มีการส่งออกมากที่สุดในไตรมาสนี้คือยางพารา ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 34.9 ของสินค้าเกษตรส่งออกทั้งหมด ขยายตัวร้อยละ 78.3 รายรับจากบริการในไตรมาสนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในอัตราร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน เนื่องจากรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่รายรับจากการบริการอื่นๆ ลดลง
3.6 การนำเข้าสินค้าและบริการ
มูลค่าการนำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริงในไตรมาสนี้ ขยายตัวร้อยละ 16.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว โดยสินค้านำเข้าที่สำคัญยังคงเป็นสินค้าทุนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 48.4 มีมูลค่าการนำเข้าตามราคา c.i.f. เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5 ในขณะที่สินค้าประเภทวัตถุดิบตามราคา c.i.f. เช่นกันขยายตัวร้อยละ 33.1 ที่สำคัญคือสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขยายตัวสูงมากถึงร้อยละ 51.6 ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 26.5
ค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการจากต่างประเทศในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยในต่างประเทศชะลอลง ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการอื่นๆก็ลดลงเช่นกัน
4. ดุลการค้าและดุลบริการ
ดุลการค้าในไตรมาสนี้เกินดุล 35,797 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีแล้วที่เกินดุล 78,703 ล้านบาท ถึงแม้ว่าไตรมาสนี้มูลค่าการส่งออกสินค้าจะเพิ่มสูงขึ้น แต่สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่พึ่งพาวัตถุดิบและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าในไตรมาสนี้ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับในไตรมาสนี้ราคาสินค้านำเข้าปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าราคาสินค้าส่งออก ทำให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นสูงกว่ามูลค่าการส่งออกจึงส่งผลให้ดุลการค้าในไตรมาสนี้เกินดุลลดลง สำหรับดุลบริการในไตรมาสนี้เกินดุล 37,860 ล้านบาท เมื่อรวมกันแล้วดุลการค้าและบริการเกินดุล 73,657 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วที่เกินดุล 112,192 ล้านบาท
5. ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในไตรมาสที่ 2 นี้ ปรับตัวสูงขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างต่ำเช่นเดียวกับไตรมาสที่แล้ว โดยขยายตัวร้อยละ 2.8 อย่างก็ตามก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตซึ่งขยายตัวร้อยละ 1.6 และ 3.7 ตามลำดับ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-ยก-